วิธีการแก้ปัญหาข้าวรากดำจากแก๊สและจุลิทรีย์ก่อโรค


การทำนาที่ต่อเนื่องตลอดเวลาของเกษตรกรทำให้การย่อยสลายของอินทรีย์วัตถุผุเปื่อยไม่สมบูรณ์ ยังคงมีส่วนท่่ียังคงดำเนินกิจกรรมการย่อยของจุลินทรีย์อยู่จึงทำให้เกิดก๊าซในรูปแบบต่างๆ ทั้งไฮโดรเย่นซัลไฟด์, ก๊าซแอมโมเนีย, ก๊าซมีเธน
ปัญหาที่เกษตรกรในพื้นชลประทานพบบ่อยคือเรื่องของต้นข้าวมีปัญหารากตายและจะค่อยๆเน่าเกิดเป็นสีดำ ถ้าสังเกตุให้ดีด้วยการถอนหรือดึงขึ้นมาดมก็จะสัมผัสได้ถึงกลิ่นเหม็นคละคลุ้งทั้งจากขี้เลนและรากที่เน่าเสียทั้งที่เพิ่งเริ่มปลูกได้ไม่นาน เมื่อเกิดโรคนี้จะส่งผลกระทบแก่ต้นข้าวทำให้การเจริญเติบโตล่าช้า ไม่แตกกอ และในระยะยาวก็จะทำให้ผลผลิตลดน้อยลง เพราะขาดการสะสมอาหารที่ดีพอจากสภาพต้นที่ไม่สมบูรณ์

สาเหตุส่วนหนึ่งเกิดจากการทำนาที่ต่อเนื่องตลอดเวลาของเกษตรกรทำให้การย่อยสลายของอินทรีย์วัตถุผุเปื่อยไม่สมบูรณ์ ยังคงมีส่วนท่่ียังคงดำเนินกิจกรรมการย่อยของจุลินทรีย์อยู่จึงทำให้เกิดก๊าซในรูปแบบต่างๆ ทั้งไฮโดรเย่นซัลไฟด์, ก๊าซแอมโมเนีย, ก๊าซมีเธน ในส่วนที่มีกระบวนการย่อยสลายหมักหมมอยู่มากก็จะมีการสะสมของก๊าซหรือแก๊สของเสียเหล่านี้มากด้วยเช่นกัน เมื่อพื้นที่ในแปลงนาถูกแทนที่ด้วยก๊าซจำนวนมากอากาศและอ๊อกซิเจนก็น้อยลงเป็นเรื่องปรกติธรรมดาทำให้ต้นกล้าหรือข้าวย่อมอ่อนแอลงเรื่อยๆ ทำให้ภูมิคุ้มกันลดน้อยลงก่อเกิดโรคฉกฉวยโอกาสต่างๆจากจุลินทรีย์ก่อโรคเข้ามารุมเร้าอีกมากมาย

การแก้ปัญหาที่น่าจะตรงวัตถุประสงค์มากที่สุดคือการทำให้ผนังเซลล์โดยรวมของต้นข้าวมีความแข็งแรงกลับคืนมาพร้อมๆกับการเติมแร่ธาตุและสารอาหารให้ข้าวได้ดูดกินไปพร้อมๆกันอีกทั้งจะต้องมีคุณสมบัติในการจับตรึงก๊าซหรือแก๊สของเสียในแปลงนาให้ลดจำนวนน้อยลงให้มากที่ที่สุดไปพร้อมๆกันด้วย คุณสมบัติของผลิตภัณฑ์ที่ว่านี้คงจะหนีไม่พ้น พูมิชซัลเฟอร์ ที่เป็นกลุ่มของหินแร่ภูเขาไฟที่มีส่วนประกอบของแร่ธาตุฟอสฟอรัส เติมเต็มด้วย ธาตุรอง ธาตุเสริมและซิลิก้าช่วยในเรื่องการบำรุงเร่งการเจริญเติบพร้อมกับค่าความสามารถในการจับตรึงหรือแลกเปลี่ยนประจุบวก (C.E.C.) ด้วย และเพื่อให้การรักษาหรือสามารถแก้ปัญหาได้ดียิ่งขึ้นควรผสมจุลินทรีย์กำจัดเชื้อราไตรโคเดอร์่ 1 กิโลกรัมร่วมกับพูมิชซัลเฟอร์ 20 กิโลกรัมหว่านไปพร้อมๆกัน เพื่อทำลายเชื้อราโรคข้าวไปพร้อมกันในคราวเดียว ( คุณรุจิรา สงวนทรัพย์ บ้านเลขที่ 63 หมู่ 5 ตำบล ไก่เสา อำเภอ หนองแซง จังหวัดสระบุรี 18170 โทร. 089-221-3065)

มนตรี บุญจรัส
ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ www.thaigreenagro.com
หมายเลขบันทึก: 491773เขียนเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 11:46 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 11:46 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท