ชีวิตที่พอเพียง ๑๕๔๗. ใช้การประเมินเป็นสารสนเทศเพื่อการพัฒนา


 

          ผมยังคงได้รับคำชื่นชมในผลงานริเริ่มสร้างสรรค์หรือวางรากฐานของสกว. จนบัดนี้ถือเป็นผลงานที่เก็บเกี่ยวผลต่อชีวิตได้ยาวนานมากและทำให้ผมหันกลับมา AAR หรือทำ reflection กับตนเองอยู่บ่อยๆว่าผลสำเร็จที่ยิ่งใหญ่ขนาดนั้นเกิดขึ้นได้อย่างไรเพราะผมไม่เคยเชื่อว่าตนเองจะสามารถทำเรื่องที่ยิ่งใหญ่มากๆได้ด้วยตัวคนเดียว

          วันที่๒๗ มี.ค. ๕๕ ฟังคำของ ศ. ดร. ณรงค์ฤทธิ์ สมบัติสมภพในการสัมมนาทางวิชาการมหาวิทยาลัยบนเวทีโลก : การบริหารจัดการอุดมศึกษาเรื่องการจัดอันดับมหาวิทยาลัยตามสาขาวิชา : ประสบการณ์จากเยอรมันโดย ศ. ณรงค์ฤทธิ์นำเสนอในหัวข้อ Evaluations and University Ranking   ท่านกล่าวว่า“คนไทยไม่ชอบถูกประเมิน”คำนี้สร้างแรงบันดาลใจให้ผมเขียนบันทึกนี้

          ผมมองว่าการประเมินเป็นการสร้างข้อมูลสารสนเทศและความรู้สำหรับการทำงานให้เกิดผลในระดับก้าวกระโดดก้าวเกินความสามารถของผู้ที่กำลังเป็นผู้ดำเนินการเพราะผู้ประเมินที่เก่งและไม่เกรงใจจะเสนอข้อมูลจากมุมมองที่ต่างออกไปจากมุมมองของผู้ทำงานช่วยให้ผู้ทำงานได้มีความรู้ความเข้าใจงาน (และผลงาน) ของตนจากมุมมองและข้อมูลใหม่ๆนี่คือสิ่งที่เกิดขึ้นสมัยที่ผมทำหน้าที่ผอ. สกว.

 

          ความสำเร็จที่สกว. เกิดจากสติปัญญา๔ประการหรือของคน๔กลุ่ม

          ๑.ของนักวิจัยสกว. ได้สร้างระบบความสัมพันธ์กับนักวิจัยที่มีความสามารถให้เข้ามาช่วยกันสร้างผลงานวิจัยเพื่อพัฒนาประเทศ

          ๒. ของบอร์ดซึ่งประกอบด้วยข้าราชการระดับปลัดกระทรวงและผู้ทรงคุณวุฒิระดับยอดของประเทศท่านมาประชุมร่วมกันคิดหาทางสร้างสกว. ด้วยตนเองไม่ส่งผู้แทน

          ๓. ของทีมบริหารสกว. ซึ่งประกอบด้วยผอ. สกว., รองผอ. สกว., และผอ. ฝ่ายร่วมกันคิดหาทางทำงานแบบใหม่ๆที่ได้ผลดีอยู่ตลอดเวลา

          ๔. ของผู้ประเมินที่เลือกมาแล้วว่าเป็นผู้มีความรู้ประสบการณ์และสติปัญญาสูงจริงๆมาประเมินผลงานเฉพาะด้านด้วย TOR ของการประเมินที่ชัดเจนและมีการจัดการให้เป็นการประเมินเพื่อพัฒนาโดยผมเข้าไปจัดการเอง

 

          เอามาเล่าไว้เพื่อชี้ให้เห็นว่าหากต้องการทำงานให้ประสบความสำเร็จยิ่งใหญ่ก้าวกระโดดต้องหา“ตัวช่วย”และหนึ่งในตัวช่วยนั้นคือผู้ประเมินภายนอกที่เข้ามาประเมินเพื่อใช้กระบวนการประเมินและผลการประเมินเพื่อการพัฒนาวิธีทำงาน

          การประเมินภายนอกจะไม่ส่งผลต่อการพัฒนาวิธีทำงานหาก TOR เน้นการประเมินได้-ตกหรือผ่าน-ไม่ผ่านและหากฝ่ายบริหารขององค์กรจัดการให้การประเมินเป็นตัวช่วยไม่เป็น

 

 

วิจารณ์ พานิช

๒๘ มี.ค. ๕๕

หมายเลขบันทึก: 486798เขียนเมื่อ 2 พฤษภาคม 2012 08:31 น. ()แก้ไขเมื่อ 31 พฤษภาคม 2012 22:58 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

 

 

- หันกลับมา AAR หรือ ทำ reflection กับตนเองอยู่บ่อยๆ ว่าผลสำเร็จที่ยิ่งใหญ่ขนาดนั้นเกิดขึ้นได้อย่างไร...เพราะผมไม่เคยเชื่อว่าตนเองจะสามารถทำเรื่องที่ยิ่งใหญ่มากๆได้ด้วยตัวคนเดียว

- ผู้นำที่ยิ่งใหญ่...เช่น ท่านอจ. ....ช่างถ่อมตนนัก... น่าเคารพยิ่งค่ะ...

- ตัวหนู .. ต้อง...กลับมาทบทวนตนเอง...และทบทวนให้มากกว่าเดิม...โดยเฉาะ...ที่เป็นจุดอ่อน...ข้อเสียของตนเอง...บ้างแล้วหละค่ะ


พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท