KM (แนวปฏิบัติ) วันละคำ : ๕๖๘. การจัดการความรู้กับการวิจัยเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น (ตอนที่ ๒)


 

ตอนที่ ๑

 

     จากการทำกิจกรรมโรงเรียนชาวนาประมาณ 3 รอบต่อหนึ่งปี   สุพรรณบุรีน้ำดีส่วนดอนเจดีย์น้ำไม่ดี เห็นไม่ชื่อดอนมันบอกนะแต่ว่าส่วนใหญ่น้ำดีชลประทานดีทำนาปีละสามรอบครึ่ง เพราะฉะนั้นหนึ่งปีก็ได้สามรอบก็มานำเสนอว่าผลที่ได้รับเป็นไปตามเป้า  ตัวเป้าหมายที่แท้จริงคือการพัฒนาพื้นที่  พัฒนามหาวิทยาลัย  พื้นที่ก็ต้องการให้คนอยู่ดีกินดีขึ้น  มหาวิทยาลัยก็ต้องการผลงานวิชาการโดยธรรมชาติ แต่จริงๆแล้วมันมีผลได้ของมหาวิทยาลัยหลายอย่าง  ที่อาจจะไม่ได้คิด เช่นการทำกิจกรรมเราจะได้ลูกศิษย์ดีๆเขามาเรียนหนังสือกับเราลูกศิษย์ที่ดีคือใครในสายตาของผม  ผมคิดว่าไม่จำเป็นต้องเป็นเด็กหัวดี  เป็นเด็กที่มีแรงบันดาลใจ ต้องการจะทำอะไรอย่างมีเป้าหมายชีวิต  มีไฟในหัวใจและอยากให้เด็กเหล่านั้นมาเรียนแล้วเกิดผลดีต่อมหาวิทยาลัย  ต่อพื้นที่เด็กที่รู้จักตัวเองรู้ความใฝ่ฝันของตัวเอง  ตรงกับที่มหาลัยต้องการ การนำการจัดการความรู้มาใช้สำหรับการวิจัยเพื่อการพัฒนาพื้นที่จุดที่สำคัญคือต้องมีการออกแบบไม่มีสูตรสำเร็จต้องปรึกษากัน  ลองคิดแล้วปรับเพื่อเป็นเครื่องมือเอามาใช้ให้เหมาะกับบริบทพื้นที่ส่วนมหาลัยก็มีหลายเป้าหมายการออกแบบกิจกรรมอย่าคิดอยู่คนเดียวหรือกลุ่มเดียวต้องมีวิธีคิดหลายๆแบบต้องปรึกษาพื้นที่ด้วย จุดอ่อนคือเราคิดว่าคนมหาวิทยาลัยเก่งๆ ทั้งนั้นแต่เราไม่มีประสบการณ์ในพื้นที่ เราไม่ได้ดำรงชีวิตอยู่ในพื้นที่ จุดสำคัญอันหนึ่งคือเข้าไปทำงานด้วยกันเป็นเพื่อนกันเป็น  partner  ไม่ใช่ไปเป็นผู้ให้ไม่ใช่เข้าไปเป็นผู้ช่วยเหลือ แล้วให้ชาวบ้านเป็นผู้รับความช่วยเหลือ   ต้องเข้าไปทำงานด้วยกันเท่าเทียมกันจุดที่สำคัญที่สุดคือต้องสร้างความสัมพันธ์แบบคนไทยแต่งงานกันคนไทยจะแต่งงานกันแบบแต่งแล้วอยู่ตลอดชีวิต  ไม่ใช่แต่งงานแบบอเมริกันที่แต่งเพื่อหย่า (เดี๋ยวนี้ผมอาจไม่แน่ใจอาจจะพูดแล้วผิด)แต่จุดสำคัญคือให้ทำงานเป็นโปรแกรม   long term  อย่าทำงานเป็น  short  term  project  หนึ่งปีเสร็จสามเดือนเสร็จ สองปีเสร็จ มหาวิทยาลัยต้องสร้างความมั่นใจร่วมกันทำงานระยะยาวทำงานเป็น phaseปรึกษาหารือกัน ด้านการเรียนการสอนเป็นหลักอันหนึ่ง  เอาเรื่องวิจัยเป็นหลักอันหนึ่ง  แล้วเอางานบริการเป็นหลักอันหนึ่งจุดสำคัญคือวิจัยมันไม่ใช่วิจัยเท่านั้นมันจะครอบคลุมกิจกรรมของมหาวิทยาลัยทุกอย่าง มหาวิทยาลัยไม่ว่าจะเป็นมหาวิทยาลัยแบบไหนในประเทศไทยหรือในโลกจัดการเรียนการสอนที่ทำอยู่ปัจจุบันไม่ได้อีกแล้วสิบปีหลังจากนี้ถ้าท่านยังสอนอยู่แบบนี้อีกท่านจะเป็นมหาวิทยาลัยล้าหลังบาปก็คือลูกศิษย์ของท่านจะไม่ทันคน จะออกไปเป็นคนที่ไม่ทันโลก มหาวิทยาลัยต้องปรับรูปแบบการเรียนการสอนต้องเปลี่ยนยิ่งกว่าอะไรที่เป็นข้อเถียงกันอยู่คือ TQF  ที่จริง  TQFเอา  competency  เป็นหลักว่าบัณฑิตคุณเรียนไปทำอะไรเป็นลูกจ้างใครหรือเป็นเถ้าแก่ ต้องการcompetencyอะไรบ้าง เขาเรียกว่า  CBC(Competency-BasedCurriculum) เพื่อให้ได้  competency  คือทำอะไรได้ไม่ใช่แค่รู้อะไร  เรียนโดยต้องเรียนแบบPBL (project basedlearning)เช่น การทำโครงงาน PBL เป็น learningby  doing  ต้องเรียนโดยลงมือทำ แล้วเกิดความเข้าใจที่ลึกมีการค้นเอาเองแต่ไม่ใช่เน้นเรียนวิชา  แต่เรียนให้เอาวิชาไปใช้งานได้เพราะฉะนั้นต้องทำ  projectbased  อาจารย์เป็นCoachจุดประกายความอยากเรียนสร้างบรรยากาศให้เรียนสนุกนักเรียนเรียนเป็นทีม  เรียนวิชา  collaborateเน้นร่วมมือกันไม่ใช่เน้นแข่งกันเรียนเพราะฉะนั้นcurriculumมากกว่า  competenciesส่วนproject  ที่อาจารย์ออกแบบมาให้ลูกศิษย์เรียนถามว่า  project  อะไรดีที่สุด  project  ของจริงไม่ใช่  project  สมมุติ  project  ของจริงไปทำในพื้นที่นั้นคืองานบริการชุมชนใช่ไหม  พื้นที่ได้ประโยชน์เก็บข้อมูลให้ดีเป็นงานวิจัย เก็บข้อมูลให้เป็นระบบจัดกระบวนการเราสามารถที่จะออกแบบหนึ่งกิจกรรมให้ได้ผลหลายอย่าง การทำ project เล็กๆง่ายๆ ของครูและเด็กจะได้ข้อมูลในเชิงย่อยได้ประโยชน์การเป็น  PBL  ในโรงเรียน เช่นโรงเรียนลำปลายมาศพัฒนาทำ  PBL  ตั้งแต่ชั้นอนุบาล  เด็กอนุบาลเขียนรายงานการเรียนรู้เป็น  mind map  เด็กที่เข้าเรียนไม่มีการสอบใดๆทั้งสิ้นจับฉลากโง่ก็เข้าเรียนได้ มีเด็กคนหนึ่งเป็น  Down  Syndrome  ก็เรียนตามศักยภาพของเขาไม่มีใครไปล้อเลียนดูถูกดูแคลน นักเรียนเรียนด้วยความมั่นใจของตัวเองต้องไปดูตั้งแต่อนุบาลจะเห็นเลยว่าวิธีเรียนที่ถูกต้องคือวิธีเรียนที่เขาลองเองด้วยความเชื่อของเขา  ตำรามาที่หลัง  ตำราว่าด้วยการเรียน 21st Century Learningหรือการเรียนรู้ในศตวรรษที่21  มีการแปลหนังสือเล่มนี้เพื่อจำหน่ายแล้ว

          การทำงานวิจัยเพื่อพัฒนาพื้นที่ต้องหาปัญหาพื้นที่กำหนดเป็นโจทย์วิจัย หรือเป็นโจทย์  KM  ก็ได้โจทย์  KM  คือชาวบ้านแลกเปลี่ยนเรียนรู้มาแชร์กัน โจทย์วิจัยจะให้ดีตรงตามสไตล์ สกว.  ซึ่ง สกว. ทำวิจัยกับชาวบ้านมาเป็นสิบปีแล้ว พระเอกนางเอกคือชาวบ้าน  นักวิชาการคือผู้ช่วย สามารถใช้การจัดการความรู้ นักศึกษาสามารถเข้าไปมีส่วนร่วมได้ การวิจัยเมื่อได้โจทย์  มีตั้งแต่โจทย์ใหญ่โจทย์ย่อย  โจทย์ระยะสั้น ระยะยาว ทำไปเราสามารถนำนักศึกษาปริญญาเอกปริญญาโทไปทำเป็นวิทยานิพนธ์ได้ จากวิจัยก็กลายเป็นการศึกษา หรือแม้กระทั่งนักศึกษาปริญญาตรีก็ทำ  projectPBL ซึ่ง project  ของจริงที่ได้โจทย์มาจากการตั้งโจทย์วิจัยทำให้ได้ชิ้นงานวิจัยที่มีเป้าหมาย หนึ่งกิจกรรมหรือหนึ่งชุดรายการการพัฒนาสุราษฎร์ธานีต้องเอาเรื่องท่องเที่ยว จังหวัดต้องการพัฒนาการท่องเที่ยวให้ยั่งยืน  ข้อมูลเกี่ยวกับการท่องเที่ยวสกว.มีชุดท่องเที่ยวมานานแล้ว ตั้งแต่สมัยผมเป็นผู้อำนวยการ ตอนนี้ยังคงรวบรวมประมวลการท่องเที่ยวของสุราษฎร์และเอามาประชุมกันระหว่างภาคี  หลายๆฝ่าย แล้วทำความเข้าใจ  SWOT  Analysis  โอกาสของเราอยู่ที่ไหนสภาพตอนนี้เราเป็นยังไงจุดอ่อนจุดแข็งเราเป็นยังไง ความต้องการของนักท่องเที่ยวเป็นยังไงเราต้องพัฒนาอะไรบ้าง  พัฒนาระยะสั้น ระยะกลาง  ระยะยาว  แก้ปัญหายังไงบ้าง  ที่จริงเรื่องท่องเที่ยวฝ่ายปฏิบัติมีหลายฝ่ายต้องทำให้สอดคล้องกันอาจขัดแย้งกันบ้างไม่เป็นไรให้นักวิชาการตามเก็บข้อมูลให้ข้อมูลน่าเชื่อถือ ใช้กระบวนวิธีวิจัยResearch designมีความเเม่นยำ  แล้วเอามาวิเคราะห์สังเคราะห์ แล้วนำมาบอกกล่าวให้ทำอย่างอย่างไร เป้าหมายแค่ไหนตามที่คุณต้องการ หรือจริงๆแล้วมันถอยหลัง นี่คือทำวิจัยเพื่อวัดผล Assessment  ตามเป้าของการพัฒนาจะเห็นว่าจริงๆแล้วการพัฒนาก็กลายเป็นงานวิจัย  เมื่อเรามองการพัฒนาพื้นที่มองการวิจัยและการจัดการความรู้เป็นเครื่องมือ  เรามีมหาวิทยาลัยเป็นภาคีสำคัญภาคีหนึ่งการพัฒนาพื้นที่เพื่อทำให้มหาวิทยาลัยได้เข้าไปเป็นพลังให้กับพื้นที่


ข้อซักถาม

อาจารย์วิเชียร  วรพุทธภรณ์  จากมหาลัยขอนแก่น 

          ท่านอาจารย์ได้พูดถึงเรื่องยุวชนนักวิจัย ผมเคยร่วมงานกับ ผศ. ดร. อัจรา  ธรรมถาวร  ทำโครงการวิจัยยุวชนนักวิจัย เป็นกิจกรรมที่ให้นักเรียนมัธยมปลายมาร่วมเข้าค่ายวิทยาศาสตร์ ในการหาโจทย์วิจัยประเด็นของชุมชน ได้มีนักวิจัยพี่เลี้ยงซึ่งเป็นอาจารย์ในมหาลัยขอนแก่น  มีครูที่สอนวิทยาศาสตร์เป็นพี่เลี้ยง และมีนักศึกษา  ม.4-ม .5โครงการวิจัยนี้หลังจากได้ทุนวิจัยจากสภาแห่งชาติ  เห็นว่าเป็นโครงการที่ดีแต่ต้องใช้เวลา  ใช้ทักษะครูที่เป็นพี่เลี้ยงต้องอยู่ร่วมกับนักเรียนค่อยข้างมาก  แต่หลังจากนำเสนอผลงานวิจัยไปทั้งๆที่เป็นเรื่องดี ก็ยังไม่มีการสานต่อแต่ประการใด โครงการนี้คล้ายๆจำลองเหมือนกับเป็นนักเรียนโอลิมปิก ซึ่งต้องพึ่งศักยภาพของมหาลัยขอนแก่นที่มีศูนย์วิจัยเฉพาะ นักเรียนที่เข้าร่วมกิจกรรมของยุวชนได้ทำงานวิจัยร่วมกับอาจารย์ในห้องปฏิบัติการซึ่งเฉพาะทางส่วนใหญ่จะเป็นการทำวิจัยที่โรงเรียน แต่สิ่งหนึ่งที่เป็นอุปสรรคคือ  การใช้เวลาในโรงเรียนถ้าผู้บริหารโรงเรียนไม่ให้ความสำคัญบอกว่าใช้เวลามาก  สิ้นเปลืองงบประมาณดังนั้นจึงไม่ค่อยส่งเสริม แต่นักเรียนที่มาเข้าค่ายเราติดตามผลการเรียนการเข้ามหาวิทยาลัยหรือความสำเร็จของนักเรียนเหล่านั้นปรากฏว่าอยู่แนวหน้าทั้งสิ้นผมเห็นว่าโครงการเล่านี้เป็น  Action  Researchที่ดีมากฝากให้อาจารย์ที่สอนวิทยาศาสตร์ทำวิจัยในแนว Action  Research  จะสร้างคนที่แก้ปัญหาวิจัยในท้องที่ใช้เวลาประมาณสามถึงสี่เดือนก็เป็นการแลกเปลี่ยนเห็นด้วยกับที่อาจารย์นำเสนอ ผมเคยทำงานตรงนี้แต่ไม่มีการสานต่อไม่มีใครของทุนในลักษณะแบบนี้ขอบคุณครับ

ศ.นพ.  วิจารณ์  : ขอบคุณท่านอาจารย์วิเชียร  นี้คือตัวอย่างของจริง มุมมองหนึ่งของPBL  อาจารย์เขาทำ  project  เพียงแต่การศึกษาของเรามันยังเป็น  Teaching  basedไม่ใช่   projectbased  เพราะยังเน้นการสอนที่ครูอยู่  ครูก็รักลูกศิษย์กลัวสอนไม่ครบถ้วนนักเรียนจะไม่ได้เรียนอันนี้คือความยากลำบากที่สุดที่จะปรับการเรียนยุคใหม่ของทุกประเทศคือครูกังวลว่าถ้าไม่สอนให้ครบลูกศิษย์จะมีความรู้ไม่ครบถ้าเอาชนะความคิดนี้ไม่ได้การศึกษาเราจะล้าหลัง  เพราะการเรียนกับการสอนมันคนละอันกัน  การเรียนอยู่ที่เด็กนะครับการสอนอยู่ที่ครู  ครูต้องเลิกสอนหรือลดการสอน แล้วเปลี่ยนรูปแบบการสอนเป็นแบบ Coach  เพราะการเรียนสมัยใหม่ต้องเรียนโดยการปฏิบัติ  ครูต้องยึดอุดมการณ์นี้ไม่ได้แปลว่าครูสบายขึ้น ครูต้องหันไปทำหน้าที่ออกแบบการเรียนรู้  แล้วทำความเข้าใจลูกศิษย์ว่ามันเคยรู้อะไรมาแล้ว  แล้วมาเรียนอีกปีหนึ่งควรจะได้เรียนรู้อะไร ทำให้เกิดทักษะ หรือcompetency  โดยที่สอนน้อยเรียนมาก  เรียนมากก็คือ  learningby  doing  หรือ PBL คำว่าTeach less, Learn moreเป็นอุดมการณ์การศึกษาของประเทศสิงคโปร์  ท่านลองไปค้นด้วย  Googleใช้คำว่า  Teach less,Learn  more  ท่านจะเข้าไปที่เว็บไซต์แรกคือกระทรวงศึกษาสิงคโปร์จะมีรายละเอียดการวัดผลทางการศึกษาของโลกประเทศต่างๆของโลกสิงคโปร์อยู่ในอันดับต้นๆ  เขาใช้หลักนี้เมื่อประมาณ  7 - 8  ปีมาแล้ว  เพราะมีการวิจัยที่อเมริกาและยุโรปออกมาว่าด้วย21st Century  Learning,21st Century Skillsจะพลิกการศึกษามากมายเพราะฉะนั้นตัวอย่างของ อ.วิเชียร  ยกมาคือของจริงการปฏิบัติจริง  เพียงแต่ที่อาจารย์เล่าทำเพียงส่วนน้อย ไม่สามารถพลิกเข้ามาเป็นส่วนใหญ่ของการศึกษาได้  แต่เรามี  Success storyอย่างนี้แล้วเราใช้  AI  เข้าไปจับดูว่ามันเกิดผลดีกับนักเรียนอย่างไร นักเรียนเหล่านั้นปีต่อไปเขามีชีวิตการเรียนเป็นอย่างไร จะเป็นประโยชน์มาก

 

          อาจารย์สมมาตร : สิ่งที่อาจารย์ได้พูดผมมีความประทับใจในเรื่องมูลนิธิข้าวขวัญที่สุพรรณบุรีขณะนี้จะเห็นได้ว่าในหลายพื้นที่ภาคใต้ ตัวอย่างจังหวัดพัทลุง มีการยกร่องพื้นที่ข้าวเพื่อปลูกยางจะทำอย่างไรที่จะช่วยให้จังหวัดในภาคใต้เพิ่มพื้นที่การปลูกข้าว แล้วมี Productivity ที่เพิ่มขึ้น

 

          ศ.นพ.  วิจารณ์  : อาจารย์ถามคำถามใหญ่มากผมตอบไม่ได้ที่จริงมนุษย์เราก็เหมือนกันหมดตามธรรมชาติจะหันไปหารายได้ที่ทำให้ครอบครัวดีขึ้น หลายๆคนจะบอกว่าทำนาหลังสู้ฟ้าหน้าสู้ดินจะต้องเหน็ดเหนื่อยยากลำบากผมได้ไปเยี่ยมชาวนา  ไปทำขวัญข้าวซึ่งเป็นพิธีกรรมประเพณีดั้งเดิมที่ทำให้ชุมชนเข้มแข็งขึ้นถ้าทำอย่างถูกต้องสิ่งที่กังวลที่สุดคือมูลนิธิข้าวขวัญใครมาดูก็ชอบใจแต่ขยายไม่ออก มีคนมาเรียนแต่คนทำตามน้อยมาก ปัจจุบันบริษัทขายปุ๋ย  บริษัทขายยาฆ่าแมลงมีอิทธิพลสูงโฆษณาในสื่อว่าตนกังวลเป็นห่วงชาวนา  ต้องใช้ปุ๋ยนี้สิ ชาวนาเขาอยู่กับ Informationเพราะฉะนั้นการที่เขาทนฝืนทวนกระแสลำบากมากนี้คือเรื่องจริงเพราะฉะนั้นคำถามอาจารย์เป็นเรื่องใหญ่มาว่าจะทวนกระแสได้ยังไงเรื่องใหญ่ต้องยกให้ท่านอธิการบดีและทีมมหาวิทยาลัยสุราษฎร์ธานีไปหาลู่ทางว่าทำยังไงให้มีความแตกต่างในการประกอบอาชีพผมมีความเชื่อว่าการเกษตรไม่ว่าประเทศไหนในอนาคตจะเหมือนกับอดีตและปัจจุบันไม่ได้  มันต้องเป็นการเกษตรอีกรูปแบบหนึ่งโรงเรียนชาวนามีคนไปเรียนกับเขาแล้วไม่ได้หยุดอยู่แค่นี้ที่นครสวรรค์จะมีกลุ่มหนึ่งแทนที่จะขายข้าวเขาขายพันธุ์ข้าว  รายได้เพิ่มขึ้นสองเท่าตัวขายพันธุ์ข้าวมีเท่าไรไม่พอเพราะมันดีกว่าพันธุ์ข้าวที่ได้รับซื้อแจกจากทางราชการมีQuality  control  เป็นโรงเรียนชาวนาที่นครสรรค์เขาทำกันเรื่องของ Marketing   เป็น Supply chain  เพื่อต้องการให้คนกินข้าวที่มีคุณภาพดีครั้งหนึ่งผมเคยไปร่วมงานมูลนิธิโรงเรียนชาวนานครสวรรค์ภรรยาผมไปซื้อข้าวใหม่มากิน  ซื้อมาได้สองกิโลกรัม เมื่อหุงแล้วมันหอมไปทั้งบ้าน ผมไปบอกที่นครสวรรค์ว่าขอซื้อมาแจกเป็นของขวัญปีใหม่

...................

 

วิจารณ์ พานิช

๒๘ เม.ย. ๕๕

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 488806เขียนเมื่อ 22 พฤษภาคม 2012 13:59 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 11:11 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

นับเป็นโอกาสที่ดีที่ได้อ่านการจัดการความรู้กับการวิจัยเพื่อพัฒนาท้องถิ่น ....จะลองนำแนวคิด PBL นี้ไปพัฒนาตนเองก่อน..

                                                                             ขอบคุณค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท