หลักในการเลือกฎหมาย(choice of law) ตามกฎหมายของประเทศญี่ปุ่นกับกฎหมายของประเทศไทย มีความเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร ?


หลักในการเลือกกฏหมายถือเป็นหัวใจสำคัญประการหนึ่งของการศึกษากฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคล

ญี่ปุ่นมีบทบาทสำคัญในทางการค้าของประเทศไทยมาเป็นเวลานานแล้ว โดยประเทศไทยต้องใช้เทคโนโลยีและเงินทุนจากประเทศญี่ปุ่นเป็นจำนวนมาก 

 แต่เมื่อคนไทยกับคนญี่ปุ่นมีนิติสัมพันธ์กัน  เราจะทราบได้อย่างไรว่ากฎหมายที่จะใช้บังคับแก่กรณีเหล่านี้คือกฎหมายของประเทศใด?

บทบัญญัติกฎหมายที่จะทำให้เราทราบว่าจะใช้กฎหมายของประเทศใดเพื่อใช้บังคับกับนิติกรรมหรือสัญญาที่ทำขึ้นในกรณีดังกล่าวคือ

หลักในเรื่องการเลือกกฎหมาย ( choice  of  law ) ซึ่งถือเป็นหัวใจสำคัญประการหนึ่งของกฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคล  เพราะจะทำให้ทราบได้อย่างแน่นอนว่ากฎหมายที่จะนำมาใช้บังคับกันนิติกรรมหรือสัญญาที่มีลักษณะระหว่างประเทศ  รวมทั้งทำให้เกิดความมั่นใจแก่บุคคลผู้ที่ประสงค์จะก่อนิติสัมพันธ์เหล่านั้น

มุ่งบทความนี้จึงนำหลักในการเลือกกฎหมายตามกฎหมายของประเทศญี่ปุ่นมาเปรียบเทียบกับกฎหมายของประเทศไทย  ว่ามีความเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร  เพื่อให้ผู้ที่สนใจได้ใช้เป็นข้อมูลประกอบการพิจารณา  หากต้องมีการทำนิติกรรมหรือสัญญากับคนหรือบริษัทญี่ปุ่น

หลักในการเลือกกฎหมายในกฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคลของประเทศญี่ปุ่น

กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคลหรือกฎหมายขัดกันของประเทศญี่ปุ่นมีชือเรียกว่า โฮเรอิ(HOREI) ตราขึ้นเมื่อปี ค.ศ 1898และมีการแก้ไขเพิ่มเติมหลายครั้ง โดยครั้งล่าสุดแก้ไขเพิ่มเติมในปี ค.ศ 2001

ส่วนบทบัญญัติในเรืองการเลือกกฎหมายหรือ choice  of  law  ของประเทศญี่ปุ่นนั้นอยู่ในมาตรา 7 ซึ่งกำหนดไว้ว่า

1. With regard  to  the  formation and  effect  of  a  juristic act, the  question  as to  whice  country's law is govern  shall  be determined  by the  intention  of  the  parties.

2. In   the  cases  where  the intention  of  the parties  is  unclear , the  law  of  the  place  where  the  juristic  act  is  done  shall  govern.

แปลว่า 

1. กฎหมายที่จะใช้บังคับกับการก่อให้เกิดและผลของการมีนิติสัมพันธ์  ให้ตกอยู่ภายใต้กฎหมายที่คู่สัญญาเลือก

2. ในกรณีที่ไม่อาจทราบถึงเจตนาของคู่สัญญา  ให้ใช้กฎหมายแห่งท้องที่ซึ่งได้มีการกระทำนิติสัมพันธ์นั้น

กล่าวโดยสรุป  หลักเกณฑ์ในการเลือกกฎหมายที่จะใช้บังคับกับนิติสัมพันธ์ระหว่างประเทศตามกฎหมายขัดกันของประเทศญี่ปุ่น  ให้พิจารณา

- เจตนาของคู่สัญญา  หากไม่ทราบ

- ให้ใช้กฎหมายแห่งท้องถิ่นที่นิตกรรมนั้นได้ทำขึ้น

 

สำหรับกฎหมายของประเทศไทยในเรื่องดังกล่าวนี้  อยู่ในมาตรา 13  แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการขัดกันแห่งกฎหมาย พ.ศ 2481 ซึ่งได้กำหนดไว้ว่า

ปัญหาว่าจะพึงใช้กฎหมายใดบังคับสำหรับสิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญหรือผลแห่งสัญญานั้น  ให้วินิจฉัยตามเจตนาของคู่กรณี  ในกรณีที่ไม่อาจหยั่งทราบเจตนาชัดแจ้งหรือโดยปริยายได้  ถ้าคู่สัญญามีสัญชาติอันเดียวกัน  กฎหมายที่จะใช้บังคับก็ได้แก่กฎหมายแห่งสัญชาติอ้นร่วมกันแห่งคู่สัญญา  ถ้าคู่สัญญาไม่มีสัญชาติอันเดียวกัน  ก็ให้ใช้กฎหมายแห่งถิ่นที่สัญญานั้นได้ทำขึ้น

ถ้าสัญญานั้น  ได้ทำขึ้นระหว่างบุคคลซึ่งอยู่ห่างโดยระยะทาง  ถิ่นที่ถือว่าสัญญานั้นได้เกิดเป็นสัญญานั้นคือ  ถิ่นที่คำบอกกล่าวสนองไปถึงผู้เสนอ  ถ้าไม่อาจหยั่งทราบถิ่นที่ว่านั้นได้  ก็ให้ใช้กฎหมายแห่งถิ่นที่จะพึงปฎิบัติตามสัญญานั้น

สัญญาย่อมไม่เป็นโมฆะ  ถ้าได้ทำถูกต้องตามแบบอันกำหนดไว้ในกฎหมาย  ซึ่งใช้บังคับแก่ผลแห่งสัญญานั้น

กล่าวโดยสรุป  หลักเกณฑ์ในการเลือกกฎหมายของกฎหมายขัดกันของประเทศไทยให้พิจารณจาก

- เจตนาของคู่สัญญา

- สัญชาติเดียวกันของคู่สัญญา

- กฎหมายแห่งท้องถิ่นซึ่งสัญญาได้ทำขึ้น

 

จะเห็นได้ว่าหลักเกณฑ์ในการเลือกกฎหมายของประเทศญี่ปุ่นกับของประเทศไทย  มีส่วนที่เหมือนกันคือ

- การพิจารณาจากเจตนาของคู่สัญญา 

- กฎหมายแห่งท้องถิ่นที่สัญญาได้ทำขึ้น

 

ส่วนที่แตกต่างกัน ก็คือ

กฎหมายของประเทศไทยจะให้รายละเอียดมากกว่า  กล่าวคือ  ก่อนที่จะนำกฎหมายแห่งท้องถิ่นที่สัญญาได้ทำขึ้น มาใช้บังคับนั้น  ให้มีการพิจารณาว่าคู่สัญญามีสัญชาติเดียวกันหรือไม่  หากมีสัญชาติเดียวกัน  ก็ให้ใช้กฎหมายของสัญชาติของคู่สัญญา

นอกจากนี้  กฎหมายของประเทศไทยยังมีหลักเกณฑ์ในเรื่องของสัญญาที่ทำขึ้นโดยบุคคลที่ห่างโดยระยะทางและแบบของกฎหมายที่ใช้บังคับต่อผลแห่งสัญญาด้วย

เมื่อพิจารณาหลักเกณฑ์ในการเลือกกฎหมายจากกฎหมายขัดกันของทั้งสองประเทศดังกล่าวข้างต้น  ทำให้สังเกตุได้ว่า  นิติกรรมหรือสัญญาที่คนหรือบริษัทไทยไปทำกับคนหรือบริษัทญี่ปุ่น ซึ่งมักเป็นสัญญาที่ญี่ปุ่นมีอำนาจการต่อรองมากกว่า  จึงมักจะกำหนดให้ใช้กฎหมายของประเทศญี่ปุ่นบังคับกับสัญญา  หรือกรณีที่ไม่ได้มีการระบุเอาไว้อย่างแจ้งชัด  สัญญาเหล่านั้น มักจะเป็นลงนามก้นในประเทศญี่ปุ่น   อันเป็นผลมาจากหลักกฎหมายขัดกันของทั้งสองประเทศนั่นเอง

หมายเลขบันทึก: 49330เขียนเมื่อ 10 กันยายน 2006 17:21 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 มิถุนายน 2012 08:00 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

อนากให้ลองคิดดูว่า  

(๑) มาตรา ๑๓ ว่าด้วยการทำสัญญาไหมคะ ?

(๒) มาตรา ๑๓ ว.๒ ก็น่าจะนำมาพูดถึงนะ หากจะสรุปถึง "กฎหมายที่ใช้บังคับต่อผลแห่งสัญญา" ?

ลองคุยต่อในชั้นเรียน

มาตรา 13 ของพระราชบัญญัติว่าด้วยการขัดกันแห่งกฎหมาย  พ.ศ. 2481  เป็นบทบัญญัติที่เกี่ยวกับการทำสัญญาครับ   โดยเป็นบทบัญญัติที่ช่วยให้ทราบว่าจะนำกฎหมายใดบังคับกับสัญญานั้น  ในกรณีที่คู่สัญญาไม่ได้มีการตกลงกันเอาไว้แต่แรก

ส่วนมาตรา 13  วรรค 2   ในส่วนที่เกี่ยวกับ "กฎหมายที่ใช้บังคับต่อผลแห่งสัญญาหรือกฎหมายแห่งถิ่นที่จะพึงปฎิบัติตามสัญญา" นั้น  เป็นกรณีที่สืบเนื่องมาจากการสัญญาที่ได้ทำขึ้นโดยบุคคลที่อยู่ห่างกันโดยระยะทาง  ซึ่งโดยปกติจะถือให้ใช้กฎหมายของถิ่นที่คำบอกกล่างสนองไปถึงผู้เสนอ  แต่ถ้าหากไม่ทราบ   กฎหมายก็กำหนดให้ใช้กฎหมายที่ใช้บังคับต่อผลแห่งสัญญา  ยกตัวอย่างเช่น  สัญญาว่าจ้างให้ต่อเรือ  ถ้าพิจารณาจากเงื่อนไขตามที่กำหนดไว้ในมาตรา 13 ทั้งวรรค 1 และ 2 แล้วไม่อาจทราบว่าจะใช้กฎหมายใดบังคับ  ในกรณีนี้  ต้องใช้กฎหมายที่อู่ต่อเรือตั้งอยู่  เพราะเป็นที่มีการบังคับใช้ให้ปฎิบัติตามสัญญา

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท