ขั้นตอนบางอย่างที่จำเป็นต้อง จัดให้มีในคู่มือการดำเนินงานสนามบิน


การปฏิบัติที่ไม่ปลอดภัย จะต้องสามารถรายงานและสั่งการให้หยุดการกระทำนั้นได้ทันที

.......สวัสดีครับเพื่อนๆพี่ๆน้องๆที่รักการsharing ไม่ว่าจะเป็นความรู้สึก กำลังใจฝากให้กัน กระทั่งความคิดเห็นและองค์ความรู้ เผื่อแผ่ให้กันและกันอย่างไม่มีวันสิ้นสุด พร้อมที่จะเดินไปสู่โลกไร้พรหมแดนแห่งชาวอาเซียน ยุคที่การทำมาค้าขายได้เสรี ไม่มีข้อแตกต่างด้านภาษี วันนี้เราพร้อมหรือยังที่จะเปิดหน้า เปิดตา เปิดใจ เปิดประเทศออกสู่เศรษฐศาสตร์ระดับนานาชาติ ถึงตอนนั้นใครที่ยังยึดติดกับตนเอง ไม่ยอมเปิดใจสู่สังคม คงเป็นคนล้าหลัง คนที่ำอะไรเพื่อประโยชน์แค่ส่วนของตนเองอยู่ คงมีหวังได้ตกงานหรือถูกพิจารณายุบหน่วยงานก็เป็นได้แน่ๆ ตอนนี้เราจึงปรับตัวปรับทัศนคติเสียใหม่ ในเรื่องขั้นตอนวิธีการปฏิบัติงาน ต้องคิดวิเคราะห์แบบบูรณาการว่างานที่ทำอยู่ สามารถสานประโยชน์ให้งานด้านอื่นๆที่เกี่ยวข้องกันได้อย่างไร ต้องทำให้เกิดการพัฒนางานร่วมกันทั้งระบบบ และคนปฏิบัติเอง ก็ต้อง Responsibilities ใส่ใจรับผิดรับชอบงานด้วยความมีวินัย และเข้มงวดในการปฏิบัติให้ถูกต้องตามกฎเกณฑ์ขององค์กร ถ้าทำได้แบบนี้ สิ้นปีก็คงได้พิจารณาให้ความสำคัญในลำดับต้นๆ แล้วงบประมาณที่จะใช้พัฒนาต่อในปีถัดๆไปก็คงพิจารณาอนุมัติงบประมาณให้ได้สดวกและเพียงพอต่อการปฏิบัติงานมากขึ้นเป็นแน่....

.......

....ครับบอกแล้วว่าProcedure หรือขั้นตอนการปฏิบัติงานที่ปลอดภัย ย่อมมีในทุกองค์กร แต่ละข้อก็ส่งเสริมข้ออื่นๆกันไปเป็นการทำงานทั้งระบบ แบบยั่งยืน และเป็นระบบที่ได้รับการปกป้องความเสี่ยงต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นมาในทุกมิติเรียบร้อยแล้ว......ครับนั่นคือ Best Practice นำมาสู่ Safety Operation Procedure หรือ SOP นั่นเอง....

.....ด้านสนามบิน เรากำกับดูแลการดำเนินงานของสนามบิน ผ่านคู่มือสนามบิน (Aerodrome Mannual) หรือจะเรียกว่าคู่มือการดำเนินงานสนามบิน ก็ไม่ผิดครับ ส่วนเจ้าของสนามบิน จะตรวจสอบควบคุมการปฏิบัติงานในสนามบิน ผ่าน SOP นั่นเอง ซึ่งทั้ง คู่มือฯและSOPก็ล้วนแต่มีขั้นตอนการปฏิบัติงานที่มั่นใจว่า เมื่อทำตามให้ครบถ้วนแล้ว การดำเนินงานนั้นๆก็จะมั่นใจได้ว่าจะเกิดความปลอดภัยขึ้นได้แน่นอน....เมื่อมีคนทำ ก็ต้องมีคนตรวจ ก็เพราะว่ามนุษย์เรามักจะทำตามความเคยชิน และมองปัญหาใกล้ตัวไม่ออก ต้องมีคนอื่นช่วยสังเกตุช่วยตรวจสอบและเตือนจึงจะได้ตระหนักและใส่ใจในการปฏิบัติด้วยความระมัดระวังมากขึ้น  ไม่ใช่ทำเพราะกลัวโดนจับผิด แต่ทำถูกเพราะทราบขั้นตอนการปฏิบัติงานอย่างรู้แจ้งว่า ทำไมฉันจำเป็นต้องทำขั้นตอนในคู่มือขั้นตอนที่ 1 ทำไมถึงจำเป็นต้องทำขั้นตอนที่ 2 ....คู่มือสนามบินระบุให้ทำเพราะอะไร...ถ้าไม่ทำจะเกิดอะไร กระทบกับอะไร อะไรจะเสียหาย ....เข้าใจแจ่มแจ้ง....แบบนี้ครบทุกขั้นตอนนั่นเองครับ....

.....ผมขอฝากทางสนามบินเรื่องที่ต้องจัดให้มีอย่างยิ่งคือ ต้องมีกฎระเบียบที่เข้มงวดกับเรื่องที่ต้องเข้มงวด เช่น สนามบินมีหน้าที่ตรวจสอบและมีอำนาจสั่งให้ผู้ประกอบการในสนามบินทั้งหมดหยุดการปฏิบัติงาน ที่ไม่ปลอดภัยขณะนั้นได้ทันที ทันเหตุการณ์ ดังนั้นข้อตกลงในการทำสัญญาใดๆต่อผู้ประกอบการปฏิบัติงานทั้งหมดในสนามบิน จะต้องระบุเงื่อนไขนี้และผู้ประกอบการ ต้องอธิบายให้ผู้ปฏิบัติงานในธุรกรรมของตัวเข้าใจและต้องปฏิบัติตามที่ผู้ตรวจ(สนามบิน)สั่งการได้...เราเรียกการกำกับ การตรวจสอบ นี้สามารถทำได้ถูกต้อง ถูกต้องของด้านสนามบิน คือผู้ตรวจสามารถจะสั่งหยุดการปฏิบัติงานที่ไม่ปลอดภัยได้ทันที เช่น ขณะเติมน้ำมัน จนท.ผู้รับผิดชอบการเติม ไม่ต่อสายดินระหว่างรถและอากาศยานเข้าด้วยกัน ผู้ตรวจสามารถพิจารณาสั่งให้ จนท.ผู้นั้นหยุดเติมน้ำมันได้ทันที แบบนี้เป็นต้น....

ด้านการบำรุงรักษา...อย่างน้อย

ในคู่มือสนามบิน หัวข้อ 4.6 การจัดการบำรุงรักษาเครื่องอำนวยความสะดวกในการเดินอากาศและระบบไฟฟ้าสนามบิน.....

1.มีรายการ ขั้นตอน ความถี่ การบันทึกผล การตรวจวัดความต้านทานสายฯ การตรวจหม้อแปลงในบ่อพักสายฯ การตรวจจุดเชื่อมต่อสายฯ

2. ขั้นตอนการวัดค่าความต้านทานสายไฟฟ้าสนามบิน ให้รวมถึงวิเคราะห์ค่าเพื่อให้ทราบว่า จะได้ซ่อมบำรุงระบบใดก่อน และให้ดำเนินการแก้ไขระบบ เพื่อให้ค่าความต้านทานสูงขึ้นใกล้เคียงค่ามาตรฐานให้ได้มากที่สุด อันจะนำมาซึ่งเสถียรภาพของระบบ และเพื่อลดโอกาสความเสี่ยงในการขนส่งทางอากาศในเวลากลางคืนได้  ตลอดจนนำผลที่ไม่ได้มาตรฐาน มาประเมินความเสี่ยง แล้วกำหนดแผนปรับปรุง ระยะสั้นทำทันที ได้แก่พันเทปจุดเชื่อมต่อใหม่ เปลี่นหม้อแปลงไฟ เปลียนสายไฟบางช่วงที่ฉนวนเสื่อมหรือฉีกขาดกระแสไฟรั่วไหลมากก่อน  ส่วนการแก้ไขระยะยาว จัดทำแผนซ่อมปรับปรุงหรือเปลี่ยน ตั้งงบฯจัดซื้อจัดจ้าง ประมาณเวลาดำเนินการแล้วเสร็จ และเร่งรัดการดำเนินการให้เป็นไปตามแผนฯ

3. การควรตรวจโคมไฟที่มีแสงสว่างหรี่ ลดลงต่ำกว่า ครึ่งหนึ่งของความสว่าง 50% เป็นโคมที่ใช้ไม่ได้ควรจัดให้มีการตรวจว่าโคมไฟที่ใช้ไม่ได้ ห้ามตั้งอยู่ติดกันเกิน 2 โคม(ระบุ ห้ามดับ(หรือความสว่างลดลงมากกว่า50%)อยู่ติดกันเกิน 2 โคมใน Checklist) นำผลที่ไม่ได้มาตรฐาน มาประเมินความเสี่ยง แล้วกำหนดแผนปรับปรุง ระยะสั้นทำทันทีเช่นจัดซื้อหลอดไฟ หม้อแปลง ชุดคิทอุปกรณ์ต่อสาย(Connector Kit) ระยะยาวตั้งงบฯจัดซื้อจัดจ้างปรับปรุงระบบ

4. ต้องมีการวัดค่าเวลา ของการกลับมาติดใหม่ของโคมไฟ (ค่า Switch Over Time) และถ้าไม่แน่ใจหรือค่าเกือบจะไม่ได้มาตรฐานให้ ดำเนินการวัดใหม่อีกอย่างน้อย 2 ครั้งและนำค่ามากสุดมาใช้ประกาศให้นักบินทราบ

5. ให้แจ้งและช่วยบริษัทวิทยุการบินฯในการช่วยตรวจสอบการทำงานของ ปืนฉายสัญญาณไฟ (Signalling Lamp) โดยแจ้งให้หอควบคุมการจราจรทางอากาศ หรือช่างประจำหอฯช่วยฉายไฟจากปืนฉายสัญญาณ มาที่รถตรวจการณ์ โดยทำการเปลี่ยนทั้งแสงสี แดง ขาว เขียว(RED/WHITE/GREEN) และให้สังเกตุและรายงานความชัดเจนแก่หอฯหรือช่างประจำหอฯทราบ

6. ให้แจ้งและช่วยบริษัทวิทยุการบินฯในการช่วยตรวจจวัดอัตราการกระพริบของไฟประภาคาร (Aerodrome Beacon 2-3 Flash/Second)

7. ในคู่มือสนามบิน หัวข้อ 4.6 แบบบันทึกผลการตรวจวัดระบบไฟฟ้าสนามบิน และบันทึกผลอื่นๆ ต้องมีการ follow up จะต้องจัดให้มีช่องว่างเพื่อให้หน่วยเกี่ยวข้องทราบและบันทึกข้อวินิจฉัย และสั่งการตามสายงานให้แก้ไข จนจบกระบวนงาน คือระบุว่าสามารถแก้ไขได้แล้วเสร็จหรือไม่เสร็จอย่างไรเมื่อใด 

8. จะต้องจัดให้มีการตรวจสอบสภาพของการทาสีทำเครื่องหมาย ได้แก่ความชัดเจนของสี คุณสมบัติการสะท้อนแสง ความชัดเจนเห็นแล้วสามารถอ่านออกได้โดยง่าย(ไม่ Difficalt to Identify) และบันทึกผลการตรวจสอบและการรายงานเป็นต้น ในคู่มือสนามบิน

ผมได้เขียนเล่าเรื่องการออกประกาศนักบิน เตือนถึงระบบไฟฟ้าสนามบินและระบบไฟฟ้าสำรองที่จ่ายให้ระบบไฟ ซึ่งปัจัยต่างๆอาจทำให้เวลาของการกลับมาติดใช้ได้ใหม่ของโคมไฟฟ้าสนามบินไม่เป็นไปตามข้อกำหนด รวมทั้งตัวอย่างการออกประกาศเตือนไว้ที่ ลิ้งค์ด้านล่างนี้อย่างละเอียดครับ.....http://www.gotoknow.org/blogs/posts/484170

ที่สำคัญเป็นอย่างยิ่งจะต้องไม่ลืมว่า ความแตกต่างของการตรวจสภาพทั่วไปทุกวันเป็นประจำนั้น แตกต่างจากการตรวจพินิจ(Inspection)ที่เราต้องสังเกต วิเคราะห์ หาสาเหตุการเกิด แล้วหาแนวทางป้องกัน อย่างสิ้นเชิง ในทุกๆเดือนหรือ 2ครั้งต่อเดือน การตรวจพินิจนี่เองที่องค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศให้แต่ละประเทศภาคีสมาชิก โดยกรมการบินพลเรือนมีหน้าที่ออกกฎข้อบังคับ เอกสารแนะนำ ตลอดจนบทลงโทษหากไม่ทำตาม ต่อการปฏิบัติในกิจการสนามบินในประเทศเพื่อให้เกิดเป็นการปฏิบัติที่ก่อให้เกิดความปลอดภัย ทำให้มั่นใจในการลดความเสี่ยงของเครื่องช่วยการอำนวยความสะดวกในการเดินอากาศ ในการที่จะให้ได้ผลลัพธ์ที่ถูกต้องบอกแก่นักบิน เพื่อให้การบินเกิดความปลอดภัย และยกระดับของการให้บริการเครื่องอำนวยความสะดวกในการเดินอากาศของประเทศให้มีมาตรฐานความปลอดภัยที่สูงขึ้นได้

อีกประเด็นหนึ่งที่ต้องมีการดำเนินการ นั่นคือการปกป้องสถานีวิทยุเครื่องช่วยการเดินอากาศและเรด้าร์ (ในคู่มือสนามบิน หัวข้อ 4.17)ที่ต้องมีมาตรการระบบการจัดการปกป้องขึ้น ทั้งนี้ก็เพื่อให้มั่นใจว่า ขณะเครื่องบินกำลังรับสัญญาณคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า จากสถานีเครื่องช่วยการเดินอากาศและ/หรือเรด้าร์ ที่ติดตั้งบริเวณสนามบินนั้น จะต้องไม่มีวัตถุใดๆเคลื่อนที่ผ่านหรือบดบังสัญญาณ ทำให้สัญญาณได้รับการรบกวน เปลี่ยนรูปแบบผิดเพี้ยนไป มีผลให้เมื่อสัญญาณถูกรับผ่านสายอากาศที่ติดตั้งบนลำตัวเครื่องบิน เดินทางเข้าสู่เครื่องรับและประมวลผลสัญญาณ แปลและถอดรหัสผล และแสดงที่เกจ์วัดผิดพลาดตาม ทำให้นักบินได้รับข้อมูลที่ผิดพลาดหรือใช้นำร่องให้เครื่องไม่ได้นั่นเอง...เห็นไหมครับว่าก่อให้เกิดผลกระทบต่อการเดินอากาศมากแค่ไหน

ขอสรุปเป็นแนวทางการดำเนินการในเรื่องนี้แล้วกันนะครับ อย่าลืมนะครับว่าผมจะบอกแนวทางเป็นข้อกำหนดขั้นต่ำ คืออย่างน้อยต้องจัดให้มีดังนี้ ส่วนขั้นตอนรายละเอียดการดำเนินการ ผู้ปฏิบัติคือทางสนามบิน จะต้องนำไปประยุกต์ให้เข้ากับสถานที่ และบริเวณที่สถานีวิทยุเครื่องช่วยฯนั้นๆติดตั้งอยู่ และทางกายภาพที่สามารถทำได้ เป็นจุดที่มองเห็นได้ชัดและไม่สับสนกับผู้ปฏิบัติครับ

1.กำหนดพื้นที่ที่ไวต่อการรบกวนการส่งของสถานีเครื่องช่วยการเดินอากาศ ที่ส่งสัญญาณเพื่อบอกแนวกึ่งกลางทางวิ่ง Localizer และเครื่องช่วยฯที่ส่งสัญญาณบอกมุมร่อน Glide Slope ให้กับนักบิน ใช้มาตรฐานตามที่กำหนดใน Annex 10 เรื่อง Critical & Sensitive Area ของ Localizer และ GlideSlope ซึ่งขนาดพื้นที่จะแปรเปลี่ยนตาม Type เครื่องบินและชนิดจำนวน Element ของสายอากาศ (Loc.) กำหนดลงในแบบแปลนขนาดอย่างน้อย A3 เพื่อความชัดเจนในการ Land Mark

2.ระบุขั้นตอนการปฏิบัติในการเข้า-ออกพื้นที่ Critical Area & Sensitive Area ในระเบียบการปฏิบัติงานในเขต Airside พร้อมดำเนินการชี้แจงให้ผู้เข้าปฏิบัติงานฯเข้าใจ และทราบจุดที่จะรอหลังจากออกนอกพื้นที่ Critical และ Sensitive Area ได้แก่ การเข้าพื้นที่ เช่นการขออนุญาต(ขอระยะห่างที่ปลอดภัย หรือขอ Clearance)หอฯก่อนเข้าพื้นที่ฯ และการรายงานเมื่อออกจากเขตพื้นที่ดังกล่าว

3.สนามบินจะต้องประสานการดำเนินการให้เป็นไปตามที่ได้กำหนด ได้แก่บริเวณที่จะให้ ยานพาหนะขับเคลื่อนไปรอ จุดหยุดรอในแบบและสถานที่จริง กับหน่วยงานอื่นๆเช่น หอบังคับการบิน เพื่อจะได้ไม่สับสนต่อผู้ปฏิบัติ ในการหลบและจอดให้ตรงที่กำหนด

4.อาจจะจัดให้มีการทำเครื่องหมาย Marker เช่นการทาสีลงบนบอร์ดกระดาน ขนาดตาม Annex14 Volumn 1 ยาว 3 เมตรด้านกว้างของ 3 เหลี่ยมกว้างด้านละ 1 เมตรเท่ากันทั้ง 3 ด้าน และ/หรือใช้สัญญลักษณ์ ธง ติดปลายไม้ติดตั้งไม่สูงจากพื้นมากเกินไป ใช้วัสดุที่แข็งแรงแต่เปราะสามารถแตกหักได้โดยง่าย ก็สามารถทำเพื่อให้เกิดความชัดเจน ในการที่จะบอกแนวเขตให้ผู้ปฏิบัติงานในเขต Airside ได้เห็นและป้องกันการรุกล้ำเขต Critical Area ได้ก่อนที่จะเกิดการรุกล้ำเข้าไปจริงๆ โดยกำหนดขั้นตอนในการที่จะต้องแจ้งขอเข้าพื้นที่บริเวณนั้นก่อนที่จะเข้าไปปฏิบัติงาน ก็เป็นการป้องกันที่ดี เพราะเจ้าหน้าที่หอบังคับการบินเท่านั้น ที่จะทราบได้ว่าเครื่องบินที่เข้ามาใกล้จะเข้ามาในเขตส่งสัญญาณ(Coverage Area)และใกล้บริเวณที่จะเริ่มใช้สัญญาณเครื่องช่วยการเดินอากาศอยู่หรือไม่ 

5.ต้องมีแผนผังให้ผู้ปฏิบัติงานทราบชัดเจนในจุดที่จะต้องระวังการรุกล้ำ ผู้ที่ต้องใช้แบบแปลน Critical Area ในการทำงาน คือ เจ้าหน้าที่หอบังคับการบิน ผู้ขับขี่ยานพาหนะใน Airside ผู้ขับขี่รถตัดหญ้า ผู้ที่ปฏิบัติงานใน Airfield ทั้งผู้รับเหมาภายนอก และเจ้าหน้าที่ภายในเองก็ตาม เช่น ผู้ขับรถตรวจทางวิ่งทางขับ เจ้าหน้าที่ดับเพลิงกู้ภัย เจ้าหน้าที่อุตุนิยมวิทยาการบิน ที่ดูแล Awos เจ้าหน้าที่ บวท.ที่ดูแลระบบเครื่องช่วยฯเองก็ตาม

 

หมายเลขบันทึก: 490048เขียนเมื่อ 4 มิถุนายน 2012 18:13 น. ()แก้ไขเมื่อ 7 กรกฎาคม 2012 13:47 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

วันวิสาขบูชา ขอทำบุญด้วยการsharing ความรู้ดีดี ให้แก่เพื่อๆพี่ๆน้องๆที่ทำงานด้านการบิน ให้ตระหนักและรักในการบิน อันแสนจะอบอุ่นจากความร่วมมือกัน ในการที่จะตั้งใจทำงานให้สนามบินของเราปลอดภัยต่อทุกคนที่ใช้สนามบินของเราครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท