ประชุม Focus Group ด้านการท่องเที่ยวและกีฬา (ภาคตะวันออก) เมืองพัทยา ชลบุรี


สวัสดีลูกศิษย์และชาว  Blog  ทุกท่าน

          วันนี้ วันที่ 4 กรกฎาคม 2555 มูลนิธิฯได้จัดประชุมกลุ่มย่อย (Focus Group) ในกลุ่มภาคตะวันออก เรื่องการท่องเที่ยวเเละกีฬา ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมในโครงการวิจัย “การพัฒนาขีดความสามารถในการบริหารจัดการด้านการท่องเที่ยวและกีฬา เพื่อรองรับการเปิดเสรีประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC)” ณ ศาลาว่าการเมืองพัทยา จ.ชลบุรี ซึ่งเน้นบริบทเรื่องการท่องเที่ยวเละกีฬาทางภาคตะวันออก

        ผู้ที่มาให้ความเห็นในการประชุมกลุ่มในครั้งนี้ มาจากหลายส่วน เช่น ภาคการศึกษา ภาคประชาชน,ชุมชน  สื่อมวลชน สมาคมกีฬา เช่น จากสำนักงานท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดชลบุรี ตำรวจท่องเที่ยวเมืองพัทยา อบต.หนองปลาไหล  ตลาดน้ำสี่ภาค สมาคมธุรกิจชลบุรีและโรงแรม สมาคมนักธุรกิจและการท่องเที่ยวเมืองพัทยา สวนนงนุช การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย เป็นต้น โดยได้รับการต้อนรับจากปลัดเมืองพัทยา ในครั้งนี้

          จึงขอนำข้อมูลต่างๆมา share กัน เเละอยากให้ทุกท่านร่วมออกความคิดเห็นผ่าน blog นี้ ครับ

...................................................

ติดตามสาระสำคัญของ Focus Group อื่น ๆ

Focus Group โครงการวิจัยของกระทรวงการท่องเที่ยวเเละกีฬา ณ สถาบันวิจัยเเละพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ จ.บุรีรัมย์

http://www.gotoknow.org/blogs/posts/493727

Focus Group ด้านการท่องเที่ยวและกีฬา (ภาคตะวันออก) เมืองพัทยา ชลบุรีhttp://www.gotoknow.org/blogs/posts/493394

Focus Group โครงการวิจัยของกระทรวงการท่องเที่ยวเเละกีฬา ณ มหาวิทยาลัยเเม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย

http://www.gotoknow.org/blogs/posts/492836

สัมมนาระดมความคิดเห็นการพัฒนาขีดความสามารถในการบริหารจัดการด้านการท่องเที่ยวและกีฬาเพื่อรองรับการเปิดเสรีประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC)”

http://www.gotoknow.org/blogs/posts/490673

 

 

หมายเลขบันทึก: 493394เขียนเมื่อ 4 กรกฎาคม 2012 11:15 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 กรกฎาคม 2012 12:32 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
เขมิกา ถึงแก้วธนกุล

 

กำหนดการจัดประชุมกลุ่ม (Focus Group)

โครงการพัฒนาขีดความสามารถในการบริหารจัดการด้านการท่องเที่ยวและกีฬา

เพื่อรองรับการเปิดเสรีประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) 

กลุ่มภาคตะวันออก

วันพุธที่ 4 กรกฎาคม 2555  

กลุ่มการท่องเที่ยวเวลา 9.00 – 12.00 น.

ณ  ห้องประชุม 221 ชั้น 2 ศาลาว่าการเมืองพัทยา จ.ชลบุรี

 

 

  1. 1.      สถานการณ์ปัจจุบันเป็นอย่างไรบ้าง

-          สถานที่ท่องเที่ยว และกิจกรรมการท่องเที่ยวของภาคตะวันออกเมื่อเปรียบเทียบกับ 10 ประเทศอาเซียนเป็นอย่างไร มีความพร้อม ได้เปรียบ และเสียเปรียบอย่างไรบ้าง

-          ธรรมชาติของนักท่องเที่ยว

  1. ต้องการความแปลกใหม่
  2. ต้องการความปลอดภัย
  3. ต้องการการยอมรับในสังคม

-          ลักษณะการเยี่ยมชม

  1. สิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น
  2. สิ่งที่ธรรมชาติ

จุดแข็ง

  • ภาคตะวันออก มีความสมบูรณ์ทางธรรมชาติ เช่นภูเขา ทะเล และสิ่งที่ดูทางวัฒนธรรม
  • การเดินทางเมืองพัทยามีความได้เปรียบเนื่องจากระยะเวลาการเดินทางใกล้ สามารถเดินทางเช้า กลับเย็นได้ สามารถมาได้ในระยะสั้น และระยะยาวได้
  • มีลักษณะที่นักท่องเที่ยวสามารถดูได้หลายอย่าง เช่น สวนนงนุช เขาชีจัน  ปราสาทสัจธรรม Walking Street ฯลฯ

 

การบริหารจัดการ

  • มีหลายรูปแบบ แต่จะรองรับได้อย่างไร เช่น ทัวร์รัสเซีย ทัวร์จีน (ช้อปปิ้ง ทะเลฯ)
  • เมื่อเปรียบเทียบกับประเทศอื่น แล้วประเทศอื่นมีแยกเป็นภาค ๆ อย่างไทย หรือมีจุดแข่งขันอย่างภาคตะวันออกได้อย่างไรบ้าง
  • ประเทศที่มาแรงมากคือพม่า เนื่องจากเปิดประเทศ และมีนักธุรกิจหลายแห่งไปลงทุน
  • ประเทศพม่าเพิ่งเปิด และมีความสดใหม่  มีธรรมชาติ และวัฒนธรรมดีมาก
  • พฤติกรรมประเทศยุโรปที่มาเมืองไทยจะไปพม่าด้วย
  • ประเทศเวียดนามมีความเป็นธรรมชาติ และด้านการพาณิชย์ยังไม่เหมือนไทย มีวัฒนธรรมที่ยังคงอยู่
  • ประเทศกัมพูชา มีอังกอร์วัด เป็นจุดดึงดูด มาไทยแล้วข้ามไปกัมพูชาได้ง่ายมาก
  • ประเทศมาเลเซีย ข้ามได้ง่าย ไปมากับไทย
  • ประเทศสิงคโปร์ และมาเลเซีย เมื่อเกิดจุดวิกฤติในไทย จะย้ายไป 2 ประเทศนี้มากกว่าแต่ในเรื่อง Product ยังเทียบกับไทยไม่ได้
  • ข้อมูลนักท่องเที่ยวปี2554 มี 73 ล้านคน นักท่องเที่ยวอันดับหนึ่งได้แก่ รัสเซีย จีน อินเดีย ตามลำดับ

แรงงาน

แรงงานมีฝีมือย้ายไปอยู่ต่างประเทศส่วนใหญ่ ส่วนที่อยู่ในไทยจะเป็นแรงงานไร้ฝีมือ

ผู้ประกอบการ

มีการจ้างแรงงานต่างชาติ ไม่สามารถสื่อสารได้ ทำงานได้ไม่ดีเท่าที่ควร เสมือนทำให้ไทยไม่มีมาตรฐานในการบริการ ดีอย่างเดียวคืออดทน ส่วนคนที่พอมีความรู้ความสามารถ ประเทศพม่าเปิด เขาจะเริ่มกลับไปทำงานที่พม่าแล้ว

เปรียบเทียบกับประเทศเพื่อนบ้าน

  • ไทยมีทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งที่ทำขึ้นมาสามารถสู้ต่างชาติได้
  • แต่สิ่งที่คำนึงถึงคือวินัยของคนในประเทศ เช่นเรื่องความสะอาด ความสามารถในการบริการ
  • เรื่องภาษา เป็นเรื่องสำคัญที่รัฐต้องปูพื้นจากในโรงเรียน
  • การบริการต้องพยายามลดคอรัปชั่นในทุกหน่วยงาน ต้องให้ความสำคัญในเรื่องนี้
  • การจราจร ขอให้เน้นเรื่องกฎหมาย กฎจราจร เช่นพัทยา ต่างชาติสามารถขับรถได้โดยไม่มีใบขับขี่
  • โรงแรม ต้องเน้นเรื่องการสร้างความแตกต่าง
  • สรุป ธรรมชาติสูสีกัน แต่เราต้องเน้นเรื่องความแตกต่างในการแข่งขัน
  • นักท่องเที่ยวมาเที่ยวเมืองไทย เพราะเสน่ห์ของคนไทย เขามาเที่ยวด้วยบุคลากรของคนไทย น่าจะสนับสนุนให้คนไทยเป็นผู้บริการเอง ดีกว่าให้ต่างชาติมาสืบสานการบริการแทนเรา
  • อยากให้มองในเรื่องของภาพรวม และองค์รวม
  • นักท่องเที่ยวเดินทางมาอาเซียนมากขึ้น อยากให้ดูตัวอย่างของยูโรโซนว่าพฤติกรรมเป็นอย่างไร
  • Destination อยากให้ดูว่าถึงประเทศใดเป็นประเทศแรกก่อน เช่นมาลงที่ไทย แล้วเดินทางไปต่อที่เวียดนาม พม่า เป็นต้น
  • ในเรื่องสถานที่ และประสบการณ์ของไทยด้านการท่องเที่ยวน่าจะเทียบกับประเทศเพื่อนบ้านได้อย่างดี ดังนั้นปัจจัยสำคัญอยู่ที่ศักยภาพด้านทรัพยากรมนุษย์
  • ประเทศสิงคโปร์เป็นประเทศที่น่ากลัวเนื่องจากมีเงินลงทุนและการจัดการที่ดี
  • เรื่องภาษา ประเทศไทยเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศเพื่อนบ้านน่าจะยังอ่อนอยู่ ดังนั้นสิ่งสำคัญจึงควรเน้นเรื่องภาษา เนื่องจากต่อไปเมื่อเปิด AEC  Man Power จะมา
  • การคมนาคมในการเชื่อมต่อไปหลาย ๆ ที่ ภาครัฐควรให้ความสนใจอย่างดี
  • สนามบินอู่ตะเภา ระยอง พม่า อินเตอร์เนชั่นแนลแอร์พอร์ต เพื่อรองรับอาเซียนในอนาคต ทำให้ผู้ได้ประโยชน์คือ ระยอง และพัทยาโดยตรง
  • สิ่งสำคัญคือเรื่องบุคลากรของคนในชาติที่ต้องพัฒนากัน
  • สิงคโปร์ที่เจริญได้ เพราะเขามีวินัย ทำอย่างไรฝึกคนไทยให้มีวินัยขนาดสิงคโปร์ได้ จึงเริ่มจากตรงนั้น
  • บุคลากรในเรื่องการท่องเที่ยวและกีฬา ความสามารถและทักษะมีน้อยมาก
  • สิ่งที่อยากฝากคือ การท่องเที่ยวโดยชุมชน การเข้ามาเป็นการศึกษาเรียนรู้วิถีชีวิตในชุมชนโดยเฉพาะ  ความพร้อม การบริการ จิตวิญญาณ มีหมด ขาดแต่ทักษะทางภาษา
  • ข้าราชการที่บรรจุในกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา วิสัยทัศน์มีน้อย
  • การทำโครงการศึกษาดูงานต่างประเทศได้รับงบฯ น้อย เป็นการตัดโอกาสเรียนรู้ประเทศอาเซียน และคู่แข่ง

ในพัทยาหรือภาคตะวันออก มีปัญหาเรื่องการพัฒนามาตรฐานการท่องเที่ยวชุมชนทำให้นักท่องเที่ยวลดลงหรือไม่

  • การที่รัฐเข้าส่งเสริมมีทั้งผลดี ผลเสีย บางครั้งรัฐส่งเสริมจนไม่มีเอกลักษณ์ สินค้าเหมือนกันหมด ไม่มีเอกลักษณ์ชุมชน เช่นเสื่อกระจูดไปทอที่ภาคเหนือ และเรื่องการทำผ้าฝ้ายก็ย้ายไปสู่ที่อื่น เป็นต้น นับว่าเป็นการทำลายเสน่ห์และภูมิปัญญาท้องถิ่น อย่างมาก

 

เสน่ห์ของพัทยา

  • ยิ้มสยาม
  • ความท่องเที่ยวมีความหลากหลาย
  • ศักยภาพห้องพักและโรงแรมยังมีความสูงพอที่จะจัดประชุม

ข้อเสนอแนะ

  • เราจะพัฒนาคุณภาพให้สู้กับประเทศอื่นได้อย่างไร ต้องพัฒนาภาษา และบุคลากรอย่างไรเป็นเรื่องที่ต้องเน้นอย่างมากจึงไม่ต้องใช้แรงงานต่างชาติ
  • สิ่งที่เน้นอีกเรื่องคือการสร้างความปลอดภัยในทรัพย์สิน และตัวนักท่องเที่ยว  ภาครัฐต้องเข้มงวด และทำตรงนี้เช่นกัน
  • งบประมาณในการส่งเสริมภาพรวม ไม่ว่าจะเป็น กบท. สสปน. (สำนักงานส่งเสริมการประชุมและนิทรรศการ) สนับสนุนโดยตลอดเพื่อเพิ่มภาพลักษณ์ของเมืองพัทยา คือ เน้นการสัมมนา การประชุมที่ยิ่งใหญ่ และตลาดที่จะเข้ามา เราจึงควรเน้นเรื่องโครงการต่าง ๆ ที่เข้ามา เช่นการประชุมใหญ่ ๆ ระดับ อาเซียน
  • คำนิยามของ พัทยา คือ Sea Sand Sun Sex เราพบว่าคนที่มาเที่ยวเมืองพัทยาส่วนใหญ่ต้องการ Sex Tour เราต้องยอมรับความเป็นจริงเพื่อแก้ได้ตรงจุด  จากการสอบถามคนต่างชาติพบว่าปัญหาคือคนที่ทำอาชีพนี้การมีรายได้ดีกว่าทำนา

ให้วิเคราะห์นักท่องเที่ยว แบ่งเป็น 3 กลุ่ม

  1. คนนอกอาเซียน
  2. คนไทย
  3. คนในอาเซียน

 

ยกตัวอย่างการมองเวกัสที่แต่ก่อนเป็นเมืองคาสิโน

  • สิ่งที่เห็นเด่นชัดคือ คาสิโน เป็นดินแดนการพนัน แต่พบว่าปัจจุบันได้เปลี่ยนแปลงไป ยุทธศาสตร์คาสิโนไม่ใช่ยุทธศาสตร์หลัก คาสิโนย้ายไปที่หมาเก๊าแล้ว ทุกอย่างเทมาเอเชียหมด รวมทั้งอเมริกา และยุโรปด้วย  ต่อมา เวกัสจึงอยู่ไม่ได้เพราะทุกอย่างย้ายมาเอเชียหมด เวกัส จึงจัด Event อื่นขึ้นมาแทน
  • ยุโรปเศรษฐกิจตก  การส่งออกตก  ประกอบกับค่าแรงสูง  พบว่าเมื่อเศรษฐกิจไม่ดีของถูกขายได้  ทางยุโรปจึงเลือกที่เรา คือของดี ราคาถูก

สรุป  คือการจัด Event อย่างอื่น เป็นตัวดึงความสนใจพัทยาแทนเรื่อง Sex เช่น การมีบัวขาวมาต่อยมวยที่พัทยา เป็นต้น เป็นการเชิดชูว่าพัทยามีหลายอย่าง  มีสถานที่ท่องเที่ยวหลายอย่างทั้งกลางวัน และกลางคืน เช่นการดึงกีฬาเข้ามาช่วยในเรื่องการท่องเที่ยวเป็นต้น ทำให้พัทยาเหมือนเวกัส แล้วไม่ให้อยู่ที่ Sex แล้ว

 

ข้อเสนอด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์

  • ดูตัวอย่างสิงคโปร์เป็นตัวอย่างการจัดการทรัพยากรมนุษย์ที่เยี่ยมมาก มีแต่สิ่งที่มนุษย์ประดิษฐ์ แนวคิดสิงคโปร์คือต้องการเป็น MICE
  • แต่ประเทศไทยต้องการทำบ้าง  แต่ยังไม่ได้ทำในเรื่องปลอดภัย ความสะดวก ความสะอาด สรุปคือ ถ้าไทยจะทำต้องทำในเรื่อง Basic ให้เก่งก่อน  แม้ว่าข้อดีของไทยจุดดึงดูดคือธรรมชาติ  แต่ถ้าจะพัฒนาพัทยาเป็น MICE ต้องพัฒนา 3 เรื่องนี้ก่อน

 

การพัฒนาการท่องเที่ยวให้มีความหลากหลาย

  • มีการเพิ่มทราย 35 เมตร
  • ให้มองว่านักท่องเที่ยวที่มาพัทยา มีทั้งอนุรักษ์ การประชุมสัมมนา การตีกอล์ฟ การแข่งขันกีฬา ต่าง ๆ  ไม่ได้มาแต่เรื่องเดิมอย่างเดียว
  • พบว่ามีประชากรมากมายไม่ได้ Register ในพัทยา เราจะมีระเบียบอะไรหรือไม่ที่จะครอบคลุมเยาวชนในพฤติกรรมเหล่านี้
  • ภาพลักษณ์ของพัทยาในอดีต มีเรื่อง Sea Sand Sun Sex แต่ปัจจุบันได้เปลี่ยนไปแล้ว เช่นมีสนามกอล์ฟ มีการจัดสัมมนา มีแนวทางการจัดแข่งขันกอล์ฟ ไอ...โต  ที่พัทยา
  • การเก็บข้อมูลนักท่องเที่ยว จ่ายเงิน ที่พัก อาหาร การลงทุน และ sex
  • ปัจจุบัน Walking Street เปลี่ยนไป ไม่ได้เป็นเรื่อง Sex แล้ว เปลี่ยนเป็นมานั่งพับ ร้านอาหารทะเล และเด็ก ๆ มากขึ้น
  • การจัด Tournament ใหญ่ ๆ  มีกีฬาจัดระดับโลกในเมืองพัทยา มีการสร้างชื่อเสียงให้ประเทศไทย การประชุมอาเซียนใหญ่ ๆ การประชุมระดับโลก สโมสรไลอ้อน แพ็คเกจกอล์ฟ จัดที่พัทยาทั้งสิ้น
  • การรักษาวัฒนธรรมประเพณี เช่นการลอยกระทง  การกินเจ
  • ความตั้งใจและมุ่งมั่นในเมืองพัทยาเป็นในภาพรวมและใหญ่ขึ้น
  • Family ที่เข้ามาในพัทยาเริ่มมีมากขึ้นเรื่อย ๆ
  • สรุปคือ พัทยาเป็นเมืองท่องเที่ยวที่ในหนึ่งชีวิตน่าจะมาเที่ยวหนึ่งครั้ง
  • สโลแกนของพัทยา  Definitely more คือเมืองไม่มีที่สิ้นสุด
  • ภาคตะวันออกใช้ Color of the East คือสีสันภาคตะวันออก
  • พัทยาไม่มีอะไรเด่นชัด 100 % แต่ถ้าจะมองให้มองในแต่ละกิจกรรมต่าง ๆ ที่ มีความหลากหลายเกิดขึ้นมากมาย มีกิจกรรมเกิดขึ้นมากมาย เช่นวินเซิร์ฟ เจทสกี กิจกรรมระดับโลก มีหลายอย่างที่เกิดที่พัทยา  สรุปคือ พัทยาเป็นเสมือนเมืองที่มีความพอดีเกิดขึ้น ต้องคิดให้ดีในเรื่องการสร้างความเข้มงวด เพราะอาจเกิดปัญหาขึ้นได้ สังเกตได้ว่ากิจกรรมทุกอย่างล้วนมีปัญหาหมด สิ่งสำคัญคือการแก้ไขด้านทรัพยากรมนุษย์เป็นหลัก ไม่ให้ชาวต่างชาติมากลืนกินวัฒนธรรมท้องถิ่น
  • ความต้องการหาประสบการณ์ของนักท่องเที่ยว 
  • เราต้องพัฒนาแบรนด์ของพัทยาให้มีความยั่งยืน เน้นเรื่องการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ การกระจายรายได้ไปสู่ชุมชน ประชาชน และผู้นำท้องถิ่น  ข้าราชการในกระทรวงท่องเที่ยว และที่อื่น ๆ
  • สร้างโอกาสจาก AEC และหลีกเลี่ยงการคุกคามที่เกิดขึ้น
  • ข้อสรุปจะเน้นไปที่การพัฒนาคน คนในการท่องเที่ยว
  1. ต้องคิดยั่งยืน
  2. คิดเรื่องคุณธรรม จริยธรรม
  3. มีปัญญาในการแก้ปัญหา  เช่นเรื่องสิ่งแวดล้อม เรื่องความปลอดภัย

ประชากรของพัทยาเป็นคนท้องถิ่นพัทยาหรือไม่

  • ยังคงมีอยู่ แต่ก็มีประชากรแฝงเพิ่มขึ้นเช่นกัน สังเกตจากรายได้จากธุรกิจมากขึ้นแม้พื้นที่มีเพียง 53 กม.
  • แผนแม่บท 10 ปี การขยายเมืองติดกับพัทยาขยายพื้นที่ทางการท่องเที่ยวเพิ่มขึ้น

 

สรุปจุดแข็ง

  1. สถานที่ท่องเที่ยวและกิจกรรมสำคัญ เนื่องจากอยู่ใกล้สนามบินเดินทางสะดวก มีความหลากหลาย ในทรัพยากรคือมีทั้ง Man Made และ Nature Made

2. กลุ่มจังหวัดภาคตะวันออก เป็นเมืองผลไม้

3. เมืองที่มีรายได้จากการถ่ายทำภาพยนตร์ เมืองพัทยา ชลบุรี

4. วัฒนธรรม มีประเพณีวันไหล อยากให้มองภาพรวมทั้งภาค

5. กลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกมีงบประมาณเยอะมาก ปี 54 มีจัดกิจกรรมสีสันตะวันออก จัด 2-5 สิงหาคม  เชิญผู้ประกอบการในภาคตะวันออกมาเปิดบู้ทจำหน่ายสินค้า

6. การจัดกิจกรรมเชื่อมโยงกิจกรรมการท่องเที่ยวจากประเทศเวียดนาม กัมพูชา มีการเจรจาธุรกิจที่โรงแรมพัทยา โดยความร่วมมือททท. สมาคมโรงแรม

7. จัดอบรมมัคคุเทศก์ ภาคตะวันออก เฉพาะพื้นที่ รุ่นละ 80 คน มี 2 รุ่น เป็นเครือข่ายท่องเที่ยวชุมชน โฮมสเตย์ ฯลฯ

8. สื่อประชาสัมพันธ์ มีการจัดกิจกรรมส่งเสริมท่องเที่ยว ส่งเสริมการขาย การจัด Road show ไปที่ต่าง ๆ

9. จากครม.สัญจร จ.ชลบุรี ได้เสนอกิจกรรมเกี่ยวกับพัฒนาภาษา การเชื่อมโยงเส้นทางการท่องเที่ยว การเชื่อมโยงกับผู้ประกอบการประเทศอาเซียน มาในกลุ่มภาคตะวันออก

 

จุดอ่อน

  1. สิ่งอำนวยความสะดวก มีแต่ยังสู้สิงคโปร์ไม่ได้
  2. สถานที่ในการเข้าถึงตัวแหล่งท่องเที่ยวบางแห่งต้องมีรถเข้า
  3. เรื่องเจทสกี ยังไม่มีการควบคุมและการบังคับใช้กฎหมายที่ถูกต้อง
  4. การจราจรยังไม่มีการติดป้ายบอกทางเส้นทางลัด
  5. ปัญหาเรื่องแรงงาน เรื่องภาษา เป็นประเด็นที่เราต้องพัฒนา
  6. เรื่องคอรัปชั่น
  7. การบริหารจัดการ แก้ไขได้ถ้ามีการวางระบบที่ดี
  8. ขาดการพัฒนาจิตสำนึกของผู้ประกอบการการท่องเที่ยว เช่น  ความสะอาด การจัดระเบียบชายหาด เป็นต้น
  9. ไม่มีการพัฒนา และอบรมในด้านการพัฒนาบุคลากรทางการท่องเที่ยวเรื่องการสร้างจิตสำนึกของการเป็นเจ้าบ้านที่ดี

10. งบประมาณมีจำกัดในการพัฒนาบุคลากร และสร้างจิตสำนึก

11. ขาดการยอมรับ หรือการเปิดโอกาสในการพัฒนาของผู้ประกอบการในการพัฒนาตนเอง

12. ความปลอดภัย เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้พัทยายังไม่น่ามา

13. การจราจร มีที่จอดรถของคนทั่วไป และมอเตอร์ไซด์ให้เช่า ทำลายภูมิทัศน์ของเมืองพัทยา

 

 

ข้อเสนอแนะ

  1. น่าจะมีการส่งเสริม Story ในแต่ละจังหวัดให้ศึกษาและให้ความรู้เพิ่มขึ้น
  2. การส่งเสริมมัคคุเทศก์ ควรมีการควบคุมความรู้ ให้มีการส่งเสริมความรู้ในเรื่องภาษาอื่น ๆ นอกจากภาษาอังกฤษ เช่น ภาษารัสเซีย เป็นภาษาที่ 3
  3. ควรมีการติดป้ายเส้นทางลัด
  4. การกวดขันมัคคุเทศก์เรื่องการขึ้นทะเบียนเนื่องจากมีการหลอกลวงในกลุ่มเจทสกีเรื่องการขายยาเสพติด
  5. ความปลอดภัย เน้นการติดตั้งกล้องวงจรปิด มีการสำรวจว่าติดตั้งที่ไหนบ้างแล้วเสนอที่ประชุมที่กรุงเทพ ฯ อยากขอความร่วมมือจากผู้ประกอบการติดตั้งกล้องวงจรปิดส่วนตัวเพื่อให้ตำรวจทำได้ง่าย และการจับกุมมีประสิทธิภาพมากขึ้น สามารถช่วยลดอาชญากรรมในท้องถิ่นได้
  6. เรื่องกีฬาเจทสกี ควรมีการทำบัตรติดท้ายเรือเพื่อแสดงความอนุญาต
  7. เรื่อง Sitting Guide  ทัวร์ในไทยยังเป็นการช้อปปิ้งอยู่ ดังนั้น การแก้ไขค่อนข้างลำบาก เนื่องจากนักท่องเที่ยวเองจะเชื่อ Leader Tour ในประเทศเขาเอง
  8. โครงสร้างใยแมงมุม ยังสามารถทำได้หรือไม่ เช่น การเข้าพักระยอง มี Side Trip เชื่อมการเดินทางมาเที่ยวจันทน์ พัทยา ตราดได้  ไปเช้าเย็นกลับได้หรือไม่ หน้าผลไม้เป็นอย่างไร
  9. การทำพัทยาทีม คือการนำทุกภาคส่วนมาบูรณาการร่วมกัน

10. โอกาส ในการยื่นเสนอปรับปรุงพระราชบัญญัติ การกระจายอำนาจ อย่างเช่นเรื่องเจทสกี ถ้ามีอำนาจ ก็จะสามารถจัดการได้อย่างดี สร้างความอะลุ่มอะล่วย มีการลงทะเบียน มีการประกันภัย แต่ปัญหาคือมีการคิดค่าธรรมเนียม

11. พัฒนาบุคลากรให้คิดดี และทำดี จะได้แก้ไขทุกอย่างไปในทางที่ดีได้

12. สร้างจิตสำนึกผู้ประกอบการให้รับผิดชอบนักท่องเที่ยวด้วย

13. การปรับปรุงการดำเนินงานของภาคธุรกิจ เรื่องความปลอดภัย ความสะดวก หรือยุทธศาสตร์ 

14. การเคลียร์พื้นที่ แบบ 5 ส. เปลี่ยนจากภาระ เป็นพลัง

15. การสร้างแนวร่วมในการพัฒนาบุคลากรร่วมกัน กระทรวงควรหาแนวร่วมจากส่วนอื่น ๆ ด้วย

16. พัฒนาคนให้ต่อเนื่อง ต่อเนื่อง และต่อเนื่อง  Stakeholder ที่ใหญ่สุดคือข้าราชการและมหาวิทยาลัย

17. การส่งเสริมกิจกรรม CSR

 

ศักยภาพด้านการบริหารจัดการการท่องเที่ยว

  • เรื่องความปลอดภัย ตัวบทกฎหมาย

พัทยาเสมือนเครื่องบิน มี Economic Class ,Business Class,First Class แต่ถ้าเทียบกับสิงคโปร์มีแต่ First Class สิ่งที่ทำคือควรมีมาตรฐานด้านความปลอดภัยเป็นหลัก ให้ดูตัวอย่างสิงคโปร์ แล้วสิ่งอื่น ๆ ที่ตามมาจะตามมาด้วย ทำอย่างไรให้เกิดการสถานการณ์ต่าง ๆ ให้สร้างความสบายใจและพร้อมที่จะเดินทางมาเที่ยว สรุปคือควรเพิ่มด้านความปลอดภัยให้ดีเสียก่อน

AEC มี 3 แท่ง คือ

  1. เศรษฐกิจ
  2. ความมั่นคง
  3. สังคมและวัฒนธรรม
  4. การเชื่อมโยง Connectivity

สรุปคือต้องเน้นเรื่องโอกาสและการคุกคามให้ได้

  • ไทยจะมีโปรเจคใหม่ ๆ หรือไม่ที่สร้างให้ภาคตะวันออกมีจุดแข็ง
  • การทำอะไรเกี่ยวกับ AEC จะทำอะไรในสิ่งที่ทำได้ ไม่ต้องทำทุกอย่าง ต้องไม่มีความขัดแย้งกัน
  • เสนอโปรเจคในบริบทของ AEC ที่น่าสนใจคืออะไร
  1. จำนวนคนอาเซียนมาเที่ยวพัทยามีเท่าไหร่ ต้องมีการเก็บให้มากขึ้น และหาตลาดเหล่านี้เพิ่มขึ้น
  2. การคิดแนวทางการพัฒนาบุคลากร
  • ถ้าจะพัฒนา Entrepreneur ในธุรกิจ SMEs หลักสูตรควรประกอบด้วยอะไรบ้าง
  • ถ้าพัฒนาท้องถิ่นจะเน้นอะไร
  • ถ้าจะพัฒนาข้าราชการ และตำรวจจะเน้นอะไร

สิ่งที่ภาคตะวันออกต้องทำคือ

  • สร้างความคิดใหม่ ๆ
  • สร้างความหลากหลายไปสู่ Excellence
  • จุดแข็งคือทุนทางวัฒนธรรม คนในอนาคต ต้องการวัฒนธรรม วัฒนธรรมทำให้คน Difference
  • ต้องสร้างความยั่งยืนให้ได้ ต้องค้นหาตัวเองให้เจอ ว่าเป็นนักธุรกิจเพื่ออะไร ไม่ใช่เพื่อเงินหรือทำลายสิ่งแวดล้อม แล้วระยะยาวพัง
  • สิ่งที่ต้องมีคือ ทุนทางจริยธรรม

 

ความพร้อมบุคลากรทางการท่องเที่ยวมีมากน้อยเพียงใด

  • บุคลากรของกระทรวงขาดความพร้อมจริง ๆ ความรู้น้อย แต่พยายามปรับปรุงเพื่อพัฒนาความรู้ให้มีผู้เชี่ยวชาญมากขึ้น
  • ภาคเอกชน มีความพร้อมน้อยเช่นกัน เนื่องจากพออบรมแล้วทำงานได้ไม่นานก็ไปที่อื่น
  • ภาคประชาชน เครือข่ายท่องเที่ยวชุมชน ถ้ามีการพัฒนาที่ดีจะเกิดความยั่งยืนได้
  • สนามกอล์ฟ เป็นของเก่าแล้วมาปรับปรุงใหม่มีการ Renovate
  • กิจกรรม 5 ส. มีการแบ่งพื้นที่อย่างเป็นรูปธรรม
  • จำนวนทรัพยากรบุคคลที่มาใช้ค่อนข้างขาดแคลน เมื่ออบรมด้านการท่องเที่ยวบางครั้งคนที่อบรมแล้วจะเลือกไปทำงานในองค์กรใหญ่ โรงแรมใหญ่ มากกว่าที่จะทำงานในท้องถิ่น  AEC เลือกใช้คนไม่เพียงพอ

 

ความสามารถขั้นพื้นฐานด้านการท่องเที่ยว

ศักยภาพของภาครัฐ

  • บุคลากรยังมีความรู้ แนวทางการดำเนินงาน และทักษะน้อยอยู่ สิ่งที่ต้องทำคือพยายามสร้างความร่วมมือในการบูรณาการหลาย ๆ หน่วยงานในการท่องเที่ยว ยั่งพัฒนา
  • ของททท. ความรู้ด้านการตลาดมีพอสมควรเนื่องจากพัฒนามาตลอด
  • ตำรวจท่องเที่ยวพยายามเพิ่มโดยดึงมวลชนเข้ามาช่วยในการดำเนินงานเป็นอาสาสมัคร
  • ทางด้านเมืองพัทยา การส่งเสริมกิจกรรมยังไม่เพียงพอ วิธีการคือขอความร่วมมือจากทุกภาคส่วน
  • บุคลากรในหน่วยงาน ปฏิบัติหน้าที่ เรื่องภาษายังมีอยู่
  • ความยั่งยืนใน AEC น่าจะเป็นทุกภาคส่วนร่วมมือกัน ที่มีการกำหนดมาตรฐานและหลักสูตรการศึกษาอบรมไปด้วยกัน

ศักยภาพของภาคเอกชน

  • ต้องศึกษาไปเรื่อย ๆ อย่างท่องเที่ยวยังไม่จบ เพราะต้องการความแปลกใหม่ตลอด
  • ต้องอาศัยข้อมูลสถิติจากหลายส่วนบูรณาการร่วมกัน
  • สนามกีฬามีความพร้อม แต่อยู่ที่การจัดการและความเชื่อมโยงต่อเนื่อง

ศักยภาพการจัดการศึกษาและองค์ความรู้

  • อยากให้ระบบการศึกษาขั้นพื้นฐานของประเทศดีกว่านี้
  • พัฒนาการเรียนภาษาให้ดีมากยิ่งขึ้น ทั้งมัคคุเทศก์  บุคลากรของสำนักงาน
  • การเรียนการสอนไม่ลงในภาคปฏิบัติ

ศักยภาพการจัดการด้านสื่อมวลชน

  • ทุกส่วนควรเน้นเรื่องการประชาสัมพันธ์มากกว่านี้ เริ่มช้าไป
  • การให้ความรู้ภาคเอกชนให้ดีมากกว่านี้
  • ให้สื่อโปรโมทความรู้ด้าน AEC มากขึ้น

ศักยภาพการบริหารจัดการด้านชุมชนและประชาชน

  • ต้องให้ความรู้แล้วจะต่อยอดได้
  • การพัฒนาความรู้ ทักษะความชำนาญ ทัศนคติ ให้ไปด้วยกัน

โอกาส

  • โดยชัยภูมิของไทยอยู่ตรงกลาง ไทยสามารถเป็น Hub ที่ดีที่สุด ขึ้นอยู่กับว่าเราสามารถดึงให้เขาอยู่กับเราได้มากน้อยแค่ไหน

ภัยคุกคาม

  • ไปที่อื่นง่ายขึ้น
  • ทางการเมืองถือเป็นเรื่องอันดับแรก  ตามมาด้วยเศรษฐกิจ
  • แรงงานต่างชาติเข้ามามากขึ้น
  • ภูมิคุ้มกันของไทยมีมากน้อยเพียงใด เรื่องอาชญากรรม การคุมทะเบียนจำนวนคน ถ้าความปลอดภัยต่ำ ความคุ้มกันไม่มีก็จะสู้ประเทศอื่นไม่ได้
  • เรื่องน้ำท่วม  เป็นจุดสกัดเนื่องจากประเทศอื่นในอาเซียนน้ำไม่ท่วม

แนวทางการสร้างความร่วมมือในกลุ่มอาเซียน มองในภาคตะวันออก

  • บริษัททัวร์เอเย่นต์ ทำทัวร์ร่วมกัน เน้นการทำแพคเกจที่ดี
  • การสร้างไทยเป็น Hub และ Gate way
  • การเริ่มให้ไทยเข้าไปหาประเทศในกลุ่มอาเซียนก่อน
  • สร้าง Cluster ใหญ่ แล้วแต่เมือง ภูมิภาคว่าเด่นอะไร

ปัจจัยเพื่อนำสู่ความสำเร็จด้านการพัฒนาขีดความสามารถ

  • ข้อมูลต้องถูกต้อง และ Update และเข้าถึงได้ง่ายที่สุด
เขมิกา ถึงแก้วธนกุล

กำหนดการจัดประชุมกลุ่ม (Focus Group)

โครงการพัฒนาขีดความสามารถในการบริหารจัดการด้านการท่องเที่ยวและกีฬา

เพื่อรองรับการเปิดเสรีประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) 

กลุ่มภาคตะวันออก

วันพุธที่ 4 กรกฎาคม 2555  

กลุ่มการกีฬาเวลา 13.00 – 16.00 น.

ณ  ห้องประชุม 221 ชั้น 2 ศาลาว่าการเมืองพัทยา จ.ชลบุรี

 

เกริ่นนำ

การพัฒนากีฬาในกลุ่มอาเซียน เน้น 3 เรื่อง

  1. สิ่งสำคัญคือการสร้างการกีฬาให้เป็นสันติภาพในภูมิภาคอาเซียน
  2. ต้องซ่อนกีฬาไว้ในธุรกิจการกีฬา
  3. กีฬามืออาชีพ กับกีฬาประชาชน น่าจะมีการฝึกอบรม
  • ธุรกิจขนาดเล็กขนาดกลางของท่องเที่ยว
  • ข้าราชการส่วนกลาง
  • ผู้นำชุมชน
    • สรุป มนุษย์ควรมี 4 Basics
  1. คุณธรรม จริยธรรม
  2. คิดเป็น วิเคราะห์เป็น
  3. ต้องมีเครือข่าย
  4. ต้องทำงานเพื่อความยั่งยืน
  • นอกจากนี้ควรเพิ่มเติมด้วย
  1. ความคิดสร้างสรรค์
  2. นวัตกรรม
  3. กีฬาคือทูตทางวัฒนธรรม เช่นมวยไทย ปัจจุบันโดนฝรั่งเศสลอกไปหมดแล้ว
  • กีฬาในวันนี้ขอให้คิดนอกกรอบ ถ้าเราเข้าสู่ AEC ยุทธศาสตร์ของกีฬาคืออะไร
  • ข้อสำคัญคือ กีฬาไม่ใช่เหรียญ กีฬาไม่ใช่เงิน กีฬาต้องสปิริต เพื่อส่วนรวม และรู้แพ้ รู้ชนะ
  • Youth สำคัญมากสำหรับกีฬาในอาเซียน
  • ทำกีฬาต้องเน้นที่เศรษฐกิจด้วย
  • สิ่งแรกที่ต้องทำคือเน้นความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ กีฬาสร้างเยาวชนรุ่นใหม่ กีฬาคือการสร้างคน สร้างทุนมนุษย์ ทุนทางจริยธรรม  การพัฒนาบุคลากรทางการกีฬา 100 % ผู้ประกอบการ เจ้าหน้าที่ ชุมชน เน้นโอกาสใหม่ ๆ ที่จะเกิดขึ้นในอาเซียน

 

กีฬากับจริยธรรม

  • การพัฒนาตัวนักกีฬา
  • การจัดกิจกรรมทางการกีฬา Sport Medicine, Sport Tourism

 

จุดเด่นของกีฬาไทยในภาคตะวันออกเฉียงเหนือในปัจจุบันเป็นอย่างไร

  • มวยไทย
  • กีฬาแบ่งเป็นประเภทเดี่ยวกับประเภททีม ตัวอย่างในภาคตะวันออกประเภททีมโอเคเช่นฟุตบอล แต่เรื่องประเภทเดี่ยวถ้ามีงบก็จะไปได้ไกล
  • ฟุตบอล ตัวอย่างสโมสรพัทยา เกิดที่ ต.บางพระ มีกลุ่มก่อตั้งฟุตบอล แข่งขันระดับล่างตั้งแต่ถ้วย ง ถึงถ้วยก. แล้วสมาคมฟุตบอลฯ ก็ปรับเป็นพรีเมียร์ลีกซ์ แล้วปรับเป็นผู้บริหารเมืองพัทยา 

ถาม เป็นไปได้หรือไม่ที่พัทยายูไนเต็ดจะไปทัวร์ในอาเซียน  เราจะสามารถเอา Youth มาฝึก Academy ที่พัทยา

ตอบ มีเยาวชน 2 รุ่นคือ 15 ปี และ 19 ปี ซึ่งเมืองพัทยาทำอยู่

  • กีฬายกน้ำหนัก
  • กีฬาทางน้ำติดอันดับโลก และได้รับการสนับสนุนทางท้องถิ่น เช่นวินเซิร์ฟ

เหตุผลคือจังหวัดชลบุรี มีภูมิประเทศยาว และมีผู้บริหารทำจริงจัง ลงไปตามอบท. การพัฒนาชุมชนใช้กีฬาเข้าไปเป็นเกณฑ์ และมีการประเมินความมีส่วนร่วมจากองค์กรด้วย พัทยา มีวินเซิร์ฟ เจทสกี ผู้บริหารมีหัวหอกอยู่ที่พัทยา มีเรือใบอยู่ที่สัตหีบ

  • ทางกีฬาวินเซิร์ฟ จะมีทีมฝึกสอนของสมาคมฯ ผลงานจะมาจากการสนับสนุน สมัยก่อนยังไม่ค่อยมีใครมาลงทุนเท่าไหร่ แต่ก่อนไม่สามารถขายสปอนเซอร์และแบรนด์ได้ มีทางเมืองพัทยาที่สนับสนุนให้ประสบความสำเร็จ ติดเหรียญทองโอลิมปิคเยาวชน Youth Olympic  Game
  • เมืองพัทยามีการให้ทุนฝึกเด็กโครงการช้างเผือก
  • อยากให้สนับสนุนกีฬาทางน้ำ เช่น วอลเลย์บอล แฮนด์บอลชายหาด

จุดแข็งกีฬาภาคตะวันออก

  1. ฟุตบอล ชลบุรีมีอยู่ 4 ทีมในระดับ Top 10
  2. กีฬาทางน้ำ มีม.บูรพา กกท. เมืองพัทยาให้การสนับสนุนอยู่
  3. มวยไทย มีค่ายมวย มีการส่งเสริมนักกีฬา มีช่อง 7 สี มีการสอนมวยให้ชาวต่างชาติ (การคิดค่าสอนคิดต่างจากคนไทย เงินรายได้ส่วนหนึ่งให้ค่าย ส่วนหนึ่งให้กับนักมวย)
  4. การสนับสนุนธุรกิจการกีฬา  (ถ้ากีฬาทำเป็นกีฬาอาชีพ สินค้าเป็นส่วนหนึ่งให้เกิดทุนของสมาคม และ FC ที่เกี่ยวข้อง)

มีการสนับสนุนอุปกรณ์กีฬาจากแกรนด์สปอร์ต ให้ทางสโมสรฟุตบอลที่พัทยา

  1. ธุรกิจการกีฬาควรโปรโมท สปอร์ต กับท่องเที่ยวไปด้วยกัน  ดึงพัทยาเป็น Pilot Project สร้าง F1  (กกท.พยายามดึงให้มาสร้างที่พัทยาอยู่ แต่ติดขัดที่งบประมาณ และระบบการเมือง เนื่องจากมีความสะดวกในเรื่องระบบ Logistics)

ศักยภาพที่ขายให้กับอาเซียน

  • มวย การจัดแข่งขันชกมวย ต้องมีการขออนุญาตตามพ.ร.บ.มวย
  • กฎหมายนับได้ว่าเป็นตัวพัฒนาให้มวยไทยพัฒนาดีขึ้นในเรื่องสัดส่วนและค่าตอบแทน
  • การสร้างโรงเรียนสอนมวยไทย เพราะประเทศไทย มีผู้มีความชำนาญ และมีความรู้หลายท่าน
  • มวยเสมือนเป็นวัฒนธรรมทางกีฬาของไทย จึงควรมีการพัฒนาอย่างแท้จริง
  • การจัดกระบวนการจัดการเรียนให้เป็นรูปแบบ ทำให้ต่อมาสามารถมีธุรกิจของที่ระลึกขึ้นมาได้ ที่ผ่านมามาจากท้องถิ่นหรือที่อยู่
  • หลักสูตรท้องถิ่นของโรงเรียนสอนเรื่องวินซ์เซิร์ฟในโรงเรียน  การจัดหลักสูตรฟุตซอล
  • การส่งอุปกรณ์ทางการกีฬาที่จำเป็นเสมือนการทำการทูตสู่ประเทศในกลุ่มอาเซียน

 

 

จุดอ่อนเรื่อง

  • เปตอง

สถานการณ์ทั่วไป

  • กีฬาเป็นหนึ่งได้ แต่ส่วนใหญ่เก่งคนเดียว
  • มุมมองด้านเรื่องวิทยาศาสตร์การกีฬา
  • การสอนเรื่องวิทยาศาสตร์การกีฬา  มีผลต่อกีฬาอาชีพมากขึ้น  เอกวิทยาศาสตร์การกีฬา ส่วนใหญ่ไปเป็นฟิตเนตเทรนเนอร์ อยู่ทีมสโมสรฟุตบอล (มีรับที่จบจาก ม.บูรพามา 2 คน)
  • วิทยาศาสตร์การกีฬา มีการตอบรับค่อนข้างดี มีสพร. ม.บูรพา สำนักการท่องเที่ยว สำนักวิทยาศาสตร์การกีฬา และกกท. แต่ก่อนไม่มีการบูรณาการร่วมกัน แต่ปัจจุบันเริ่มเปลี่ยนไป มีการบูรณาการร่วมกันมากขึ้น ตัวอย่างเช่นฟุตบอลอาชีพ มีชลบุรีเอฟซี ศรีราชา พัทยา และราชนาวี  แต่ขาดแผนการดำเนินงานที่ชัดเจน
  • กรมพลศึกษา แต่ก่อนเด่นมาก แต่ปรากฎว่าปัจจุบันไปผนวกกับ ก.ศึกษาธิการ  สังเกตว่าการเมืองทำให้ระบบบางอย่างเสียไป  ดังนั้นเราต้องหาจุดที่ทำให้การกีฬากับมาเหมือนเดิม เช่น กระทรวงฯ กกท. และการกีฬาอาชีพ  มหาวิทยาลัยในอนาคตต้องหันกลับมาทำ Basic เรื่องการศึกษาอย่างมาก
  • กีฬาถึงเวลาที่เปลี่ยนจากภาพลักษณ์ความล่ำเป็นสมอง ก.การท่องเที่ยวและกีฬาต้องยกย่องคนให้เน้นเรื่องยุทธวิธีต่าง ๆ
  • ลิขสิทธิ์กีฬาต้องกระทบในสังคมวงกว้าง

ในบริบทของ AEC วิทยาศาสตร์การกีฬาอยู่ในส่วน Top หรือไม่

  • กกท. มีการบริหารการกีฬาเป็น 5 ภูมิภาคในประเทศไทย
  • อนาคตมีแนวทางการขยายเครือข่าย สู่จังหวัด มีแนวทางผนวกกับการท่องเที่ยว
  • ประเทศไทยยังผลิตไม่พอ แต่มีมาตรฐานไปทำที่อื่นได้

 

แนวทางการสร้าง Sport Tourism ในภาคตะวันออก

  • ท่องเที่ยวและกีฬา จ.ระยองพยายามผลักดัน เนื่องจากภาระกิจกระทรวงจะต้องสนับสนุนทั้ง 2 ด้าน ล่าสุดมีการจัดไตรกีฬา (วิ่ง ว่ายน้ำ จักรยาน) เมื่อเดือนพ.ค. 55 กลุ่มที่เข้ามาเป็นนักกีฬานานาชาติ เป็นนักกีฬาโดยเฉพาะ  และต่อมามีแนวทางสำหรับการจัดเจทสกี และตะกร้อนานาชาติ
  • บางครั้งทัศนคติของผู้ปกครองมีผลต่อการเล่นกีฬาของเด็ก เนื่องจากอาจเกิดอันตรายได้ จึงอยากให้มีการทำความเข้าใจไปถึงผู้ปกครองให้เห็นความสำคัญของการกีฬาด้วย
  • อยากให้เน้นการมองการศึกษาให้ครบถ้วน โดยรวมถึงกีฬาเข้าไปด้วย การสร้าง Life Skill อยู่ที่ กกท. ว่าเน้นกีฬาเพื่อทุนมนุษย์หรือเพื่ออะไร  
  • การทำวิจัยเน้นแผนกีฬาแห่งชาติให้กีฬาเป็นยุทธศาสตร์การดำรงชีวิตของคนทุกคน และให้เน้นกีฬากับจริยธรรมเพิ่มขึ้น  ทำให้กีฬามีบทบาทต่อสังคม 66 ล้านคน
  • พัทยามี Event ระดับ International  ตัวอย่างเช่น ในวันที่  15 ก.ค.  55 จะมีวิ่งพัทยามาราธอน ปีที่ 21 จากผู้แข่งขันทั่วโลก , การจัดแข่งขันฟุตบอลชายหาดนานาชาติ เน้นชาวต่างชาติที่อาศัยในพัทยารวมกลุ่มกันเล่นฟุตบอลชายหาด (จัดช่วงเย็น เลิกกลางคืน) เป็นในรูปแบบ Entertainment  
  • การทำ ASEAN Tournament Beach เพื่อต่อรองกับยุโรป อเมริกา สร้าง Niche  เป็นจุดเล็ก ๆ โดยเฉพาะ สร้างอาเซียนเป็นส่วนหนึ่งของโลกาภิวัตน์ อย่าให้มีความขัดแย้งกัน  

กีฬาชุมชนที่ต่อร่วมกับท่องเที่ยว ที่เป็น Niche Market คืออะไร

  • การแข่งขันเรือยาว   พัทยาร่วมกับเมืองพัทยา เทศบาลหนองโป่ง  และท้องถิ่น มีการแข่งในกลุ่มอาเซียน และท้องถิ่นร่วมกันสมาคมเรือพาย
  • ระยอง ก็มีกีฬาแข่งขันเรือยาว แต่ไม่สู่ระดับชาติ เป็นลักษณะท้องถิ่น
  • ตราด มีจัดพายเรือคะยัก  จัดร่วมกับชุมชน กลุ่มที่เข้ามาเป็นกลุ่มจากต่างประเทศ กลุ่มครอบครัว  สามารถทำให้เกิดรายได้ได้
  • สมาคมแข่งเรือใบ ร่วมกับเมืองพัทยา จัดแข่งขันเรือพายที่แหลมบาลีฮายด์  อยากให้ดูตัวอย่างที่ฮ่องกงที่มีการจัดแข่งขันแบ่งเป็นประเภทท้องถิ่น นันทนาการ และความเป็นเลิศ อยากให้พัทยานำมาปรับกับกีฬาอาเซียน
  • ถ้ากีฬาเพื่อความเป็นเลิศ ต้องสมาคมกีฬาเป็นผู้จัด  แม่งานเป็นต้นแบบ และร่วมกับท้องถิ่น
  • ประเพณีวิ่งควาย การเชิญอาเซียนเข้ามาร่วมด้วยเพื่อสร้างความกระชับสัมพันธไมตรี
  • กีฬาYouth  และกีฬาชายแดน  ควรให้ท่องเที่ยวประสานงาน  กีฬากับท่องเที่ยวจะช่วยลดปัญหาเรื่องบ่อนตามชายแดนได้ 
  • กีฬาช่วยลดอบายมุข สร้างแนวคิด รู้เขา รู้เรา และสัมพันธไมตรีด้วย
  • ประเทศจีนจะมีการจัดกีฬาแบดมินตันและบาสเกตบอลที่ไทย  และสลับกันเป็นเจ้าภาพ

การจัดระบบโลจิสติกส์เรื่องการแข่งกีฬาท้องถิ่นมีความพร้อมหรือไม่

  • ถ้าไทยมีมากกว่าคนอื่นก็แบ่งปันให้ประเทศอื่นบ้าง
  • ถ้าการจัดการกีฬาของสิงคโปร์ดีกว่าต้องแบ่งกัน
  • เน้นเรื่องการสร้างความร่วมมือ
  • อาเซียนเสรีเสียเปรียบบางเรื่องแต่คือแรงกดดันที่ทำให้ไทยมีมาตรฐานสูงขึ้น

ของที่ระลึกของพัทยาคืออะไร

  • ของที่ระลึกกลุ่มจังหวัดระยอง อยู่ระหว่างการทำวิจัย ของ ส.ท.ท. + สกว.+ ม.เกษตรศาสตร์ กำลังผลิตแบรนด์สินค้าของที่ระลึกกลุ่มชลบุรี ระยอง ตราด ว่าคืออะไร ตัวอย่างล่าสุดเสนอทะเล ภาคใต้มีเรือกอแระ
  • กีฬาชลบุรีเกมส์ จะมี Mascot ปลาฉลาม แล้วเขียน เมืองแสนสุข หรือสามมุก เป็นการสร้างแบรนด์
  • การทำ Story ที่เขาสามมุกเนื่องจากเป็นเมืองแรกที่เซ็นสัญญาเรื่องอาเซียน

การเล่นกีฬาภาคตะวันออกให้เป็นมืออาชีพจริง ๆ ควรทำอย่างไร และพัฒนาอย่างไร

  • ฟุตบอล มีนักกีฬาคนในท้องถิ่นบ้าง แต่หลัก ๆ จะมาจากที่อื่น ซื้อคนที่ฝีเท้าดีมาอยู่ในทีมแต่อย่างไรก็ตามไม่ทิ้งคนในท้องถิ่น
  • มวย
  • ตะกร้อ
  • วอลเล่ย์บอล ชลบุรีแอร์ฟอร์ด
  • บาสเกตบอล
  • ฟุตบอลอาชีพ เงินเดือนต่ำสุด 8,000 บาท มีค่าเบี้ยซ้อมวันละ 500 บาท เฉลี่ยแล้วประมาณ 20,000 บาท สูงสุด 200,000 บาท (ขึ้นอยู่กับฝีเท้า และสโมสร)
  • งบประมาณของรัฐมีการสนับสนุนเพียงพอหรือไม่ (ไม่สามารถให้ได้ จะโดนเรียกเงินคืน) แต่กกท.ให้ได้ วิธีการให้ทำโปรเจคขึ้นไปแล้วเสนอไปที่ กกท. ก็จะสามารถให้ได้

ใน 10 ปีข้างหน้าอยากให้การกีฬาในภาคตะวันออกเก่งทางไหนมากที่สุดแล้วมีปัจจัยอะไรบ้างนำไปสู่ความสำเร็จ

  • เมืองพัทยาเป็นเมืองหลากหลายทางอารยธรรม หลากหลายกลุ่ม กีฬาทุกอย่างมีคนสนใจไม่เหมือนกัน ควรทำให้เมื่อคนมาสนใจกีฬาอะไรสามารถเล่นได้หมด เน้นกีฬา Entertain มากกว่ากีฬาเพื่อความเป็นเลิศ เช่น กีฬาวิ่งพัทยามาราธอน

การแข่งขันเรือยาวมังกร เป็นกลุ่มประเภทกีฬาทางทะเลโดยเฉพาะ กีฬาทางน้ำ สกี วินซ์เซิร์ฟ วอลเลย์บอลชายหาด ฟุตบอลชายหาด  ตะกร้อ แฮนด์บอล ชายหาด น่าจะส่งเสริมให้เกิดขึ้นกับกลุ่มภาคตะวันออกเนื่องจากเหมาะกับภูมิประเทศของภาคตะวันออก  ยกเว้นกีฬาเพื่อความเป็นเลิศเช่น วินซ์เซิร์ฟ

  • การสร้างสปอร์ตคอมเพล็กซ์ เป็นศูนย์กีฬาแห่งชาติภาคต.ย. กกท.เป็นผู้ริเริ่มแล้วมอบให้เมืองพัทยาดูแล
  • ปัจจุบันวินซ์เซิร์ฟ เด่นอยู่แล้วเกินอาเซียนไปแล้ว
  • ถ้าพัทยาอยากให้กีฬาอะไรเป็นเลิศ ให้ดึงสมาคมกีฬานั้น ๆ มากระทำ ไม่ใช่ทำกันเอง
  • การ Management ต้องบูรณาการในการท่องเที่ยว ส่งเสริมในเรื่องการแข่งขัน และ Entertain การฝึกสอน และการเล่นกีฬา อยากทำให้เป็นในทิศทางเดียวกันในกลุ่มภูมิภาคตะวันออก ไม่ใช่แค่ที่พัทยาที่เดียว ต้องมีแผนงานการหาแหล่งเงินทุนและการประชาสัมพันธ์
  • การพัฒนาในภูมิภาคตะวันออกขอเสนอหลักสูตร Cluster เวลาจัด Training พัฒนาคนโดยมีเป้าหมาย จับมือกันเป็น Sport  Tourism  โอกาสดีคือ ถ้าผู้นำท้องถิ่นช่วยกีฬาได้จะดีมาก  และข้อดีคือกฎหมายในเมืองไทยยกให้ทุกอย่างอยู่ในสมาคมฯ
  • สิ่งสำคัญที่สุดคือ กอล์ฟ กับเทนนิส , 20 ปีของพัทยาโอเพ่นมีมูลค่ามหาศาล  เราต้องสร้างความสนใจให้เด็กไทยใฝ่กีฬา และดูกีฬามากขึ้น  กีฬาต้องเพื่อสังคม ระวังกีฬากับการพนัน ต้องเน้นกีฬากับการสร้างจริยธรรมทางการกีฬา
  • การทำ Beach Game  หรือกีฬาแบบ Informal ไม่ต้องมีเหรียญก็ได้
  • ปัญหาของคนในวงการกีฬาไม่คิดเป็นยุทธศาสตร์ ต้องเริ่มหันมามององค์รวม กีฬาช่วยสร้างความมั่นคงในประเทศ กีฬาช่วยการลดใช้ยาได้ เป็นต้น  ทำแบบ Life Skill วิถีชีวิตในการดำรงชีวิต
  • เปลี่ยนกีฬาจากจุดเล็ก ๆ เป็นศูนย์กลางของประเทศ
  • กีฬาคือการพัฒนาคนอันยิ่งใหญ่
  • ความยั่งยืนได้วัฒนธรรมทางกีฬาต้องมี ให้กีฬาแยกเป็นกระทรวงให้ได้ในอนาคต

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท