บัวสี่เหล่า : ความพร้อมของคน : แบบภาวะผู้นำ


มนุษย์มีความแตกต่าง (Individual Difference) ดังคำเปรียบเทียบพุทธศาสนากับบุคคลสี่จำพวก

บัวสี่เหล่า : ความพร้อมของคน :  แบบภาวะผู้นำ

                มนุษย์มีความแตกต่าง (Individual Difference) ดังคำเปรียบเทียบพุทธศาสนา กับบุคคล     สี่จำพวก ดังนี้

                บัวในโคลนตม       เปรียบเสมือนบุคคลที่มีสติปัญญาทึบ (Sluggard or Dog mate) ไร้ซึ่งความสามารถ  สภาพการทำงานไร้จิตวิญญาณ ผลงานเกิดจากความช้ำใจ ผู้นำต้องการใช้การบอกกำกับ หรือบังคับให้ทำงาน (Telling or Directing)

                บัวกลางน้ำ เปรียบเสมือนบุคคลที่มีสติปัญญาน้อย  ทำงานหรือไม่ทำงานต้องได้เงิน ค่าตอบแทน สนใจผลตอบแทนเป็นหลัก       ผู้นำต้องใช้การขาย หรือกระตุ้นความคิดให้ทำงาน คอยให้คำปรึกษา ข้อคิดเห็นต่างๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อการปฏิบัติงาน  เป็นผู้ทำในสไตล์ ที่ต้องขายความคิดหรือสอนงานให้ (Selling or Coaching)

                บัวปริ่มน้ำ  เปรียบเสมือนบุคคลที่มีสิติปัญญาฉายแววความเฉลียวฉลาด ให้ความสำคัญ และสนใจในตนเองมาก ต้องการสิ่งจูงใจ และผลตอบแทนในการทำงาน มีการปรับตัวได้ดีในระยะแรก (Early Adaptor) ยึดถือ “การทำความดีต้องได้ดี จึงจะมีความสุข” การปฏิบัติงานกับบุคคลกลุ่มนี้ ต้องใช้ภาวะผู้นำแบบมีส่วนร่วม หรือคอยให้การสนับสนุน (Participating or Supporting)

                บัวพ้นน้ำ     เปรียบเสมือนบุคคลที่มีสติปัญญาแหลมคม เฉลียวฉลาด สามารถจัดการบริหารงานด้วยตนเองได้ (self   Directed)             ทำงานโดยไม่ต้องกำกับควบคุม เป็นผู้มีความรับผิดชอบ  พร้อมปรับตัวและเปลี่ยนแปลง (Change Agent)  ผู้คนเหล่านี้ ทำดีไม่ได้ดีก็จะเฉยๆ เพราะว่าผลที่ได้รับจากการกระทำนั้น ได้ตอบสนองความต้องการของตนเองไปแล้ว สไตล์ของผู้นำกับบุคคลกลุ่มนี้ ใช้การมอบหมายงาน (Delegating)  โดยติดตามอยู่ห่างๆ คอยพิจารณาผลสำเร็จของงาน ให้กำลังใจเป็นแรงเสริม

                ที่กล่าวมาข้างต้น จะมีความสอดคล้องกับแบบของภาวะผู้นำตามสถานการณ์ของ Paul Hersey and Kenneth Blanchard ’s situation แบ่ง Style ผู้นำออกเป็น 4 แบบ โดยคำนึงถึงพฤติกรรมความสัมพันธ์ระหว่างผู้บังคับบัญชากับเพื่อนร่วมงาน และคำนึงถึงต้องพฤติกรรมการทำงานของผู้ร่วมงาน มีรายละเอียดดังนี้

คำสำคัญ (Tags): #บัวสี่เหล่า
หมายเลขบันทึก: 493393เขียนเมื่อ 4 กรกฎาคม 2012 11:12 น. ()แก้ไขเมื่อ 4 กรกฎาคม 2012 11:12 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท