ความมั่นคงทางอาหาร : ป่าเขา ซุปเปอร์มาเก็ตของชาวนาบัว


ป่าชุมชน/ป่าต้นน้ำ ภูเขาหลายๆ ลูกจากที่เคยเป็นเขาหัวโล้น แต่มีกระบวนการดูแลป่าโดยชุมชน มีกระบวนการบวชป่า หรือปิดป่าอย่างมีกุศโลบาย โดยความร่วมมือของภาครัฐและแกนนำชาวบ้านมากว่า ๑๐ ปีจนเขาหายโล้นและกลายเป็นป่าที่อุดมสมบูรณ์มีสิ่งทุกสิ่งทุกอย่างให้เลือกสรร ประหนึ่งจะเป็นซุปเปอร์มาเก็ตของชาวนาบัวจริงๆ

"นาบัว" เป็นตำบลเล็กๆ ที่มี ๑๕ หมู่บ้านซึ่งเมื่อดูด้วยสายตาและประเมินจากโทรศัพท์มือถือที่ไม่ค่อยมีสัญญานเลย ๓จี คงไม่ต้องพูดถึง นาบัว อยู่ในหุบเขา มีเขาล้อมรอบจริงๆ นาบัว อยู่ห่างจากอำเภอนครไทย จังหวัดพิษณุโลก ชั่วโมงกว่าๆ และพิษณุโลกห่างจากกรุงเทพฯ ประมาณ ๕ ชั่วโมง เดินทางครั้งนี้ใช้เวลาประมาณ ๖ ชั่วโมง (เพิ่งนั่งจากแม่สาย-เชียงใหม่ เกือบ ๕ ชั่วโมงมา ทำเอาหงอยไปเลยทริปนี้)

ไป นาบัว เพื่อไปร่วมทำกระบวนการให้กับกระบวนกรจาก รพ.สต.นาบัว, แกนนำชุมชน, ท้องถิ่น และทีมศูนย์ สช.ทุกภาค โดยมีพื้นที่นาบัวเป็นพื้นที่ต้นแบบในการลงแหล่งเรียนรู้ของตำบล ..

บ้านพัก Home Stay ทุกคนต้องนอนกับชาวบ้าน ทานข้าวกับชาวบ้านในมื้อเช้าทุกวัน ในวันแรกที่ได้เจอกับเจ้าของบ้านพัก พี่เรียม มาต้อนรับพวกเราที่รพ.สต.นาบัวด้วยดอกไม้ประดิษฐ์ที่ทำจากซังข้าวโพดที่มาจากไร่นาของพวกเขาเอง เป็นที่ประทับใจ จนพี่เรียมพาเรามาที่บ้านพัก พบพี่เฉลิมผู้สามีคอยต้อนรับเราเช่นกัน ทั้งพี่เรียม พี่เฉลิมแต่งตัวเรียบร้อยมาก นั่งพับเพียบคุยกับพวกเรา ยิ้มเขิลๆ จนพี่เค้าบอกว่าบ้านนี้ไม่เป็นบ้านพัก home stay ไม่เคยรับแขกที่ไหนมาก่อนเลยทำตัวไม่ถูก พวกเราต้องชวนพี่เค้าคุยทักทายถามไถ่ไปจนพี่เค้าเริ่มคุ้นเคยคุยได้เป็นกันเองมากขึ้นตามแบบฉบับของพี่เค้า บอกกล่าวถึงการมาของเราให้พี่เค้าเข้าใจ

พี่เรียม-พี่เฉลิม มีอาชีพทำไร่ทำนา มีที่นา ๔๐ ไร่ปลูกทั้งข้าวเหนียว และข้าวเจ้า ปัจจุบันแบ่งทำนาเพียง ๕ ไร่ ที่เหลือลงข้าวโพด ต้นยาง และกำลังจะลงต้นปาล์ม พี่เค้ามีลูกสาวคนเดียว ปัจจุบันเข้าไปเรียนระดับปริญญาตรีด้านคอมพิวเตอร์ที่มหาวิทยาลัยพิษณุโลก เสาร์-อาทิตย์ถึงจะกลับบ้านมาที .. คุยกันจนเริ่มดึก ถามพี่เรียม ว่าปกตินอนกันกี่โมง พี่เรียมบอกว่าปกติหลับไปแล้ว จนเราเกรงใจร่ำลา ขอตัวไปอาบน้ำอาบท่า พี่เรียม พี่เฉลิมจะได้ไปพักผ่อน จึงนัดแนะเวลาทานอาหารเช้าและเวลาออกไปทำงาน ..

 

พี่เรียม-พี่เฉลิม

เช้าวันแรก อาหารที่เราได้ชิมคือ ไข่ป่าม หน่อไม้ต้ม (จากไผ่หลังบ้าน) น้ำพริกกะปิ และต้มยำไก่ (วิธีทำไข่ป่าม คือ ปิ้งไข่บนใบตอง) .. แลดูธรรมดาแต่อร่อยม๊ากกกกก ..

Large_img_9179

เมื่อไปที่รพ.สต.นาบัว เจอใครมักจะมีคำถามคล้ายๆ กันคือ เมื่อเช้าที่บ้านทานอะไรกัน ก็จะนำมาอวด บอกเล่ากันให้อิจฉา เช่นอีกบ้านนึงทำเห็ดปิ้งให้ทานกับน้ำพริก และไข่ป่ามเหมือนกัน ..

เช้าวันที่สอง เราก็ได้พบกับเห็ดเช้นกัน เห็ดไคปิ้ง (จากป่าบนเขาลูกลิบๆ ที่เราพอมองเห็น พี่เฉลิมแกไปเดินเก็บเห็ดไคมาให้เราทาน) น้ำพริกปลาร้า ผักกูดต้ม (จากริมลำน้ำใกล้บ้าน) แกงคั่วหน่อไม้ (จากไผ่หลังบ้าน ตอนแรกไม่กล้าทานแต่พอลองชิม อร่อยมาก) และปลาดุกย่าง (จากตลาด) ทุกอย่างอร่อยม๊ากกกกกก ...

  

เช้าวันที่สาม เราได้ชิมเห็ดเผาะ (จากบนเขา) ซึ่งจะมีราคาแพงมาก ๒๐๐-๓๐๐ บาทต่อ ๑ กิโล แต่ที่นี่เดินเข้าป่าไปหน่อยก็พบเจอเต็มไปหมด บ่งบอกถึงความอุดมสมบูรณ์ของผืนป่า แกงป่าหอยขม (หอยขมจากลำน้ำใกล้บ้าน) หน่อไม้หวาน (จากไผ่หลังบ้าน) ข่าต้ม (จากหลังบ้าน) น้ำมะพร้าว (จากต้นหลังบ้าน) หมูทอด เป็นอีกมื้อที่อร่อยยยจนแทบน้ำตาไหล ..

 

ครัว หลังบ้านพี่เรียม

ซุปเปอร์มาร์เก็ตย่อยๆ หลังบ้านพี่เรียม พอจะมองเห็น เห็นยุ้งข้าว ต้นไผ่ ต้นมะพร้าวน้ำหอม พืชผักสวนครัว หนองน้ำเล็กๆ เพื่อเลี้ยงปลา .. ถ้าสังเกตุกันดีๆ ตามหมู่บ้านมีร้านค้า ร้านอาหารน้อยมาก บางหมู่บ้านไม่มีเลย ถ้าจะมีก็คงขายไม่ได้เพราะทุกบ้านจะทำอาหารเองกันเกือบหมด ..

อาหารการกินของบ้านพัก Home Stay จากการพูดคุยกับพี่เจ้าของบ้านพัก บางครั้งก็เพื่อเช็คข้อมูลที่เราไปลงแหล่งเรียนรู้แต่ละแหล่งมา ก็จะนำไปประกอบกับข้อมูลบางอย่างที่เราได้รับกลับมา เช่น เรื่องกองทุนต่างๆ หรือเรื่องแหล่งเรียนรู้ ป่าชุมชน/ป่าต้นน้ำ ภูเขาหลายๆ ลูกจากที่เคยเป็นเขาหัวโล้น แต่มีกระบวนการดูแลป่าโดยชุมชน มีกระบวนการบวชป่า หรือปิดป่าอย่างมีกุศโลบาย โดยความร่วมมือของภาครัฐและแกนนำชาวบ้านมากว่า ๑๐ ปีจนเขาหายโล้นและกลายเป็นป่าที่อุดมสมบูรณ์มีสิ่งทุกสิ่งทุกอย่างให้เลือกสรร ประหนึ่งจะเป็นซุปเปอร์มาเก็ตของชาวนาบัวจริงๆ

กระติ๊บข้าวน้อย พี่เรียมหุงข้าวเหนียว (ปลูกเอง) หมูทอดใส่กระติ๊บ มามอบให้พวกเราระหว่างมื้อเช้าและบอกพวกเราว่า "เอาไว้กินระหว่างเดินทางกลับบ้านนะ" พร้อมรอยยิ้มเขิลๆ ของพี่เรียม ..

นอกจากชาวนาบัวจะมีความมั่นคงทางอาหารแล้ว ยังมีความมั่นคงในสภาวะทางจิตใจอีกด้วย ไปที่ไหนก็จะพบเห็นแต่รอยยิ้มที่เปี่ยมสุขของชาวนาบัวอยู่ตลอด ..

ชาวนาบัวประสบความสำเร็จในการสร้างพลังบางอย่างให้กับดินแดนเกิดและพลังความสุขที่เปี่ยมล้นอย่างมีสุขภาวะจริงๆ

กลับมากรุงเทพฯ ได้หลายวันแล้วยังคิดถึงชาวนาบัว โดยเฉพาะอาหารที่แสนอร่อย ^^

 

หมายเลขบันทึก: 492192เขียนเมื่อ 24 มิถุนายน 2012 01:21 น. ()แก้ไขเมื่อ 7 ตุลาคม 2012 16:07 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (23)

 

ความแตกต่างของขนาดกระติ๊บข้าวเหนียว  กับอายุของผู้ใช้งาน

ดูแล้วคิดถึงประเทศไทยครับ

ไข่ป่าม คือ ไข่ปิ้งบนใบตอง ... เขาห่อด้วยใบตองแล้วย่างไฟหรือค่ะ นึกไม่ออกตอนตอกไข่ลงไปบนใบตองแล้วจับปิ้งอย่างไร

สวัสดีค่ะ อยากมีโอกาสได้สัมผัสสิ่งเหล่านี้บ้างจังค่ะ สบายดีนะคะ

ขอบคุณค่ะ ^^

สมาชิกที่ให้กำลังใจ: Blank ณัฐรดา, Blank คนบ้านไกล, และ Blank ป..

  • เป็นภาพของคนไทยในต่างแดนสินะคะ คุณคนบ้านไกล เคยสงสัยว่าข้าวเหนียวถ้าไม่ได้อยู่ในกระติบนี่จะอร่อยเหมือนกันไหมนะคะ ที่แน่ๆ ไม่ได้อารมณ์จกข้าวเหนียวเลย ๕๕๕

สวัสดีค่ะคุณหมอปัทมา

  • ไข่ป่าม คือตั้งกะทะให้ร้อน วางใบตองบนกะทะและตีไข่ให้แตกใส่เครื่องเช่นหอมใหญ่หรือผักต้นผอมผักชีแล้วแต่มีอะไรอยู่ เทลงบนใบตอง และนำใบตองวางด้านบนอีกชั้น รอจนด้านล่างเริ่มสุกจะกลับอีกด้านลง และพลิกไปมาค่ะ ไข่ป่าม จึงไม่ต้องใช้น้ำมันเลยค่ะ ^^
  • มีความสุขในวันหยุดนะคะคุณหมอ ^^

 

สวัสดีค่ะพี่ณัฐรดา

  • ดีใจที่พี่แวะมาเยี่ยมเยียนนะคะ สบายดีนะคะ
  • ๒-๓ วันที่นาบัว มีความสุขในวิถีชีวิตของเค้าจริงๆ ค่ะ ถ้าไม่คิดว่าต้องมาทำงานนะคะ อิอิ ^^
  • ต้องหาโอกาสแบบนี้บ่อยๆ ค่ะ เป็นการชาร์ตแบตได้อย่างดีเลย
  • มีความสุขในวันหยุดนะคะ ^^

ขอบคุณค่ะ ^^

สมาชิกที่ให้กำลังใจ: Blank ทิมดาบ,

ถ้วยและจานในมื้อแรก"เอี่ยม"มากเลยนะคะ สงสัยจังว่าเป็นภาชนะที่"พี่เรียม-พี่เฉลิม" เตรียมเป็นพิเศษเพื่อต้อนรับ"แขก"หรือเปล่า คน"บ้านๆ"ของเราน่ารักแทบทุกที่เลยค่ะ พี่โอ๋ว่า ไปตรงไหนก็มีเรื่องให้ประทับใจ  ขอบคุณคุณ Blankที่นำมาถ่ายทอดนะคะ อ่านแล้วมีความสุขค่ะ

สวัสดีค่ะ อาจารย์โอ๋

  • อาจารย์ช่างสังเกตุ จังเลยค่ะ ถ้วย จาน ชามในวันแรกของทั้งพี่เรียม แลพี่เฉลิม ใหม่เอี่ยมออกจากตู้ประหนึ่งจะเอาออกมาเพื่อรับแขกจริงๆ ค่ะ แต่วันแรกตอนทานอาหารกันพวกเหมียวต้องทานไปจับจานข้าวไปด้วยค่ะ เพราะเมื่อจานลักษณะนี้อยู่บนโต๊ะกระเบื้องแบบนั้นจะหมุนติ้วเลยค่ะ ๕๕๕
  • ซึ่งพี่เรียม พี่เฉลิมแกคงสังเกตุ พอวันที่สองแกเลยเปลี่ยนเป็นจานกระเบื้งเหมือนเดิมค่ะ อิอิ
  • ประทับใจมากกกกกค่ะ ในอัธยาศัยของชาวบ้าน น่ารักทุกบ้านจริงๆ ค่ะ
  • ขอบพระคุณอาจารย์โอ๋เช่นกันค่ะที่แวะมาทักทายค่ะ ^^

ขอบพระคุณอาจารย์ ดร.อโณ ค่ะ ^^

สมาชิกที่ให้กำลังใจ: Blank โอ๋-อโณ,

  • อยู่พิษณุโลก แต่เคยไปนาบัวครั้งสองครั้ง หลายปีมาแล้วด้วยครับ..
  • เล่าเรื่องความอร่อยอาหารด้วยฝีมือพี่เรียมและพี่เฉลิมเสียอยากทานเลยครับ
  • ขอบคุณประสบการณ์ดีๆนี้ครับ
  • นาบัว ทั้งผู้คน ทั้งอากาศ และอาหารสุดยอดเลยค่ะ
  • ขอบพระคุณเช่นกันค่ะอาจารย์ธนิตย์ ^^
  • สวัสดีครับอาจารย์
  •  
  • น่าหม่ำทั้งนั้นเลย ขอรอบดึกนี้เลยนะครับ ฮ่า ๆ
  • สบายดีนะครับอาจารย์?
  • สวัสดีครับวศิน นอนดึกเหมือนกันนะนี่
  • อาหารของเค้าอร่อยทุกเมนูจริงๆ เพราะรักนะถึงยอมให้ทุกเมนูเลย
  • สบายดีครับ วศินก็คงสบายดีเช่นกันนะครับ
  • นอนหลับฝันดีนะครับ ..

เรียนอาจารย์ ความมั่นคงทางด้านอาหาร ที่มีรั้วมีป่าเป็นตู้เย็น คุณค่าทางอาหารก็ครบถ้วน

กินปลา กินผัก กินผลไม้ตามฤดูกาล ปรับสมดุลธาตุ ตามธรรมชาติ ...ธรรมชาติบำบัด

สวัสดีค่ะท่านวอญ่า : เห็นด้วยค่ะกับการปรับสมดุลของธาตุ และเป็นธรรมชาติบำบัดจริงๆ ถ้าเราได้กินผัก ผลไม้ที่ได้มาตามฤดูกาล เป็นความพอเพียงขอชีวิตหล่ะค่ะ .. ขอบคุณนะคะ

อาหารสะอาดสำคัญ อาหารปลอดสารพิษสำคัญยิ่งกว่า

  • คร๊าบบบบบบบ พี่ครูอ้อยเล็ก คิดถึงจัง หายไปนานเลยนะคะ ^^
  • ขอบคุณพี่หนูรี Blank สำหรับดอกไม้ค่ะ ^^
  • ขอบคุณอาจารย์ศิลา Blank ค่ะ ^^
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท