GotoKnow

การเรียนรู้แบบ "SemiBoo"

คนถางทาง
เขียนเมื่อ 21 พฤษภาคม 2555 04:40 น. ()
แก้ไขเมื่อ 24 พฤษภาคม 2555 21:44 น. ()
ความจริงผมเห็นด้วยนะ การเรียนแบบเชื่อมโยง เนี่ย แต่ในสภาวะปัจจุบัน ที่ “การแข่งขัน” มันเป็นกระบวนคิดที่ “กู่ไม่กลับ” แล้ว ผมเห็นว่าการเรียนแบบ “เชื่อมต่อ” น่าจะเป็นทางสายกลางที่ดีที่สุด

คำว่า “บูรณาการ”  กำลังฮิตติตตลาด   ทุกวันนี้อะไรๆ ก็ต้อง “บู” ไปเสียหมด   ...บูกันจนชาติจะวินาศอยู่แล้ว  เช่น การวิจัย การเรียนรู้ แม้แต่การโกง

 

นิสัยผมพยายามไม่ใช้คำต่างด้าว ไม่ว่าอังกฤษ แขก ดังนั้นผมแปลบูรณาการ (ซึ่งแปลมาจากฝรั่ง  ..Integrated, Integrative) ว่า “เชื่อมโยง”

 

การเรียนรู้แบบเชื่อมโยงในเมืองไทยเรานั้นดูเหมือนว่าต้นคิดมาจากท่าน อจ. สุลักษณ์ ศิวลักษณ์  และหรือ ท่านหมอประเวศ วะสี      โดยท่านเล็งเห็นว่าการเรียนการสอนในวันนี้เราไปสอนแบบ “แยกส่วน” (compartmentalization)  โดยการแบ่งเป็นวิชาๆ  โดยครูเฉพาะทาง  ซึ่งทำให้เกิดการแยกส่วน ซึ่งส่งผลเสียมากหลายตามมา

 

เมื่อก่อนสัก ๒๐ ปีที่แล้ว ผมได้ยินแนวคิด แยกส่วน นี้ผมก็เห็นด้วยนะ แต่วันนี้ผมกลายเป็นคนแก่   ผมขอแย้ง

 

ความจริงผมเห็นด้วยนะ กับการเรียนแบบเชื่อมโยงเนี่ย  แต่ในสภาวะปัจจุบัน ที่ “การแข่งขัน”  มันเป็นกระบวนคิดที่ “กู่ไม่กลับ” แล้ว ผมเห็นว่าการเรียนแบบ “เชื่อมต่อ” น่าจะเป็นทางสายกลางที่ดีที่สุด

 

เชื่อมต่อ คือ เอาสอง หรืออย่างมากที่สุด สาม วิชามาเชื่อมต่อเข้าด้วยกัน ไม่ใช่ว่าเชื่อมโยงไปด้วยกันเสียหมด เป็นพวงใหญ่ จนอุ้ยอ้าย  แต่ก็ไม่ใช่ว่าบินเดี่ยวจนหลุดลอย หลงทาง

 

เช่น วิศวกรรมเครื่องกลของผม เอาไปเชื่อมต่อกับ ชีววิทยาได้ไหม  ถ้าให้ดีเอาดนตรีเข้ามาด้วย   เป็นวิชา เอก โท ตรี   (เมเจอร์  ไมเนอร์  ไมโคร)

 

 

ดังนี้เขาคนนี้อาจไปทำวิจัยว่าทำไมขลุ่ยที่ทำจากไม้ไผ่สกุลต่างๆ จึงให้เสียงทุ้มแหลมที่ต่างกัน เพราะเรื่องนี้มันเกี่ยวกับดนตรี   ชีววิทยา และวิศวกรรมเครื่องกล ทั้งหมดเลย  

 

 

ฟิสิกส์ ประวัติศาสตร์  และ เศรษฐศาสตร์  จับ”คี่” กันได้ไหม

หมอ ดนตรี จริยศาสตร์ 

ภาษา คณิตศาสตร์ โบราณคดี

ธุรกิจ ศาสนา ดาราศาสตร์ 

 

 

....คนถางทาง (๒๑ พฤษภาคม ๒๕๕๕) 

สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกัน


ความเห็น

ชลัญธร
เขียนเมื่อ

การเรียนหมอพยาบาล ชลัญ อยากให้มี การบูณราการ หมอ ศาสนา จริยศาสตร์ มากๆ ปัจจุบันน้อย การเรียนเป็น หมอ ธุรกิจ การตลาด ซะส่วนใหญ่

คนถางทาง
เขียนเมื่อ

แล้ว พยาบาล ศิลปะคอมพ์ อาหาร ....จะมีใครมาเรียนบ้างไหมเนี่ย

ชลัญธร
เขียนเมื่อ

ถ้าวิชานี้ชลัญ น่าจะเป็นอาจารยืพิเศษได้ ถนัดนัก

ผมรู้สึกขัดเคืองใจเสมอ หากมีใครพูดคำย่อ บูรณาการ ว่า " บู "..ซึ่งมันออกเสียงคล้าย เสียงผายลม ในแบบฝาหรั่ง หรือ คล้ายคำแสลงว่า บู่ - ซึ่งแปลว่า ไม่ได้เรื่องได้ราว..{ในภาษาใต้ " โบ่ (บางที่ออกเสียงว่า โม่ ) " แปลว่าโง่..คนใต้ เรียก ปลาบู่ ว่า ปลาโบ่..เรานึกว่ามันโง่ ที่ไม่ค่อยเคลื่อนไหว ทำให้จับง่าย กว่า ปลาช่อน (ซ่อน)}..มันทำให้เกิดความรู้สึกว่า คนไทยเรา ชอบย่อซะแบบไม่ดูตาม้าตาเรือ..และไอ้ integrated เนี้ยยังคิดว่า ไม่น่าจะตรงกับ บูรณาการ..นัก..แม้เราจะเข้าใจความหมาย ตรงกับ การรวมส่วนเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพที่พึงพอใจ..(ผมเดาเอาจาก อินติเกรเตด แอมป์..หุ หุ) เพราะ บูรณะ แปลว่า โบราณ หรือ ซ่อมแซม มากกว่า..บ่นมาซะยาว..แต่ จริงๆ คือ สงสัยว่า ครู ควรจะเรียนอะไรเพิ่มด้วย ถึงจะดีเท่านั้นแหละครับ..555..

คนถางทาง
เขียนเมื่อ

ในคห. ผม ครู ควรจะรู้ลึกในกรอบของตน และควรรู้ให้กว้างที่สุดรอบด้าน ในส่วนที่เชื่อมโยง ...ถ้าเอาตามทฤษฎีผมก็คืออย่างน้อย สาม ด้าน เช่น เป็นครูสอนอังกฤษ ควรรู้ไทย สันสกฤต ประกอบ หรือ ไทย ดนตรี

ครูคณิตศาสตร์ ควรรู้ิ ฟิสิกส์ เศรษฐศาสตร์ (เพราะเจ้าสองตัวหลังนี้ใช้คณิตศาสตร์มาก )

วันนี้เหลือเชื่อมากๆ ผมเห็นอจ. คณิตศาสตร์มหาลัยไทย เอกด้านประยุกต์ (applied math) แต่ไม่ีมีความรู้เรื่องการประยุกต์เลย (แบบนี้มัน pure math ไปแล้ว แต่ความรู้ด้่าน pure math ก็ไม่มีอีกต่างหาก)

ความจริงถ้าเราย้อนกลับไปดูคำและวิธีคิด ของคนรุ่นก่อน..ครู กะ หมอ นี่มันพวกเดียวกัน..เช่นคนใต้ มีคำเรียกว่า ครูหมอโนราห์..ผมเข้าใจว่า คำว่า ครู กับ หมอ คนไทยหมายถึง ผู้รู้ ผู้ชำนาญ ด้วย..แต่ ปัจจุบัน เราแยกจำเพาะขึ้น ให้ ครู คือ ผู้สอนศิษย์ หมอ คือ ผู้รักษาคนป่วย (แต่ หมอดู กลับเป็น นักโหราศาสตร์ ไปซะงั้น)..ในยุค ร.5 ที่ทรงโปรดเกล้าฯให้มีกระทรวง ทบวง กรมใหม่ๆ จำได้ว่า ข้าราชการครู กะ หมอ อยู่กระทรวงเดียวกัน คือ กระทรวงธรรมการ ด้วยซ้ำ และหากจำไม่ผิดคณะแพทย์ศาสตร์กะครุศาสตร์จุฬา ยังเคยอยู่ด้วยกัน จนปัจจุบันยังคงมีพยาบาลไปต่อ ป.โท ป.เอก ที่คณะครุศาสตร์ จุฬาฯ เยอะแยะ..ส่วนเรื่องการบูรณาการสำหรับ ครู..ผมหมายถึง นอกจากวิชาชีพ(ไม่เกี่ยวกะวิชาสอน)..คนที่จะเป็นครู ควรมีความรู้และเข้าใจเรื่องอะไร?อีก..ถึงจะเป็นครูชั้นดี..(ไม่น่ามีครูชั้นเลว..ประเภทมั่วๆ ตั้งแต่เรียนมาจนมหาวิทยาลัยปล่อยให้จบและปล่อยให้บรรจุเป็นครูมหาวิทยาลัย..แบบที่ท่านอาจารย์ยกตัวอย่างคนนั้น ครับ..)

คนถางทาง
เขียนเมื่อ

ท่านลุงฯครับ ผมว่า ครูที่ดีต้องมีคำขวัญประจำใจดังนี้

ใฝ่รู้ ใฝ่คิด ใฝ่ดี ..คือวิถีของครู

แล้วในที่สุดมันจะดีเอง

ครูก็เหมือนพระ..การปาราชิกของครู คือ 1.ขาดความรักเมตตาทั้งต่อศิษย์และคนอื่นๆ (ตัวไม่มีความรักความเมตตาและมาเที่ยวสงเคราะห์แนะนำคนอื่นได้งั้ย..) 2. ยังชอบประพฤติผิดศีลผิดทำนองคลองธรรม (ตัวยังทำไม่ดีไม่งามอยู่จะอนุเคราะห์ให้คนอื่นทำดีทำงามได้งั้ย..) 3.หมดสิ้นไฟแห่งการใฝ่รู้ใฝ่เรียนใฝ่คิดใฝ่ประยุกต์ (ตัวไม่อยากเรียนรู้แล้วจะไปบอกแต่สิ่งที่ไม่เหมาะแก่สมัยเพื่อให้คนอื่นใฝ่เรียนรู้ได้งั้ย..)..ครับท่านอาจารย์..

คนถางทาง
เขียนเมื่อ

เห็นด้วยอย่างยิ่งที่ว่าเมตตาสำคัญมากครับ เป็นข้อ 1 ด้วย ..สังเกตว่าครูวันนี้มีเมตตาน้อย เอาแต่ด่า แต่ไม่อบรมสั่งสอน


พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท
ภาษาปิยะธอน (Piyathon)
เขียนโค้ดไพทอนได้ด้วยภาษาไทย