ผ้าขาวเปื้อนหมึก
กานนา สงกรานต์ กานต์ วิสุทธสีลเมธี

ต่อเรื่องทั้งหมด


ต่อเนื่อง

ชีวิตกลางพงไพร

***********************

ท่ามกลางบรรยายที่อบอวลไปด้วยหมอกเมฆมีหญิงคนหนึ่งได้มานั่งดูพระอาทิตย์ขึ้นยามเช้าซึ่งนานๆทีครอบครัวของเขาจะพากันมาเที่ยวสถานที่แบบนี้ซักทีหนึ่งและวันนี้เองที่หญิงสาวนั้นได้เกิดความคิดผุดขึ้นมาแบบไม่เคยตั้งตัวมาก่อน  เป็นความคิดที่ใครๆไม่ค่อยจะคิดกัน หญิงสาวคนนั้นได้ตั้งคำถามกับตัวเอง พร้อมทั้งหาตำตอบให้กับคำถามของตัวเองเหมือนกัน คำถามนั้นคือ  “เกิดมาทำไม  ชีวิตคืออะไร” ซึ่งคำถามแบบนี้เด็กสาวอย่างเธอคงจะเล็กเกินไปสำหรับการตอบคำถามที่ยากๆ  แต่สำหรับเธอแล้วเธอมีคำตอบในใจของเธออยู่เองแล้วว่าชีวิต คือ “สิ่งที่ธรรมชาติสร้างขึ้นมาเพื่อความสมบูรณ์ของธรรมชาติ”  แล้วเกิดมาทำไม  เธอได้แต่ตอบคำถามของเธอเองว่า “เกิดมาเพื่อทดแทนธรรมชาติที่สูญหายไป” การตั้งคำถามแบบนี้สำหรับเธอแล้วมันเพิ่งเกิดมาในตอนที่เธอเห็นพระอาทิตย์ขึ้นในยามเช้า ณ ดอยแห่งหนึ่งในจังหวัดเชียงใหม่  ซึ่งกว่าเธอจะได้เห็นมันแบบนี้เกือบ ๑๗ ปีแล้ว  เพราะชีวิตของเธอยุ่งอยู่แต่สังคมในเมืองไม่เคยเดินทางอออกจากในเมืองไปไหนเลยเธอได้แต่อ่านในหนังสือไม่เคยได้สัมผัสถึงบรรยากาศแบบนี้

หลังจากที่เธอสัมผัสบรรยากาศบนดอยสูงแล้วซักพักครอบครัวเธอก็พากันไปเที่ยวในสถานต่าง ๆ บริเวณนั้นเพราะนานๆจะได้มาที ไหนๆมาแล้วก็เที่ยวให้มันจุใจไปเลย  สาวน้อยได้เดินตามถนนหนทางที่เป็นดินทั้งนั้น  ถนนสายนี้ไม่เป็นคอนกรีต ไม่ลาดยาง เนื่องจากอยู่ห่างไกลจากในตัวเมืองมากความสะดวกสบายเทคโนโลยีต่างๆรวมไปถึงเครื่องไม้เครื่องมือในการสื่อสารไม่มีใช้เลย แม้แต่ไฟฟ้ายังมาไม่ถึง ในช่วงตอนกลางคืนต้องใช้เทียนไข หรือตะเกียง จุดให้แสงสว่างแทนไฟฟ้า  วิถีชีวิตแบบนี้ทำให้เธอหลงใหลมาก  เมื่อเธอก้าวต่อไปก็ได้พบกับชีวิตอันแสนจะเรียบง่ายไม่พิถีพิถันเหมือนสังคมในเมืองที่เธอได้พบเจอมา  สังคมในเมืองต้องตื่นเช้ามาข้าวไม่ต้องกิน  กินแค่กาแฟกับขนม ก็ไปทำงานได้  แต่ในหมู่บ้านนี้เธอต้องแปลกมากเพราะทุกบ้านตื่นเช้ามาต้องนึ่งข้าวกันทุกหลังคาเรือน  ทำอาหารเช้า  เสร็จแล้วก็เอาอาหารให้สัตว์เลี้ยงในบ้าน เช่น หมู หมา ไก่ เป็นต้น   พอเห็นแสงพระอาทิตย์รำไร ชาวบ้านก็รับประทานอาหารเช้าพอทานเสร็จต่างคนต่างไปทำงาน บ้างก็เอา วัว ควาย  ออกไปเลี้ยง  บ้างก็ไปทำไร ไถนา  เธอต้องมาแปลกอีกเพราะนอกจากชาวบ้านจะทำนาในนาแล้วชาวบ้านยังทำนาบนดอยด้วยซึ่งเธอไม่เคยเห็นมาก่อนเลยมันเป็นสิ่งที่สาวน้อยผู้นี้ตื่นตาตื่นใจกับสิ่งที่พบเห็นเป็นอย่างมาก

นอกจากนั้นเธอได้ไปเที่ยว  เยี่ยมเยือนเกษตรกร ที่ทำไร่ถึงในสวน ไปดูถึงการเพาะปลูกกล้าพันธุ์ต่างๆ  ซึ่งปัจจุบันนับว่าเยาวชนรุ่นใหม่ในยุคนี้ไม่เคยสัมผัสและได้เห็นอย่างแน่นอน  เพราะการทำแต่ละอย่าง ขั้นตอนแต่ละขั้นพิถีพิถันอย่างมาก  และทำยากมากๆ แม้แต่เธอไปยืนดูยังทึ่งกับภูมิปัญญาชาวบ้านเหล่านั้น  สาวน้อยได้เข้าไปสนทนาถึงการเพาะปลูกด้วยความสนใจเป็นยิ่ง  สังคมในเมืองที่เธออยู่นั้นแทบจะไม่ได้ทำเลย  ได้แต่ใช้เงินซื้อตอนที่สำเร็จแล้วไม่มีโอกาสที่จะเป็นขั้นตอนการทำเหมือนตอนนี้ เธอจึงถ่ายรูปไว้ดู จากที่เธอดูวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของชาวบ้านในละแวกนั้นแล้ว  สาวน้อยผู้หลงใหลคลั่งไคล้ ในธรรมชาติซึ่งตอนนี้ในความคิดของเธอ  ชาวบ้านเหล่านั้นช่างมีความสุข ซะเหลือเกิน  เธออิจฉาในวิถีชีวิตความเป็นอยู่แบบนั้น  ว่าสาวน้อยเดินไปพลางคิดไปตามอารมณ์ซึ่งบรรยากาศพาไป  สาวน้อยเดินไปซักพัก   เธอต้องตื่นจากความเพ้อฝันของเธอ  เนื่องเสียงกระซิบข้างหูของเธอเอง  เพราะเสียงเหล่านั้นเป็นน้ำเสียงที่ไพเราะเพราะพริ้งเสียยิ่งกว่า  เสียงเพลงที่เธอฟังทุกครั้ง  เสียงเหล่านั้นคือเสียงนกเกาะอยู่ตามกิ่งไม้แถวนั้น  เสียงมันช่างไพเราะเพราะพริ้งเสียยิ่งกว่า เสียงเพลงที่เธอฟังทุกวันซะอีก  มันเป็นเสียงที่ธรรมชาติแต่งขึ้นมา  สาวน้อยได้เดินไปตามถนนหนทางอันแสนราบรื่นด้วยแมกไม้นานาพันธุ์ที่รายล้อมสองข้างทางมันช่างเป็นวันเวลาที่สาวน้อยมีความสุขมากที่สุด นานๆทีเธอจึงจะได้เห็นธรรมชาติแบบนี้  เธอเดินไปได้อีกซักพักก็ได้พบกับเสียงเหมือนคนฟันไม้  สาวน้อยตกใจเป็นอย่างมาก  จินตนาการไปต่างๆนาๆ ไม่ว่าจะเจอหับพวกลักลอบตัดต้นไม้ หรือคนหาฟืน  เธอคิดไปเรื่อยๆ  จนมาเจอต้นกำเนิดของเสียง  ที่ไหนได้  เสียงที่สาวน้อยนั้นได้ยิน มันเป็นเสียงของนกหัวขวานที่กำลังเจาะรูต้นไม้เพื่อทำรังของมันเอง  ซึ่งเป็นสิ่งหนึ่งที่ธรรมชาติสรรสร้างออกแบบมาโดยที่มนุษย์ฝืน  มันทำให้เห็นถึงความเป็นมนุษย์กับสัตว์ว่ามีความแตกต่างกันอย่างไร  เหมือนกันอย่างไร  สาวน้อยได้แต่ยืนมองถึงการกระทำของนกหัวขวานซึ่งเธอแปลกใจเป็นอย่างมากที่นกใช้ปากของมันเจาะรูได้  สาวน้อยได้ยืนดูซักพักก็จากไปพร้อมกับคำถามที่ยังหาคำตอบไม่ได้คือ  แม้แต่นกมันยังทำรังเองได้โดยที่ไม่ต้องพึ่งพาอาศัยบารมีของใคร  ไม่ต้องไปบนบานศาลกล่าวอะไรต่อมิอะไร  มันก็มีรังเป็นของตนเอง แล้วทำไมมนุษย์คนเราถึงต้องบนบานศาลกล่าวขอโน่นขอนี่  อยู่ตลอดเวลา  ว่าแล้วสาวน้อยก็เดินไปพร้อมๆกับความคิดนี้  สาวน้อยได้เดินทางเกือบจะถึงหมู่บ้านแล้วเธอได้แต่คิดว่าทำไมมันเร็วอย่างนี้ แป๊บเดียวเองหรอ  เธอยังไม่รู้สึกด้วยซ้ำว่าเธอเกือบจะมาถึงหมู่บ้านแล้ว

สาวน้อยเดินมาพร้อมกับความคิดอันยิ่งใหญ่ในจินตนาการของเขา  เขากลัวว่าซักวันหนึ่งป่าไม้เหล่านี้  ธรรมชาติเหล่านี้ที่เธอได้สัมผัสมันในวันนี้นั้นเธอจะไม่ได้พบกับมันอีกแล้วเพราะทุกวันมีคนลักลอบตัดไม้เพื่อผลประโยชน์  เช่น ในระหว่างหนทางที่เธอเดินทางมานี้  ดอยเกือบทั้งดอย  โดนโค่นต้นไม้ทิ้ง  เพื่อถางป่าเพาะปลูกพืชไร่ต่างๆ  อีกทั้งยังมีลักลอบตัดไม้เพื่อทำในเชิงธุรกิจ  คือเอาไม้ไปแปรรูปแล้วนำไปขาย  ทำให้ป่าไม้ที่เคยอุดมสมบูรณ์  สัตว์ที่เคยอาศัยอยู่ในป่านั้นย้ายไปที่อื่นบ้าง  โดนจับเอาไปขายบ้าง  ยิ่งสัตว์ที่ใกล้สูญพันธุ์  นับวันจะหาดูได้ยากขึ้น  ก็ไม่มีที่อาศัย  ทำให้ต้องเร่ร่อนไปทั่ว  โดนจับบ้าง และโดยเฉพาะอย่างยิ่งธรรมชาติเมื่อมีสิ่งใดขาดหายไปมันก็เหมือนกับจิ๊กซอที่ตัวต่อมีไม่ครบ  มันก็จะไม่สมบูรณ์ไม่สวย  ส่วนของธรรมชาตินั้นเมื่อถึงฤดูฝน  หากฝนตกมากบริเวณที่เคยมีต้นไม้เมื่อก่อนมีต้นไม้ไว้คอยซึมซับน้ำ  แต่เดี๋ยวนี้กลายเป็นที่โล่งเตียนทำให้ไม่มีอะไรมาซึมซับน้ำฝนไว้  จึงเกิดเหตุการณ์ดินถล่ม  น้ำป่าไหลหลาก   ตามมาแล้วคนมาว่าธรรมชาติกลั่นแกล้ง  หากมองตามความเป็นจริงแล้วคนนั่นแหละที่กลั่นแกล้งธรรมชาติ  ทำร้าย ทำลายธรรมชาติ  เขาอยู่ของเขาดีๆแต่คนกลับไปทำลาย  เลยทำให้เกิดเหตุการณ์เช่นนี้ขึ้นมา  สาวน้อยคิดพลางเอามือเด็ดใบไม้  แล้วเอาใบไม้นั้นเก็บไว้ในอุ้งมืออันเล็กของเขา  แล้วน้ำตาของเธอก็ไหลมาแบบไม่รู้ตัว  ทำให้เธอกลัวว่าธรรมชาติที่เธอพบในวันนี้เธอจะไม่ได้เจอมันอีกแล้ว  ธรรมชาติจ๋า...

พระเมษา อภิวฑฺฒโน  รหัส ๕๑๑๐๕๔๐๑๑๑๐๕๐

ปี ๔ คณะศึกษาศาสตร์ สาขาการสอนภาษาไทย

เรื่องเล่าตำนาน  น้ำแม่ทา

น้ำแม่ทาเป็นแม่น้ำสายสำคัญของ  จ.เชียงใหม่  และ  จ.ลำพูน  โดยเป็นแม่น้ำที่ใช้หล่อเลี้ยง  ชีวิตของคนใน  จ.เชียงใหม่  และ  จ.ลำพูน  โดยเป็นแม่น้ำที่ใช้ทำการเกษตร  และเป็นแม่น้ำสำคัญในการดำรงชีวิต  และเป็นเสมือนแม่หรือสายเลือดหล่อเลี้ยงของคน ในสองจังหวัด  โดยมีตำนานของแม่น้ำทาที่ยาวนาน  เชื่อมโยงกับพุทธตำนาน พระเจ้าเลียบโลกอีกด้วย

ในความเป็นมาของแม่น้ำทา  มีตำนานเล่าโดยอ้างอิงจากพุทธตำนาน  พระเจ้าเลียบโลก  โปรดเวไนย์สัตว์มาจนถึง  วัดพระนอนม่อนช้าง  อ.ป่าซาง  จ.ลำพูน พระองค์ทรงประทับนอนรอพระอานนท์ ที่ไปหาน้ำดื่มมาถวาย  พระอานนท์เดินหาน้ำที่ไหนก็ไม่มีสักแห่ง  พระอานนท์จึงได้เอาไม้เท้า  แทงภูเขาแล้วขัดเป็นรอยกลายเป็นแม่น้ำทา  จึงตักน้ำไปถวายพระพุทธองค์ คำว่าน้ำแม่ทา ได้เพี้ยนมาจากคำว่า  ถ้า แปลว่า  รอคอย ในภาษาไทยกลาง  ถ้าเป็นภาษาเหนือ  หมายถึง  พระพุทธองค์  รอคอยหรือถ้าน้ำที่พระอานนท์  ไปตักจึงเรียกขานน้ำ  แม่ทาว่าแม่น้ำทา  ถ้า และเพี้ยนกลายมาเป็นแม่น้ำทา

แม่น้ำทา  เป็นแม่น้ำที่  ไหลผ่าน  ๒ จังหวัด คือลำพูน  และเชียงใหม่  โดยเส้นทางการเดินทางของสายน้ำนั้น  จะไหลผ่านบริเวณ  ต.แม่ทา  และ  ต.ทาเหนือ  ของ  อ.แม่ออน  จ.เชียงใหม่  และผ่านมาอำเภอแม่ทา  และ  อ.ป่าซาง  ของจังหวัดลำพูน  เป็นแม่น้ำที่ใช้ประกอบการเกษตรของผู้คนที่อยู่บริเวณใกล้แม่น้ำทาโดยใช้  หาอาหาร  ปู  ปลา  และใช้ในการเพาะปลูกพืชเกษตร โดยมีความสำคัญกับการใช้ชีวิต  ความเป็นอยู่ของผู้คนที่อาศัยแม่น้ำทาเป็นหลัก  เป็นดังสายเลือดของคนในจังหวัดเชียงใหม่  และลำพูน  ที่ใช้หล่อเลี้ยงร่างกาย  ดำรงชีวิตและความเป็นอยู่  ตลอดจนถึงทำกิจกรรมประเพณี  ที่มีความเกี่ยวข้องกับแม่น้ำ

ดังนั้น  แม่น้ำทา  จึงเป็นแม่น้ำสายสำคัญในการดำรงชีวิต  และเป็นแม่น้ำสำคัญอีกสายหนึ่งของ  จ.เชียงใหม่  -  ลำพูน  และเป็นแม่น้ำที่มีประวัติอันยาวนาน  ควรค่าแก่การรักษาให้สะอาดและช่วยกันดูแลสืบไป

พระอานนท์ พรหมฺวํโส  รหัส ๕๑๑๐๕๔๐๑๑๑๐๖๓

ปี ๔ คณะศึกษาศาสตร์ สาขาการสอนภาษาไทย

ประวัติชนเผ่ากะเหรี่ยง

การอพยพของคนกะเหรี่ยงนั้นมาจากประเทศพม่าเมื่อสมัยก่อนมีการทำสงครามกันระหว่างกะเหรี่ยงกับพม่าทำให้คนกะเหรี่ยงอพยพมาอยู่ขอบชายแดนประเทศไทยและบางส่วนก็ได้รับสัญชาติไทยเพราะมาอยู่นานแล้ว ปู่นะ เล่าให้ฟังว่าเมื่อสมัยก่อนมีประเทศกะเหรี่ยง อยู่ ที่ เมืองผะอัน ประเทศพม่าในปัจจุบัน มีเมืองหลวงและสิ่งต่าง ๆ มากมาย เพราะว่าการปกครองจะมีการปกครองแบบฉันพี่น้อง คนที่อายุแก่สุดหรือ เจ้า จะเป็นผู้ปกครองบ้านเมือง

สาเหตุที่ประเทศกะเหรี่ยงล้มสลายนั้นมาจาก การนับถือศาสนา เพราะว่าเมื่อสมัยก่อนนั้นประเทศกะเหรียงไม่มีนับถือศาสนา จะมีการนับถือผี อย่างเดียว ตั้งแต่ที่ศาสนาเข้ามาประเทศกะเหรี่ยงทำให้เกิดคนบางกลุ่มหันมานับถือศาสนาพุทธบ้าง ศาสนาคริสต์บ้าง จากนั้นมีคนต่างชาติเข้ามาอีกทำให้คนกะเหรี่ยงเกิดความแตกแยกขาดความสามัคคีเกิดคนหลายกลุ่ม ส่วนประเทศพม่านั้นเห็นว่าคนกะเหรี่ยงขาดความสามัคคีก็ยุยงให้คนกะเหรี่ยงด้วยกันอีกทำให้ประเทศพม่าได้มายึดเมืองหลวงของกะเหรี่ยงได้ทำให้กะเหรี่ยงหนีตายเป็นจำนวนมาก สุดท้าย ประเทศกะเหรี่ยงก็ถูกพม่ายึดและเอาคนกะเหรี่ยงเป็นทหารบ้างเป็นทาสบ้าง กะเหรี่ยงบางส่วนก็อพยพหนีมาอยู่รอบๆ เมืองไทย

อีกอย่างหนึ่งที่คนไทยแพ้พม่าในการทำสงครามสมัยอยุธยานั้นคนที่สำคัญที่สุดที่เป็นแม่ทัพไม่ใช่คนพม่าแต่เป็นกะเหรี่ยงเพราะว่าพม่าเห็นว่าคนกะเหรี่ยงนั้นมีฝีมือในการสู้รบ ชำนาญเส้นทางเดินป่า และคนที่เป็นผู้นำกะเหรี่ยงนั้นมีลูกสาวสวยในการทำสงครามนั้นกองทัพกะเหรี่ยงใช้ลูกสาวมาเป็นลูกสะใภ้คนไทย มีกษัตริย์องค์หนึ่งของไทยในสมัยก่อนได้แต่งงานกับสาวกะเหรี่ยงคนหนึ่งหลังจากที่ได้แต่งงานกับกะเหรี่ยงแล้ว ก็มีการทำสงครามระหว่างไทย กับพม่าคนที่ทำสงครามจริงๆ กับไทยนั้นไม่ใช่พม่าแต่เป็นคนกะเหรี่ยงโดยที่พม่าเป็นผู้นำในการออกคำสั่งหรือพูดง่าย ๆ คือกะเหรี่ยงเป็นทาสให้กับพม่ามาทำสงครามกับไทย (ได้คำบอกเล่าจาก ปู่นะ เมื่อ ปี ๒๕๓๘ ตอนนั้น อายุคุณปู่ ประมาณ ๖๐ ปี คุณปู่เสียแล้ว เมื่อ ปี ๒๕๔๐)

การใช้ภาษาของชนเผ่ากะเหรี่ยงนั้น มีภาษาของตัวเองมีทั้งพยัญชนะ ภาษา มี๒๕ ตัว สระ มี ๑๔ ตัว มี วรรณยุกต์ ๕ เสียง การใช้ภาษาของคนกะเหรียงนั้นสำเนียงแต่ละที่ก็จะแตกต่างกันไปไม่มาก เหมือน ภาษาเหนือ กับภาษาไทย

ประเพณีของกะเหรี่ยงนั้นจะมีประเพณีปีใหม่จะอยู่ช่วงเดือนสิงหาคมของทุกปีในประเพณีนั้น มีการเลี้ยงผีก่อนจะมีผู้นำคนหนึ่งในหมู่บ้านละแวกนั้นผู้นำคนนั้นจะดูแลเกี่ยวกับประเพณีต่าง ๆ ของชาวกะเหรี่ยงและให้คำปรึกษาของคนกะเหรี่ยงในที่ปกครองของท่าน พูดถึงประเพณีนั้นจะมีการต้มเหล้าก่อน จากนั้นก็จะให้ไก่หรือหมูเป็นเส้นไหว้ผีบรรพบุรุษแล้ว จะมีการร้องเพลงปีใหม่ทั้งคืนในวันปีใหม่ ตอนเช้าอีกวันหนึ่งจะมีการมัดมือทุกบ้าน เพื่อเป็นสิริมงคลให้กับตัวเองและครอบครัว

การแต่งงานของคนกะเหรี่ยงนั้นจะไม่มีการหมั้นกัน ผู้หญิงจะมาขอผู้ชายก่อน และบางคนจะอยู่ในความดูแลของพ่อแม่เป็นผู้จัดหาให้โดยที่ลูกไม่เคยเห็นผู้หญิงที่แต่งงานด้วย การที่จะแต่งงานกันได้นั้นต้องไม่ใช่เครือญาติกัน ถ้าเป็นเครือญาติกันแต่งงานกันไม่ได้ ก่อนที่จะมีการแต่งงานผู้ที่ต้องซื้อให้กับผู้หญิงนั้นแล้วแต่ตระกูลฝ่ายหญิงเคยปฏิบัติมา ส่วนใหญ่ เท่าที่เคยเห็นมา สิ่งที่ต้องมี คือ มีด ๑ อัน เงิน ๒ สลึง (เงินสกุล พดด้วง )  กำไล ๑ อัน เซียบ ๕ อัน สิ่งเหล่านี้ขาดไม่ได้

บางสิ่งบางอย่างนั้นเกี่ยวกับชาวกะเหรี่ยงที่ท่านยังไม่ได้เห็นหรือไม่ได้เคยได้ยินมาจะได้รู้จะได้เห็นและ อีกอย่างหนึ่งผู้เขียนได้เขียนมานี้เพื่อจะให้อ่านเข้าใจประเพณีวัฒนธรรมและความเป็นอยู่ของชาวกะเหรี่ยงด้วย ที่ผ่านมาผู้เขียนเองก็ได้ยินข่าวต่าง ๆ แล้วไม่สบายใจเพราะเขาว่า คนชนบทนั้นเป็นผู้ทำลายป่าและบุกรุกป่าทำให้คนเข้าใจผิดกันมาก ที่จริงแล้วคนชนบทนั้นเป็นผู้ดูแลรักษาธรรมชาติ การทำไร่ของคนกะเหรียงนั้นโดยทำแบบหมุนเวียน ไม่ใช่ทำไร่เลื่อนลอยอย่างที่เข้าใจกัน

ขอเชิญชวนท่านผู้อ่านเรื่องนี้ให้มาเรียนรู้ประเพณีวัฒนธรรมของชาวกะเหรี่ยงเพื่อที่จะได้เข้าใจและได้เรียนรู้วัฒนธรรมต่าง ๆ ของชนเผ่ากะเหรี่ยงและจะได้สืบสานเอาไว้จะได้ไม่ลืมหายไป

ป.ศิริวิวัฒนวรากุล

พระเงปุ ฐิตธมฺโม รหัส ๕๑๑๐๕๔๐๑๑๑๐๖๙

ปี ๔ คณะศึกษาศาสตร์ สาขาการสอนภาษาไทย


คำสำคัญ (Tags): #คนก้นบาตร
หมายเลขบันทึก: 491243เขียนเมื่อ 15 มิถุนายน 2012 09:34 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 มิถุนายน 2012 09:34 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท