Hacker & Cracker


งานกลุ่ม :: Hacker & Cracker
Hacker & Cracker
           มีบทความหลายบทความที่เขียนเกี่ยวกับความแตกต่างระหว่าง hacker และcrackerผู้เขียนมักจะ พยายามที่จะแก้ไขความเข้าใจผิดสาธารณชนบทนี้จะช่วยให้ประเด็นนี้มีความกระจ่างยิ่งขึ้นหลายปีมาแล้วที่สื่อของอเมริกันนำความหมายของคำว่า hacker ไปใช้ผิดแทนที่ความหมายของ คำว่า cracker ดังนั้นสาธารณชนชาวอเมริกันจึงเข้าใจว่าhackerคือคนที่บุกรุกเข้าไปในระบบ คอมพิวเตอร์ซึ่งไม่ถูกต้องและเป็นผลเสียต่อ hacker ที่มีความสามารถพิเศษมีบททดสอบดั้งเดิมที่ตัดสินความแตกต่างระหว่าง hacker และ crackerอันดับแรกจะเสนอถึงคำจำกัดความดังต่อไปนี้
Hacker
           หมายถึงผู้ที่มีความสนใจอย่างแรงกล้าในการทำงานอันลึกลับซับซ้อนของการทำงานของระบบปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ใด ๆ ก็ตาม ส่วนมากแล้ว hacker จะเป็นโปรแกรมเมอร์ ดังนั้น hackerจึงได้รับความรู้ขั้นสูงเกี่ยวกับระบบปฏิบัติการและprogramming languagesพวกเขาอาจรู้จุดอ่อนภายในระบบและที่มาของจุดอ่อนนั้น hackerยังคงค้นหาความรู้เพิ่มเติม อย่างต่อเนื่อง แบ่งปันความรู้ที่พวกเขาค้นพบและไม่เคยคิดทำลายข้อมูลโดยมีเจตนา
Cracker
           คือบุคคลที่บุกรุกหรือรบกวนระบบคอมพิวเตอร์ที่อยู่ห่างไกลด้วยเจตนาร้าย cracker เมื่อบุกรุกเข้าสู่ระบบ จะทำลายข้อมูลที่สำคัญทำให้ผู้ใช้ไม่สามารถใช้งานคอมพิวเตอร์ หรืออย่างน้อยทำให้เกิดปัญหาในระบบคอมพิวเตอร์ของเป้าหมาย โดยกระทำของ cracker มีเจตนามุ่งร้ายเป็นสำคัญ คำจำกัดความเหล่านี้ถูกต้องและอาจใช้โดยทั่วไปได้อย่างไรก็ตามยังมีบททดสอบอื่นอีก เป็นบททดสอบทางกฏหมายโดยการใช้เหตุผลทางกฏหมายเข้ามาใช้ในสมการ คุณสามารถแยกความแตกต่างระหว่างhacker และ cracker บททดสอบนี้ไม่ต้องการความรู้ทางกฏหมายเพิ่มเติมแต่อย่างใด มันถูกนำมาใช้ง่าย ๆ โดยการสืบสวนเช่นเดียวกับ "men rea"
วิธีการป้องกัน  Hacker & Cracker
           1. อัพเดทระบบปฏิบัติการและโปรแกรมต่างๆ โดยเฉพาะโปรแกรม Antivirus ที่คุณใช้งานอย่างสม่ำเสมอ ไม่ว่าจะเป็นวินโดวส์หรือระบบปฏิบัติการตัวอื่นๆ บางครั้งย่อมต้องมีบั๊กมีช่องโหว่ที่อาจจะเอื้อให้แฮกเกอร์สามารถเจาะระบบเข้ามาได้  
           2. ถึงจะมีโปรแกรม Antivirus อยู่แล้วแต่บางครั้งก็อาจจะมีบางตัวที่หลุดรอดเข้ามาได้ วิธีการที่ดีที่สุดก็คือควรสแกนอุปกรณ์เก็บข้อมูลทุกครั้ง ไม่ว่าจะเป็นการ์ดหน่วยความจำหรือ Flash Drive ต่างๆ ก่อนนำมาใช้งาน
           3. ติดตั้ง Firewall เพื่อป้องกันการโจมตีจากแฮกเกอร์และเป็นการป้องกันการรับ-ส่งข้อมูลที่คุณ ไม่ต้องการทั้งจากโปรแกรมสปายแวร์เอง หรือโปรแกรมอื่นๆ ที่อาจจะเป็นการเปิดช่องโหว่ในการโจมตีได้อีก
           4. ระมัดระวังการเล่นอินเทอร์เน็ตเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะเว็บสำหรับผู้ใหญ่ทั้งหลาย ถ้าเข้าไปอาจจะติดไวรัสหรือโดนแฮกโดยไม่รู้ตัวเลยด้วยซ้ำ
           5. บล็อกการทำงานของสปายแวร์ โดยอาจจะใช้ Firewall อย่างที่ได้กล่าวไป หรือใช้โปรแกรม Anti-Spyware มากวาดล้างเลย อย่าปล่อยให้มีสายลับวายร้ายมาอาศัยในเครื่องคุณ
           6. ฝึกตัวเองให้เป็นคนรอบคอบ และจำให้ขึ้นใจว่าปลอดไปไว้ก่อน การให้ข้อมูลส่วนตัวที่สำคัญบางอย่างผ่านระบบอินเทอร์เน็ต ต้องทำอย่างระมัดระวัง มีอีกวิธีการที่ช่วยเพิ่มความมั่นใจได้มากขึ้น อย่างเช่น การเข้ารหัส ข้อมูลก่อนส่ง หรือกรอกข้อมูลในเว็บไซต์ที่เชื่อถือได้และมีระบบรักษาความปลอดภัยหนาแน่น เท่านั้น
           7. ติดตามข่าวสาร รูปแบบการโจมตีใหม่ๆ อยู่เสมอเพื่อที่จะได้ระมัดระวังและหาทางป้องกันภัยที่อาจจะเกิดขึ้นกับตัวคุณตลอดเวลา
หมายเลขบันทึก: 488149เขียนเมื่อ 15 พฤษภาคม 2012 23:27 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 22:12 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท