การมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ประเพณีท้องถิ่นใต้


การรักษาประเพณีท้องถิ่น คือการสืบสานวัฒนธรรมอันดีงามของชาติ

การมีส่วนร่วมในงานประเพณีท้องถิ่น

 

            การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยในเชิงคุณภาพ  มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการเรียนรู้ประเพณีท้องถิ่นโดยการมีส่วนร่วมกับชุมชนของนักศึกษาพัฒนาชุมชน คณะมนุษยศาสตร์   และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต  และแนวทางการพัฒนาและสืบทอดประเพณีท้องถิ่นโดยการมีส่วนร่วมกับชุมชนของนักศึกษาพัฒนาชุมชน คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต  ในการศึกษาครั้งนี้ประชากรที่ทำการศึกษา นักศึกษาสาขาพัฒนาชุมชน  คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์  มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต กลุ่มตัวอย่าง นักศึกษาพัฒนาชุมชนห้อง 531  จำนวน  27 คน  และนักศึกษาพัฒนาชุมชนห้อง 532  จำนวน 37  คน  รวมทั้งสิ้น  64  คน  เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลได้แก่  แบบฝึกหัดงาน  การสังเกตแบบมีส่วนร่วม และการสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม  วิเคราะห์ข้อมูลแบบพรรณนาวิเคราะห์

                ผลการศึกษาพบว่าการเรียนรู้ประเพณีท้องถิ่นในช่วงเดือนตุลาคม  ถึงเดือนธันวาคม  พบว่า นักศึกษาห้อง 531  สนใจศึกษาประเพณีลอยกระทงมากที่สุด  จำนวน 23 คน รองลงมา ประเพณีฮารีรายอ จำนวน 2 คน น้อยที่สุดคือประเพณีแต่งงาน จำนวน 1 คน และประเพณีปีใหม่ จำนวน 1 คน   ส่วนนักศึกษาห้อง 532  มีการเรียนรู้ประเพณีท้องถิ่นในช่วงเดือนตุลมคมถึง เดือนธันวาคม พบว่า นักศึกษาห้อง 532 สนใจศึกษาประเพณีลอยกระทงมากที่สุด  รองลงมา คือ ประเพณีฮารีรายอ และ น้อยที่สุดคือ ประเพณีสาทรเดือนสิบ จำนวน 1 คน  ประเพณีชักพระจำนวน 1 คน และประเพณีโรงครู จำนวน 1 คน

                        การเรียนรู้ประเพณีท้องถิ่นในช่วงเดือนธันวาคม ถึงเดือนมกราคม  พบว่านักศึกษาห้อง 531  สนใจศึกษาประเพณีวันเด็กแห่งชาติมากที่สุด  รองลงมาคือประเพณีขึ้นปีใหม่  และน้อยที่สุด คือประเพณีย้อนรอยวิถีไทย      การเรียนรู้ประเพณีท้องถิ่นในช่วงเดือนธันวาคม ถึงเดือนมกราคม  นักศึกษาห้อง 532  สนใจศึกษาประเพณีเด็กแห่งชาติมากที่สุด   และรองลงมานักศึกษาสนใจศึกษาประเพณีขึ้นปีใหม่ ซึ่งคล้ายกับห้อง 531

                           แนวทางการพัฒนาและสืบทอดประเพณีท้องถิ่นโดยการมีส่วนร่วมของนักศึกษา  พบว่า ทางจังหวัดและมหาวิทยาลัยควรให้การสนับสนุนงานประเพณีท้องถิ่นให้มากขึ้น  ควรมีการจัดงานให้ยิ่งใหญ่  และต่อเนื่อง  เพราะงานประเพณีท้องถิ่นสามารถที่จะส่งเสริมการท่องเที่ยวของพื้นที่ได้เป็นอย่างดี  การจัดงานควรจะเน้นการจัดงานที่สวยงาม  ถูกต้องตามประเพณี  มีระเบียบ  ปลอดภัย  ที่สำคัญควรมีการสอดแทรก  ให้ความรู้เรื่องงานประเพณีท้องถิ่นในการดำเนินงาน  เพื่อสร้างความเข้าใจอันดี  และลดการปฏิบัติตัวที่ไม่เหมาะสมของผู้เข้าร่วมงาน เพราะการมีส่วนร่วมในงานประเพณีท้องถิ่น  ถือเป็นการสืบสานและอนุรักษ์ประเพณีอันดีงามของชาติ 

หมายเลขบันทึก: 488799เขียนเมื่อ 22 พฤษภาคม 2012 12:07 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 มิถุนายน 2012 21:10 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
  • สวัสดีครับอาจารย์ดร.ธีรกานต์
  • ขอบคุณ ที่นำสิ่งดีๆเกี่ยวกับงานประเพณีมาแบ่งปัน

ขอบคุณเช่นกันนะค่ะ ที่เข้่ามาให้กำลังใจ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท