การบริหารการศึกษาขั้นพื้นฐาน ตอนที่ 6


1.ถ้าโรงเรียนยกระดับผลสัมฤทธิ์ขึ้นไม่ได้ ศึกษานิเทศก์ในฐานะผู้ให้การสนับสนุนส่งเสริมที่ใกล้ชิดกับโรงเรียน จึงต้องมีส่วนรับผิดชอบด้วย 2.หากเด็ก อ่านเอกสารการสอนแล้วเข้าใจ การเรียนการสอนก็น่าจะประสบความสำเร็จไปแล้วกว่าครึ่ง จะทำแบบฝึกหัด ฝึกปฏิบัติการ ก็ง่าย และเข้าถึง เข้าใจบทเรียนได้กันทุกคน

ผมได้เขียนเกี่ยวกับศึกษานิเทศก์ไว้ใน เล็กน้อยที่พอจะทำความรู้จักวิชาชีพ นี้เล็กน้อย ใน

http://www.boonyaras.net/articles/617496/หัวใจของศึกษานิเทศก์.html

และใน http://www.boonyaras.net/webboards/853644/ศึกษานิเทศก์.html เกี่ยวกับ “ตัวบ่งชี้องค์ประกอบภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง ของหัวหน้ากลุ่มนิเทศฯ 

ผลงานของศึกษานิเทศก์ โดยรวมอยู่ที่ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ถ้าโรงเรียนยกระดับผลสัมฤทธิ์ขึ้นไม่ได้ ศึกษานิเทศก์ในฐานะผู้ให้การสนับสนุนส่งเสริมที่ใกล้ชิดกับโรงเรียน จึงต้องมีส่วนรับผิดชอบด้วย

หากศึกษานิเทศก์ได้ใช้ ความหมาย และเป้าหมายของคำว่า การบริหารการศึกษาขั้นพื้นฐานมาปรับเป็นความหมาย และเป้าหมายของการนิเทศการศึกษา  ดังนี้  ก็จะสอดรับกับภาระหน้าที่ของ สพฐ. โรงเรียน และเขตพื้นที่  (ที่ผมกำลังฝันหวาน 555)

การนิเทศการศึกษาหมายถึง การดูแลช่วยเหลือ สนับสนุนส่งเสริมครู ให้ครูบรรลุเป้าหมายของโรงเรียน ที่ว่า  "ในทุกมาตรฐานการเรียนรู้ และคุณลักษณะที่พึงประสงค์ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551 นักเรียนจะต้องรู้จริง รู้ลึก รู้กว้าง เชื่อมโยงได้ สร้างองค์ความรู้ ชิ้นงาน ผลงานได้อย่างสร้างสรรค์ นำเสนอ ตอบสนองทุกสถานการณ์ ทั้งในระดับห้องเรียน โรงเรียน เขตพื้นที่การศึกษา จังหวัด ตลอดจนระดับชาติ และนานาชาติได้อย่างมั่นใจ นำไปใช้ประโยชน์ตน และส่วนรวมได้ ตามศักยภาพของแต่ละคน”

เป้าหมาย    จำนวน และคุณภาพของนักเรียนที่  เรียนรู้ และมีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551 นักเรียนจะต้องรู้จริง รู้ลึก รู้กว้าง เชื่อมโยงได้ สร้างองค์ความรู้ ชิ้นงาน ผลงานได้อย่างสร้างสรรค์ นำเสนอ ตอบสนองทุกสถานการณ์ ทั้งในระดับห้องเรียน โรงเรียน เขตพื้นที่การศึกษา จังหวัด ตลอดจนระดับชาติ และนานาชาติได้อย่างมั่นใจ นำไปใช้ประโยชน์ตน และส่วนรวมได้ ตามศักยภาพของแต่ละคน   สูงขึ้น ปีละ…..เปอร์เซ็นต์ (ตั้งเอาเอง)

ศึกษานิเทศก์จะทำอะไร  อย่างไร กับการนิเทศ ที่สอดรับกับที่ได้กล่าวมาแล้วตั้งแต่ตอนที่ 1-5

ศึกษานิเทศก์ ตั้งแต่อดีต และยังใช้เป็นหลักคิดอยู่จนถึงปัจจุบัน  จะมีกรอบงานใหญ่  ๆ อยู่  4 กรอบ  คือ 1) การผลิตสื่อ  2) การให้คำปรึกษา แนะนำ ติดตามประเมินผล  3) เป็นวิทยากรในการประชุมอบรมสัมมนา  4) การวิจัย

สาระสำคัญของการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการ ที่เป็นข้อเสนอของผมก็คือ จัดทำหนังสือเรียนในหนังสือเรียนดิจิตอลที่มีเนื้อหาสาระที่จะสอนตามมาตรฐาน และตัวชี้วัดของหลักสูตร ซึ่งประกอบด้วย พยางค์ ประโยค และรวมกันแล้วเป็นเรื่องราวนั้น คำใด พยางค์ใด และประโยคใด ที่คิดว่า ยากต่อการเข้าใจ ก็ให้ทำลิงค์ไปยังสื่อดิจิตอล ใดๆ ที่อ่านแล้วเข้าใจได้ทันที หรือ ง่ายต่อที่จะเข้าใจได้โดยเร็ว    ซึ่งสามารถใช้กับได้กับนักเรียนทุกคน  โดยนำมาตรฐาน ตัวชี้วัด และสาระการเรียนรู้ที่พบว่ายากต่อการเรียนรู้ ในทุกวิชา หรือ บางวิชา มาจัดทำ  โดยมีครูเก่ง ร่วมเป็นบรรณาธิการ

กรอบงานการผลิตสื่อ/การวิจัย

สาระสำคัญข้างบนนี้เป็นงานแรกที่ศึกษานิเทศก์ต้องร่วมกันเป็นเครือข่ายทั่วประเทศ บริหารจัดการให้เกิดการผลิตร่วมกัน ศึกษานิเทศก์ จำนวนประมาณ 5000 คน หากจัดการให้ก็มีหนังสื่อ-สื่อดิจิตอลใช้กันทั่วประเทศ ภายใต้การสนับสนุนงบประมาณ  จาก สพฐ. ในเพียงไม่กี่เดือน  ใช้ไปด้วย  วิจัยไปด้วย ก็จะได้ทั้งผลงานวิจัยของศึกษานิเทศก์โดยรวม ที่จะได้นำไปปรับปรุงหนังสื่อ-สื่อดิจิตอลนี้กันต่อไป   

กรอบงานการให้คำปรึกษา แนะนำ ติดตามประเมินผล 

          การติดตามประเมินผล ผลการเรียนรู้จากการสอนของครูที่ใช้หนังสือ-สื่อดิจิตอลที่กล่าวแล้วหลังจากครูใช้ไปแล้วระยะหนึ่ง  ก็จะเป็นการติดตามที่มีความหมาย เพราะจะได้ให้คำปรึกษาแนะนำ หรือรับคำปรึกษาแนะนำจากคุณครูผู้บริหาร ที่เกี่ยวกับการเรียนการสอนโดยตรง ที่เกี่ยวข้องกับมาตรฐานตัวชี้วัดแบบตรง ๆ  ก่อนให้คำปรึกษาแนะนำก็ประเมินผลได้ง่าย ๆ  เพียงได้ซักถาม สนทนา ค้นหาความรู้จริง จากนักเรียน ตามคำนิยาม และเป้าหมาย ที่ได้กล่าวไว้แล้ว ก็จะรู้เป็นความสำเร็จ หรือ ยังต้องหาร่วมกับคุณครูว่า จะทำอย่างไรที่จะทำให้ดีขึ้น ซึ่งบางครั้งก็อาจจะเป็นหน้าที่ของครู หรือ เป็นหน้าที่ของศึกษานิเทศก์ที่จะต้องนำมาปรับปรุง ในระดับเขตพื้นที่ หรือ ระดับประเทศตามความเหมาะสม  การนิเทศอย่างนี้ทำได้ตลอดปี  หากไม่มีงบประมาณในการเดินทาง ก็ยังสามารถใช้ ระบบวีดิโอคอนเฟอร์เร้นท์ ที่สามารถไปได้ทุกวันเวลา ที่มีแทบเล็ต มีอินเตอร์ให้เด็ก ๆ ใช้ ตามนโยบายของรัฐบาล

กรอบงานการประชุมอบรมสัมมนา

  • การประชุมอบรมสัมมนาในเบื้องต้น ก็คือทำให้ทุกคนเข้าใจ      วิธีการใช้หนังสือ-สื่อดิจิตอลที่เป็นความรู้ความเข้าใจในเนื้อหา      และวิธีการใช้  อย่างไรก็ดี      ที่ได้กล่าวไว้แล้วว่า ไม่ได้เป็นอะไรทั้งหมดของการเรียนการสอน  ซึ่งทุกท่านคงเข้าใจ แต่ถ้าดูที่ทันสมัย เป็นระบบครบวงจรของการสอนที่ทันสมัย      ก็ควรพิจารณาใช้ระบบการสอน  ClassStart.org      เว็บไซต์ของไทยที่น่าภาคภูมิใจของไทยทุกคน http://www.classstart.org/  ที่ส่วนนี้เพียงเป็นจุดเล็ก      ๆ ในระบบการสอน ตรงที่     สำหรับผู้เรียน---อ่านเอกสารการสอน  ที่พอจะเห็นได้      ดังนี้

ความสามารถและประโยชน์ของ ClassStart.org

หากเด็ก ๆ อ่านเอกสารการสอนแล้วเข้าใจ   การเรียนการสอนก็น่าจะประสบความสำเร็จไปแล้วกว่าครึ่ง  จะทำแบบฝึกหัด ฝึกปฏิบัติการ ก็ง่าย  และเข้าถึง เข้าใจบทเรียนได้กันทุกคน

          การประชุมอบรมสัมมนายังต้องทำอีกมาก  ทั้งการทำหนังสือ-สื่อดิจิตอล วิธีการใช้สอน รวมทั้งระบบการสอนดี ๆ  ที่ทันยุคทันสมัย  ที่ครูต้องทำเป็น ทำได้ ไม่ผูกขาดอยู่แต่เฉพาะศึกษานิเทศก์  เพราะศึกษานิเทศก์ดี ๆ  ก็ต้องมาจากครูเก่งครูดี ที่ต้องมาทดแทน

หมายเลขบันทึก: 488553เขียนเมื่อ 19 พฤษภาคม 2012 22:18 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 มิถุนายน 2012 10:10 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท