Happy body..เรามาเต้นแอโรบิกกัน


Happy body, Arobic excercise

โครงการสร้างสุขในองค์กร: Happy body

บุคลากรทางการพยาบาลในหอผู้ป่วยเคมีบำบัด 5จ มีจำนวน 25 คน ลักษณะการทำงานต้องขึ้นเวรเช้า บ่าย ดึก จากภาวะขาดแคลนอัตรากำลัง จำเป็นต้องขึ้นปฏิบัติงานต่อเนื่องกัน เกิดความเครียด และรับประทานอาหารมากขึ้น มีพฤติกรรมในการรับประทานอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรตมากและไม่มีเวลาออกกำลังกาย  

มีปัญหา

  • น้ำหนักเกิน ร้อยละ 12 และเป็นโรคอ้วน ร้อยละ 16

       อ้วนมากร้อยละ 16

  • รอบเอวมากกว่า 80 เซนติเมตร ร้อยละ 40   

หลังจากที่บุคลากรหอผู้ป่วย ได้เปิดตัวโครงการมาตั้งแต่วันที่  7 กุมภาพันธ์ 2555

โดยมีวิธีการดำเนินการคือ

  • จัดให้บุคลากรเวรดึกและเช้า มีการออกกำลังกายท่าง่ายๆ เช่น เต้นตามจังหวะเพลง ประมาณ 5-10 นาที ก่อนทำงานก่อน pre conference
  • บริการน้ำดื่มสมุนไพรหลังทำกายบริหาร
  • ให้บุคลากรออกกำลังกายด้วยตนเองที่บ้านอย่างน้อยสัปดาห์ละ 3 ครั้งๆละ 30 นาที
  • จัดแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เกี่ยวกับพฤติกรรมการรับประทานอาหาร การออกกำลังกายและวางแผนการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ทั้งการรับประทานอาหารและการออกกำลังกาย
  • จัดหาโปสเตอร์ภาพคนสวย หุ่นดีมาติดไว้ห้องอาหารเจ้าหน้าที่
  • มีบอร์ดความรู้เรื่องอาหารสุขภาพ

ระยะเวลาการดำเนินการ  3 เดือน 

ให้ทุกคนมีโอกาสเข้าร่วมออกกำลังกายในหน่วยงานอย่างน้อย 20 ครั้ง ออกกำลังกายด้วยตนเองที่บ้าน อย่างน้อยสัปดาห์ละ 3 ครั้งๆละ 30 นาที

Large_p1160913

 

ผลลัพธ์

  •  น้ำหนักเกิน ร้อยละ 20 และเป็นโรคอ้วน ร้อยละ 12 อ้วนมากร้อยละ 16
  •  รอบเอวมากกว่า 80 เซนติเมตร ร้อยละ 44  

 

จะเห็นว่าบุคลากรที่เป็นโรคอ้วนลดลง เปลี่ยนไปอยู่ในกลุ่มน้ำหนักเกิน สำหรับบุคลากรที่อ้วนมากยังเท่าเดิม

แต่อย่างไรก็ตามเมื่อดูกลุ่มที่เป็นอ้วนมาก  โดยดูน้ำหนักของแต่ละคน พบว่า น้ำหนักลดลง 2 คน น้ำหนักเท่าเดิม 1 คน น้ำหนักเพิ่มขึ้น 1 คน

 

ผลลัพธ์ในภาพรวม

น้ำหนัก/BMI   pre test ร้อยละ post test ร้อยละ
น้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์   น้อยกว่า 18.5   3 12 3 12
น้ำหนักปกติ   18.5-22.9   11 44 10 40
น้ำหนักเกิน   23-24.9   3 12 5 20
โรคอ้วน   25-29.9   4 16 3 12
อ้วนมากมากกว่า30   4 16 4 16
รวม   25 100 25 100
           
รอบเอว   pre test ร้อยละ post test ร้อยละ
ต่ำกว่า 80   15 60 14 56
มากกว่า 80   10 40 11 44

 

ระยะที่ 2

เราจึงจัดทำ

  • วิซีดีการออกกำลังกาย โดยบุคลากรจัดทำเอง โดยร่วมกันเลือกท่าเต้นที่ชอบและเหมาะสม  ความยาว 15 นาที เพื่อแจกให้บุคลากรเต้นที่ห้องหรือเต้นในที่ทำงานหลังก่อนลงเวร ในวันที่ 8 มิถุนายน 2555
  • ให้ทุกคนไปเริ่มออกกำลังกายทุกวันหรือมากกว่า 3 ครั้ง ต่อสัปดาห์ และ
  • แลกเปลี่ยนกันเรื่อง การรับประทานอาหารที่ยังมีโอกาสเกิดโรคอ้วนได้

 

รูปภาพ : Happy body

 

รานัดประเมินผลอีกครั้ง  ต้นเดือน กรกฎาคม 2555

 

สำหรับตัวดิฉันเอง

น้ำหนักลดลง รอบเอวก็ลดลง แต่น้ำหนักยังไม่ได้มาตรฐาน อย่างไรก็ดี ก็รู้สึกร่างกายแข็งแรง ต้นแขนลดลง ไม่ต้องไปกายภาพบำบัดจากการปวดหลัง และเมื่อได้วีซีดี การออกกำลังกายมาแล้ว ได้ออกกำลังกายตามวีซีดีมา 2 ครั้ง เหงื่อออกดี 

แก้ว..10/06/55

หมายเลขบันทึก: 490695เขียนเมื่อ 10 มิถุนายน 2012 06:15 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 มิถุนายน 2012 20:31 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

การออกกำลังกาย อาจทำให้เหนื่อย ยิ่งทำให้กินมาก ยิ่งอ้วนมากกว่าเดิมได้นะครับ ....ต้องมองบริบทด้วย

พระป่า ผอม ทั้งที่ไม่ได้ออกกำลังกายท่าอาโรบิกใดๆ นอกจากกวาดลานวัดนิดหน่อย ... นั่งสมาธิเป็นส่วนใหญ่

ง่ายนิดเดียวครับ...ท่านกินน้อย แบบว่า กินเพื่ออยู่ ไม่ได้อยู่เพื่อกิน

คนไทยเราผมเขียนแจงแสดงเหตุไว้แล้วว่า กินวันละ ๘๐๐ แคล พอแล้ว แต่หนังสือสุขศึกษาบอกว่าต้องกินวันละ ๒๐๐๐ เท่าฝรัั่ง ตามที่พวกหมอ (garden) บงการลงมา ... จากนั้นมันบอกให้เราไปเต้นอาโรบิกอีก (หมอไทยมันทำอะไรได้หมด รวมทั้งถือกระเป๋าเดินตามนักการเมืองที่สอบเข้าอะไรไม่ได้เลย)

อิอิ

แหย่แยงตะแคงรั่วเสมอมา

เข้าโครงการไปแล้วแต่ยังลดไม่ได้ คงต้องใช้วิธิของคนถางทาง แต่เดินทางบ่อยจัง จึงหิวจัด

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท