ประกันคุณภาพเบื้องต้น


การทำงานพื้นฐานให้มีคุณภาพ เป็นจุดเริ่มต้นของการพัฒนาคุณภาพในระดับสูงต่อไป

สวัสดีครับ

วันนี้ขอเสนอตัวอย่าง เรื่อง การประกันคุณภาพขั้นพื้นฐาน

เนื่องจากมีนักรังสีเทคนิคหลายคนสอบถามผมว่า ...

จะทำงานพัฒนาคุณภาพงาน เรื่องอะไร?

ผมขอแนะนำว่า... ให้ลองสำรวจ หน่วยงานตนเองก่อน ในเบื้องต้น ทำงานขั้นพื้นฐานดีแล้วหรือยัง ได้รับการจัดการที่ถูกต้อง เหมาะสมแล้วหรือยัง? 


การประกันคุณภาพเบื้องต้น ทำได้ไม่ยาก


ทำพื้นฐานง่ายๆให้สำเร็จก่อน จากนั้นค่อยพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เพื่อเป็นหนทางในการประกันคุณภาพในระดับสูงต่อไป



ตัวอย่าง : เอกสารที่เกี่ยวข้องกับ ประวัติเครื่องเอกซเรย์ การจัดการเครื่องมือสร้างภาพทางการแพทย์ ณ หน่วยรังสีวินิจฉัย ภาควิชารังสีวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

 

 

 

 

สิ่งที่ควรมีประจำห้อง คือ

1. เอกสารการขอนำเข้าเครื่องมือแพทย์ (จากผู้ขาย ถ้ามี)


2. หนังสือคู่มือเครื่อง (รายละเอียดส่วนประกอบ การทำงาน การใช้งาน อาจเป็นภาษาไทยหรืออังกฤษ)


3. เอกสารรับรองผลการตรวจสอบคุณภาพประจำปีหรือตามระยะเวลาที่กำหนด (ออกโดย... ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์)


4. บันทึกดูแล บำรุงรักษา ซ่อมแซม การตรวจสอบคุณภาพ ประวันจำ/เดือน/ปี


 

นอกห้องตรวจ

แผนภูมิบอกตำแหน่งเครื่องเอกซเรย์ กรณีมีมากกว่า 1 ห้อง พร้อมบันทึกข้อมูลเครื่อง อย่างย่อ


ลองดูนะครับ ใครมีบ้าง มีมากมีน้อย

แลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน เพื่อพัฒนาคุณภาพในระดับสูงต่อไป

วันนี้... ต้องดีกว่าเมื่อวาน ครับ

 

หมายเลขบันทึก: 493428เขียนเมื่อ 4 กรกฎาคม 2012 15:33 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 กรกฎาคม 2012 09:46 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

เรียน อ.เพชรากร ที่เคารพ

ขอบคุณค่ะ สำหรับความรู้ดีๆ ที่นำมาให้ศึกษาเป็นประจำ

สิ่งที่ควรมีประจำห้อง คือ

1. เอกสารการขอนำเข้าเครื่องมือแพทย์ (จากผู้ขาย ถ้ามี)...ยังไม่เคยขอจากบริษัทเลยค่ะ ไม่ทราบว่าจำเป็นต้องมี...

2. หนังสือคู่มือเครื่อง (รายละเอียดส่วนประกอบ การทำงาน การใช้งาน อาจเป็นภาษาไทยหรืออังกฤษ)....มีครบทุกเครื่องค่ะ

3. เอกสารรับรองผลการตรวจสอบคุณภาพประจำปีหรือตามระยะเวลาที่กำหนด (ออกโดยศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์)...มีทุกเครื่องค่ะ

4. บันทึกดูแล บำรุงรักษา ซ่อมแซม การตรวจสอบคุณภาพ ประวันจำ/เดือน/ปี...ข้อนี้มีครบทุกเครื่องค่ใช้เป็นสมุดบันทึก+แฟ้ม และจากประสบการณ์ที่ผ่านมา บันทึกนี้มีประโยชน์มากเวลาเราต้องการทราบประวัติการซ่อม+ค่าใช้จ่ายในการซ่อม เพื่อประเมินว่าคุ้มต่อการซ่อมใช้ต่อหรือไม่ และใช้ประกอบการวางแผนซื้อเครื่องใหม่ ถ้าเรามีประวัติการใช้งานเครื่องแต่ละรุ่น/ย่ี่ห้อ ก็จะช่วยให้ประเมินคุณภาพของเครื่องมือได้ด้วย เช่น ใช้แล้ว เสียบ่อย หรือไม่ค่อยมีปัญหาจุกจิก สามารถให้ข้อมูล แนะนำผู้อื่นได้

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท