แบบทดสอบคนบ้างาน(workaholic)


สำนักข่าว Telegraph ตีพิมพ์เรื่อง New test to prove whether you are a 'workaholic' = แบบทดสอบใหม่เพื่อพิสูจน์ว่า คุณเป็นคนบ้า(งาน)", ผู้เขียนขอนำมาเล่าสู่กันฟังครับ
 
 
  • [ workaholic ] > [ เวิ้ก - ขะ - ฮ้อ - หลิค ] > http://www.thefreedictionary.com/workaholic > noun = คนบ้างาน คนคลั่งงาน
  • คำ 'workaholic' น่าจะมาจาก work (งาน) + holic (คลั่ง บ้าคลั่ง) เช่น alcoholic = คนติดเหล้า; chocoholic = คนติดชอคโกแล็ต ฯลฯ
.
อ.ดร.เซวิลี เชา อันเดรียสเซน และคณะ จากมหาวิทยาลัยนอททิงแฮม เทรนท์ และ ม.เบอร์เก็น ทำการศึกษากลุ่มตัวอย่างคนทำงาน 12,000 ราย (ตีพิมพ์ใน J Psychology) ทำให้ได้แบบทดสอบง่ายๆ ที่จะช่วยแยกระหว่าง "คนบ้า(งาน)" กับคนขยันทำงาน
.
ลักษณะสำคัญของคนบ้างาน คือ แยกแยะขอบเขตระหว่างบ้านกับที่ทำงานไม่ได้... ไปบ้านก็ยังนำงานไปทำ ไม่รู้จักปล่อยวาง
.
ในไทยมักจะพบแบบตรงข้ามมากกว่า เช่น หัวหน้าหน่วยงานที่ทำตัว "ลอย(หน้าลอยตา)", ไม่ไปทำงาน หรือเรียกประชุมเสริมบารมีบ่อย เพ้อเจ้อ ครอบงำไมโครโฟนแบบพวก 'microphonoholic (คลั่งไมค์)'
.
วิธีทำแบบทดสอบให้ใส่คะแนนจากน้อยไปมาก (sliding scale) สำหรับคำถาม 7 ข้อดังต่อไปนี้
  • 1 = never = ไม่เคย (คิด พูด ทำ)
  • 2 = rarely = นานๆ ครั้ง (คล้ายกับอะไรที่หายาก ไม่พบบ่อย)
  • 3 = sometimes = บางครั้ง
  • 4 = often = บ่อยครั้ง
  • 5 = always = เป็นประจำ เป็นกิจวัตร เป็นนิสัย เป็นธรรมดา

แบบทดสอบได้แก่

  1. คุณคิดถึงวิธีที่จะเพิ่มเวลาทำงานได้มากขึ้น (มากกว่าตอนนี้)
  2. คุณใช้เวลาทำงานมากกว่าที่คิดไว้
  3. คุณทำงานเพื่อลดความรู้สึกผิด เครียด ไร้ค่า (ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้), เศร้า-เหงา-เซง
  4. มีคนบอกให้คุณทำงานน้อยลง แต่คุณไม่ทำตาม
  5. คุณรู้สึกเครียดถ้าถูกห้าม ไม่ให้ทำงาน (เช่น ชอบวันทำงานมากกว่าวันหยุด ฯลฯ)
  6. คุณจัดลำดับความสำคัญของงานไว้สูง เหนือกว่างานอดิเรก กิจกรรมบังเทิง-สังสันทน์ ออกกำลัง (เช่น ทำงานจนไม่ค่อยได้ทำอะไรที่ไม่ใช่งาน ฯลฯ)
  7. คุณทำงานหนักจนส่งผลเสียต่อสุขภาพ (เช่น เครียด นอนไม่หลับ นอนไม่พอ ฯลฯ)
ท่านที่ให้คะแนน 4-5 ในคำถาม 4 ข้อขึ้นไป ถือว่า มีแนวโน้มจะเป็นกลุ่มเสี่ยงคนบ้างาน (workaholics)
.
ถึงตรงนี้... ขอให้ท่านผู้อ่านมีสุขภาพดีไปนานๆ ครับ

> [ Twitter ]

  • นพ.วัลลภ พรเรืองวงศ์ รพ.ห้างฉัตร ลำปาง. 25 เมษายน 55. ยินดีให้ท่านนำบทความไปใช้ได้ โดยอ้างที่มา และไม่ใช้เพื่อการค้า > CC: BY-NC-ND.
  • ข้อมูลทั้งหมดเป็นไปเพื่อการส่งเสริมสุขภาพ ไม่ใช่วินิจฉัยหรือรักษาโรค; ท่านที่มีโรคประจำตัวหรือความเสี่ยงต่อโรคสูงจำเป็นต้องปรึกษาหมอที่ดูแลท่านก่อนนำข้อมูลไปใช้.
หมายเลขบันทึก: 488264เขียนเมื่อ 17 พฤษภาคม 2012 05:53 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 พฤษภาคม 2012 12:18 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท