หมออนามัย การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่


หมออนามัย การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหินซ้อน อำเภอแก่งคอย จังหวัดสระบุรี

นายอานนท์ ภาคมาลี นักวิชาการสาธารณสุข ชำนาญการ

 

การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ คือ การป้อนนมให้กับทารกหรือเด็กด้วยน้ำนมจากหน้าอกของผู้หญิง ทารกจะมีกลไกลอัตโนมัติในการดูด ที่จะทำให้เขาสามารถดูดและกลืนน้ำนมได้ น้ำนมคนเป็นแหล่งอาหารที่ดีที่สุดของทารก ทารกอาจจะกินน้ำนมจากอกของแม่ตัวเองหรือผู้หญิงอื่นที่ร่างกายสามารถผลิตน้ำนมได้ (ซึ่งอาจจะเรียกว่า แม่นม) น้ำนมอาจถูกบีบออกมา (เช่น ใช้เครื่องปั๊มนม) และป้อนให้ทารกโดยใช้ขวด และอาจเป็นน้ำนมที่รับบริจาคมาก็ได้ สำหรับแม่หรือครอบครัวที่ไม่สามารถหรือไม่ต้องการให้ลูกกินนมแม่ก็อาจให้กินสารทดแทนนมแม่แทน คุณค่าสารอาหารในสารทดแทนนมแม่ เป็นที่รับรู้กันทั่วไปว่าการให้ทารกกินนมผสมที่มีขายในท้องตลาดจะไปรบกวนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ทั้งทารกที่คลอดตามกำหนดและคลอดก่อนกำหนดในหลายประเทศการให้ลูกกินสารทดแทนนมแม่ส่งผลให้อัตราการเสียชีวิตจากโรคท้องร่วงในทารกเพิ่มขึ้น แต่ในพื้นที่ที่มีน้ำสะอาดมีเพียงพอ การให้ลูกกินสารทดแทนนมแม่ก็ถือว่าเป็นสิ่งที่ยอมรับ

 

การหลั่งน้ำนม คือ กระบวนการในการสร้าง การหลั่ง และการไหลออกมาของน้ำนม การหลั่งน้ำนม เป็นหนึ่งในคุณลักษณะที่ใช้นิยาม สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมแม่

น้ำนมแม่ คุณสมบัติของนมแม่ยังไม่เป็นที่รู้แน่ชัด แต่คุณค่าสารอาหารที่สมบูรณ์

ประโยชน์ การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ มีประโยชน์ต่อทั้งแม่และทารก ทั้งทางร่างกายและทางจิตใจ สารอาหารและภูมิต้านทานต่างๆจะถูกส่งผ่านไปยังทารก ในขณะที่ฮอร์โมนจะหลั่งออกมาในร่างกายของแม่สายสัมพันธ์ระหว่างทารกและแม่จะแนบแน่น มากขึ้นในระหว่างการให้ลูกกินนมแม่

ประโยชน์ต่อทารก ทารกที่กินนมแม่จะมีอัตราเสี่ยงต่อการเป็นโรคไหลตายในเด็กหรือโรคอื่นๆน้อยกว่า การดูดที่อกแม่จะช่วยกระตุ้นให้เกิดการพัฒนาการของฟันและอวัยวะในทางออกเสียงอย่างเหมาะสม นอกจากนี้น้ำนมแม่ยังมีอุณหภูมิที่พอเหมาะและพร้อมให้ทารกกินได้ทันที่ ประโยชน์อีกอย่างหนึ่งที่เด็กจะได้รับ จากการดื่มนมแม่ก็คือ เด็กจะมีภูมิคุ้มกันโรคได้หลายชนิดนอกจากนี้การให้ลูกดื่มนมยังช่วยให้ ลูกน้อยรู้สึกใกล้ชิดกับแม่ ซึ่งจะก่อให้เกิดความอบอุ่นใจและทำให้ลูกรู้สึกปลอดภัยอีกด้วย

ประโยชน์ต่อแม่ การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่มีประโยชน์ต่อแม่ เพราะช่วยกระตุ้นการหลั่งของฮอร์โมนออกซิโทชินและโปรแลกติน ซึ่งทำให้แม่รู้สึกผ่อนคลายและมีความรู้สึกรักใคร่ทะนุถนอมทารก การให้ลูกกินนมแม่ทันทีหลังจากคลอดลูกจะช่วยเพิ่มระดับฮอร์โมนออกซิโทซินในร่างกาย ทำให้มดลูกเข้าอู่ได้เร็วและลดอาการตกเลือด

ไขมันที่ถูกสะสมในร่างกายในช่วงตั้งครรภ์ จะถูกใช้ในการผลิตน้ำนม การยืดระยะเวลาการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ให้นานขึ้นจะช่วยให้แม่สามารถลดน้ำหนักตัวได้เร็ว การให้ลูกกินนมบ่อยๆหรือให้ลูกกินนมเพียงอย่างเดียวอาจจะทำให้มีประจำเดือนช้าลง จึงมีส่วนช่วยในการคุมกำเนิด บางครั้งการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ จึงถูกนำมาใช้เป็นวิธีคุมกำเนิด ซึ่งอาจจะสามารถคุมกำเนิดได้ 98%โดยจะต้องประกอบด้วยเงื่อนไขต่อไปนี้

     1. การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่จะต้องเป็นแหล่งอาหารเพียงอย่างเดียวของทารกและทารกจะต้องดูดน้ำนมจากอกแม่เท่านั้น การให้ทารกกินนมผสม หรือการใช้เครื่องปั๊มนมแทนที่จะให้ทารกดูดจากอกและการให้กินอาหารเสริม จะลดความสามารถในการคุมกำเนิด

     2. ทารกจะต้องได้กินนมจากอกแม่ทุกๆ 4 ชั่วโมง ในตอนกลางวัน และทุกๆ 6 ชั่วโมงในตอนกลางคืน เป็นอย่างน้อย

     3. ทารกอายุไม่เกิน 6 เดือน

     4. แม่จะต้องไม่มีประจำเดือนหลังคลอดอย่างน้อย 56 วันหลังคลอด

อย่างไรก็ตามไม่แนะนำให้ใช้การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่เป็นวิธีคุมกำเนิด เนื่องจากการตกไข่หลังคลอดบุตรอาจเกิดขึ้นก่อนการมีประจำเดือน ดังนั้นผู้หญิงจึงสามารถ(และบ่อยครั้ง)ตั้งท้องได้ก่อนที่จะเริ่มกลับมามีประจำเดือนอีกครั้ง แม่ยังคงสามารถให้ลูกกินนมแม่ในระหว่างตั้งครรภ์ได้ แต่โดยทั่วไปแล้ว การผลิตน้ำนมจะลดลงหลังจากตั้งครรภ์ได้ระยะหนึ่ง แม่ที่ให้ลูกกินนมแม่จะมีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหลายๆโรค ลดลง เช่นมะเร็งเต้านม มะเร็งปากมดลูก

 

การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ไม่ใช่เพียงแค่เป็นอาหารสำคัญที่ช่วยให้ลูกเติบโต ลดโอกาสไม่สบาย ลดโอกาสการเป็นโรคภูมิแพ้ และช่วยให้สมองลูกแข็งแรง ซึ่งนมผสมไม่สามารถให้คุณค่าได้เท่านมแม่ แต่การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ เป็นขบวนการพัฒนาสมอง  ส่งเสริมพัฒนาการลูกรัก ที่วิเศษสุด เพราะ กระบวนการโอบอุ้ม และโต้ตอบ ระหว่างแม่และลูก ขณะลูกดูดนมจากอกแม่ จะเป็นพื้นฐานสำคัญของกระบวนการเรียนรู้ และตอบสนองต่อสิ่งเร้าอย่างเหมาะสมในเด็กณต่าได้เท่านมแม่เท่านั้น แต่การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ เป็นขบวนการพัฒนาสมอง

ข้อดี ของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ไม่ใช่เป็นเพียงการให้อาหารเพื่อให้ลูกอิ่ม และช่วยให้ลูกเติบโตเท่านั้น แต่การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่เป็นเรื่องของกระบวนการส่งเสริมพัฒนาและการเจริญเติบโตของเด็กอย่างมีคุณภาพ ซึ่งจะช่วยเอื้อโอกาสให้เด็กกลายเป็นผู้มีบุคลิกภาพที่ดี ความเป็นผู้มีจริยธรรม อดทน อดกลั้นและเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ต่อผู้อื่น อันเนื่องมาจาก

  1. สารอาหารในนมแม่ ที่จะมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลาอย่างเหมาะสม ตามอายุลูก ซึ่งจะช่วยให้ลูกฉลาด และแข็งแรง สารอาหารสำคัญ คือ ไขมัน ในนมแม่ที่จะไปห้อหุ้มเส้นใยประสาทในสมองเด็กที่กำลังเพิ่มการเชื่อมโยง การทำงานอย่างรวดเร็วเพื่อให้การทำงานของสมองเด็กสามารถตอบสนองต่อสิ่งเร้าต่างๆ เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ โปรตีนในนมแม่ที่จะช่วยลดโอกาสการเป็นโรคภูมิแพ้ในเด็ก สารต้านการอักเสบในนมแม่ ซึ่งจะช่วยลดโอกาสการติดเชื้อ และไม่สบายของเด็ก ทำให้เด็กไม่ต้องเสียโอกาสของการพัฒนาความสามารถไปกับความเจ็บป่วย ซึ่งสารอาหารดังกล่าวทั้งหมด ไม่สามารถจะถูกทดแทนได้ด้วย นมผสม
  2. สัญชาตญานความเป็นแม่ที่เพิ่มขึ้นจากการเพิ่มระดับของฮอร์โมนออกซิโตซิน ในตัวแม่ในขณะลูกกำลังดูดนมจากอกแม่ที่จะช่วยให้แม่เป็นผู้มีจิตใจอ่อนโยน เปี่ยมด้วยความรักความเมตตา อันเนื่องมาจากความรู้สึกสงบ เป็นสุข เปี่ยมด้วยความรักที่แม่มีต่อลูก ที่เกิดขึ้นมากกว่าปกติในตัวแม่ขณะลูกกำลังดูดนมแม่ ซึ่งเด็กจะรู้สึกได้ถึงความรู้สึกอ่อนโยน ทำให้เด็ก อารมณ์ดีและเป็นสุข
  3. กระบวนการโอบอุ้ม และโต้ตอบ ระหว่างแม่และลูก ขณะลูกดูดนมจากอกแม่ ที่จะปูพื้นฐานสำคัญของการบวนการเรียนรู้และตอบสนองต่อสิ่งเร้าอย่างเหมาะสมในเด็ก เพราะขณะที่ลูกดูดนมจากอกแม่ ลูกจะสบตาแม่ เป็นการสื่อสารสำคัญที่ถ่ายทอดการมองเห็นในระยะที่เหมาะสม เพราะช่วงแรกเกิดการมองเห็นของเด็ก จะเหมือนคนสายตาสั้น ซึ่งจะค่อยๆเปลี่ยนระดับการมองเห็นไปเป็นระดับปกติ เมื่อเด็กอายุ 1 ปี นอกจากนี้ ขณะที่ลูกกำลังดูดนมแม่ มือลูกจะสัมผัสกับผิวแม่ จมูกลูกจะได้กลิ่นกายแม่ ลิ้นของลูกจะได้รับรส น้ำนมแม่ร่วมกับความรู้สึกอิ่ม สบาย และผ่อนคลาย ขณะที่หูของลูกจะได้ยินเสียงที่กำลังเกิดขึ้นรอบตัว ดังนั้น ประสาทสัมผัสทุกส่วนของเด็กจะถูกกระตุ้นให้เกิดการทำงาน บนความรู้สึกดีๆที่แม่ถ่ายทอดสู่ลูก อันจะเป็นพื้นฐานสำคัญของการสังเกต โต้ตอบอย่างเหมาะสมของเด็ก

ข้อดี ของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ไม่ได้หยุดอยู่ที่ตัวเด็ก ที่ช่วยให้เด็กฉลาด แข็งแรง ลดโอกาสการเป็นโรคและมีความพร้อมต่อการพัฒนาเป็นผู้มีจริยธรรมที่ดี จิตใจอ่อนโยน และเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ต่อผู้อื่นแต่ยังส่งผลโดยตรงถึงแม่ ครอบครัว สังคมและประเทศ กล่าวคือ แม่จะลดโอกาสการเกิดมะเร็งเต้านม ครอบครัวจะมีความสุขอันเนื่องจากการเป็นเด็กแข็งแรง มีพัฒนาการที่ดี ไม่ต้องสิ้นเปลืองเงินไปกับค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลลูก และซื้อนมผสม สังคมจะเปี่ยมไปด้วยคนที่มีจิตใจดีและมีความสามารถเต็มตามศักยภาพในขณะที่ประเทศมั่นคง เพราะสังคมดีและเศรษฐกิจดีก

 

ข้อควรรู้เมื่อเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

  1. การเติบโตของเด็กกินนมแม่ จะแตกต่างกับเด็กกินนมผสม ทั้งนี้ เด็กที่ได้กินนมแม่อย่างเหมาะสม จะเติบโตเร็วในช่วงแรก โดยเฉลี่ยประมาณ 6 เดือน จากนั้น การเติบโตของเด็กกินนมแม่ จะช้ากว่า เด็กที่กินนมผสม
  2. แม่ทุกคนมีปริมาณน้ำนมมากพอที่จะเลี้ยงลูก อย่ากังวลหากแม่บีบน้ำนมไม่ออกใน 2-3วันแรกหลังคลอด เพราะในระยะนี้น้ำนมแม่ยังมีปริมาณไม่มากนัก แต่จะมีมากพอสำหรับลูก ขอเพียงแค่ คุณแม่ตั้งใจเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ เชื่อมั่นว่าตนเองต้องมีน้ำนมพอ ทำตัวเองให้ผ่อนคลายไม่เครียด พยายามอดทนต่อความเหนื่อยที่ให้ลูกดูดนมทุก 2-3 ชั่วโมง อดทนต่ออาการเจ็บหรือเสียวมดลูกขณะลูกกำลังดูดนม เพราะฮอร์โมนออกโตซินที่ช่วยเพิ่มสัญชาตญานความเป็นแม่จะส่งผลให้มดลูกหดตัวเช่นกัน
  3. เทคนิคสำคัญ สู่ความสำเร็จของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ คือให้ลูกดูดเร็ว โดยให้ลูกดูดทันที่ในห้องคลอดดูดบ่อยทุก 2-3 ชั่วโมง ดูดถูกวิธี คือปากลูกงับไม่ถึงลานนม สังเกตได้จากปากลูกจะบานคางลูกแนบหน้าอกแม่ ดั้งจมูกชิด หรือเก็บชิดหน้าอกแม่
  4. เลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียว 6 เดือนแรก ไม่ต้องกินน้ำ หรืออาหารอื่น
  5. ไม่จำเป็นต้องเช็ดถู ทำความสะอาดหัวนมก่อนให้ลูกกินนม แต่ควรจะดูว่าหัวนมตนเองมีขนาดสั้น ยาว หรือใหญ่กว่าปกติ ขณะตั้งครรภ์  เพราะหัวนมที่สั้น ยาว หรือใหญ่กว่าปกติอาจทำให้ลูกดูดนมแม่ได้ไม่ถนัด ทั้งนี้หากแม่มีความยาวหัวนม สั้นกว่าปกติ สามารถแก้ไขได้ในขณะตั้งครรภ์  เพื่อให้ลูกดูดนมแม่ได้ง่ายหลังคลอด (ความยาวหัวนมปกติ คือ 0.5 - 1เซนติเมตร)
  6. แม่ที่ติดเชื้อ HIV ไม่ควรให้ลูกกินนมแม่ เพื่อลดโอกาสการผ่านเชื้อ HIVจากแม่สู่ลูก
  7. การใช้มือบีบน้ำนมเก็บไว้ให้ลูก ดีกว่าใช้เครื่องปั๊มนม เพราะนอกจากจะสะดวก และประหยัดแล้ว จะทำให้ได้ปริมาณน้ำนมที่มากกว่าการใช้เครื่องปั๊ม
  8. โดยทั่วไป แม่ที่ให้ลูกดูดนม จะมีรูปร่างและน้ำหนักกลับมาเป็นปกติเหมือนตอนก่อนท้อง เมื่อลูกอายุประมาณ 6 เดือน ดังนั้น แม่ไม่จำเป็นต้องลดปริมาณอาหารเพื่อควบคุมน้ำหนัก แต่หลีกเลี่ยงการกินอาหารที่จะทำให้แม่อ้วนเท่านั้น

 

ข้อควรระวังเมื่อเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

  1. การเลี้ยงลูกไม่ถูกวิธี เพราะจำกัดการโต้ตอบกับเด็กไว้เพียงการอุ้มลูกมาดูดนมแม่เท่านั้น คุณแม่มือใหม่หลายท่าน จะมีความรู้สึกเป็นห่วงกลัวลูกไม่อิ่ม ดังนั้น เมื่อลูกตื่น หรือร้อง จะคอยเอาลูกมาอุ้ม และให้กินนมแม่โดยลืมปล่อยลูกวางไว้กับเบาะเพื่อฝึกคืบ พลิกคว่ำพลิกหงาย รวมถึงไม่ได้ฝึกให้ลูกคว้าของ จับของ หรือสิ่งต่างๆรอบตัว ดังนั้นความฉลาดที่ลูกได้รับจากพ่อแม่และได้เสริมจากการกินนมแม่ เมื่อไม่ได้รับการฝึกฝน ก็จะไม่ได้รับการพัฒนาเต็มศักยภาพตามที่ควรจะเป็น ทำให้ดูเหมือนเด็กกินนมแม่บางคนพัฒนาการช้ากว่าปกติ
  2. หัวนมแตก ขณะเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ เพราะท่าอุ้มไม่ถูกวิธีขณะให้ลูกดูดนม คุณแม่ที่ให้ลูกดูดนมแม่ แล้วพบว่าต่อมา เกิดมีแผลที่หัวนม ให้ระวังว่าจะเกิดจากการให้ลูกดูดนมโดยปากลูกงับ ไปถึงลานนม ทำให้เกิดการเสียดสีของเหงือกลูก กับผิวหนังที่นมแม่ขณะที่ลูกดูดนมแม่ วิธีแก้คือ ประคองคอลูก และส่งศีรษะลูกมาให้ชิดกับหน้าอกแม่เพิ่มขึ้นเพื่อไม่ให้ปากลูกงับลานนม จะช่วยลดโอกาสการมีแผลเพิ่มที่หัวนม สำหรับผิวหนังแม่ที่เป็นแผลไปแล้วนั้น รักษาโดยเอาน้ำนมแม่มาป้ายที่แผล แล้วผึ่งให้แห้ง ทำซ้ำได้เป็นระยะ จนกว่าแผลจะหาย ไม่จำเป็นต้องใช้ยาทาหรือ ยาแก้อักเสบ

 

สิ่งที่ควรปฏิบัติในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

  1. การดูแลตัวเองของแม่ ทั้งอาหารกาย อาหารใจ การดูแลตัวเองของแม่ขณะให้นมลูกเป็นสิ่งสำคัญมาก เพราะความเหนื่อย ความหิวและความเครียด จะทำให้การผลิตน้ำนมลดลง ดังนั้น ควรกินอาหารให้ครบตามหลักโภชนาการ โดยมีปริมาณอาหารที่กินแต่ละมื้อมากกว่าปริมาณอาหารที่แม่กินก่อนท้องประมาณ 1 เท่าครึ่ง ในกรณีที่แม่น้ำหนักตัวปกติตอนก่อนท้อง (ไม่อ้วนหรือผอมเกินไป ควรกินน้ำอุ่นเป็นระยะ เพื่อเพิ่มปริมาณน้ำนม โดยอาจดื่มน้ำ 1 ถ้วย ก่อนมื้อที่ลูกจะดูดนมแม่หรือก่อนแม่บีบน้ำนม พยายามทำจิตใจให้ผ่อนคลาย ไม่เครียด ด้วยวิธีที่ตนถนัด เช่น ฟังเพลง เพื่อช่วยในการผลิตน้ำนมแม่เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
  2. บีบน้ำนมแม่เก็บไว้ ทุกครั้งที่หน้าอกคัด ในกรณีที่ลูกไม่สามารถดูดนมแม่ได้ เพื่อช่วยให้การผลิตน้ำนมแม่อย่างต่อเนื่องตลอดเวลา
  3. ฝึกการให้ลูกดูดนมแม่ ทั้งท่านั่ง ท่านอน เพื่อช่วยให้แม่ไม่ต้องทรมานกับการนั่งให้นมลูกในช่วงกลางคืน ซึ่งเป็นเวลาที่คุณแม่เองก็ง่วงเช่นกัน
  4. เอื้อโอกาสสามีเข้ามามีส่วนร่วมในการเลี้ยงลูก คุณแม่หลังคลอดส่วนใหญ่ มีแนวโน้มจะกอดลูกไว้กับตัวอยู่แล้ว ดังนั้น ในกลุ่มแม่ที่ให้ลูกกินนมแม่ จึงมีความพร้อมที่จะอุ้มลูกไว้กับอกตัวเองนานกว่าปกติ และโดยธรรมชาติของเด็กดูดนมแม่ระยะแรกจะนอนหลับสนิททันที่เมื่อกินอิ่ม ดื่มบ่อยเพราะหิว จึงควรเปิดโอกาสให้คุณพ่อเข้ามามีส่วนร่วมในการเลี้ยงลูกตั้งแต่แรก ด้วยการสัมผัสลูก พูดคุยกับลูกและเล่นกับลูก เวลาที่ลูกตื่น และรอที่จะกินเนื้อใหม่ นอกจากนี้การที่คุณพ่อเข้ามาช่วยดูแลแม่ เช่นนวดหลัง นวดคอ และนวดไหล่ จะช่วยสร้างความผ่อนคลายในตัวแม่ และพร้อมที่จะอุ้มลูกให้ดูดนมแม่อย่างไม่ย่อท้อ
หมายเลขบันทึก: 487157เขียนเมื่อ 5 พฤษภาคม 2012 19:48 น. ()แก้ไขเมื่อ 2 ตุลาคม 2012 06:06 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท