โรงเรียนในฝัน ตอนที่ 12 ผลงานวิชาภาษาไทย


ถ้าอ่อนความหมายของคำในทุก ๆ วิชา มาตั้งแต่เด็ก ๆ ก็ค่อย ๆ สะสมความอ่อนที่ต้องนำไปใช้ในทุกวิชา สอบ ONET ทีไรก็ตกกันอย่างน่าเศร้าอย่างที่เห็น

ตอนที่ 12  ผลงานวิชาภาษาไทย

นักเรียนจะนำเสนอสิ่งที่ได้เรียนรู้มา  เสนอเสร็จ ก็จะได้รับการซักถาม เพื่อตรวจสอบความเข้าใจจริง  ว่าเข้าใจจริงหรือไม่  วีดิโอที่แสดงให้ดู ส่วนแรกได้บันทึกไว้จากโรงเรียนหนึ่ง      ส่วนที่เด็กให้สัมภาษณ์ก็เป็นอีกโรงเรียนหนึ่ง แต่พ่อจะไปกันได้ จึงนำมาแสดงให้เห็นถึงการนำเสนอของเด็ก ๆ  และรับการสัมภาษณ์หลังจากการนำเสนอ  ดังที่ได้เรียนแล้วว่าเป็นวีดิโอที่เก็บมาหลายปี และก็ผมไม่ได้เป็นมืออาชีพในการถ่ายทำ และตัดต่อสักเท่าไหร่ คลิ๊กดูนะครับ   https://www.youtube.com/watch?v=UH_kL8m9i3c

ครอบครัวในฝัน : ข้อเสนอแนะสำหรับพ่อแม่ ผู้ปกครอง        

ถ้าดูคะแนน ONET    ปีนี้ 2555  กับปีที่แล้ว  2554  ท่านรู้สึกอย่างไร                        

              ปีนี้         ปีที่แล้ว   เทียบกัน
ไทย        41.88    42.61    -0.73
สังคม       33.39   46.51    -13.12
อังกฤษ    21.8      19.22    +2.58
คณิต       22.73    14.99    +7.74
วิทย์        27.9       30.90    -3.00
สุข          54.61     62.86    -8.25
ศิลปะ      28.54     32.62    -4.08
การงาน   48.72     43.69   +5.03

จาก http://www.dek-d.com/board/view.php?id=2422546

ภาษาไทยสอบตกกันทั้ง ประเทศ  แล้ววิชาอื่น ๆ จะเหลืออะไร  แล้วจะทำกันอย่างไร อะไรทำให้เป็นไปได้ถึงขนาดนี้  แล้วใครจะช่วยทำให้ดีขึ้น  จะหวังจากกระทรวงศึกษาธิการ  สพฐ.  หน่วยงานเก่าของผมน่าจะคงอีกนาน จึงไหว้วาน พ่อแม่ที่ยังแม่แรง มีเวลามาร่วมด้วยช่วยลูกเรา

ภาษาไทย และวิชาอื่น ๆ ที่ตกกันชนิดระเนระนาด ก็เพราะ ความรู้ของเด็ก ๆ ไม่ถึงระดับที่ผมกล่าวไว้

"ในทุกมาตรฐานการเรียนรู้ และคุณลักษณะที่พึงประสงค์ตามหลักสูตรการศึกษา ขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551 นักเรียนจะต้องรู้จริง รู้ลึก รู้กว้าง เชื่อมโยงได้ สร้างองค์ความรู้ ชิ้นงาน ผลงานได้อย่างสร้างสรรค์ นำเสนอ ตอบสนองทุกสถานการณ์ ทั้งในระดับห้องเรียน โรงเรียน เขตพื้นที่การศึกษา จังหวัด ตลอดจนระดับชาติ และนานาชาติได้อย่างมั่นใจ นำไปใช้ประโยชน์ตน และส่วนรวมได้ ตามศักยภาพของแต่ละคน"

เพราะมีหลายเหตุหลายปัจจัย  ที่ยังไม่อยากพูดในที่นี้  ขอมาพูดเสนอแนะผู้เป็นพ่อแม่จะดีกว่า

ทุกวัน ทุกวิชา ทั้งที่บ้านและโรงเรียน เด็กใช้ภาษาไทย แล้วทำไมคะแนนเฉลี่ยทั่วประเทศจึงตก

ผมมีความเชื่อส่วนตัวว่า เด็กของเราไม่ได้เรียนรู้ความหมายของแต่ละคำจริง ๆ มาตั้งแต่เข้าโรงเรียน  “เรียนรู้คำแต่ละคำ” แปลว่า เข้าใจความหมาย เอาไปแต่งเป็นประโยคได้  โตขึ้นพูด หรือเขียนเป็นเรื่องราวได้   อธิบายความหมายแต่ละคำได้ ยกตัวอย่างได้  ท่านลองไปถามลูกๆ  โดยการเปิดหนังสือขึ้นมา แล้วเลือกบางคำมาสอบถามความหมาย และให้อธิบาย  ยกตัวอย่างการใช้คำนั้น เช่น ในเด็กประถม  “บวกแปลว่าอะไร  ลบแปลว่าอะไร ช่อฟ้าแปลว่าอะไร เห็นได้ที่ไหน  มีลักษณะเป็นอย่างไร”  หรือถามตามแนวการประเมินโรงเรียนในฝัน จากวีดิโอ ที่นำมาให้ดู  ไปสัก 10  คำ  จึงจะรู้ว่าลูกของท่านเก่ง หรืออ่อน  ถ้าอ่อนความหมายของคำในทุก ๆ วิชา มาตั้งแต่เด็ก ๆ ก็ค่อย ๆ สะสมความอ่อนที่ต้องนำไปใช้ในทุกวิชา สอบ ONET ทีไรก็ตกกันอย่างน่าเศร้าอย่างที่เห็น   ครูบางส่วนก็น่าเห็นใจที่ต้องทำงานเพื่อความก้าวหน้า จะมาสนใจให้เต็มร้อยก็ยาก ผมได้ร้องฝาก  (ใครก็ไม่รู้ 555) ผ่านโกทูโนไว้ใน http://www.gotoknow.org/blogs/posts/478462

คำแนะนำสำหรับพ่อแม่ผู้ปกครองที่มีเวลาให้ลูกอีก ก็คือให้ลูกเล่า  ลูกเขียนบันทึกทุก ๆ วันดูแนวคิดที่นี่ http://www.gotoknow.org/blogs/posts/476611

โดยเริ่มแต่ยังเล็กที่ยังเข้ากับลูกได้ง่าย หากโตแล้วก็อาจรำคาญพ่อแม่ก็เป็นได้  หากเข้ากับลูกได้ดี  วิธีการซักลึกเหมือนอย่างที่ผมและคณะประเมินโรงเรียนในฝันซักถาม เด็ก ๆ ในวีดิโอก็จะดีกว่า ถ้ามีเวลาพอที่จะทำได้บ้าง อย่างน้อย ๆ ก็คอยกระตุ้นให้ลูกรู้อะไร แล้วให้รู้จริงฯ ซึ่งเป็นสิ่งที่จะให้เขาจะนำไปต่อยอดนิสัยการใฝ่รู้จริงฯ ในทุกสิ่งที่สัมผัส  

หมายเลขบันทึก: 487593เขียนเมื่อ 10 พฤษภาคม 2012 11:13 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 21:38 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ที่ผมมีความมั่นใจว่าที่เด็ก ๆ เราอ่อนนั้น ลึก ๆ ก็คือ เด็กไม่เข่าใจความหมาย          มีเพื่อนของลูก จบ ม.6 มาด้วยกันจากโรงเรียนหูหนวก พอสนิทกับผมแล้ว แกถามผมเป้นภาษามือว่า "พ่อ ๆ อาจารย์ (แกเขียน) แปลว่าอะไร" ผมก็เอาประสบการณ์นี้   ไปตรวจสอบ (อย่าเชื่อผมนะครับ เพราะไม่ใช่งานวิจัย) กับเด็ก ๆ อีกหลายคน เช่น เมื่อไปโรงเรียนในฝัน คำถามแรก ๆ ที่จะถามเด็ก ๆ ก็คือ นักเรียน แปลว่าอะไร เด็ก ๆ เป็นงง ตอบแทบไม่ได้นะครับ เข้าไปห้อง สังคมศึกษา ก็ถามว่า สังคมศึกษาแปลว่าอะไร ก็ตอบแบบอึกอักกันทุกรายไป บางทีเราคิดว่าเด็กรู้ความหมายไปเสียทุกคำ เอาเข้าจริงอาจมีบางคำ ที่ไม่รู้ซึ่ง จึงทำให้รู้จริงทั้งหน้ากระดาษที่อ่าน หรือฟังไม่ได้ ถ้าทุก ๆ วิชา เด็กเข้าใจจริงทุกคำ ที่ครูพูดออกมา เด็กก็จะเก่งภาษาไทย ที่เอาไปใช้กับทุกวิชาได้ ทุกวิชาอ่อนก็เพราะภาษาไทยอ่อนใช่ไหม ไปประเมินโรงเรียน อนุบาลเชียงใหม่ ห้องเรียน EP  ผมพบว่า เด็ก นำเสนอเป็นภาษาอังกฤษ ได้ดีกว่าที่เป็นภาษาไทย ในทุกเรื่องที่นำเสนอและตอบคำถามที่ผมซัก  หากท่านใดสนใจนำสมมุตฐานนี้ไปทำวิจัยในเชิงลึก  ก็น่าจะเป็นประโยชน์มากหากเรารู้ว่าที่เด็กอ่อนนั้นมันเพราะอะไรกันแน่

ใช้ตัวการ์ตูนพูดแทนครู หรือ เด็ก ก็จะทำให้สิ่งทึ่พูด น่าสนใจไปอีกแบบ ดูที่นี่ครับhttp://www.voki.com/ ขอบคุณครูนิค จากยุพราชวิทยาลัย ที่เอาไปสอนไว้ใน Global Teacher Forum ..fb..ทำให้ผมได้ไอเดียนี้มา จะเอามาใช้สอนภาษาอะไรก็ได้ เด็ก ๆ คงชอบใจกันทุกคน ครูอาจทำยาก ก็มอบงานให้เด็กไปทำก็เป็นทางหนึ่ง จึงบอกกล่าวมา

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท