หมออนามัย ปัจจัยการเกิดภัยแล้ง


หมออนามัย ปัจจัยการเกิดภัยแล้ง

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหินซ้อน อำเภอแก่งคอย จังหวัดสระบุรี

นายอานนท์ ภาคมาลี นักวิชาการสาธารณสุข ชำนาญการ

 

ภัยแล้ง หมายถึง ความแห้งแล้งของลมฟ้าอากาศ อันเกิดจากการที่มีฝนตกน้อยกว่าปกติ หรือฝนไม่ตกต้องตามฤดูกาล เป็นระยะเวลานานกว่าปกติและครอบคลุมพื้นที่บริเวณกว้าง ทำให้ขาดแคลนน้ำดื่ม น้ำใช้ พืชพันธุ์ไม้ต่างๆ ขาดน้ำ ทำให้ไม่เจริญเติบโตตามปกติเกิดความเสียหายและความอดอยากทั่วไป ความแห้งแล้งเป็นภัยธรรมชาติประเภทหนึ่งที่เกิดขึ้นเป็นประจำทุกปี โดยเฉพาะในภาคตะวะนออกเฉียงเหนือตอนกลาง เพราะเป็นบริเวณที่มีอิทธิพลของลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้เข้าไปไม่ถึง ทำให้เกิดความอดอยากแร้นแค้น ซึ่งหากปีใดที่ไม่มีพายุเคลื่อนผ่าน ก็จะก่อให้เกิดความแร้นแค้นรุนแรงมากขึ้น อันเนื่องมาจากฝนทิ้งช่วงมายาวนาน โดยภัยแล้งเกิดขึ้นทุกปี จะอยู่ระหว่างเดือนมิถุนายน ต่อเนื่องถึงเดือนกรกฎาคม ในช่วงดังกล่าวพืชไร่ที่เพาะปลูกจะขาดน้ำ ได้รับความเสียหาย มนุษย์ สัตว์ขาดแคลนน้ำดื่มน้ำใช้ ส่งผลกระทบต่อการดำรงชีพ รวมถึงทางด้านเศรษฐกิจและสังคม ทั้งนี้ความรุนแรงจะมากหรือน้อยเพียงใด ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายด้าน เช่นความชื้นในอากาศ ความชื้นในดิน ระยะเวลาที่เกิดความแห้งแล้ง และขนาดของพื้นที่ที่มีความแห้งแล้ง

สาเหตุทั่วไปของการเกิดภัยแล้ง (ขาดแคลนน้ำ)

ปัจจัยที่ก่อให้เกิดนอกจากฝน ยังมีปัจจัยอื่นที่เป็นองค์ประกอบอีกหลายอย่าง เช่นระบบการไหลเวียนของบรรยากาศ การเปลี่ยนแปลนส่วนผสมของบรรยากาศ การเปลี่ยนแปลงความสัมพันธ์ระหว่างบรรยากาศ กับทะเล หรือมหาสมุทร ดังนั้นการเกิดภัยแล้งจึงมิใช่สาเหตุใดสาเหตุหนึ่งเพียงอย่างเดียวซึ่งพอจะประมวลสาเหตุของการเกิดภัยแล้งได้ การเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิโลกเนื่องจากสภาวะอากาศในฤดูร้อนที่ร้อนมากกว่าปกติการเปลี่ยนแปลง เนื่องจากการพัดพาของลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้การเปลี่ยนแปลงของ ความผิดปกติของตำแหน่งร่องมรสุมทำให้ฝนตกในพื้นที่ไม่ต่อเนื่องความผิดปกติ เนื่องจากพายุหมุนเขตร้อนเคลื่อนที่ผ่านประเทศไทยน้อยกว่าปกติ การเปลี่ยนแปลงการสมดุลของพลังงานที่ได้รับจากดวงอาทิตย์ เช่น การเผาพลาสติก น้ำมัน และถ่านหิน ทำให้เกิดรูโหว่ในชั้นโอโซน ผลกระทบ จากปรากฏการณ์ภาวะเรือนกระจก เนื่องจากส่วนผสมของบรรยากาศ เช่นคาร์บอนไดออกไซด์ ไอน้ำ ลอยขึ้นไปเคลือบชั้นล่างของชั้นโอโซน ทำให้ความร้อนสะสมอยู่ในอากาศใกล้ผิวโลกมากขึ้น ทำให้อากาศร้อนกว่าปกติ การพัฒนาด้านอุตสาหกรรมต่างๆ การตัดไม้ทำลายป่า ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมอันเป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่มีผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลง

 

 

 อาจสรุปสาเหตุที่ทำให้เกิดภัยแล้งได้ดังนี้

  1. การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม โดยในฤดูฝน ฝนไม่ตกตามฤดูกาล ตกน้อยทิ้งช่วง ไมกระจายสม่ำเสมอ ทำให้มีน้ำเก็บกักในแหล่งน้ำน้อย  น้ำและความชื้นในดินมีน้อย ในฤดูแล้งอากาศที่ร้อน จะทำให้สูญเสียน้ำจากการะเหยมีมาก ทำให้น้ำในแหล่งน้ำลดปริมาณลงจนถึงเหือดแห้งไป
  2. ความต้องการใช้น้ำ เพิ่มขึ้นมาก จากจำนวนประชากรที่เพิ่มมากขึ้น ความต้องการปัจจัยพื้นฐานในการดำรงชีพและการใช้ทรัพยากรจึงมีมาก ความต้องการน้ำเพื่อกิจกรรมต่างๆจึงมีมากตามไปด้วย ในขณะที่แหล่งเก็บกักน้ำมีจำกัดไม่เพิ่มขึ้นสัมพันธ์กัน
  3. แหล่งเก็บกักน้ำตามธรรมชาติและที่สร้างขึ้นเสื่อมสภาพ ตื้นเขิน ชำรุด ทำให้มีประสิทธิภาพต่ำ เก็บกักน้ำไว้ได้น้อยจนไม่สามารถเก็บกักน้ำไว้ได้ การรองน้ำฝนจากหลังคาบ้านเพื่อเก็บไว้ใช้อุปโภค บริโภคไม่สามารถทำได้ เพราะแร่ใยหินที่ใช้ผลิตกระเบื้องมุงหลังคาเป็นสารก่อมะเร็ง อีกทั้งในเขตเมืองก็จะมีฝุ่นควันจากเครื่องยนต์รถมาก
  4. แหล่งเก็บกักน้ำตามธรรมชาติและที่สร้างขึ้น มีน้อยไม่เพียงพอต่อการเก็บกักน้ำไว้ใช้ประโยชน์ ซึ่งอาจเกิด ข้อจำกัดของภูมิประเทศไม่มีลำธารน้ำธรรมชาติ หรือไม่เหมาะสมที่จะพัฒนาเป็นแหล่งน้ำ ได้รับการพัฒนาที่ไม่เหมาะสม มีขนาดเล็กเกินไป ใช้ประโยชน์ได้ไม่เพียงพอ
  5. การทำลายป่าต้นน้ำลำธาร ทำให้ไม่มีต้นไม้ ทำหน้าที่ดูดซับน้ำฝนลงสู่ใต้ผิวดิน อุ้มน้ำไว้และยึดดินให้มีความมั่นคง ก็จะขาดแคลนน้ำที่จะถูกปลดปล่อยออกมาสู่ลำธารและลำน้ำในช่วงฤดูแล้ง
  6. คุณภาพน้ำไม่เหมาะสมที่จะนำมาใช้ประโยชน์ เช่น น้ำเค็ม น้ำขุ่น เป็นสนิมสกปรกหรือเน่าเสีย่เหมาะสมที่จะนำมาใช้ประโยชน์ เช่น น้ำเค็ม น้ำขุ่ถูกต้องเหมาะสม การบุกรุกทำลายแหล่งน้ำ
  7. การขาดจิตสำนึก ในการใช้น้ำและการอนุรักษ์น้ำ เช่นน้ำไม่ประหยัด ใช้น้ำอย่างไม่ถูกต้องเหมาะสม การบุกรุกทำลายแหล่งน้ำ ที่พบบ่อย คือ การลงจับปลาในแหล่งน้ำทำให้น้ำขุ่นหรือถ้าหาก ระบายน้ำออกเมื่อจับปลา ก็จะไม่มีน้ำเหลืออีกต่อไป
  8. การวางผังเมืองไม่เหมาะสม โดยแบ่งแยกพื้นที่เพื่อทำการกิจกรรมไม่เหมาะสมสอดคล้องกับแหล่งน้ำที่นำมาใช้ประโยชน์ขาดการวางแผนพัฒนาแหล่งน้ำที่เหมาะสมไว้ล่วงหน้า
  9. การบริหารจัดการน้ำ ถ้าเกิดความผิดพลาดในการพร่องน้ำระบายน้ำ ทำให้มีน้ำเหลือเก็บกักไว้น้อย
  10. การพัฒนาแหล่งน้ำ ที่ไม่เหมาะสม โดยในระยะเวลาในช่วงต้นๆของการพัฒนาแหล่งน้ำ อาจเน้นเรื่องการเร่งรัดการพัฒนามากเกินไป โดยต้องการสร้างจำนวนที่มาก ใช้งบประมาณน้อยๆเสร็จเร็วๆเป็นการเน้นปริมาณมากกว่าคุณภาพ ทำให้จำนวนแหล่งน้ำไม่น้อยที่ไม่สามารถใช้ประโยชน์ได้เต็มที่ เช่น ขนาดเล็กเกินไปเก็บกักน้ำได้น้อย บางแห่งอยู่ไกลจากแหล่งชุมชนเกินไป

 

ปัญหาทั่วไปของการเกิดภัยแล้ง หรือการขาดแคลนน้ำนั้น เกิดจากการไม่มีหรือขาดแคลนน้ำที่มีคุณภาพดีสำหรับใช้ในกิจกรรมต่างๆ ได้แก่ การอุปโภค บริโภค การเกษตร การปศุสัตว์ การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ภาคอุตสาหกรรม การคมนาคมทางน้ำ ส่งผลกระทบทั้งทางตรงทางอ้อมต่อการดำรงชีพของประชาชน สำหรับภัยแล้ง ส่วนใหญ่เกิดจากฝนแล้งและทิ้งช่วง ซึ่งฝนแล้งเป็นภาวะปริมาณฝนตกน้อยกว่าปกติหรือฝนไม่ตกต้องตามฤดูกาล ภัยแล้ง จะเกิดใน 2 ช่วง ได้แก่

1. ช่วงฤดูหนาวต่อเนื่องถึงฤดูร้อน ซึ่งเริ่มจากครึ่งหลังของเดือนตุลาคมเป็นต้นไป บริเวณประเทศไทยตอนบน (ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลางและภาคตะวันออก) จะมีปริมาณฝนลดลงเป็นลำดับ จนกระทั่งเข้าสู่ฤดูฝนในช่วงกลางเดือนเมษายน - พฤษภาคมของ ปีถัดไป ซึ่งภัยแล้งลักษณะนี้จะเกิดขึ้นเป็นประจำทุกปี
2. ช่วงกลางฤดูฝน ประมาณปลายเดือนมิถุนายนถึงเดือนกรกฎาคม จะมีฝนทิ้งช่วงเกิดขึ้น ภัยแล้งลักษณะนี้จะเกิดขึ้นเฉพาะท้องถิ่นหรือบางบริเวณ บางครั้งอาจครอบคลุมพื้นที่เป็นบริเวณกว้างเกือบทั่วประเทศ

ฝนแล้ง หมายถึง สภาวะที่มีฝนน้อยหรือไม่มีฝนเลย ในช่วงเวลาหนึ่ง ซึ่งตามปกติควรจะต้องมีฝนโดยขึ้นอยู่กับสถานที่และฤดูกาล ณ ที่นั้นๆด้วย

ฝนแล้ง หมายถึง สภาวะการขาดแคลนน้ำของพืช (ด้านเกษตรกรรม)

ฝนแล้ง หมายถึง สภาวะที่ระดับน้ำผิวดินและใต้ดินลดลง หรือแม่น้ำลำคลองลดลง (ด้านอุทกวิทยา)

ฝนแล้ง หมายถึง สภาวะขาดแคลนน้ำ ซึ่งมีผลกระทบต่อสภาพเศรษฐกิจในภูมิภาค(ด้านเศรษฐศาสตร์)

ฝนทิ้งช่วง หมายถึง ช่วงที่มีปริมาณฝนตกไม่ถึงวันละ 1 มิลลิเมตรติดต่อกันเกิน 15 วันในฤดูฝน เดือนที่มีโอกาสเกิดฝนทิ้งช่วง สูงคือ เดือนมิถุนายนและกรกฎาคม

ลูกเห็บ หมายถึง หยาดน้ำฟ้าที่ตกลงมาในลักษณะเป็นก้อน มีเส้นผ่าศูนย์กลางระหว่าง 5-50 มิลลิเมตร (0.2-2.0นิ้ว) แต่ในบางครั้งอาจมีขนาดโตกว่าและอาจตกลงมาเป็นก้อนๆ หรือเกาะรวมกันเป็นก้อนขรุขระ ลูกเห็บมักจะเกิดขึ้นในช่วงมีพายุฝนฟ้าคะนองในฤดูร้อน ระหว่างเดือนกุมภาพันธ์จนถึงเดือนพฤษภาคม โดยเฉพาะภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

การขาดแคลนน้ำ หมายถึง ภาวการณ์ขาดแคลนน้ำ หรือ แหล่งน้ำมีน้ำไม่เพียงพอที่จะตอบสนองความต้องการของกิจกรรมต่างๆ ที่ต้องใช้น้ำ อันอาจนำไปสู่สภาวะภัยแล้งในพื้นที่ ปัญหาการขาดแคลนน้ำโดยสรุปได้แก่ การขาดแคลนน้ำใช้เพื่อการอุปโภคบริโภคหรือน้ำดื่มของคน และสัตว์เลี้ยง ทั้งในท้องถิ่นที่มีความเจริญและสำหรับราษฎรในหมู่บ้านชนบทที่อยู่ห่างไกล การขาดแคลนน้ำเพื่อการเกษตร ที่สำคัญคือการขาดแคลนน้ำใช้เพาะปลูกพืชในฤดูแล้งของท้องถิ่นต่างๆ เกือบทั่วประเทศ ซึ่งตามธรรมชาติแล้วจะไม่มีน้ำพอเพียง ยกเว้นในเขตโครงการชลประทานที่มีแหล่งน้ำสนับสนุนอย่างสมบูรณ์เท่านั้น บางปีที่แห้งแล้งเราอาจได้ยินภาคอุตสาหกรรม โดยนิคมอุตสาหกรรมร้องว่ามีน้ำไม่พอใช้ ทำให้ต้องแย่งน้ำจากภาคการเกษตรและแหล่งน้ำของชุมชน
พื้นที่ใดในประเทศไทยที่ได้รับผลกระทบจากภัยแล้ง ในประเทศไทยส่วนใหญ่มีผลกระทบต่อการเกษตรกรรม โดยเป็นภัยแล้งที่เกิดจากขาดฝนหรือ ฝนแล้ง ในช่วงฤดูฝน และเกิด ฝนทิ้งช่วง ในเดือนเมษายนต่อเนื่องเดือนพฤษภาคม พื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากภัยแล้งมาก ได้แก่บริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนกลาง เพราะเป็นบริเวณที่อิทธิพลของมรสุมตะวันตกเฉียงใต้เข้าไปไม่ถึง และถ้าปีใดไม่มีพายุหมุนเขตร้อนเคลื่อนผ่านในแนว ดังกล่าวแล้วจะก่อให้เกิดภัยแล้งรุนแรงมากขึ้น นอกจากพื้นที่ดังกล่าวแล้ว ยังมีพื้นที่อื่น ๆ ที่มักจะประสบปัญหาภัยแล้ง และในปี 2555 เกิดภัยแล้งในหลายพื้นที่เนื่องจากฝนทิ้งช่วงต้นฤดูฝนเป็นระยะเวลายาวนานกว่าปกติ ตั้งแต่เดือนเมษายน บริเวณที่ได้รับผลกระทบตะวันออกเฉียงเหนือ และตอนบนของภาคใต้ฝั่งตะวันออก   มีปริมาณฝนน้อยมาก ทำให้เกิดภัยแล้งขึ้น  พื้นที่ตั้งแต่ตอนกลางของภาคเหนือบริเวณจังหวัดพิษณุโลก ภาคกลางทั้งภาคตลอด ถึงด้านตะวันตกของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก และตลอดฝั่งอ่าวไทยของภาคใต้เกือบทั้งหมด ได้รับปริมาณฝนน้อยมาก และส่งผลให้เกิดภัยแล้ง มีรายงานว่าเกิดภัยแล้วในช่วงเดือนเมษายน พื้นที่ที่ประสบภัยเกือบทั่วประเทศ  เป็นปีที่เกิดฝนแล้งรุนแรง โดยมีรายงานว่าเกิดภัยแล้งในช่วงครึ่งหลังของเดือนมีนาคม ต่อเนื่องถึงเดือนเมษายน-พฤษภาคม 2555เนื่องจากปริมาณฝนตกลงมามีน้อยมาก ทำความเสียหายและมีผลกระทบต่อเศรษฐกิจของประเทศไทยโดยเฉพาะด้านเกษตรกรรรม และอุตสาหกรรมรวมทั้งการผลิตไฟฟ้า นอกจากนั้นยังกระทบต่อความเป็นอยู่ของประชาชนในประเทศเพราะขาดน้ำกิน น้ำใช้ บริเวณที่แล้งจัดนั้นมีบริเวณกว้างที่สุดคือ ภาคเหนือต่อภาคกลางทั้งหมด ทางตอนบนและด้านตะวันตก ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคใต้ฝั่งตะวันออกตอนบน  มีรายงานความเสียหายจากสำนักเลขาธิการป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน กระทรวงหมาดไทยว่า บริเวณที่ประสบภัยมีถึงมากกว่า 41 จังหวัด ซึ่งภัยแล้งในปีนี้เกิดจากภาวะฝนทิ้งช่วงที่ปรากฏ ชัดเจนเป็นเวลาหลายวัน คือช่วงเดือนเมษายนถึงต้นเดือนพฤษภาคม  เป็นปีที่ประสบกับภัยแล้งหนักอีกครั้งหนึ่งหลังจากที่ประสบมาแล้วโดยพื้นที่ที่ประสบภัยเป็นบริเวณกว้างใน เกือบทุกภาคของประเทศ โดยเฉพาะภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคตะวันออก และทวีความรุนแรงมากขึ้น  มีฝนตกน้อยมากในเดือนเมษายนถึงพฤษภาคม2555 ทั่วประเทศ พื้นที่ทางการเกษตรที่ประสบปัญหาภัยแล้ว เป็นปีที่ปริมาณฝนสะสมมีน้อยตั้งแต่ต้นฤดูฝน เนื่องจากมีฝนตกในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลางน้อยมาก อีกทั้งระดับน้ำในเขื่อนและอ่างเก็บน้ำต่าง ๆ อยู่ในเกณฑ์ต่ำกว่าปกติมาก กรมชลประทานไม่สามารถที่จะระบายน้ำลงมาช่วงเกษตรกรที่อยู่ใต้เขื่อนได้ ทำให้เกิดภาวการณ์ ขาดแคลนน้ำขึ้น ในหลายพื้นที่บริเวณภาคเหนือตอนล่าง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลางและภาคตะวันตก มีรายงานว่าเกิดภัยแล้งขึ้นในช่วงเดือนมีนาคมต่อเนื่องถึงเดือนเมษายน – พฤษภาคม 2555 จากภาวะที่มีฝนตกในช่วงฤดูร้อนน้อย และมีภาวะฝนทิ้งช่วงเดือนเมษายนต่อเนื่องต้นเดือนพฤษภาคม 2555 ปัญหาภัยแล้งในประเทศไทยส่งผลกระทบ กับการดำรงชีวิตของประชาชน ภัยแล้งในประเทศไทยมีผลกระทบโดยตรงกับการเกษตรและแหล่งน้ำ เนื่องจากประเทศไทยเป็นประเทศ ที่ประชาชนประกอบอาชีพเกษตรกรรมเป็นส่วนใหญ่ ภัยแล้งจึงส่งผลเสียหายต่อกิจกรรมทางการเกษตร เช่น พื้นดินขาดความชุ่มชื้น พืชขาดน้ำ พืชชะงักการเจริญเติบโต ผลผลิตที่ได้มีคุณภาพต่ำ รวมถึงปริมาณลดลง ส่วนใหญ่ภัยแล้งที่มีผลต่อการเกษตร มักเกิดในฤดูฝนที่มีฝนทิ้งช่วงเป็นเวลานาน ผลกระทบที่เกิดขึ้นรวมถึงผลกระทบด้านต่าง ๆ ดังนี้

1. ด้านเศรษฐกิจ สิ้นเปลืองและสูญเสียผลผลิตด้านเกษตร ปศุสัตว์ ป่าไม้ การประมง เศรษฐกิจทั่วไป เช่น ราคาที่ดินลดลง โรงงานผลิตเสียหาย การว่างงาน สูญเสียอุตสาหกรรมการ ท่องเที่ยว พลังงานอุตสาหกรรมขนส่ง
2. ด้านสิ่งแวดล้อม ส่งผลกระทบต่อสัตว์ต่าง ๆ ทำให้ขาดแคลนน้ำ เกิดโรคกับสัตว์ สูญเสียความหลากหลายพันธุ์ รวมถึงผลกระทบด้านอุทกวิทยา ทำให้ระดับและปริมาณน้ำลดลง พื้นที่ชุ่มน้ำลดลง ความเค็มของน้ำเปลี่ยนแปลง ระดับน้ำในดินเปลี่ยนแปลง คุณภาพน้ำเปลี่ยนแปลง เกิดการกัดเซาะของดิน ไฟป่าเพิ่มขึ้น ส่งผลต่อคุณภาพอากาศและสูญเสียทัศนียภาพ เป็นต้น
3. ด้านสังคม เกิดผลกระทบในด้านสุขภาพอนามัย เกิดความขัดแย้งในการใช้น้ำและการจัดการคุณภาพชีวิตลดลง
วิธีการแก้ปัญหาภัยแล้ง สามารถกระทำได้ดังนี้

1. แก้ปัญหาเฉพาะหน้า เช่น แจกน้ำให้ประชาชน ขุดเจาะน้ำบาดาล สร้างศูนย์จ่ายน้ำ จัดทำฝนเทียม
2. การแก้ปัญหาระยะยาว โดยพัฒนาลุ่มน้ำ เช่น สร้างฝาย เขื่อน ขุดลอกแหล่งน้ำ รักษาป่าและปลูกป่า ให้ความร่วมมือและมีส่วนร่วมมือในการจัดทำและพัฒนาชลประทาน

 

หมายเลขบันทึก: 486981เขียนเมื่อ 4 พฤษภาคม 2012 06:58 น. ()แก้ไขเมื่อ 2 ตุลาคม 2012 06:08 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท