ครูพยาบาล
พยาบาลวิชาชีพปฏิบัติการ Mr.Natthawut Suriya

ไม่บรรจุพยาบาล ...เจตนา หรือ ละเลย


ไม่บรรจุพยาบาล หนทางสู่บริการ 2 มาตรฐาน….. เจตนา หรือ ละเลย

ไม่บรรจุพยาบาล หนทางสู่บริการ 2 มาตรฐาน….. เจตนา หรือ ละเลย

6

12

ภาพกลุ่มพยาบาลเรียกร้องการบรรจุข้าราชการที่หน้าทำเนียบรัฐบาล 19 มิ.ย.55


จาก ข่าว ที่ กลุ่มพยาบาลวิชาชีพ ลูกจ้างชั่วคราว กระทรวงสาธารณสุขมาชุมนุมเพื่อ ร้องขอความเป็นธรรม ให้เร่งบรรจุตำแหน่งข้าราชการให้กับลูกจ้างใน รพ.ชุมชนทั่วประเทศ ต่อกระทรวงสาธารณสุข

  ซึ่งเคยร้องเรียนผ่านหลายหน่วยงานแต่ไม่เป็นผล ซึ่งหากยังไม่คืบหน้า อาจมีการนัดชุมนุมใหญ่ทั่วประเทศต่อไป ซึ่งเป็นผลพวงมาจากวิกฤตเศรษฐกิจเมื่อปี พ.ศ. 2540 แล้ว เมื่อกองทุนการเงินระหว่างประเทศ หรือ IMF เข้ามาประเมินระบบราชการไทย ในฐานะเจ้าหนี้ พบว่า ระบบมีจำนวนข้าราชการมากเกินไป  จึงมีการจำกัดการบรรจุข้าราชการ แบบเหมารวม ขาดวิจารณญาณในการแยกแยะว่าส่วนใดที่เกินแล้ว ส่วนใดที่ยังขาดอยู่

ดัง นั้นกระทรวงสาธารณสุขจึงถูกผลกระทบอย่างรุนแรง ทำให้ไม่สามารถบรรจุ แพทย์ ทันตแพทย์ เภสัชกร ต้องหันมาใช้คำว่าพนักงานราชการแทน จนต่อมาเริ่มมีตำแหน่งมากขึ้นแต่ก็เพียงพอแค่การบรรจุ แพทย์ และทันตแพทย์เท่านั้น ส่วน พยาบาล , เภสัชกร และเจ้าหน้าที่ประเภทอื่นๆ ได้บรรลุเพียงเล็กน้อยจากการรอตำแหน่งว่างจากผู้เกษียณเท่านั้น

จาก ข้อมูลของสภาการพยาบาล ในการเปรียบเทียบระหว่างโรงพยาบาลเอกชน และโรงพยาบาลของกระทรวงสาธารณสุข พบว่า ในระหว่างปี 2549-2553 จำนวนพยาบาลวิชาชีพทำงานเต็มเวลาในโรงพยาบาลเอกชน เพิ่มจาก11,000 คน เป็น 15,000 คน เป็นการเพิ่มถึงร้อยละ 36.36 ในระยะเวลา 3 ปี ซึ่งการเข้างานสู่งานในภาคเอกชนของพยาบาลวิชาชีพปีละประมาณ 1,000 คน สภาการพยาบาลคาดว่า ในอีก 5 ปี ข้างหน้า ภาคเอกชนจะต้องการพยาบาล ถึง 20,000 คน

เนื่อง จากโรงพยาบาลเอกชนขนาดใหญ่ต้องการได้รับรับรองคุณภาพจากJCI ที่กำหนดให้มีการจัดอัตรากำลังพยาบาล เพื่อความปลอดภัยของผู้ป่วยตามมาตรฐานบริการพยาบาลสากล ซึ่งมาตรฐานอัตรากำลังของพยาบาลไทยต่ำกว่าที่กำหนดของมาตรฐานวิชาชีพอยู่ถึง ร้อยละ 30 ในทางตรงกันข้าม กระทรวงสาธารณสุขปัจจุบันมีพยาบาลที่เป็นลูกจ้างชั่วคราวประมาณ 18,000 คน และยังขาดแคลนทั่วประเทศอยู่อีกประมาณ 33,112 คน  ซึ่งการขาดแคลนก็จะทำให้ผู้ที่อยู่ในระบบต้องทำงานหนักขึ้น เสี่ยงต่อความผิดพลาด ไม่ปลอดภัยต่อผู้ป่วย

การ ที่พยาบาลถูกละเลยไม่ได้บรรจุเป็นข้าราชการ ทำให้มีการลาออกไปสู่ภาคเอกชน โรงพยาบาลขนาดใหญ่ในเขตเมืองมากขึ้น หรือออกไปทำงานต่างประเทศมากขึ้นหลังการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economy Community :AEC)ในปี พ.ศ.2558   ทำให้โรงพยาบาลหลายแห่ง มีการปรับตัวอย่างไร้ทิศทาง เพื่อให้สามารถดึงดูดให้พยาบาลเข้ามาทำงาน และรักษาคนไว้ในระบบ โดยเฉพาะการเพิ่มอัตราเงินเดือน และค่าตอบแทนต่างๆในโรงพยาบาลในเมืองให้ทัดเทียมภาคเอกชน ทำให้ขาดแรงจูงใจที่คนจะไปทำงานในเขตชนบท เพราะค่าตอบแทนที่ต่ำกว่า  ซึ่งหากปล่อยให้การแข่งขันในกลไกตลาดแรงงานดำเนินต่อไป อาจทำให้เกิดการบริการ 2 มาตรฐานระหว่างภาครัฐ และเอกชน

การ ที่ภาครัฐไม่แสดงภาวะผู้นำ ใช้ความรู้ความสามารถในการแทรกแซงแก้ไขปัญหาอย่างเหมาะสม ก็จะทำให้สถานบริการของกระทรวงสาธารณสุขไม่สามารถจัดบริการได้ตามมาตรฐาน ส่งผลกระทบต่อความเป็นธรรมในการเข้าถึงบริการที่มีคุณภาพของประชาชนไทยที่ ฐานะยากจน ไม่มีกำลังจ่าย   โดยเฉพาะในเขตชนบทที่ห่างไกล

แต่ เป็นที่น่าผิดหวังอย่างมาก เมื่อรัฐบาลชุดปัจจุบัน  มุ่งให้ความสนใจแต่เรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญ การพัฒนาเมดิคัลฮับ (medical hub) และการทำโครงการที่เพิ่มค่าใช้จ่ายภาครัฐโดยไม่จำเป็น เช่นโครงการฉีดวัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูกในราคาที่สูงเกินไป  หน่ำซ้ำยังตัดงบประมาณรายจ่ายสำหรับการประกันสุขภาพในปีงบประมาณ พ.ศ. 2556 ลงจากเดิม  5 เปอร์เซ็นต์ หรือประมาณ 5 หมื่นล้านบาท 

จาก ความเรื้อรังของปัญหาดังกล่าวนั้น ราวกับว่ารัฐบาล , ก.พ. และกระทรวงสาธารณสมรู้ร่วมคิด ยินยอม พร้อมใจไปด้วย หรือไม่ก็เกิดจากความปล่อยปะละเลยของทั้งฝ่ายการเมือง และข้าราชการประจำ คือ ก.พ. และความมุ่งมั่นที่ไม่เพียงพอของผู้นำกระทรวงสาธาณสุข ผลร้ายย่อมตกกับพี่น้องประชาชนที่มีรายได้น้อย ซึ่งไม่สามารถไปใช้บริการโรงพยาบาลเอกชนได้

ดัง นั้นเพื่อแสดงความจริงใจ และศักยภาพของรัฐบาลที่นำโดยนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีและ นายวิทยา บูรณศิริ รมต.กระทรวงสาธารณสุข ควรเร่งรัดแก้ไขปัญหาดังกล่าวอย่างเหมาะสม เพื่อประโยชน์สุขของพี่น้องประชาชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่มีรายได้น้อย และอาศัยในเขตชนบทได้มีโอกาสเข้าถึงบริการที่มีคุณภาพจากสถานบริการ ของกระทรวงสาธารณสุข ตามที่พรรคเพื่อไทยได้กล่าวอ้างในการหาเสียงเลือกตั้งมาโดยตลอด โดยการแสดงภาวะผู้นำและความรู้ความสามารถในการแก้ไขปัญหาการคงอยู่และกระจาย ของพยาบาลวิชาชีพในสถานบริการระดับต่างๆของกระทรวงสาธารณสุขที่เป็นระบบ เป็นธรรม สร้างสรรค์ เป็นที่ยอมรับอย่างเร่งด่วน ต่อไป

45

ภาพ พยาบาลลูกจ้างชั่วคราวรวมตัวกันที่หน้าทำเนียบ 19 มิ.ย.2555

โดยhttp://www.matichon.co.th/


แหล่งแลกเปลี่ยนเรียนรู้พยาบาล www.gotunurse.com

หมายเลขบันทึก: 491704เขียนเมื่อ 19 มิถุนายน 2012 19:16 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มิถุนายน 2012 01:21 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

ขอบคุณท่าน นัฐวุฒิ ที่อัพเดทข้อมูล

การไม่บรรจุพยาบาล ถือเป็นการละเลย

ละเลยค่ะ จนหนูท้อและเลิกกินอุดมการณ์แทนข้าวมุ่งหน้าสู่เกาะสมุยเพื่อมาทำงานเก็บเงิน จากที่มุ่งมั่นมาตลอดว่าอยากทำอะไรเพื่อสังคมบ้าง ท้ายที่สุดหนูก็แพ้ แพ้คนบางประเภทที่แก่เพราะเกิดนานอายุราชการหลายปี แต่ไม่ได้ทำอะไรเพื่อชาวบ้านเลย

ทั้งเจตนาและละเลยมากกว่าครับ เพราะว่าพยาบาลเป็นองค์กร ที่มีสภาวิชาชีพที่อยู่ในกระทรวงสาธารณสุข ซึ่งวิชาชีพ ที่มีคือ แพทย์ ทันตแพทย์ เภสัช และพยาบาล ซึ่งทุกองค์กรจะมีการผลักดันให้วิชาชีพของตนเองให้เด่นขึ้นมา ซึ่งวิชาชีพพยาบาลเป็นวิชาชีพ ที่มีสมาชิกมากที่สุด ประมาณ 3 แสนคนและที่เป็นลูกจ้างชั่วคราวประมาณ 1.2 แสนคนที่ยังไม่ได้บรรจุ ซึ่งค่าตอบแทนของพยาบาลนั้นผมคิดว่าน้อยมาก ถ้าหากเทียบกับ แพทย์ ทันตแพทย์ และเภสัช ยกตัวอย่าง ค่าตอบแทนใบประกอบวิชาชีพ แพทย์ได้ 10000 บาท,ทันตแพทย์ 8000 บาท เภสัช 5000 บาท ,พยาบาล 1500 บาท ส่วนการที่จบออกมาแล้วได้บรรจุ มี แพทย์และทันตแพทย์ เท่านั้นครับ ส่วนพยาบาลกว่าจะได้บรรจุก็ประมาณ 5-6 ปี ซึ่งมันเป็นแบบนี้มานานมากกว่า 10 ปี ครับ และอื่นๆอีกมากมายที่อยากจะเล่าให้พี่น้องทุกท่านรับทราบ ติดตาม Episode ต่อไปครับ(ขอเวลาไปสอนนักศึกษาพยาบาลที่ตัวเองผลิตออกมาทุกๆปีก่อน ยังไม่รู้เลยว่าจะได้บรรจุตอนไหน แต่ยังไงเราก็ดูแลผู้ป่่วยด้วยความเอื้ออาทรครับ)

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท