วันนี้ขอเปลี่ยนทิศหันมาถางทางริมรั้วมหาลัยบ้างที่ถือกันว่าเป็นสมองของชาติ เพราะทนอัดอั้นมาหลายปีดีดักแล้ว (ทนมาแต่พศ. ๒๕๓๙)
กรณีที่ขอร้องเรียนคือ “ไร่สุวรรณ” ริมถนนมิตรภาพบริเวณมวกเหล็กแก่งคอยนี่แหละ เป็นไร่สาธิตการปลูกพืชไร่ของม.เกษตรศาสตร์ โดยเฉพาะข้าวโพด ใช้เงินภาษีราษฎรดำเนินการ (อย่างน้อยก็ในตอนแรกที่เริ่มก่อตั้ง แต่ตอนนี้ไม่แน่ใจ เดาว่าก็ยังคงใช้อยู่)
ที่นี่ทำการคัดเลือก บำรุงพันธุ์ และปลูกข้าวโพดพันธุ์ “สุวรรณ” ได้อร่อยมาก หวานกรอบ ไม่ใช่เพิ่งทำได้แต่อย่างน้อย ๑๖ ปีมาแล้ว (จำได้ว่าผมซื้อกินมาตั้งแต่ ๒๕๓๙...อ้าวเข้าข่ายสมคบกับโจรด้วยหรือเปล่านี่เรา :-)
แต่ทำไม แทนที่จะ ถ่ายทอดเทคโนโลยีให้ประชาชน โดยเฉพาะชาวบ้านค้าปลีกแผงลอย “ข้าวโพดต้ม” ริมทางบริเวณนั้นที่มีจำนวนนับร้อยรายเห็นจะได้ กลับเปิดร้านหรูหราขายข้าวโพดต้มเองหน้าตาเฉย ...
..ปรากฎว่าขายดีมาก รถเข้ามาจอดกันไม่ขาดสาย จนเดี๋ยวนี้นำสินค้าอื่นที่ผลิตโดย หน่วยงานของ ม.เกษตรศาสตร์ เข้ามาวางจำหน่ายนับพันชนิด (โดยใช้ข้าวโพดต้มเป็นแม่สื่อ) แบบเป็นห้างสรรพสินค้าไปแล้ว รวมทั้งผักสด เนื้อสด
ส่วนแผงลอยริมทาง ข้าวโพด ไม่ค่อยอร่อย ถามดูมักเป็นพันธุ์ตโนด ขายก็ไม่ดี เพราะ ไร่สุวรรณดูดลูกค้าไปหมด ต้องยืนโบกมือไหวๆ เรียกลูกค้าอยู่ริมทาง
แบบนี้ผมว่าเข้าข่ายผิดกฎหมายรัฐธรรมนูญ มาตรา.... “รัฐต้องไม่ทำธุรกิจแข่งกับเอกชน” นั่นกระทงที่หนึ่ง
กระทงที่สองคือ เอาที่ดิน งบประมาณราชการ(เช่นการวิจัย) มาทำธุรกิจนี้อีกต่างหาก (แล้วอ้างว่าเป็นแปลงสาธิต..สาธิตก็ต้องถ่ายทอดให้ประชาชนสิ)
กระทงที่สาม ใช้พื้นที่ผิดเจตนารมณ์ คือเอาพื้นที่ไร่สาธิตข้าวโพดมาขายสินค้าอื่นๆ อีกพันชนิดที่ไม่ใช่ข้าวโพด
กระทงที่สี่คือผิดจริยธรรม...ที่มีความรู้อยู่แต่กั๊กไว้ไม่เปิดให้ประชาชนได้ใช้ประโยชน์ (เช่น ควรเรียกเกษตรกรมาอบรม แจกพันธุ์ให้ไปปลูก)
ฝาก กทน. เป็นกระบอกเสียงให้ด้วย ท่านใดมีลิงค์ช่วยนำไปเรียนอธิการบดีให้ด้วยครับ
อย่าว่าแต่ม.อื่น ม.ผมเองผมก็ร้องเรียนตัวเองมาแล้ว ในที่ประชุมสภามหาลัย แต่ของที่นี่ยังเสกลเล็กและขายภายในมหาลัยเป็นหลัก ..ผมไม่ได้สองมาตรฐานนะ
แล้วม.อื่นๆมีอีกไหม จุฬา เซ็งลี้ที่ดินพระราชทานเข้าข่ายไหม ศูนย์การค้าริมวงเวียนสามย่านไปถึงไหนแล้ว ใหญ่โตมโหฬารเหลือเชื่อ ผมเพิ่งไปบูรพามาดูน่ารักดี ไม่เซ็งลี้ที่ดิน ทั้งที่ตั้งอยู่ในทำเลการค้าที่งามมาก (หรือไปแอบทำไว้ที่ไหนก็ไม่รู้นะ)
...คนถางทาง (๑๖ พค ๒๕๕๕)
ขอยืนยันด้วยศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ว่าที่ร้องเรียนนี้ด้วยจิตบริสุทธิ์ ไม่ได้มีอคติกับใคร หลานสาวสุดเลิฟก็จบจากที่นี่ เพลงเกษตรศาสตร์ผมร้องได้ทุกเพลง นศ. เกษตรหลายคนยังร้องไม่ได้เท่าผมเลย เจ้านายหัวหน้าโครงการวิจัยที่ให้เงินบำรุงชีพผมในฐานะผู้ช่วยวิจัยก็จบที่นี่ ผมเคยเรียนถามขออนุญาตท่านในกรณีร้องเรียนนี้ (นานหลายปีมาแล้ว) ท่านเปิดไฟเขียวว่าเอาเลย ท่านก็อยากรู้เหมือนกันว่าม.เก่าท่านหมกเม็ดอะไรไว้บ้าง
ใครที่แวะซื้อ น้ำข้าวโพดที่ไร่สุวรรณ แล้วบอกอร่อย มาทานฝีมือชลัญธร แล้วเปลี่ยนใจทุกคน ฝีมือ ขอบอกๆ ไร่สุวรรณก็ไร่สุวรรณเถอะ อิ อิ อิ ที่โฆษณานี่มันมีเทคนิค ที่อื่นทำมันจะมีกลิ่นหืนของข้าวโพด แต่ชลัญทำรับรอง เนียน เปลี่ยนใจแน่นอน ( เปลี่ยนใจไม่กินน้ำข้าโพดตลอดชีวิต ) ๕๕๕๕๕๕๕๕๕
คงเหมือนๆกับการตั้งศูนย์วิจัยพันธุ์ข้าวกันทุกจังหวัดแหล่ะค่ะท่านอาจารย์ ก็ไม่รู้ว่ารายงานที่ส่งประจำปีนั้นไปเอามาจากฟ้าไหนมั่ง.. เพราะไม่เห็นมีการพัฒนาสายพันธุ์ใหม่ๆ ที่เหมาะสมกับสภาพดิน ฟ้า อากาศ ของแต่ละที่ พันธุ์ที่มันทนแล้ง ทนน้ำ แบบ สะเทื้อนน้ำ สะเทือนบก ออกมามั่ง ชาวนาจะได้รวยๆ กัน นี่อาราย.. แล้งก็ตาย ท่วมก็ตาย เหลืออย่างเดียวที่ยังอยู่ คือ นักวิจัยในศูนย์ 5555 never died
Yes, there should be open, transparent and accountable in all taxpayers funded organization.
We all want to know where our money go (2.2 million millions baht deficit expected in 2555 national budget).
ท่านขจิตครับ ผมก็ชอบข้าวเหนียวครับ พันธุ์ที่อร่อยที่สุดทั่วแคว้นแดนไทยที่ผมไปชิมมา(น่าจะ)หมดแล้ว คือ ข้าวโพดแปดแถวที่กบินทร์บุรีครับ แต่เป็นที่น่าเสียใจว่านักวิชการเกษตร เกษตรอำเภอเขาไปทำอะไรกันอยู่ ปล่อยให้ข้าวโพดนี้น่าจะสูญพันธ์ กลายพันธุ์ไปหมดแล้ว (ท่านใดขับรถผ่านสาย 304 กบินทร์-แปดริ้ว ลองดูนะครับ)
อันดับลองลงไปยกให้ข้าวโพดข้าวเหนียวที่ หมู่บ้านอะไรนะ ลืมไปแล้ว ประมาณ 15 กม. ก่อนถึงขอนแก่น บนเส้นทางที่มาจากชุมแพ หวาน หอม นุ่ม สูสีแปดแถว แถมฝักเล็ก (ผมไม่ชอบฝักใหญ่...คนนะ ไม่ใช่ม้า กินพอหายอยาก ไม่ได้กินเอาอิ่ม แทนข้าวสักหน่อย ออกกันมาอยู่นั่นแหละพันธุ์เกษตรฝักยังกะลูกฟักลูกแฟง)
อันดับสามยกให้ที่ตลาดเมืองเลย เป็นฝักจิ๋ว สีสรรหลากหลายงามตา ดูเหมือนว่าอยู่ในคำขวัญจังหวัดด้วย ขอให้อนุรักษ์ไว้ให้มั่นยืนเด๊ะปี้น่อง
แต่พันธุ์สุวรรณเขาก็อร่อยนะครับ ยอมรับ เวลาผมไปซื้อบอกเขาว่าขอฝักเ็ล็กๆ นะ คนขายงง
เคยดูรายการนึง..เค้าบอกว่า กินข้าวโพดมากๆทำให้เม็ดเลือดแดงผิดปกติและทำให้ไม่ค่อยสู้แสงแดด..จนครั้งหนึ่งแถวโปรตุเกสและสเปน มีคนที่เป็นโรคนี้มาก เป็นที่มาของ แวมไพร์..เขาว่า ข้าวโพดที่เราท่านกินอยู่ มีต้นทางมาจากลาตินอเมริกาแถว ป.เม็กซิโก..ด้วยความเห็นแก่ตัว.. คน จึงทำให้มันอ่อนแอจนไม่สามารถอยู่รอดหากปราศจากคน..น่าสงสารข้าวโพด นะครับ..ที่ อ.โพธาราม ราชบุรี ก็มีพันธุ์ข้าวโพดแปดแถว ที่อร่อยซึ่งพัฒนาจาก ข้าวโพดเทียน.. หากจะกินข้าวโพดให้อร่อย เค้าว่า ต้องย่างพร้อมเปลือก หรือ ต้มด้วยน้ำผสมขี้เถ้า..อันนี้จะช่วยแก้ปัญหาการรับสารบางอย่างที่เกิดจากข้าวโพดได้..ครับ..
ขอรายงานตัวว่า เป็นศิษย์เก่า ม. เกษตรฯ บางเขน. ชอบข้าวโพดทุกชนิด และเห็นเช่นเดียวกันกับ อ. ขจิตค่ะ ความหลากหลายของสายพันธุ์เป็นสิ่งที่ดี และพันธุ์ดั้งเดิมก็ควรจะได้รับการส่งเสริม ส่วน "คนถางทาง" พี่ท่านเดินทางเยอะเลยได้โอกาสชิมของดี พันธุ์อร่อยในแต่ละพื้นที่่ ดีจังเลย :-)) ทำให้บอกได้ว่าสายพันธุ์ไหนอร่อย..ควรค่าแก่การส่งเสริมปลูกไว้เป็นการคัดเลือกพันธุ์โดยธรรมชาติ ที่ทนทานต่อโรคและศัตรูพืชในแต่ละถิ่น
เพราะเป็นคนปักษ์ใต้ สารภาพว่าสมัยเด็กๆไม่เคยรู้จักข้าวโพดข้าวเหนียว..ทั้งๆที่ชอบกินข้าวโพด และป๊อบคอร์น!! ..เพิ่งรู้จักสายพันธุ์นี้เมื่อโตขึ้น ได้ลิ้มลองครั้งแรกก็ชอบเช่นกัน ข้าวโพดข้าวเหนียว ก็ได้ชิมครั้งแรกก็ไม่ใช่ที่ปักษ์ใต้นะชิค่ะ มีความประทับใจว่า ขนาดฝักกำลังน่ารัก เรียวยาว หวานมันอร่อย มีสีสันในฝักจากแต่ละเมล็ดต่างกันไปด้วย และไม่มากเกินไปกว่าที่จะกินหมดฝัก กินแล้วคิดถึงการค้นพบ jumping genes เมื่อเรียนพันธุศาสตร์
นึกถึงวิถีชีวิตของคนที่ผูกพันกับพืชพื้นถิ่น ครั้งหนึ่งได้รู้จักกับ "พี่ปุ๊" เป็นคนพะเยา มาอยู่ที่แฟลตช่วยดูแลทำงานบ้านให้กับครอบครัวอาจารย์ท่านหนึ่ง พี่ปุ๊ขยัน ชอบปลูกพืชผักไว้ทาน หนึ่งในนั้นคือ ข้าวโพดข้าวเหนียว เราชาวแฟลตเดียวกันก็เลยได้รับความเมตตา ได้กินข้าวโพดข้าวเหนียว ปลอดสารพิษ ทุกฤดูที่ออกฝัก ต้มเสร็จพร้อมกินแขวนไว้หน้าห้อง รสชาติหวานมันอร่อย (เราช่วยหาขี้วัวมาให้พี่เค้าเป็นครั้งคราว) พี่ปุ๊เล่าว่า ปีแรกที่มาอยู่ทางใต้ก็เอาเมล็ดมาจากบ้านที่พะเยา ต่อมาเมื่อปลูกได้ที่ปัตตานี ก็จะเก็บฝักแก่ แขวนตากไว้ให้แห้ง รอไว้ปลูกในรุ่นถัดไป ตอนนี้พี่ปุ๊ย้ายกลับไปแล้ว เราก็เลยไม่ได้กินข้าวโพดข้าวเหนียวฝีมือพี่ปุ๊ อีกต่อไป :-(( ที่มีขายในตลาดไม่ใช่สายพันธุ์นี้..
ครั้นกลับไปบ้านสวนที่ชุมพร เมื่อก่อนไม่เคยเห็นข้าวโพดข้าวเหนียวางขายในตลาด แต่ปัจจุบันนี้แวะลงไปดูในตลาดสดที่เพิ่งเปิดในละแวกใหม่ เห็นวางขายในตลาดก็แปลกใจ พิจารณาดูแล้ว ที่นี่มีผู้คนเข้ามาอาศัยจากหลากหลายพื้นที่ ทั้งเหนืือ อีสานมาทำงานต่างๆ ปลูกกาแฟ ทำสวนผลไม้และอื่นๆ เข้าใจว่าข้าวโพดข้าวเหนียวที่เป็นของโปรดในวิถีดั้งเดิม ก็ถูกนำติดตัวมาจากการโยกย้ายถิ่น นำมาปลูกกิน เดี่ยวนี้เปลี่ยนไป ปลูกเพื่อการค้าขายด้วย ครั้งแรกที่เห็นได้บอกให้แม่ซื้อ หลายคนไม่รู้จัก เลยเล่าให้ที่บ้านฟัง ถึงวิถีของพี่ปุ๊และข้าวโพดข้าวเหนียว ต้องขอบคุณ ที่ทำให้มองภาพความสัมพันธ์ของพืชกับวิถีของผู้คนที่โยกย้ายถิ่น
ข้าวโพด ..ในแถบประเทศเพื่อนบ้านใกล้กัน เมื่อมีโอกาสเดินทางไปแถวเกาะสุมาตรา อินโดฯ เช่นที่เมดาน และ Lake Toba.(ทะเลสาบปากปล่องภูเขาไฟ) ช่วงที่ขึ้นรถ ลงเรือข้ามฝาก ก็ได้ซื้อข้าวโพดพื้นถิ่นกิน ดินที่นั่นสีคล้ายแถวปากช่อง ข้าวโพดพื้นเมืองก็หวานอร่อย หรือครั้งที่ไปเวียดนาม นั่งรถไปยังเมืองดาลัทที่ระดับความสูง 1500 เมตรเหนือระดับน้ำทะเล ขณะรถไต่ขึ้นที่สูงไปเรื่อยๆ นั่งดูพืชพรรณ คล้ายบ้านเรามาก ดินก็ออกแดงๆ คล้ายที่ปากช่อง ทำให้นึกถึงไร่สุวรรณ เมื่อรถแวะพักก็ชื้อข้าวโพดทาน เป็นข้าวโพดข้าวเหนียว หวานอร่อยไม่แพ้ ของบ้านเราเช่นกัน เึค้าก็ยังรักษาพันธุ์ดั้งเดิมไว้ เห็นวางขายเพียงชนิดเดียว ไม่มี super sweet ให้เลือกอย่างบ้านเรา.:-)) สายพันธุ์พืชพื้นถิ่นจึงควรค่าแก่การอนุรักษ์ไว้ให้คงอยู่ค่ะ..
ยืนยันครับท่านลุงราดรี..เผาทั้งเปลือกหร่อยสุด ผมได้ออกแบบเครื่องเผาข้าวโพดรวดเร็วโดยไม่ต้องพลิกไว้ด้วย ....หา..ราดรีมีแปดแถวด้วยหรือครับ ช่วยบอกแหล่งแห่งที่ด้วยก็จักขอบคุณครับ เพราะราดรีผมไปบ่อยมาก...ที่สุพรรรณตรงเลีี้้ยวโค้ง แถวซาละเปาทับหลีก็หร่อยครับ (เผา) ...แปดริ้วตรงแยกจะไปบ้านโพธิก็หร่อยอันนี้ข้าวเหนียวเผาเสียด้วย (ทั้งประเทศเพิ่งเห็นข้าวเหนียวเผาที่นี่แห่งเดียว) อีกแห่งที่ติดใจคือริมทางใหญ่จะไปชัยนาท ที่เหลือ ลืมครับ หรือไม่อร่อยมากจนน่าำจำ
ท่านkwanchaครับ..ข้าวโพดเอามาผัดเป็นแบบข้าวผัดก็หร่อยนะครับ ผมลองมาแล้ว
ผมรู้จัก ข้าวโพดแปดแถว ราชบุรี ครั้งแรก ประมาณปี 2531 มีขายริมทางแถวเจ็ดเสมียน คลองข่อย อ.โพธาราม ชาวบ้านที่นั่นปลูกกันมาก..ปัจจุบัน บางวันยังมีขายริมทางถนนเพชรเกษมแถวขนส่งจังหวัดก่อนเข้าเมืองราชบุรี..แต่ที่ยังเป็นแปดแถวดั้งเดิม คงที่วัดโบสถ์ ต.คลองตาคต และทางเข้าค่ายลูกเสือแห่งชาติ ค่ายหลวงบ้านไร่ อ.โพธาราม..ครับ..หากท่านอาจารย์ มีโอกาสแวะมาราชบุรี ยินดีจะเป็นไกด์นำไปกินถึงที่เลยครับ...
แฮ่ ๆๆ ท่านลุงฯ ผมมาแน่...บ้างโป่ง โพธาราม ผ่านบ่อยครับ ดำเนินด้วย นึกว่ามีแต่คนสวย ข้าวโพดก็หวานด้วยนิ อิอิ ข้าวโพดแปดแถว (ข้าวเหนียว) นี้หร่อยจริงครับ เกิดมาเป็นคนไทยใครไม่เคยกินจะเสียดาย..เหนียว นุ่ม หอม หวาน .ดีไปโม้ด