ลูกพูดน้อย พ่อแม่เครียด ทำอย่างไร


ขอบคุณกรณีศึกษาวัย ม.ต้น พร้อมครอบครัวที่สนใจประเมินกิจกรรมบำบัดจิตสังคมว่า "ลูกบ่นอยากตรวจสุขภาพจิต - พ่อแม่กลัวลูกจะซึมเศร้า"

เมื่อวานนี้

กิจกรรมบำบัด ขั้นตอนที่ 1: วันนี้น้าป๊อปมีกระดาษและสีเทียนให้วาดรูป น้อง ป. (นามสมมติ) อยากวาดอะไร จากนั้นน้องวาดรูปต้นไม้สีเขียนสดใส น้าป๊อปให้บอกความรู้สึกถึงภาพต้นไม้ โดยใช้สีเทา (น้องเลือกเอง) เขียนระบุว่า "สบายใจ" และน้าป๊อปถามคะแนนที่จะให้เป็นรูปดาว 3 เต็ม 3 ดวง จากนั้นให้เลือกวาดระหว่างคนกับบ้าน น้องเลือกวาดบ้านก่อน ระบุว่า "ไม่ชอบ" ให้คะแนนดาว 2 เต็ม 3 ดวง และน้องเลือกวาดคน ระบุว่า "เฉยๆ" ให้คะแนนดาว 1 ดาวครึ่ง

กิจกรรมบำบัด ขั้นตอนที่ 2: น้าป๊อปแปลผลความคิดเชิงจิตวิทยาจากภาพทั้ง 3 พบว่า น้องชอบอิสระและธรรมชาติที่สดใส เพราะวาดต้นไม้ได้สดชื่น น้องชอบแยกตัว เพราะประตูบ้านไม่มีกลอนและหน้าต่างปิดสนิท หลังคาเป็นสีเขียวที่แสดงถึงความต้องการเป็นอิสระในบ้าน น้องไม่ชอบการเผชิญหน้ากับคนเพราะวาดรูปหัวคนโตไม่มีผม และสัดส่วนแขนขาไม่พอดีกัน ร่างกายแต่งตัวสีดำ แต่ก็สื่อสารความคิดได้ เพราะหน้าคนสีเนื้อ จากการสนทนาขณะที่น้องวาดรูป ก็ตั้งสมมติฐานกับครอบครัวของน้องว่า "ไม่น่าจะมีสัญญาณของโรคซึมเศร้า แต่จิตใจได้รับความกระทบกระเทือน (Distress) และปรับตัวไปมาถึงความเครียดระดับหนึ่ง" จากนั้นน้าป๊อปให้คุณพ่อคุณแม่เขียนลงกระดาษเป็นข้อๆ ว่า อยากพัฒนาลูกอย่างไร ภายหลังจากสนทนาถึงข้อดีข้อเสียในตัวลูก ซึ่งหัวข้อต่างๆ มีความคิดเชิงลบและอยากถามว่าลูกไม่ขยัน ไม่อาบน้ำ ไม่พูดกับพ่อแม่เพราะอะไร

กิจกรรมบำบัด ขั้นตอนที่ 3: น้าป๊อปให้น้อง ป. สำรวจสิ่งแวดล้อมที่หลากหลาย (แสง เสียง สัมผัส) และให้ลองปล่อยใจว่างพร้อมทบทวนความรู้สึกที่ผ่อนคลายในแต่ละฐานการรับความรู้สึก จากนั้นให้น้อง ป. แนะนำให้คุณพ่อคุณแม่ให้สำรวจตามน้อง ป. พร้อมให้นอนกอดกันพ่อแม่ลูก หลับตาและฟังทำนองดนตรีสัก 10 นาที จากนั้นน้าป๊อปให้ครอบครัวนั่งเป็นวงกลม พร้อมเปิดใจว่า "แต่ละคนถือต้นไม้ไฟกระพริบ มีความคิดที่จะบอกอะไรกับน้องป." บรรยากาศเริ่มมีน้ำตา เมื่อทุกคนรู้สึกผิดที่อยากให้น้อง ป. มีความสุขแต่น้อง ป. ไม่พูดหรือตอบ เมื่อคุณพ่อคุณแม่อยากคุยด้วย ลงท้ายว่า น้อง ป. ไม่ชอบที่พ่อแม่บังคับและตำหนิ ไม่ได้คิดอะไร ไม่รู้สึกอะไร ก็เลยไม่รู้จะพูดกับพ่อแม่อย่างไร

กิจกรรมบำบัด ขั้นตอนที่ 4: น้าป๊อปให้ทุกคนจับมือกัน ปล่อยมือ และให้กอดน้อง ป. ก่อนพูดว่า "อยากให้น้อง ป. พัฒนาตนเองหรือคุณพ่อคุณแม่จะทำอย่างไรให้ครอบครัวมีความสุข" หากน้อง ป. รับทราบและเข้าใจข้อเสนอแนะ ก็ให้จับมือกับคุณพ่อและคุณแม่ น้าป๊อป พบว่า ครอบครัวนี้ได้แสดงความเห็นอกเห็นใจและเปิดใจรับความคิดสุขทุกข์ที่น้อง ป. สบตาและพยักหน้าอย่างรับรู้ด้วยความคิดความเข้าใจ

กิจกรรมบำบัด ขั้นตอนที่ 5: น้าป๊อปให้กระดาษน้อง ป. แล้วให้น้อง ป. ระบายความในใจที่เรียนรู้ในวันนี้เป็นภาพอะไรก็ได้ แล้วมอบให้คุณพ่อคุณแม่ น้อง ป. ตั้งใจวาดรูปดอกไม้ที่สวยงามมากๆ และบอกความในใจก่อนมอบให้คุณพ่อคุณแม่ ขณะเดียวกันน้าป๊อป ก็กระตุ้นให้ครอบครัวร่วมวางแผนทำกิจกรรมที่น้อง ป. อยากทำให้ครอบครัวมีความสุข เช่น การไปดูหนัง การท่องเที่ยวธรรมชาติ เป็นต้น น้าป๊อปจึงสรุปว่า "น้อง ป. ไม่มีอาการที่น่ากังวลใดๆ ค่อยๆ คิดบวกและวางแผนทำกิจกรรมพร้อมการสื่อสารภาษากายและใจให้มากขึ้น

"เมื่อสอบถามปมในวัยเด็ก ก็พบว่า น้อง ป. ไม่ได้รับการเลี้ยงดูจากคุณพ่อคุณแม่ตั้งแต่เล็กจน 4 ขวบ (อยู่กับยาย) จากนั้นคุณพ่อคุณแม่จึงรับเลี้ยงต่อ ช่วงแรกก็กอดลูกดีมาก แต่พอลูกโตขึ้นก็ไม่ได้กอดชื่นชมใดๆ สังเกตว่า ทักษะทางสังคมจึงปรับเปลี่ยนบุคลิกภาพให้พูดน้อยและไม่สมบูรณ์นัก เพราะการพัฒนาทักษะทางสังคมสมวัยในช่วง 2-3 ปี อย่างไรก็ตาม น้อง ป. คงไม่เปลี่ยนบุคลิกภาพ หากแต่วัยเรียนรู้ในสถานการณ์ในโรงเรียนและบริบทอื่นๆ อาจส่งเสริมความเชื่อมั่นและความภาคภูมิใจได้บ้าง หากน้องป.มีแรงบันดาลใจ เปิดใจ และอิ่มใจ เช่นในวันนี้ด้วยการทำกิจกรรมบำบัดเบื้องต้น"   

 เมื่อเช้านี้

กิจกรรมบำบัด ขั้นตอนสุดท้าย: ดร.ป็อป ได้โทรถามความเป็นไปจากครอบครัวข้างต้น พบว่า ทางคุณแม่ได้เตรียมเปิดหนัง ดูกันที่บ้านกับน้อง ป. ด้วย จึงได้แนะนำว่า ถ้ามีปัญหาใดๆ ในช่วง 1 เดือนนี้ ก็ให้โทรปรึษาดร.ป๊อป ด้วยความยินดีครับผม 

หมายเลขบันทึก: 492174เขียนเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 22:07 น. ()แก้ไขเมื่อ 26 มิถุนายน 2012 08:17 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (10)

ขอบคุณมากครับอ.ณัฐพัชร์ พี่เหมียวคนเก่งครับ

สวัสดีค่ะ อาจารย์ ดร.ป๊อบ

  • ประสบการณ์นี้เพื่อนสมัยเรียน เจอกับสถานการณ์นี้เต็มๆ เลยค่ะ
  • กับลูกคนแรกในตอนที่กำลังเครียดกับการเรียนปริญญาโท ทำให้เธอมีเวลาอยู่กับลูกน้อย แทนที่จะนอนเล่นและอ่านหนังสือให้ลูกฟัง ตั้งแต่อยู่ในท้องตามที่ตั้งใจ กลายเป็นต้องมานั่งอ่านหนังสือเรียนจนให้กำเนิดลูก ด้วยคุณตา คุณยายก็มีอายุที่เยอะมากแล้วจึงไม่ค่อยได้เล่น ได้คุยกันหลานตัวน้อยแบบจุ๊กจิ๊ก แถมยังปล่อยให้หลานอยู่กับทีวีมากกว่าด้วย .. พ่อหลานชายเลยไม่ค่อยพูด จน ๒-๓ ขวบยังได้แค่เป็นคำๆ
  • เพื่อนตัดสินใจลาออกจากการเรียนหนังสือเพื่อมาดูแลลูกน้อยอย่างเต็มที่ค่ะ ปัจจุบันพ่อหลานชายขึ้นชั้นประถมแล้วค่ะ มีเพื่อนเยอะสนุกสนานไปตามประสา ช่างคุยค่ะ ^^
  • แต่ก็ให้เสียดายเพื่อนที่ต้องลาออกจากการเรียนค่ะ แต่เพื่อลูกแล้วเค้าบอกว่าไม่เสียดายหรอกค่ะ ^^

ขอบคุณมากครับพี่เหมียว เป็นประสบการณ์ที่น่าชื่นชมคุณแม่ที่มีมานะเพื่อลูกนะครับ

ขอบคุณค่ะ เข้ามาอ่านหาความรู้เนื่องจากมีลูกศิษย์คนหนึ่งมีอาการไม่พูด แทบจะนำคำได้ อยู่ระดับม.ปลายค่ะ

มีลูกพูดมาก ก็เตรียดค่ะอาจารย์ มันถามจนเราจนมุม สุดท้ายต้องถามว่า "เมือยปากยังลูก" อิ อิ ขอบคุณอาจารย์ สำหรับคามรู้ที่แบ่งปัน

ยินดีมากครับสำหรับความคิดเห็นจากคุณ Noktalay และคุณชลัญธร

เป็นเรื่องจริงของธรรมชาติ ที่เด็กวัยเรียนจะมีความคิดส่วนตัว แต่คงต้องวืเคราะห์ว่า พูดนับคำได้ เป็นเพราะอะไร ส่วนพูดหลายคำ ถามเก่ง อันนี้ถ้าเป็นเรื่องที่เหมาะสม ก็นับว่า ลูกมีความคิดถามเก่งครับ ไม่มีปัญหาใดๆ

ลูกที่บ้านก็ไม่ชอบพูด..

 

ขอบคุณมากครับคุณครู ป. 1 แม้ลูกจะไม่พูด แต่ถ้ามีการกอด การยิ้ม และสื่อสารภาษาท่าทางผ่านกิจกรรมครอบครัว ก็จะช่วยได้ครับ

  • ได้ความรู้มากค่ะ
  • ออกชุมชนพบบ้างเหมือนกันค่ะ  ทั้งพูดน้อย  มี  ๓  ขวบ  พูดแค่บางคำ
  • ครึ่ง ๆ นะคะ  ที่ไม่ได้อยู่กับพ่อแม่  ส่วนใหญ่ยายตาเลี้ยงไปพอให้โต 
  • การกอด  สื่อสาร  สร้างบุคลิกภาพก็ตามสภาพชนบท
  • จะค่อย ๆ ติดตาม  นำไปปรับใช้
  • ขอบคุณมากค่ะ

ขอบคุณมากครับคุณหมอธิรัมภา ยินดีที่คุณหมอจะนำไปปรับใช้ครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท