นวัตกรรมเพื่อความเป็นนานาชาติของมหาวิทยาลัย


         ขอทำหน้าที่เป็นคุณลิขิตต่อเนื่อง  จากเนื้อหาที่ศ.ดร.เกรียงศักดิ์  เจริญวงษ์ศักดิ์ มาบรรยาย เรื่อง Think beyond success  เมื่อ 18 มิ.ย. 55 เวลา 13.00-16.00 น. ณ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี เป็นความคิดเกี่ยวกับการพัฒนามหาวิทยาลัย   ผมได้เขียนโครงการพูดหลักๆ ไว้ก่อนหน้านี้  วันนี้จะต่อในรายละเอียดในแต่ละ Innovation  ที่จะทำให้เป้าหมายการดำเนินการของมหาวิทยาลัยบรรลุตามที่ควรจะเป็น  ขอย้ำว่าผมเป็นเพียงคุณลิขิตเท่านั้น ความคิดทั้งหมดเป็นของท่าน ดร. เกรียงศักดิ์ เจริญวงษ์ศักดิ์  แต่หากเกิดความผิดพลาดผมขอรับเพียงคนเดียวครับ เพราะอาจจะเกิดจากการเข้าใจผิดในเนื้อหาและถ่ายทอดออกไปไม่ถูกต้องครับ

ต้องสร้างนวัตกรรมให้เกิดความเป็นนานาชาติ

          เป็นที่ทราบกันว่าภาษาอังกฤษเป็นภาษาของโลกไปแล้ว  เพราะว่า 400 กว่าปีที่ผ่านมาอังกฤษ ยุโรปและอเมริกา เป็นผู้นำโลก ทั้งทางด้านเทคโนโลยี และองค์ความรู้ ตลอดจนการได้แผ่อิทธิพลให้ประเทศต่างๆ ใช้ภาษาอังกฤษทั่วโลก   และได้เผยแพร่องค์ความรู้ต่างๆ ผ่านภาษาอังกฤษเป็นส่วนใหญ่  วันนี้ถ้าคนไทยไม่รู้ภาษาอังกฤษ จะทำให้คนไทยได้รับความรู้มือสอง  เพราะเป็นความรู้ที่ผ่านการแปลมาแล้ว  นี่ไม่ได้พูดถึงจำนวนของการแปลที่เกิดขึ้นน้อยมาก  ซึ่งต่างกับญี่ปุ่นที่มีหน่วยงานสนับสนุนการแปลโดยเฉพาะ  ถ้าสามารถทำได้อยากให้เด็กไทยสามารถอ่านเขียนภาษาอังกฤษได้แต่เล็กๆ  ถ้าไม่สามารถทำได้ในอนาคตเด็กไทยจะอยู่ในระดับฐานล่างแน่นอน  เป็นที่น่าประหลาดใจมากที่เด็กไทยเรียนภาษาอังกฤษ 19 ปี  จนจบปริญญาแต่ไม่สามารถอ่าน พูดภาษาอังกฤษได้  วิทยาเขตปัตตานีจึงควรจะเป็นมหาวิทยาลัยนานาชาติทั้งหมด ไม่ใช่เพียงหน่วยงานเดียว  ทุกวันนี้บรรยากาศการเรียนการสอนยังไม่ได้  เพียงอาจารย์สอนภาษาอังกฤษยังไม่พอ  จึงต้องรับนักศึกษาจากหลายๆ ชาติเข้ามา  อยากให้นักศึกษารู้อย่างน้อย 2 ภาษา  หรือถ้าได้ 3 ภาษายิ่งดี  ภาษาของมหาอำนาจเก่า คือภาษาอังกฤษ  ภาษาของมหาอำนาจใหม่ คือ จีน บราซิล อินเดีย ญี่ปุ่น มหาอำนาจในอนาคตอีก 100 ปีข้างหน้า  น่าจะเป็นตุรกี โปแลนด์  และภาษาของเพื่อนบ้านที่มีชายแดนติดกับประเทศของเรา  และแถบบภาคใต้น่าจะเป็นภาษามาเลย์

หมายเลขบันทึก: 491933เขียนเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 14:10 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 14:10 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท