วัตถุประสงค์ในการศึกษาวิจัย.. ?


...

 

        แน่นอนทีเดียวว่าการทำวิจัยนั้นต้องมีเป้าหมายหรือวัตถุประสงค์หลักที่ชัดเจน  ก่อนอื่นเราลองมาดูมุมคิดของนักวิชาการทางด้านวิจัยเขาว่ากันอย่างไรบ้าง

 

ตามมุมคิดของสุชาต  ประสิทธิ์รัฐสินธุ์ ( 2550 : 40-43 ) กล่าวทำนองว่า  ตนเองต้องการจะศึกษาเรื่องอะไร  เช่น  ในเรื่องเกี่ยวกับพฤติกรรมการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร  ผู้ที่จะทำการวิจัยอาจจะระบุหรือตั้งประเด็นที่จะศึกษาได้ดังต่อไปนี้

 

1 . ความรู้เกี่ยวกับกระบวนการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในประเทศไทยว่าผู้มีสิทธิ์เลือกตั้ง

 

2 . ทัศนคติของผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งต่อการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่ผ่านมาในอดีตและในครั้งปัจจุบัน

 

3 . พฤติกรรมการเลือกตั้งครั้งปัจจุบันของผู้มีสิทธิ์เลือกตั้ง

 

ถ้าทำได้ก็บรรลุวัตถุประสงค์  เพราะมีความชัดเจนของประเด็นที่ศึกษา  ความไม่ซ้ำซ้อนและความสัมพันธ์ระหว่างประเด็น  สิ่งสำคัญคือการทำให้แต่ละประเด็นมีความชัดเจน

 

        สำหรับประโยชน์ที่เกิดขึ้นจากการกำหนดประเด็นคือ  ทำให้ผู้วิจัยชัดเจนว่าจะศึกษาเรื่องอะไร  จะเก็บข้อมูลอย่างไร  ที่ไหน  และทำให้ผู้อ่านติดตามประเมินผลวิจัยได้

 

        สิ่งที่พึงคาดหวังคือ  เพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูลที่จะเกิดเป็นประโยชน์ต่อการไปกำหนดนโยบายและมาตรการในการพัฒนาการเมืองของประเทศ...

 

ตามมุมคิดของมนัส  สุวรรณ ( 2544 : 4 ) กล่าวทำนองว่า  การวิจัยมีวัตถุประสงค์หลักอยู่ 2 ประการ คือ

1 . การวิจัยเพื่อความรู้ทางวิชาการ

2 . การวิจัยเพื่อผลสำหรับการปฏิบัติ

 

ตามมุมคิดของดนัย  ไชยโยธา  และสุวิทย์  จำปา ( 2549 : ) กล่าวทำนองว่า...

1 . กำหนดวัตถุประสงค์หลัก  คือวัตถุประสงค์ที่ตรงกับตัวแปรที่ศึกษาในปัญหาการวิจัย  ซึ่งอาจมีมากกว่า 1 ตัว  ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับกรอบแนวคิด  เช่น  ปัญหาการวิจัย  “ทัศนคติที่มีต่อนโยบายต่อสู้เพื่อเอาชนะยาเสพติดของประชาชน.” ในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา  และจังหวัดชัยนาท

        วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาทัศนคติที่มีต่อนโยบายการต่อสู้เพื่อเอาชนะยาเสพติด

2 . กำหนดวัตถุประสงค์ย่อยอื่น ๆ คือ วัตถุประสงค์ที่ย่อยออกมาจากวัตถุประสงค์หลัก  มักเป็นการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรที่ศึกษา  คือ  ตัวแปรตาม  กับตัวแปรอิสระตามกราอบแนวคิด  เช่น  วัตถุประสงค์ : เพื่อเปรียบเทียบทัศนคติที่มีต่อนโยบายการต่อสู้เพื่อเอาชนะยาเสพติดของประชาชนในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา  และจังหวัดชัยนาท

     วัตถุประสงค์ที่ดีจะทำให้รู้กรอบตัวแปรทุกประเภท  มองเห็นภาพกรอบแนวคิด  การกำหนดสมมุติฐานการวิจัยและวิธีการวิเคราะห์

 

ตามมุมคิดของวัลลภ  ลำพาย ( 2547 : 31-34 ) กล่าวทำนองว่า...วัตถุประสงค์ของการวิจัย  ( Research  Objectives ) หมายถึง  เจตจำนงของนักวิจัยว่าต้องการจะศึกษาเรื่องอะไรบ้าง  การเขียนวัตถุประสงค์การวิจัยมีหลักการเขียนคร่าว ๆ  คือ

1 . สอดคล้องกับปัญหาการวิจัย

2 . มีความเป็นไปได้ที่จะได้คำตอบจากการวิจัยครั้งนี้

3 . ผู้อ่านสามารถเข้าใจง่าย

การกำหนดวัตถุประสงค์ที่ดีควรมีดังนี้

1 . วัตถุประสงค์แต่ละข้อควรระบุให้ชัดเจน

2 . ไม่ตั้งวัตถุประสงค์มากเกินความจำเป็น

3 . จัดลำดับความสำคัญก่อนหลังของวัตถุประสงค์

 

ตามมุมคิดของณรงค์  โพธิ์พฤกษานันท์  ( 2551 : 37-40 ) กล่าวทำนองว่า...จำแนกได้เป็น  3  ประการ  ดังนี้

1 . เพื่อการแก้ปัญหา

2 . เพื่อการสร้างทฤษฎี

3 . เพื่อพิสูจน์ทฤษฎี

หน้าที่ของวัตถุประสงค์คือ

1 . เพื่อกำหนดประเด็นปัญหาของการวิจัย

2 . เพื่อกำหนดแนวทางของการวิจัย

3 . เพื่อกำหนดขอบเขตของการวิจัย

 

รวมความว่า  มีประโยชน์เพราะ  ช่วยทำปัญหาวิจัยชัดเจนขึ้น  มีเป้าหมายแน่นอนและยังรู้ตัวแปรที่จะศึกษาอีกด้วย

 ดังนั้นผู้วิจัย

1 ) ต้องเขียนประเด็นของปัญหาให้ชัดเจน

2 ) วัตถุประสงค์ทุกข้อต้องเก็บข้อมูลได้ครบ

3 ) เขียนให้สั้น  กะทัดรัด  ใช้ภาษาง่าย

4 ) เขียนเป็นภาษาบอกเล่าหรือคำถามก็ได้

5 ) เขียนเปรียบเทียบเน้นความแตกต่างได้

6 ) แต่ละข้อระบุปัญหาเพียงประเด็นเดียว

7 ) ไม่ควรตั้งวัตถุประสงค์ย่อย

8 ) เรียงตามลำดับความสำคัญก่อนหลังได้หลายลักษณะ

9 . ห้ามนำประโยชน์ที่จะได้รับมาเขียน  เพราะมันเกิดขึ้นทีหลังนั้นแล.

หมายเลขบันทึก: 491951เขียนเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 16:31 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มิถุนายน 2012 01:46 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

วัตถุประสงค์ในการศึกษาวิจัย ===> เป็นสิ่งสำคัญมากๆๆนะคะ

ขอบคุณสำหรับบทความดีดีนี้นะคะ

สวัสดีครับ Dr . Somsri

นำมาเล่าไว้ หยิบก็ง่ายเวลาเข้าสอนหนังสือเกี่ยวกับทางด้านการวิจัยครับผม

ขอบคุณครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท