Consult วิสัญญีแพทย์


วันนี้ของแบ่งปันเล่าเรื่อง.. "เมื่อหญิงตั้งครรภ์เป็นไส้ติ่งอักเสบ"

หลังจากศัลยแพทย์ Set Appendectomy (ผ่าตัดไส้ติ่งอักเสบ) ผู้ป่วยเป็นหญิงตั้งครรภ์ ทัองแรก อายุครรภ์ ๑๘ สัปดาห์ ปวดท้องน้อยด้านขวามา ๑ วัน เริ่มมีไข้ ตรวจกดท้องน้อยจะปวดมาก สะดุ้งทุกครั้งที่กดท้อง มีคลื่นไส้ไม่อาเจียน

kunrapee กังวลที่ต้องดมยาสลบหญิงตั้งครรภ์ ที่มีอายุครรภ์น้อยๆ จึงโทรศัพท์ Consult วิสัญญีแพทย์ที่ห้องผ่าตัดรพ.มหาราช นม. อาจารย์แนะนำให้เลือกใช้ยาที่ออกฤทธิ์สั้น, ใช้ขนาดยา dose น้อยสุดก่อน (เช่นยานำสลบ Sodium Thiopenthal 3-5 mg/kg.ให้ใช้ขนาด 3 mg/kg. ยาหย่อนกล้ามเนื้อ Atracurium 0.3-0.5 mg/kg.ให้ใช้ขนาด 0.3 mg/kg.เป็นต้น), ต้องแจ้งให้ผู้ป่วยรับทราบว่าการดมยาสลบ-ผ่าตัด อาจส่งผลเป็นอันตรายต่อทารกในครรภ์ ซึ่งอาจทำให้แท้งได้ และต้องติดตามต่อเนื่องหลังผ่าตัด (ถ้าอายุครรภ์ <12 สัปดาห์ ไม่ควรผ่าตัดที่รพช.)

การดมยาสลบและผ่าตัดครั้งนั้นผ่านไปได้ด้วยดี ไม่มีภาวะแทรกซ้อนใดๆ หลังผ่าตัด ๓ เดือน การตั้งครรภ์ดำเนินต่อไปได้ด้วยดี.. โล่งอกค่ะ..

รพช.อย่างเราๆต้องหวังพึ่งพี่ใหญ่ (รพ.มหาราช นม.) ซึ่งจะเป็นพี่เลี้ยงให้พวกเราได้ตลอดเวลา การปรึกษาเรื่องที่เราไม่แน่ใจ-สงสัย มีผลดีอย่างมากทั้งตัวผู้ปฎิบัติเองและสำคัญที่สุดคือ "ผู้ป่วยปลอดภัย" ค่ะ

หมายเลขบันทึก: 492996เขียนเมื่อ 1 กรกฎาคม 2012 07:18 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 กรกฎาคม 2012 07:38 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)

หลายวันก่อนโทร.Consult เรื่องคนไข้เคยผ่าตัดสมอง รับประทานยากันชักมาตลอด ๕ ปี วันนั้นมาสูงเนินตรวจพบเนื้องอกมดลูก แพทย์นัดผ่าตัดเอาเนื้องอกออก (Consult เรื่องยาที่ควรใช้ - ไม่ควรใช้กับผู้ป่วยที่ on Depakine)

 

เคยเจอ Case (เมื่อปีที่แล้ว) ผ่าตัดไส้ติ่ง (Appendectomy) ผ่าเข้าไปพบก้อนเนื้อสีคล้ำ สีไม่สวยที่ลำไส้ ศัลยแพทย์โทร. Consult รพ.มหาราช แนะนำให้ปิดแผล (ยังไม่ต้องเย็บ) และส่งต่อรพ.มหาราช จะผ่าตัดต่อให้ kunrapee จึงประสานวิสัญญีแพทย์ๆแนะนำให้ยุติการดมยาสลบและถอดท่อช่วยหายใจ (Reversation + Extubation) ก่อนส่งต่อ

 

แพทย์ผ่าตัดไส้ติ่งอักเสบ ซักประวัติพบว่าผู้ป่วยที่ on ยาจิตเวชนาน 3 ปี

- CPZ (100) รับประทาน 2 เม็ดก่อนนอน

- Benz(2) รับประทาน 1 เม็ดสามเวลาหลังอาหาร

- Phenemazine 250 mg. ฉีดยาเข้ากล้ามเนื้อเดือนละ ๑ ครั้ง

kunrapee โทร.Consult วิสัญญีแพทย์ๆ ให้ระวังหรือหลีกเลี่ยงยาที่อาจทำให้เกิดภาวะชักได้เช่น Ketamine, Pethidine

หลังดมยาสลบและผ่าตัดไม่พบปัญหา ผู้ป่วยปลอดภัย


 

ผู้ป่วยครรภ์เป็นพิษ (ความดันสูงขณะตั้งครรภ์=Severe Pregnancy Induce Hypertension) อายุครรภ์ 38 สัปดาห์ มาตรวจตามนัดวัดความดัน BP=190/120 mmHg. แพทย์สั่งนอนรพ. (เพราะอาจส่งผลให้ผู้ป่วยชักจากความดันสูงได้)

แพทย์สั่งให้ MgSo4 iv drip และ Nicardepine IV drip ความดันเริ่มลดลงจึง Set ผ่าครรภ์คลอด แต่ก่อนเข้า OR ความดันสูงขึ้น วิสัญญีพยาบาลจึงโทร.Consult วิสัญญีแพทย์ๆแนะนำให้เพิ่ม rate Cardipine และ MgSo4 แล้วสังเกตอาการต่ออีก 30 นาทีรอจน BP<160/100 mmHg จึงจะเริ่มดมยาสลบได้ แต่ถ้า BP>160/100 mmHg. ให้พิจารณาส่งต่อ

30 นาทีต่อมาความดันไม่ลด จึงประสานสูติแพทย์ๆพิจารณาส่งรพ.มหาราช นม. (Refer ดีกว่า เดี๋ยวจะต้องรายงานความเสี่ยงอีก ฮุฮุ)

 

ศัลยแพทย์ Set ผ่าตัดไส้ติ่งอักเสบ คนไข้เพิ่งจะทานข้าวผัดไป ๑ จาน วิสัญญีพยาบาลขอให้รออย่างน้อย ๖ ชม. เพื่อป้องกันการสำลักเศษอาหารเข้าปอด แต่ศัลยแพทย์ยืนยันจะผ่าตัดให้ได้ บอกว่าถ้ากลัวสำลัก (Aspirate) จะใส่สาย NG tube ดูดอาหารออกจากกระเพาะอาหารให้ จึงได้โทรศัพท์ consult วิสัญญีแพทย์ที่รพ.มหาราช นม.

อาจารย์ : ควรจะรอให้ครบ ๖ ชม.เพราะถ้าสำลักอาหารเข้าปอด คนไข้อาจเสียชีวิตได้ แต่ถ้ารอเวลาแล้วไส้ติ่งแตก คนไข้ไม่เสียชีวิต หรือไม่งั้นส่งต่อมาผ่าตัดที่รพ.มหาราช นม.

ศัลยแพทย์ : ตกลงรอเวลาให้งดน้ำและอาหาร (NPO) ให้ครบ ๖ ชม.ค่อยผ่าตัด (เป็นผ่าตัดนอกเวลาราชการ)

วิสัญญีพยาบาล : สบายใจที่สามารถลดความเสี่ยงได้

ผล : ไส้ติ่งไม่แตกค่ะ ผู้ป่วยปลอดภัย (เรื่องเล่านี้เกิดขึ้นปีที่แล้วค่ะ นำมาเล่าใหม่)

ผู้ป่วยเคยผ่าตัด Bypass (เป็นการผ่าตัดหลอดเลือดหัวใจตีบ ศัลยแพทย์จะนำหลอดเลือดจากตัวของผู้ป่วยเอง เช่นหลอดเลือดดำจากขา, หลอดเลือดแดงจากผนังหน้าอก, หลอดเลือดแดงจากแขน เป็นต้น) มาต่อกับหลอดเลือดหัวใจ จะทำให้เลือดจะไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจมากขึ้น ทำให้อาการปวดหน้าอกหายไป) เมื่อ ๑ ปีที่ผ่านมา ผู้ป่วยมาด้วยปวดท้อง แพทย์ตรวจพบ PU Perforate และ Set ผ่าตัด ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ พบผิดปกติ จึง Consult อายุรแพทย์ๆพิจารณาว่าไม่ควรผ่าตัดที่สูงเนิน Consult วิสัญญีแพทย์ๆให้ Refer ไปผ่าตัดที่รพ.มหาราช นม.


 

ผู้สูงวัย 68 ปีมาตรวจด้วยอาการไส้เลื่อน ศัลยแพทย์นัดผ่าตัด Hreniorrhaphy วันนี้.. มาตามนัดตรวจคลื่นหัวใจพบว่าหัวใจเต้นช้าและมีผิดปกติบางตัว (Bradycardia c PVC ตัวเว้นตัว) ซักประวัติเพิ่มได้ว่าสูบบุหรี่วันละ>10 มวน/วันจึงส่งปรึกษา อายุรแพทย์ๆพิจารณาควรเลื่อนการผ่าตัดไปก่อน (Elective case จำเป็นต้องเตรียมผู้ป่วยให้พร้อมก่อนผ่าตัด) รายงานศัลยแพทย์ๆให้เลื่อนไปก่อน kunrapee จึงแนะนำผู้ป่วยให้ลด-งดการสูบบุหรี่ก่อนผ่าตัดอย่างน้อย 6 สัปดาห์ก่อนผ่าตัด ผู้ป่วยรับฟังและยืนยันว่าจะงดสูบ (ส่งเข้าคลินิกเลิกบุหรี่ของรพ.)

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท