ข้อด้อยประการหนึ่งของคนไทยเราคือ เรามักไม่นิยม”ล้วงลึก” ซึ่งข้อมูลหรือประเด็นต่างๆ กลายมาเป็นวัฒนธรรมที่เอากันตื้นๆ ง่ายๆ แบบ “ไม่เป็นไร” จนกลายมาเป็นวัฒนธรรมประจำชาติไปแล้ว ส่งผลต่อความเจริญวัฒนาของชาติได้ในที่สุด
แม้แต่ข้อมูลง่ายๆ ว่า สถาบันอุดมศึกษาแห่งแรกของไทยคือใคร...ถ้าเอาไปถามคนไทย ร้อยละ ๙๙.๙ ผมเชื่อว่า ตอบว่า “จุฬา” ซึ่งผมว่าผิด
เพราะจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเมื่อทำการเปิดการสอนระดับอุดมศึกษาครั้งแรกนั้น ทำพิธีการเปิดโดย พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าฯ (รัชกาลที่ ๖) (แต่กลับใช้ชื่อว่า จุฬา ซึ่งเป็นพระนามของ ร.๕)
..ก่อนหน้านั้นจุฬาเป็นรร.สอนมหาดเล็ก เพื่อเข้าไปรับใช้ในวัง ไม่ได้เน้นวิชาการแต่อย่างใด และก่อนหน้านั้นก็มีสถาบันอุดมศึกษาเปิดสอนแบบเน้นวิชาการมานานแล้ว เช่น รร. นายเรือ รร.นายร้อยพระจุลจอมเกล้า อาจรวมถึง รร. วิศวกรรมรถไฟ รร. ไปรษณีย์ รร. ศุลกากร ด้วยซ้ำไป
โดยเฉพาะรร. นายเรือ นั้น ผมเชื่อว่าเป็นสถาบันอุดมศึกษาแห่งแรกของไทย ทำการเปิดสอนอย่างเป็นทางการเมื่อ รศ. ๑๒๕ (พศ. ๒๔๕๐) โดยล้นเกล้า ร ๕
ทรงลงลายพระหัตถ์ในสมุดเยี่ยมในวันเปิดรร. ไว้ว่า.....
“วันที่ ๒๐ พฤศจิกายน รศ. ๑๒๕ เราจุฬาลงกรณ์ ปร. ได้มาเปิดโรงเรียนนี้ มีความปลื้มใจซึ่งได้เห็นการทหารเรือไทยได้หยั่งรากลงแล้ว จะเปนที่มั่นสืบไปในภายน่า”
ความจริง รร.นายเรือ เปิดสอนมาก่อนหน้านี้แล้วเป็นเวลา ๑๑ ปี ที่เรือรบหลวงมูรธาวสิทธ์สวัสดิ์ ที่ทำการสู้รบกับกองเรือฝรั่งเศสเมื่อกรณี รศ. ๑๑๒ แต่ไม่ทราบว่าเนื้อหาหลักสูตรที่เปิดสอนนั้นเป็นระดับอุดมศึกษาหรือไม่
แต่ รร.นายเรือ ที่เปิดสอนเมื่อ รศ. ๑๒๕ ( พศ. ๒๔๕๐) นั้น เป็นระดับอุดมศึกษาไปแล้ว เพราะรับนักเรียนที่จบ ม ๘ (คือ ม. ๖ ในสมัยพศ. ๒๕๕๕ นี้) (สมัยก่อน เรียน ป ๑-๔ และ ม ๑-๘) การเรียนก็ต้องเรียนถึงห้าปีกว่าจะจบการศึกษา (แสดงว่าเป็นหลักสูตรปริญญาตรี) ครูอาจารย์เป็นฝรั่งเสียมาก ....การเรียนแบ่งเป็นสองสายคือ สายวิศวกรรมศาสตร์ ที่ต้องมีการเรียน ฟิสิกส์ เคมี คณิตศาสตร์ และ สายวิทยาศาสตร์การเดินเรือที่ต้องมีคณิตศาสตร์มากเช่นการคำนวณหาตำแหน่งเรือจากการวัดมุมแดดมุมดาว ต้องเรียนตรีโกณมิติทรงกลม พีชคณิตชั้นสูง (ไม่ทราบว่าต้องเรียนแคลคูลัสด้วยหรือไม่)
สำหรับ รร. นายร้อยพระจุลจอมเกล้า ก็มาเปิดเอาในสมัย ร ๖ เช่นกัน (แต่ก็ใช้พระนาม ร ๕ เหมือนจุฬา)
ผมเคยคุยกับคนรุ่นปู่ ท่านเล่าว่าสมัยก่อน เด็กนักเรียนจบม. ๘ เลือกเรียนอันดับหนึ่งคือ เตรียมนายเรือ ถ้าเข้าไม่ได้ก็จะไปเตรียมนายร้อย จากนั้นเตรียมแพทย์
สมัยผมจบ มศ. ๓ สิ่งที่อยากเรียนมากที่สุด คือเกษตร วิศวรถไฟ ศุลกากร ถ้าพลาดเข้าไม่ได้ ก็ต้องเรียนมัธยมปลายต่ออีกสองปี พอจบมศ. ๕ ที่คิดว่าอยากเข้ามากที่สุดคือ วนศาสตร์ ต่อไปก็วิศว ต่อไปก็หมอ (คิดเอาเอง เพราะไม่มีครูแนะแนวเลย)
....พอจบจบมศ. ๓ ชะตากรรมนำพาให้ไปสอบเข้าเตรียมทหาร อย่างไม่ได้ตั้งใจอะไร โดยไปสอบเป็นเพื่อนของเพื่อนรักที่มันเป็นลูกทหาร ดันเจือกติด ...เห็นว่าเออมันเรียนฟรีว่ะ พ่อแม่ก็มีภาระต้องส่งลูกหลายคนเรียน และว่าไปแล้วมันก็โก้ดีนะ ก็เลยเตลิดไปเลย
ความบังเอิญมันมามีผลต่อชีวิตคนไทยเรามากจริงๆ แม้จนทุกวันนี้ การแนะแนว ในรร.มัธยม ก็ยังแย่อยู่มาก ทำให้สูญเสียศักยภาพของชาติไปมาก
ครูแนะแนวที่เก่งๆ ชำนาญ มองปร๊าดรู้เลยว่าเด็กคนนี้ควรเป็นทหาร เป็นพยาบาล หมอ นักวิทยาศาสาตร์ วิศว สถาปัตย์ บัญชี นักกฎหมาย แล้วช่วยแนะให้ไปให้ถูกทาง โดยเอาพ่อแม่เข้ามาร่วมคุยกันด้วย ...นี่เป็นการลงทุนที่น้อยมาก แต่ได้ผลต่อชาติสูงมาก ไม่ใช่ปล่อยไปตามยถากรรมเช่นที่ผ่านมาจนถึงวันนี้
....คนถางทาง (๑๔ พค. ๒๕๕๕)
เห็นด้วยเรื่องความสำคัญอย่างมากของครูแนะแนวครับ
ได้ใจชลัญสุดๆ .............. อย่าเพิ่งแก่ อุ๊ยพูดผิด อย่างเพิ่งลาออกไปไหน รอสอนไอ้หมวยน้อยก่อนนะอาจารย์
ได้ใจอย่างนี้ต้องให้รางวัล เป็นบทเพลงจากท่านวอญ่า ฮ่า ฮ่า ฮ่า ฮ่า ฮ่า ฮ่า
ที่เมืองนอก การแนะแนวเขาถือเป็นสิ่งสำคัญยิ่ง ครูแนะแนวเขาจะตามสะกดรอยพฤติกรรมเด็กยังกะนักสืบ เพื่อค้นหาอาชีพที่เหมาะกันเด็กใหได้ เช่น เด็กที่มีตรรกกะดี พูดเก่ง เถียงเก่ง แต่ไม่ค่อยชอบเรียนคณิตศาสต์ วิทยาศาสตร์ เขาอาจบอกว่า ไปเรียนนิติศาสตร์เลย เป็นทนาย มีอาชีพเถียงซะให้เข็ด ....งั้นสิ ชาติเขาถึงเจริญกว่าเรา