เว็บไซต์ที่ตอบสนองทุกความต้องการของผู้ใช้


การทำเว็บไซต์ให้ดี ๆ จะเป็นเรื่องที่ไม่ยาก หากเว็บมาสเตอร์ทนได้กับ ความไม่ค่อยจะรู้เรื่องของคณะกรรมการในระยะเริ่มต้น

การทำ  การใช้เว็บไซต์ ที่มีทั้งคนถูกใจมากน้อย เป็นเรื่องธรรมดาของ เรื่องใหม่สำหรับคนทั่ว ๆ ไป ที่ค่อย ๆ  พัฒนาไปทั้งคนทำ และคนใช้  การที่จะให้ถูกใจของคนเก่งทำ เก่งใช้ไปเสียทุกคน  จึงต้องใช้เวลา  การที่ สรอ. ร่วมกับ กทน. ขอให้ช่วยกันเสนอแนะนี้    ก็เป็นสิ่งที่ต้องภาคภูมิใจในแทนคนไทย  ที่ยังมีหน่วยงานที่มาเอาใจใส่ในการพัฒนา 

การที่ประเทศของเรามีเว็บไซต์  และยังไม่เป็นที่ถูกใจกัน จนต้องมาระดมพลังสมองกันร่วมกันนี้  ในส่วนลึก ๆ ที่ยังไม่ถูกใจ หรือยังไม่ดีนี้  ต้องถามว่า อะไรที่เป็นเหตุแห่งความไม่ค่อยพอใจ  ในฐานะของคนที่ได้พบเห็นการทำเว็บไซต์ในหน่วยงานอยู่บ้าง ขอมองทาง ในการสร้างวงจรการพัฒนาเว็บไซต์ ให้มีคุณสมบัติสำคัญที่ต้องการ คือตอบสนองทุกความต้องการของผู้ใช้ หรือ ช่วยให้เขาหาข้อมูลที่ต้องการได้ และช่วยให้งานที่เขาทำสำเร็จ (To find information they need and to complete their task.)

นี่คือวงจรการพัฒนา ที่ขอเรียกว่า Chat Boonya’s cycle  ที่ผมดัดแปลงของคนอื่นเขามา ดังนี้  (ต้นฉบับอยู่ที่นี่ครับ http://www.boonyaras.net/index.php?mo=3&art=605586 )

1. การศึกษาและวางแผน  (Study and Plan = S&P)  

ขอให้ทำความเข้าใจคำว่า study ให้ดี คำนี้ตาม Talking Dictionary plus organizer  แปลว่า การศึกษา การวิจัย  รายการศึกษา รายการจัย   สาขาวิชา  วิทยานิพนธ์    จุดอ่อนของการวางแผนที่มักพบเห็นกันโดยทั่วไปก็คือความหย่อนของการ study (จนผมต้องหยิบยกมาเน้นในเรื่องนี้) ในกรณีของการทำเว็บไซต์ ก็เช่นกัน

หน่วยงานมักโยนให้เว็บมาสเตอร์ไปจัดการ เว็บมาสเตอร์ที่ยัง

ไม่แตกฉาน เรื่อง งานขององค์กรโดยรวม ผลงานของเว็บมาสเตอร์ใหม่ จึงมักไม่ค่อยเข้าตากลุ่มเป้าหมายคนใช้เว็บไซต์

2. ลงมือปฏิบัติ และเรียนรู้ (Do and Learn = D&L)             

       การวางแผนที่ถูกต้องเป็นปฐมเหตุของคุณภาพทั้งหมด  เมื่อลงมือปฏิบัติตามแผนก็จะบังเกิดผล  อย่างไรก็ดี ในมิติของแผนการใด ๆ  ในกรณีของการทำเว็บไซต์ ก็เช่นกัน บางทีไม่มีแผนอะไรเลย ทำไปแก้ไป ตามใจตัวเอง และตามที่นายชอบ  ทำไปๆ ใครแตะต้องไม่ได้ กลายเป็นของข้าพเจ้าคนเดียวไป  ซึ่งก็โทษใครไม่ได้ เพราะต่างอยู่บนความไม่รู้ของหลายฝ่าย โดยเฉพาะผู้บริหารองค์กร

หากมีแผนดี ที่มาจากการมีส่วนร่วมของคณะกรรมการ ที่เข้าใจงาน มีพื้นฐานด้านเว็บไซต์พอสมควร ทำตามแผนแล้ว ก็คอยติดตามดู เรียนรู้ผลที่เกิดขึ้นไปด้วย  ก็จะช่วยให้มีความรู้เพิ่มขึ้น ๆ

3. ตรวจสอบ และดู (Check and See =Ch&S)

      Check  หรือการตรวจสอบผล  ผลที่ต้องการจากการตรวจสอบผล ในกรณีของเว็บไซต์ ก็ควรดู ผลงานเชิงประจักษ์  เห็นด้วยสายตา See ทั้งของตนเอง และผู้เกี่ยวข้อง   ซึ่งก็เห็นไม่ยากหากมีระบบสารสนเทศอยู่ในเว็บไซต์ ที่คลิ๊กดูได้ง่าย ๆ เช่น จำนวนคนใช้บริการของฝ่าย แผนกงานต่างๆ ในองค์กร เสียงสะท้อนจากผู้ใช้ ผ่านเว็บบอร์ด ก็เป็นส่วนที่มองเห็นเป็นที่ประจักษ์ได้

 4. นำไปใช้ต่อไป และพัฒนา (Implement and Develop= I&D)

การวางแผนที่ถูกต้อง ทั้งแผนปฏิบัติการ และแผนการประเมินผล  เมื่อนำไปใช้อย่างถูกต้อง ผลการใช้ก็จะออกมาอย่างถูกใจของผู้ใช้ 

ในกรณี เว็บไซต์ก็เช่นกัน ถ้า Input  Process  ไม่ถูกต้องมาตั้งแต่ต้น ก็จะมีเสียงบ่น จนต้องมาระดมพลังสมองกัน ก็เป็นเรื่องธรรมดา

                   วงจรที่ว่า ก็คือ การทำเว็บไซต์ ที่ดำเนินไปเป็นวงจรตามหัวข้อข้างต้น  1 – 2 – 3 – 4 –   1 – 2 – 3 – 4 – 1 –    

ที่ตั้งอยู่บนองค์ประกอบต่อไปนี้

ปัจจัยนำเข้า  (Input) 

ได้แก่

          คณะกรรมการผู้รับผิดชอบในการจัดทำเว็บไซต์      

          ที่ควรประกอบด้วย

                    - บุคลากร ระดับผู้บริหารองค์กร

                    - เว็บมาสเตอร์

                    - ผู้เชี่ยวชาญด้านเว็บไซต์ ICT

                    - ผู้ทรงคุณวุฒิ เกี่ยวกับภาระหน้าที่ขององค์กรเจ้าของเว็บไซต์

                    - ผู้แทน ฝ่าย แผนก ขององค์กร

                    - ผู้แทนผู้รับบริการจากองค์กรที่ใช้บริการผ่านเว็บไซต์

                    - สมาชิกในองค์กร ที่ทำหน้าที่ เลขานุการคณะกรรมการ  ดำเนินงาน ในฐานะผู้ประสานการดำเนินงาน  และ เว็บมาสเตอร์ ผู้ออกแบบ และจัดทำเว็บไซต์

กระบวนการหลัก (Main Process)

1. หลังจากหน่วยงานแต่งตั้งคณะกรรมการแล้ว

    คณะกรรมการ ศึกษาและวางแผน  (Study and Plan =S&P)  

    ประชุมคณะกรรมการผู้รับผิดชอบในการจัดทำเว็บไซต์  เพื่อ

-        ทำความเข้าใจ ประโยชน์ โทษ แนวทางป้องกันแก้ไข

-        กำหนดวัตถุประสงค์ แนวดำเนินการในการจัดทำเว็บไซต์

-        เว็บมาสเตอร์ออกแบบ

-        นำเสนอเพื่อขอรับความเห็นชอบ

-        ขออนุมัติทดลองใช้

2. ลงมือปฏิบัติ และเรียนรู้ (Do and Learn D&L)                 

                      ทดลองใช้

3. ตรวจสอบ และดู (Check and See =Ch&S)

                        ดูข้อมูลย้อนกลับ  ให้เห็นกับตา

4. นำไปใช้ต่อไป และพัฒนา (Implement and Develop= I&D)

ปรับปรับแก้ไข และนำไปใช้จริง

องค์กรที่จะทำเว็บไซต์ใช้ จึงควรดำเนินการดังที่กล่าวมา  สำหรับองค์เก่าที่ยังไม่มีคณะกรรมการ ฯ ก็ควรมี แล้วเริ่มต้นที่การประชุมทบทวนมาตั้งแต่ ข้อแรกของวงจร โดยประธานคณะทำงาน หรือ บุคลากรระดับบริหารองค์กร ที่ได้รับมอบหมาย โดยมีผู้ประสานงานการจัดทำเว็บไซต์เป็นเลขานุการการดำเนินงาน

กระบวนการรอง

เป็นกระบวนการของหน่วยงานแม่ และหน่วยงานเจ้าของเว็บไซต์     ที่จะต้องพัฒนาบุคลากรผู้รับผิดชอบในการจัดทำเว็บไซต์  ด้วยการจัดอบรมสัมมนาเป็นระยะๆ เช่น ทุก 1 หรือ 2 ปี  ให้แก่

          - บุคลากร ระดับผู้บริหารองค์กร

          - เว็บมาสเตอร์

ผลผลิต (Output)

ผลผลิต ซึ่งเป็นคุณสมบัติสำคัญตามวัตถุประสงค์ ที่กล่าวมาแล้วว่า

“ตอบสนองทุกความต้องการของผู้ใช้ หรือ ช่วยให้เขาหาข้อมูลที่ต้องการได้ และช่วยให้งานที่เขาทำสำเร็จ”

การทำเว็บไซต์ให้ดี ๆ จะเป็นเรื่องที่ไม่ยาก หากเว็บมาสเตอร์ทนได้กับ ความไม่ค่อยจะรู้เรื่องของคณะกรรมการในระยะเริ่มต้น  (ที่พูดอย่างนี้ เพราะประสบการณ์ที่ผ่านมา ที่พบว่าคนเก่ง ICT มักจะคบหาสมาคมกับเครื่องคอมพิวเตอร์ ได้ดีกว่าคบหากับคน  พวกเดียวกันยังไปกันไม่ค่อยได้  นี่เป็นประสบการณ์ที่สังเกตได้จากการไปทำงานที่โรงเรียนในอดีตที่ผ่านมา)

ผลกระทบ (Outcome)

คำสรรเสริญเยินยอ ยกย่องจากผู้ใช้เว็บไซต์ทั้งในและนอกกลุ่มเป้าหมาย อีกทั้งบุคคลและองค์กรอื่น นำไปทำลิงค์ไว้หน้าเว็บไซต์ของเขา ให้เป็นที่ภาคภาคใจขององค์กรผู้จัดทำ  นำไปสู่การยกย่อง หรือไม่ ก็มีสองขั้นให้คณะกรรม รวมทั้งเว็บมาสเตอร์บ้าง

องค์ประกอบสำคัญของเว็บไซต์ ก็คือเนื้อหา

ที่จะได้มาจากฝ่าย แผนก งาน  กลุ่มงาน ในองค์กร

        เนื้อหาเกิดขึ้นไม่ได้เพราะข้อจำกัด ของเว็บมาสเตอร์ ที่ไม่รู้งานของฝ่าย แผนก งาน  กลุ่มงาน ในองค์กรทั้งระบบ และความไม่เข้าใจในการที่จะใช้เว็บไซต์ให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อองค์กร และผู้ใช้เว็บไซต์  และข้อจำกัดของผู้บริหารองค์กร    ที่ไม่เข้าใจในการจัดทำเว็บไซต์  ที่ต้องใช้ความร่วมมือของทุกฝ่าย และแผนกงาน

          มาดูเว็บไซต์ ที่เขาขายสินค้ากันได้ทั่วโลกไหม

ว่าเขามีเนื้อหาอย่างไร  ทำไมเว็บไซต์ทำให้เขาขายสินค้าได้ทั่วโลก

http://www.amazon.com/  

http://www.ebay.com/

เว็บไซต์ไทย  ที่คงจะขายได้บ้างในประเทศไทย

(จะขายฝรั่งจีนแขกได้ไหมนี่)

http://www.thaitambon.com/English/AboutTTB.htm

แต่เล็กๆ อย่างนี้ของคนไทย เขาก็ขายกันได้เป็นเทน้ำเทท่า

http://www.ยางพาราไทย.com

ก็เพราะเขามีเนื้อหา ที่ปรากฏอยู่บนว็บไซต์ ให้อยากซื้อ  ใครอยากได้ที่นอนยางพารา กดกูเกิ้ลเข้าเมื่อไร เป็นต้องได้สินค้าที่เขาต้องการ จากเว็บไซต์นี้ หรือเว็บไซต์อื่น ๆ ที่เป็นเจ้าของเดียวกัน    

เว็บไซต์ของหน่วยงานราชการ จะดีขึ้นได้จึงต้องมีคุณสมบัติที่สำคัญคือต้องเนียนในเรื่องเนื้อหา ที่สามารถตอบสนองทุกความต้องการได้  คล้าย ๆ กับเว็บไซต์ทางการค้าของต่างประเทศ http://www/ebay.com/  http://www/amazon.com/ ที่จะค้นหาสินค้าอะไรก็ได้ เพียงคลิ๊กชื่อสินค้า  มิใช่เว็บไซต์แบบไทย ๆ ที่ต้องไปหาจังหวัด ไปหารายการสินค้า ไปหาสิ่งที่ต้องการ ดังที่กล่าวมาแล้วในhttp://www.thaitambon.com/English/AboutTTB.htm

ถ้าเราทำอย่างนี้ ก็อีกนานที่จะขายได้ และขายดี

จะเป็นเว็บไซต์ ทางการศึกษา หรือ โรงเรียน  ที่ดีได้  คณะกรรมการจัดทำเว็บไซต์ ก็ต้องไปวิเคราะห์เนื้องานทั้งหมด ที่จะไปเกี่ยวข้องกับลูกค้าภายใน ครู และบุคลากรทุกคน ว่าเขาจำเป็นต้องใช้ข้อมูลอะไร ที่จะทำให้เขาได้ไปใช้ทำงานให้องค์กรประสบความสำเร็จร่วมกัน นั่นคือแบ่งกันไปตอบสนองทุกความต้องการของโรงเรียน ผ่านทางเว็บไซต์ได้

 ในส่วนที่เป็นลูกค้าภายนอก  ทุกฝ่าย ทุกงาน ทุกกลุ่มสาระ ต้องคิดก่อนว่ามีข้อมูลอะไรบ้างที่เด็ก ๆ ต้องการในส่วนที่เกี่ยวข้องกับงานของตนแล้วก็ร่วมกันจัดทำและประสานกับเว็บมาสเตอร์ นำขึ้นไว้ในเว็บไซต์ เพื่อเด็ก ๆ จะได้เข้าถึงได้ง่าย นี่คือส่วนหนึ่งที่เป็นงานของฝ่าย งาน กลุ่มสาระ  ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับครู เป็นรายบุคคลหากจะเป็นครูยุคใหม่ ก็ต้องมีเว็บไซต์ของตนเอง (ที่ทำลิงค์ไว้ในเว็บไซต์ของโรงเรียน)  ที่มีหนังสื่อ สื่อ บทเรียน ที่เรียนก่อน เรียนหลังจากการสอนได้

รวมทั้งมีการทำลิงค์ไว้กับเว็บไซต์ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหา หัววิชาที่ตนเองสอนด้วย

ในส่วนที่เกี่ยวจะไปเกี่ยวข้องกับ ผู้ปกครอง ชุมชน  และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องอื่น ก็เช่นกัน  ฝ่าย งาน  ก็ต้องไปคิดด้วย ว่าจะช่วยให้คนเหล่านั้นเข้าถึงโรงเรียนอย่างไรด้วยการใช้เว็บไซต์ ของโรงเรียน

เว็บไซต์สถาบันการศึกษาที่น่าอนาจใจอย่างหนึ่ง ก็คือ เว็บไซต์ของมหาวิทยาลัย

ที่จะเข้าไปสุดแสนยาก ล็อคนั่นล็อคนี่ เหมือนกับไม่รู้ว่าที่เป็นมหาวิทยาลัยได้ก็มาจากภาษีของประชาชน  ที่มีการยกย่องกันให้เข้าหูก็คือ เว็บไซต์ของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ที่มีการชมว่าจะเข้าไปดูอะไร ๆ  ก็ได้อย่างสบายใจ  โดยไม่ต้องล็อคอินให้กวนใจ เท็จจริงอย่างไรก็ลองดู

หากเป็นจริงตามที่กล่าวมา  นี่เป็นเพราะฝ่ายบริหารของมหาวิทยาลัยปล่อยให้เป็นงานของเว็บมาสเตอร์คนเดียวหรือไม่  ก็ยังสงสัย  ใครรู้มากกว่าที่ผมรู้ ช่วยบอกด้วย

ในเว็บไซต์นอกจากมีเนื้อหาหลายรูปแบบ ทั้งที่เป็น วิดิโอ ภาพนิ่ง เสียง และหลายอย่างผสมผสานกัน  ก็ควรจะมีบริการเสริม เช่น โปรแกรม  ระบบ chat , video conference  หรือ แม้แต่โทรศัพท์สายตรงไปยังแผนก ฝ่าย หรือ บุคคลผู้รับผิดชอบโดยตรง  ไว้ให้สอบถามด้วยก็จะช่วยเสริมให้เนื้อหาในเว็บไซต์ตอบสนองได้อย่างฉับไว ทำให้งานที่ต้องการบรรลุผลได้สะดวกตามวัตถุประสงค์ของการบริการผ่านทางเว็บไซต์ 

หากเป็นเว็บไซต์พยาบาล หรือหน่วยงานรัฐอื่น ๆ ก็ในทำนองเดียวกัน ที่จะต้องเนียนในเนื้อหา ซึ่งได้มาจากทุกแผนก ฝ่าย งาน ว่ามีบริการอะไรบ้าง เพื่อให้คนไข้ หรือรับบริการเข้าถึงได้อย่างสะดวก

ผมคิดถึงหนังสือ ของคุณหมอประเวศ วะสีเล่มหนึ่ง  ที่ว่าด้วยชื่อยารักษาโรค  ความป่วยไข้  สรรพคุณ ราคา วิธีการใช้ด้วยตัวเอง หรือต้องให้แพทย์สั่ง หากเรื่องของยาลึกละเอียดเนียน  รวมไปถึงซื้อได้ที่ไหน  เช่น จังหวัด อำเภออะไร ชื่อร้านอะไร อยู่ที่ถนนไหน อย่างนี้ บางทีคนไข้ก็สามารถช่วยตัวเองได้จากเว็บไซต์  นี่ผมพูดถึงประเด็นการให้ข้อมูลที่เนียน  ซึ่งก็ไม่แน่ใจว่าทางการแพทย์ แล้วจะถูกต้องตามวิทยาการทางการแพทย์  หรือ ไม่ ท่านผู้รู้กรุณาช่วยเสริมด้วย

ข้อมูลรายละเอียดอย่างนี้ คงยากที่เว็บมาสเตอร์คนเดียวจะทำได้  ต้องใช้ผู้แทนของแต่ ละฝ่าย แผนกงานเข้ามาช่วยทำ  ตามคำเสนอของคณะกรรมการจัดทำเว็บไซต์ของหน่วยงาน

ขณะที่นั่งพิมพ์นี้ ทำให้คิดถึงวิชา “การบริหารเว็บไซต์” เขามีกันไหม ทั้งของไทยของเทศ  ของไทยมีครับ แต่ดูไป ก็เห็นว่า ยังไม่ลึกพอ ของต่างประเทศ เมื่อถามด้วยคำว่า  “website management curriculum” ในสองสามหน้าแรก  ก็ยังไม่ชัดเจน

สรุป 

คุณสมบัติของเว็บไซต์

เป็นเว็บไซต์ที่เนียนในเรื่องเนื้อหา สามารถตอบสนองทุกความต้องการ

ของผู้ใช้บริการของหน่วยงาน ที่สามารถผ่านทางเว็บไซต์ได้ด้วยระบบการสื่อสารผ่านเว็บไซต์  ที่ประกอบด้วย

 

- เนื้อหาหลายรูปแบบ ทั้งที่เป็น วีดิโอ ภาพนิ่ง เสียง และหลายอย่าง

  ผสมผสานกัน 

- บริการเสริม เช่น โปรแกรม  ระบบ chat , video conference  หรือ

เบอร์โทรศัพท์สายตรงไปยังแผนก ฝ่าย หรือ บุคคลผู้รับผิดชอบโดยตรง

คุณสมบัติของ ปัจจัยและกระบวนการจัดทำเว็บไซต์ของหน่วยงาน

1. มีคณะกรรมการผู้รับผิดชอบในการจัดทำเว็บไซต์                     

2. มีวงจรการพัฒนาเว็บไซต์ ที่เป็นไปอย่างไม่รู้จบ

3. มีมาตรฐานการปฏิบัติงานว่าด้วยการพัฒนาบุคลากรระดับบริหารของ     

   หน่วยงานเกี่ยวกับการบริหาร และ การพัฒนาเว็บไซต์  เป็นระยะ ๆ

4. มีมาตรฐานการปฏิบัติงานว่าด้วยการพัฒนาเว็บมาสเตอร์ของหน่วยงาน

    สู่ความเป็นเว็บมาสเตอร์มืออาชีพ และนักบริหารองค์กร ผ่านเว็บไซต์

   เป็นระยะ ๆ

 

ครับ….ที่เขียนมาทั้งหมดนี้  นี่เป็นประสบการณ์ล้วน ๆ  ในระยะ 20 ปี

ผมนี้ไม่ได้ร่ำเรียนมาโดยตรง  อบรมเรื่องเว็บไซต์ยังไม่เคยมีแม้ครั้งเดียวนะครับ   ผิดถูกอย่างไร ช่วยเสริมช่วยเติมให้ด้วย

จะได้ฉลาดในเรื่องนี้ขึ้นอีก  555

ขอบคุณ

         

 

หมายเลขบันทึก: 492376เขียนเมื่อ 25 มิถุนายน 2012 11:40 น. ()แก้ไขเมื่อ 26 มิถุนายน 2012 12:11 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

ได้ข้อคิดที่ดี ๆขอบคุณครับ

โห ปู่ชัด ข้อมูลเพียบ มาก ขอบคุณค่ะ

เขียนแบบนักกลยุทธจริงๆ เลยค่ะ :) Amazon มีสิ่งที่น่าชื่นชม คือ เขาให้คนซื้อสามารถเขียนรีวิวสินค้า แล้วปรากฎทันทีไม่มีเซนเซอร์ สินค้าดีก็ว่าดี ไม่ดีก็ว่าไม่ดีไปตามเนื้อผ้า ส่วนคนเขียนริวิวโมเม ก็จะมีคนที่มีคุณธรรมเขามาสกัดเอง (คล้ายระบบ wiki) คนถึงเชื่อถือแล้วนิยมค่ะ .. ต่างจากเวบไซต์ประเภทส่งไปแล้วเซนเซอร์ก่อน แบบนี้ถึงมีแต่ดีๆๆ ก้ไม่มีใครเชื่อ

เริ่มต้นที่การวางแผน จบลงด้วยการประเมินผลลัพธ์ สุดยอดเลยค่ะอาจารย์ชัด แต่คงยากนิดนึงนะคะ (ยากนิดเดียว ถ้าเราเริ่มต้นกันสักที)

 

สวัสดีค่ะอาจารย์มีสาระและสามารถนำไปเป็นแนวทางในการจัดทำเว็ปไซต์ต่อไป หนูก็กำลังเริ่มเรียนรู้นะคะ และน่าชื่นชมที่อาจารย์เป็นผู้นำทางการศึกษาที่นำร่องเรื่องเว็ปก่อนใครๆใน สพม.เรา นะคะ

  • มาเอาใจช่วย
  • เย้ๆๆ
  • ฝีมือจริงๆๆ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท