ระวัง..หัวใจระเบิดจากการวัดความดันเลือด (โลหิต)


มีหมอคนไหนอยากเถียงกะผมบ้างไหม อยากเถียงมากๆ เลย ....เย้ยล่วงหน้าได้เลยว่าแพ้ผมแน่ เพราะผมเห็นมามากหมอไทยไม่เคยคิดอะไรได้เองหรอก นอกจากลอกฝรั่ง

การวัดความดันเลือด (หรือที่นิยมเรียกเป็นแขกให้ดูสูงส่งกันว่า โลหิต ส่วนพวกหมอนิยมเรียกว่า BP กันไปโน่น)  เป็นเรื่องปกติที่คนไข้จะต้องได้รับเป็นด่านแรกในการเข้าตรวจรักษาในโรงพยาบาล ...เท่าที่ผมสังเกตส่วนใหญ่มักวัดด้วยการรัดแขนซ้ายมากกว่าแขนขวา..

 

..แต่วันนี้ผมจะตะแบงแย้งหมอทั้งโลกว่า รัดแขนขวาน่าจะดีกว่าแขนซ้าย...โดยเฉพาะผู้ป่วยความดันเลือดแรงสุดๆ อย่างผม   เรื่องนี้ผมคิดเอาเองตามประสาวิดวะบ้านนอก...  หมอเมืองกรุงที่จบนอกจากที่ไหนไม่เชื่อก็สุดแต่กรรมหมอแล้วกันนิ อิอิ

 

 

บอกใบ้...การรัดแขนซ้าย  ต่างจากรัดแขนขวา ตรงที่แขนซ้ายมันใกล้หัวใจมากกว่าแขนขวา ..

 

 

พอบีบลมรัดแขนจนแน่นขึ้นเรื่อยๆ สิ่งที่เกิดขึ้นคือ ความดันเลือดจะสูงขึ้นเรื่อยๆ จนถึงจุดที่เลือดไม่ไหลไปที่ปลายแขน (ซ้าย) ได้  การแพทย์เรียกจุดนี้ว่า จุดความดันสูง  (systolic pressure)  ...จุดนี้แหละที่วิดวะบ้านนอกอย่างผมขอเตือนว่า “อันตราย”

 

ที่ว่าอันตรายเพราะผมเห็นว่าความดันนี้มันสูงกว่าความดันสูงสุดที่หัวใจทำงานในปกติขณะนั้น ทั้งนี้เป็นไปตามกลไกของระบบการทำงานของปั๊ม (หัวใจ) กับท่อ (หลอดเลือด)

 

อุปมาดั่ง..ถ้าเราเอาอะไรไปขวางเส้นทางการไหลของท่อน้ำในท่อ ปั๊มน้ำก็จะต้องออกแรงดันเพื่อทำงานมากขึ้น เพื่อเอาชนะการกีดขวาง ...กรณีเลวร้ายสุดคือการขวางแบบสนิท คือ ปิดก๊อกที่ปลายทาง  แบบที่เรารัดแขนแน่นจนเลือดหยุดไหลนั่นเอง ....กรณีนี้หัวใจ (ปั๊ม) ต้องทำงานสูงสุด ...คือออกแรงดันสูงสุด มากกว่าที่เคยออกแรงในขณะปกติ  (ภาษาวิดวะเครื่องกลเรียกจุดนี้ว่า shut off head ภาษาวิดวะไฟฟ้าก็มีคล้ายกัน.เรียกว่า open-circuit voltage...เอาภาษาประกิดมาขู่หมอบ้าง ล้างแค้นที่ชอบเอาภาษาละตินมาสั่งยาพื้นๆให้เรากิน)

 

(รับรองด้วยว่าไม่มีวิดวะเครื่องกล และหรือ ไฟฟ้าคนใดเชื่อมโยงสองสิ่งของสองสาขานี้เข้าด้วยกันได้หรอก  เพราะมันต่างกันฟ้ากะเหว แต่วันนี้เอามาเชื่อมกะหมอด้วยอีกตะหาก  ให้มันล้อโลกเล่นงั้นเอง อิอิ)  

 

 

แล้วผมถามว่า อ้าว..แล้วถ้าผู้ป่วยเป็นโรคความดัน (ทุรัง) สูงสุดอยู่แล้วล่ะ (เช่น คนถางทาง ที่บางครั้งวัดได้ sys 210 dia 121...วัดด้วยตัวเองในห้องทำงานอีกตะหาก เพราะไปหาหมอไม่ไหวแล้ว ต้องวิเคราะห์รักษาตัวเอง แบบฉุกเฉิน พอวิเคราะห์ได้ก็รักษาด้วยสมาธิ...สัก 15 นาที มาวัดได้ 175/105  ..โหยรอดชั่วครู่แล้วเรา )  

 

 

ปกติไม่มีอะไรมาขวางทางเส้นเลือด  ขนาดความดันหัวใจ 200 ก็ใกล้จะตายมาหลายครั้งแล้ว  ...แล้วถ้าเอาไอ้นั่นไปรัดแขนไว้เพื่อวัดความดัน .. ความดันห้องหัวใจก็อาจเพิ่มเป็น 210/121 ได้โดยง่าย  

 

 

200 ยังพออยู่ แบบว่าปริ่มน้ำพอดี จะตายมิตายแหร่    พอเอาเครื่องวัดไปรัดแขน กลายเป็น 210 หัวใจอาจระเบิด ตายพอดีก็เป็นได้ (ดีที่ว่าคนถางทางคงหัวใจเหล็กไหล  คนเกลียดมาก ไม่ตายง่ายๆ หร็อก) 

 

อีกตัวอย่างเช่นเวลาเราเป่าลูกโป่ง มันโป่งมากๆ ใกล้จะแตกแล้ว เราออกแรงเป่าอีกนิดเดียวมันก็แตกทันที...การออกแรงอีกนิดเดียวนี้เกิดขึ้นได้จากการรัดแขนนั่นเอง

 

แต่ถ้ารัดแขนขวา อาจอ่านได้ 210/121 เท่ากัน แต่ความดันที่หัวใจจริงๆ คือ 205/121 ...ก็ลดภาระหัวใจลงไปได้ตั้ง 5 mm.Hg  ...อาจดูน้อย แต่สำหรับคนปริ่มน้ำ เพียงแคนี้ก็ชี้ชะตาว่าจะอยู่หรือไปได้เชียวนะ

 

 

เหตุผลที่ว่าทำไมความดันหัวใจลดลงเพราะวัดแขนขวา...เรื่องนี้ยาวและยุ่ง อีรุงตุงนัง   การแพทย์ วิศวะ อารมณ์ แจมกันนัวเนีย  ...ไว้ว่างๆ และมีอารมณ์  จะมาตะแบงสอนหมอ พยาบาล ต่อ

 

โลกก้าวมายาวนานป่านนี้ ไม่น่าเชื่อว่าวิธีวัดความดันเลือดยังเป็นวิธีเก่าๆนานกว่าร้อยปี    แม้วันนี้วิธีวัดด้วยการเอานิ้วจิ้ม  รัดข้อมือ ก็มีแล้ว แต่ได้รับการท้วงจากวงการแพทย์ว่าไม่ดี  ไม่แน่นอน  สู้รัดเขนแบบเก่าไม่ได้

 

 

แต่เรื่องนี้ไม่เหมือนฟังเพลง..เพราะผมค่อนข้างวัยรุ่นทันสมัย  ผมเชื่อว่า แบบจิ้มนิ้ว รัดข้อมือ ดีกว่าระบบรัดต้นแขนแบบเก่า

 

 

มีหมอคนไหนอยากเถียงกะผมบ้างไหม ....เย้ยล่วงหน้าได้เลยว่าแพ้ผมแน่  (สงครามจิตวิทยานะเนี่ย :-) เพราะผมเห็นมามากหมอไทยไม่เคยคิดอะไรได้เองหรอก นอกจากลอกฝรั่ง  ...ทั้งที่ถ้าวัดโดยค่าเฉลี่ยคะแนนสอบเข้ามหาลัยแล้ว ต้องถือว่าหมอฉลาดที่สุด จนกล่าวขานกันว่าพวกหัวหมอ ...ขนาดคนฉลาดที่สุดยังลอกฝรั่งหมดทุกอย่างแล้่วคนล่างๆ อย่างทหาร ตำรวจ อย่างพี่เหลี่ยม และนักการเมืองจะเหลืออะไร อิอิ 

  

เปรยล่วงหน้า...ผมจะมาแฉในตอนต่อไปว่า(ความจริงไว้บ้างแล้วในตอนนี้)  ความดันเลือด (โดยเฉพาะ systolic) ไม่ใช่ความดันหัวใจ แต่เป็นความดันที่สูงกว่าความดันหัวใจ  ซึ่งมันผิด แต่เออ ก็ดีไปอย่างที่มันสูงกว่าความเป็นจริง ทำให้ปลอดภัยกว่าปกติ  (ในกรณีคนที่ไม่เป็นโรคความดันอยู่แล้ว) ...แต่ในทางวิทยาศาสตร์มันผิดนะเพราะคุณได้ค่าสูงเกินจริง

 

 

...คนถางทาง (๑๗ พฤษภาคม ๒๕๕๕)  

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 488343เขียนเมื่อ 17 พฤษภาคม 2012 22:41 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 20:26 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่าน


ความเห็น

ไม่ใช่หมอค่ะ พยาบาลเถียงค่ะ แต่ฝากไว้ก่อนพรุ่งนี้ค่อยต่อกร ( แอบไปฟิตวิชาสู้กับวิดวะ 1 คืน) ใครแพ้เลี้ยงชุดใหญ่ OK อาจารย์

อ้อ........ขออนุญาตพ่วงอาจารย์ชาญศักดิ์มาสู้อีกคน 2 หัวย่อมดีกว่าหัวเดียวอยู่แล้ว อิ อิ อิ หวังว่าคงไม่เป็นการเอาเปรียบวิดวะนะค่ะ ..........เอาละว้าสงครามวิชาการระหว่าง medicine and engineering กำลังจะเริ่มแล้ว

เด๋วนี้เค้ามี biomedical engineering แล้วนะ เรียนประมาณที่ผมว่ามานี่แหละ แต่การเอาสามอย่างยากๆ มาเรียนด้วยกัน ผมว่ายาก หาคนเก่งๆ มาเรียนยาก เพราะมันเรียนก็ยาก เรียนก็นานกว้าจะจบ จบมาแล้วก็หางานยาก ไปเป็นเทคนิเชียนบริษัทผลิตเครื่องมือเครืองใช้ทาการแพทย์เสียเป็นส่วนใหญ่ เงินเดือนก็งั้นๆ ....สู้ไปเดินถือกระเป๋ากอกระดุมตามนักการเืมืองโง่ๆ ดีกว่า อิอิ

ฝากไว้ก่อนนะ ยุ่งมากวันนี้ ชลัขกับ อ.ชาญไปงานแต่งหมอที่เสียวเสี้ยวด้วย เลยยังไม่ว่างมาต่อกร

ต้องรู้ว่าเราวัดความดันโลหิตไปเพื่ออะไรด้วยนะคะที่สำคัญกว่าการคิดว่าจะวัดแขนข้างไหนยังไง เมื่อไม่นานมานี้มีผลการวิจัยของอังกฤษเกี่ยวกับเรื่องนี้ออกมาด้วยค่ะ เขียนเล่าไว้ที่ การวัดความดันโลหิตของแขนสองข้างอาจได้ผลไม่เท่ากัน...มีความสำคัญเสียด้วย จะวัดยังไงก็เพื่อเอาไว้เปรียบเทียบประเมินสภาพร่างกายค่ะ ก็คงไม่ใช่การวัดครั้งเดียวแน่นอน ไม่ว่าจะปกติหรือผิดปกติก็ควรติดตามดูเป็นระยะๆด้วยวิธีเดียวกัน เพราะถือว่าเป็นการวัดเพื่อประเมินร่างกายที่ง่ายที่สุดนะคะ เคยเจอคุณแม่เพื่อนที่ท่านความดันน่าจะสูงมาตลอด คุณหมอก็วัดแล้วก็ให้ทานยา แต่ไม่เคยตรวจปัสสาวะ ตรวจเลือดเลยจนกระทั่งท่านล้มป่วย ปรากฎว่าซีดมาก ไตแย่จนแทบไม่ทำงานแล้ว นี่ก็น่าจะเป็นตัวอย่างว่า วัดความดันโลหิตโดยไม่รู้ว่าวัดไปเพื่ออะไรได้เหมือนกัน ใครที่ความดันโลหิตสูงเราก็ควรจะช่วยกันเตือนให้ถามคุณหมอให้ช่วยตรวจฉี่ดูเป็นระยะๆด้วยก็ยังดีนะคะ เพื่อจะได้ระวังรักษาอวัยวะภายในให้เขาทำงานแต่พอดีได้ด้วยการปรับต่างๆ

ท่านโอ๋ อโณ ครับ ถ้าให้ผมเดา ผมว่าแขนขวาน่าจะต่ำกว่าแขนซ้ายใช่ไหมครับ เหตุผลคือ มันไกลหัวใจมากกว่า ตามที่ผมเขียนไว้แล้วไงครับ และนั่นก็คือเหตุผลของผมว่าทำไมควรวัดแขนขวามากกว่า โดยเฉพาะในกรณีของคนที่เป็นโรคความดันสูงอยู่แล้ว

เท่าที่อ่านพบมีทั้งสองแบบค่ะ บางคนก็วัดจากแขนขวาสูงกว่า บางคนก็จากแขนซ้ายสูงกว่า เพราะการไหลเวียนของเลือดไปสู่อวัยวะต่างๆของเรามีหลายปัจจัยที่เกี่ยวข้อง นอกจากระยะห่างจากหัวใจค่ะ ในร่างกายเรานี่ซับซ้อนมากค่ะ ที่เรารู้ๆอยู่นี่ก็ยังไม่ใช่ว่าจะถูกไปทั้งหมดนะคะ ยังมีอะไรให้เรียนรู้ค้นหาอีกเยอะเลยค่ะ

ท่านโอ๋ฯครับ ผมว่าถ้านับโดยเฉลี่ยนะ วัดแขนขวาจะต่ำกว่าแขนซ้าย (ทำเป็นหัวข้อวิจัยได้เลย) ...แต่อาจมีปัจจัยแทรกซ้ายในบางกรณี เช่น เส้นเลือดซีกซ้ายตีบตันมากกว่าซีกขวา แบบนี้ซีกซ้ายอาจวัดได้ต่ำกว่าก็เป็นได้ครับ

ว้าววว... ประเด็นนี้น่าสนใจค่ะท่านอาจารย์ ลองเปิดใจฟังหลักการทางวิดวะบ้างก็น่าสนใจค่ะ เพราะหัวใจก็เหมือนปั๊มน้ำหลักการไม่หนีกันเท่าไหร่ แต่กลไกของร่างกายอาจจะซับซ้อนมากกว่า -- เท่าที่สังเกตจากการทำงานเองโดยไม่พูดถึงหลักวิชาการเลยนะคะถ้าเราวัดความดันเลือดที่ขาเราจะได้ค่าที่สูงกว่าที่แขนค่ะ เพราะระยะทางที่ห่างไกลจากหัวใจ หัวใจต้องปั๊มเลือดไปให้ขาแรงขึ้นค่ะ ส่วนข้างซ้าย - ขวา นั้นไม่ได้สังเกตค่ะเพราะส่วนใหญ่เราจะวัดแขนข้างที่ไม่มีน้ำเกลือค่ะ -- เอาหล่ะ.. ดีเหมือนกันงั้นลองเก็บข้อมูลมาสนับสนุนข้อเท็จจริงที่ค้นพบน่าจะดีกว่า.. -- งั้นขอเวลาท่านอาจารย์สักหนึ่งเดือนนะคะแล้วจะมาช่วยสนัยสนุนว่าเราควรวัดข้างไหนดี -- น่าจะสร้างสรรค์กว่านะคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท