วิศวกรไทยลอกฝรั่ง (อีกแล้ว)


ตามสถานที่ต่างๆก็ยังคงขอร้องให้ช่วยกันประหยัดพลังงานด้วยการปรับอุณหภูมิไปที่ ๒๕ องศากันทั้งประเทศ ถ้าปรับมาเป็น 27 องศาจะช่วยประหยัดค่าไฟฟ้าได้ปีละมหาศาล

ผมจวกหมอไทยมาหลายบทความแล้วว่าลอกการกินดื่มมาตรฐานฝรั่งมาใช้กับคนไทย ลืมไปว่าวิศวกรอย่างพวกผมก็ลอกหรั่งเหมือนกันเช่น มาตรฐานการปรับอากาศ

 

วิศวกรเครื่องกล (สาขาวิชาชีพผมเอง) ผู้ออกแบบระบบปรับอากาศในอาคารก็กำหนดว่าภาวะอยู่สบาย (thermal comfort) ของคนไทยเราคือ อุณหภูมิ 25 C และความชื้นสัมพัทธ์ 50%   (25/50)

 

ผมเอะใจประเด็นนี้ตั้งแต่เมื่อ พศ. ๒๕๓๘ พลันที่บรรยายวิชาอุณหพลศาสตร์ (Thermodynamic) ในม.ไทย ว่าไม่น่าใช่ โดยผมว่าถ้าระดับนั้นก็หนาวไปสำหรัยคนไทยเราแล้ว ว่าแล้วผมก็พยายามโพนทะนาออกไปเท่าที่ศักยภาพอำนวยว่าไม่ใช่นะ เมืองไทยเราควรกำหนดประมาณ 27/70 มากกว่า  บัดนี้เป็นเวลา  ๑๗ ปีแล้ว ก็ยังไม่ค่อยได้ผล  ตามสถานที่ต่างๆก็ยังคงขอร้องให้ช่วยกันประหยัดพลังงานด้วยการปรับอุณหภูมิไปที่ ๒๕ องศากันทั้งประเทศ   ถ้าปรับมาเป็น 27 องศาจะช่วยประหยัดค่าไฟฟ้าได้ปีละมหาศาล ผมเคยคำนวณไว้ตอนโน้นว่าประหยัดได้เป็นพันล้าน

 

สังเกตไหมครับเวลาไปประชุมตามโรงแรมหรู เราจะรู้สึกหนาว ต้องใส่เสื้อคลุมกันหนาวกันเป็นส่วนใหญ่ ก็มาจาก 25/50 นี่แหละครับ อีกทั้งวิศวกรที่ไม่เก่งพอก็คงต้องออกแบบเผื่อไว้อีกด้วยคือ หนาวเกินไปดีกว่าร้อนเกินไป

 

เรื่องความชื้นนั้นคนไทยเราไม่ค่อยสนใจกันเท่าใดนัก แต่มันมีผลเหมือนกันนะครับ เช่นถ้าสบายที่ 27/70  ก็อาจสบายได้ที่ 28/60 หรือ 26/80 ด้วย   แต่ความชื้นมากไปก็ไม่ดีครับอาจเป็นหวัด   ความชื้นน้อยไป(อากาศแห้ง)ก็ระคายผิวหนังได้

 

ผมฝากเป็นประเด็นให้ท่านครูอาจารย์วิทยาศาสตร์ วิศวทั้งหลาย เอาไปสอนนักเรียนนักศึกษาในประเด็นนี้ด้วยนะครับ

 

เราลอกมาตรฐานฝรั่งมาใช้ในเรื่องอื่นๆ อีกมาก เช่น ขนาดโถปัสสาวะชาย (ความสูง)   (บางที่ต้อง “เขย่งเยี่ยว”)  ขนาดเตียงใหญ่เกินไปพอทำเนา (ยกเว้นเปลืองวัสดุ)  ที่สำคัญคือเก้าอี้ทำงาน ที่พนักพิงคอมันมักสูงเกินไป นั่งแล้วไม่เข้าหลังทำให้ปวดหลังปวดเอวได้  ขนาดความสูงของพื้นตั่งห้องครัวก็เช่นกัน มักสูงตามมาตรฐานฝรั่ง ทำให้หั่นผักไม่ได้แรง  (มุมแขนไม่ได้)

 

....คนถางทาง (๖ พค. ๒๕๕๕) 

หมายเลขบันทึก: 490310เขียนเมื่อ 6 มิถุนายน 2012 14:11 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 08:29 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

Medicine ของชลัญเป็นเพื่อนกัน engineer แล้ว พอปานกัน อิ อิ อิ

เห็นด้วยอย่างยิ่งครับอาจารย์ ผมสังเกตมานานแล้วว่าห้องที่ติดเครื่องปรับอากาศที่สบายสำหรับนั่งทำงานและนอนหลับคือ ๒๗-๒๘ องศา หากต่ำกว่านี้ก็จะหนาว บางครั้งต่ำมากๆก็เล่นเอาบรรยายและทำงานไม่ไหวเลยทีเดียว

วิศวกรเป็นผู้หญิงหรือเปล่าครับ บางทีเขาอาจจะบวกอุณหภูมิสำหรับการใส่เสื้อคลุมสวยๆ เข้าไปด้วยครับ เห็นสาวๆ ตามออฟฟิศต่างๆ ใส่ผ้าพันคอบ้าง เสื้อหนาวบ้าง สวยๆ ครับ

ถ้าเป็นจริง ต่อไปเครื่องปรับอากาศควรมี male-favored mode และ famale-favored mode ครับ

เท่าที่ผมสังเกตผู้หญิงจะขี้หนาวกว่าผู้ชายนะครับ นั่นอาจเป็นสาเหตุว่าทำไมผู้หญิงต้องใส่เสื้อผ้าหนาก็ได้ครับ

แหม..ถ้าแบบนั้นอาจต้องมี third-sex-favored mode ด้วยหรือเปล่า อิอิ

ฮา... จริงๆ ด้วยครับ แต่ที่จริงเขาก็มีแล้วนะครับ พวกระบบ "I Feel Control" ทั้งหลายที่ใครอยู่ใกล้รีโมตคนนั้นชนะ แอร์พวกนี้ไม่มีระบบ "We Feel Control" ที่คำนวนจากคนที่อยู่ในห้องเฉลี่ยรวมกันทั้งหมดนะครับ น่าจะดีครับ

This should be put into Thailand Industry Standard (TIS) "27/70".

Air condition still have a long way to go. For examples: sensing CO2/humidity (and other hazardous fumes); circulating air just enough and in the right place; recovering heat waste (from human, cooking, ...)

But let turn up the air-con to 27C and throw away that silly wester suits and ties ;-)

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท