ลูกประและลูกจันท์..ผลไม้หายากของภาคใต้


 ลูกประเป็นลูกไม้ที่กินได้ โดยการเอามาคั่ว หรือ เอามาดอง มีมากทางภาคใต้   ในการเอามาคั่วกินนั้น  ผมจัดให้เป็นลูกนัทที่อร่อยที่สุดในโลก   แถมลูกใหญ่กินก็ง่าย   แต่ถามว่าทำไมไม่มีการส่งเสริมให้ปลูกเป็นอุตสาหกรรม 

 

ลูกมันใหญ่ขนาดเท่า Brazil nut แต่อร่อยกว่ามาก ทุกวันนี้หากินยากมาก เมื่อก่อนเคยเจอที่ตลาดสดปากเกร็ด (นนทบุรี เป็นประจำ ) 

 

 ส่วนลูกจันท์ ที่ผมพบที่ภาคใต้ (แถวพังงา) นั้น ผมเชื่อว่าเป็นสิ่งเดียวกันกับ nutmeg

 

http://en.wikipedia.org/wiki/Nutmeg

 

ซึ่งจากการสำรวจของผมเป็นเครื่องเทศที่มีราคาแพงที่สุดในโลก  เม็ดเรียก nutmeg  เนื้อป่นเรียก mace  โลละไม่น่าต่ำกว่า หมื่นบาท

 

ส่วนของไทยเราเอามาเชื่อมขาย โลละ 10 บาทกระมัง ถูกเหมือนให้เปล่า

 

ท่านอธิการบดี มวล. (นครศรีฯ) ท่านหนึ่งขอความเห็นผมว่าพื้นที่กว้างใหญ่ของมวล. ควรปลูกอะไรดี  (ธ่อ..ผมวิดวะเครื่องกลนะ)    ผมเสนอให้ท่านปลูกต้นจันท์นี่แหละ ตอนหลังดูเหมือนว่าท่านได้ให้นักวิชาการไปสำรวจแล้วสรุปว่า species ของเรา ไม่ใช่ nutmeg

 

แต่ผมเองก็ยังไม่ปักใจเชื่อนัก ในข้อมูลวิชาการ แต่เอ้า..ต่อให้ไม่ใช่คนเดียวกัน แต่ก็คงพี่น้องเกือบฝาแฝดแหละ เพราะผมจำหน้าได้แม่น เผลอๆ กลิ่น รส ในการทำเป็นเครื่องเทศอาจดีกว่า nutmeg เสียอีกก็เป็นได้

 

เมืองไทยเราถ้ารู้จักหากินกับส้มสูกลูกไม้ให้ดี ...รวยไตห่ะ แต่เจือกอยากเป็นดีทรอยด์ออฟเอเชียเสียงั้นแหละทั้งที่ตอนนี้ทำไรเป็นมั่งนอกจากลูกหาบแบกเสลี่ยงให้นายทุนต่างชาติชมวิวโลภาภิวัฒน์

 

...คนถางทาง (๑๘ เมษายน ๒๕๕๕)

ปล. ท่านอธก. ท่านนี้สงสัยหลงเสน่ห์อะไรผมสักอย่าง ตอนหลังชวนให้ผมไปทำงานด้วย ให้เลือกเอาคณบดีวิดวะ หรือ รองอธก.   แต่ผมคงไม่มีวาสนา เลยยังเป็นครูน้อยอีสานอยู่จนวันนี้

 

2) ขอมาเติมนิดว่า ท่านอธก.ท่านนี้ แม้ชื่อเสียงท่านไม่โด่งคับฟ้า แต่ผมจัดให้เป็น อธก. ที่เก่งที่สุดในบรรดาประมาณ 20 ท่านที่ได้พบปะมาแบบสนิทพอควร เสียดายคนเก่งๆแบบนี้ไม่ได้เป็นใหญ่โต....ผมพูดอะไร ท่านจดยิกไปหมด แล้วตามทุกเรื่องที่คุยกันไว้ แล้วยังกลับมารายงานผมอีกว่าทำได้ หรือไม่ได้อย่างไร

 

คำสำคัญ (Tags): #ลูกประ#ลูกจันท์
หมายเลขบันทึก: 485438เขียนเมื่อ 18 เมษายน 2012 12:11 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 00:58 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (12)

ผมเห็นด้วยกับบันทึกนี้ของอาจารย์เต็มที่เลยครับ ลูกประผมกินเป็นประจำตอนเด็กๆ ครับ แต่ไม่ได้กินมาเป็นสิบปีได้แล้วครับ ส่วนลูกจันท์นี่กินบ่อยกว่าลูกประครับ ผมคิดว่าลูกจันท์คือสายพันธุ์หนึ่งของ nutmeg แน่ๆ ครับ เพียงแต่ว่าอาจจะต่างกันเล็กน้อย (ความต่างประมาณว่าเหมือนทุเรียนบ้านกับทุเรียนหมอนทอง ทางชีววิทยาเขาเรียกว่าอะไรก็ไม่แน่ใจครับ)

ผมมีต้นจันท์อยู่ต้นหนึ่งที่บ้านครับ ปลูกเท่าไหร่ก็ไม่ขึ้นครับ ปลูกมาสองปี สูงขนาดสองฟุตได้ครับ ท่าทางจะปลูกยากเหมือนกันครับ

ลูกประที่เขาบันทัดยังหาได้อยู่ ส่นลูกจัน(พังงา) บ้านผม ผมยังไม่เห็นครับท่าน

เอ..ท่านวอญ่าครับ ผมว่าผมเจอที่พังงานะครับ (ตลาดสดในเมือง) มีทอดสดๆ ให้กินเลย (แต่ผมเริ่มไม่มั่นใจซะแล้ว ว่าจะเป็นพัทลุงหรือเปล่า)

สำหรับลูกประ ตลาดจตุจักรก็เคยมีครับ ผมเจอทีไรเหมาหมดร้านแทบทุกที่ ก็ประมาณ 10 โลละครับ โลละ 200 (เมื่อสัก 5ปีก่อน) นอนกินเล่นทั้งปี (ไม่แจกใครด้วย..งก)

ค้นไปค้นมา มาเจอเรื่องลูกประใน gtk นี่เอง จุดใต้ตำตอ อิอิ

http://www.gotoknow.org/blogs/posts/131307?

รบกวนอาจารย์ใส่หมายเลข 131307 ในช่อง "บันทึกที่เกี่ยวข้อง" นะครับ แล้วระบบจะทำลิงก์หากันระหว่างบันทึกอัตโนมัติครับ

ท่าน ธวัชชัยครับ ทำตามที่ร้องขอแล้วครับ ตอนก่อนๆ ผมไป cop url มาแปะ มันไม่รับ ผมก็เลยต้องใช้วิธีนี้ เพิ่งรู้ว่าเอาเฉพาะตัวเลขสุดท้ายเท่านั้น แล้วถ้ามีมากๆ ใส่ comma ได้ไหมครับ

ถ้ามีหลายบันทึกก็เว้นระหว่างตัวเลขด้วยช่องว่างได้ครับ

ผมคิดว่าส่วน user interface ไม่ค่อยสื่อเท่าไหร่ครับ เดี๋ยวทีมงานจะปรับปรุงให้ใส่ได้ง่ายขึ้นนะครับ

ต้นประที่มันที่โตเต็มที่มีขนาดใหญ่มากครับ ขนาด 3 คนโอบสบายๆ ผมไปเห็นที่นครฯ แต่จำตำแหน่งที่ไม่ได้เสียแล้ว ลูกดกมาก เป็นลุกไม้ที่อร่อยที่สุดเท่าที่เคยกิน น่าศึกษา หาข้อมูล แล้วทำเป็นอุตสาหกรรม เพราะคนฝรั่งเขาชอบกินนัทมาก เสียดายก่อนตายพวกนี้คงไม่เคยได้กินลูกนี้...เฮ้อ..เกิดมาเป็นคนไทยนี้แสนดี มีโอกาสอะไรมากกว่าใครเขา แต่ทำไหม.....

ลูกประ ...ชอบเช่นกัน อร่อยและมันค่ะ.. เวลาสอนพิษวิทยา ก็เคยถามเด็กๆ เมื่อยกตัวอย่างสารพิษจากธรรมชาติ จากพืช ในท้องถิ่นเช่น ลูกประ ก็มักจะไม่รู้จัก เพราะว่าเมล็ดประดิบๆ มีสารพิษ (คล้ายๆมันสำปะหลังที่มีไซยาไนด์ในรูป cyanogenic glycoside กินสดๆก็เป็นอันตราย) ภูมิปัญญาที่สั่งสมมาบอกว่า จะต้องเอามาคั่ว หรือ หมักดองเพื่อลดความเป็นพิษ เช่นเดียวกับ ผักหนาม ผักเสี้ยนที่ต้องลดสารพิษก่อน ด้วยการดอง หรือทำให้สุกก่อนกิน

ต้นประ ที่ได้สัมผัสและรู้จัก จะพบได้มากในป่าดิบชื้น แถบเขาหลวง นครศรีธรรมราช เวลาไปเที่ยว แถวคีรีวงศ์ หรือเวลาเดินทางขึ้นไปเขานัน เขาหลวง- กรุงชิง ขณะรถไต่ขึ้นเขาแถบๆนั้น ในช่วงที่ต้นประ แตกใบอ่อน จะมีสีแดง สวยงาม มีเทศกาลวันประแตก” เพื่อเก็บลูกประที่แตก ออกมาคล้ายๆกับเมล็ดยางพาราที่แตกจากเปลือก จัดเป็นงานประจำท้องถิ่น (ซึ่งพลาดทุกที ทั้งที่อยากจะไปร่วมกิจกรรม คงสนุกดี) ถ้าไม่ถูกเก็บไป ลูกประที่หล่นมาก็จะงอกเป็นต้นอ่อนใต้ต้น ตามประสา “ลูกไม้หล่นไม่ไกลต้น”

ส่วนลูกจันทน์ ก็เห็นด้วยกับ อาจารย์ทั้งสองท่าน ที่ชุมพร ก็เป็นแหล่งที่ขึ้นได้ตามธรรมชาติ ปลูกและเจริญได้ดีเช่นกัน ที่บ้านในสวน ก็ปลูกไว้เชยชมหนึ่งต้น เพราะเห็นว่าเป็นไม้หายากขึ้นทุกวัน เอาไว้ให้คนรุ่นถัดไปได้รู้จัก
เท่าที่คุ้นเคย เล่น ปีนต้นจันทน์ เก็บดอกจันทน์ตั้งแต่เด็กๆ ต้นจันทน์ใช้ได้ทั้งดอก ผล และเมล็ด เป็นส่วนประกอบในเครื่องเทศและสมุนไพร ส่วนที่มีราคามากมีคุณค่าทางสมุนไพร ก็คือส่วนเยื่อที่หุ้มเมล็ด มีสีแดง (ชาวบ้านเรียกว่า รก ซึ่งมีน้อยมาก) ส่วน nutmeg ที่มีระบุไว้ในสูตรอาหารของฝรั่ง ก็เห็นเค้าใช้เมล็ดลูกจันทน์ ฝนๆบน grater ให้เป็นผงๆ (ใช้นิดหน่อย พอให้มีกลิ่นหอมเนื่องจากมีสารหอยระเหย) ตอนแรกคิดว่าเป็นสายพันธุ์ชนิดเดียวกันเช่นเดียวกับ คนถางทาง แต่ก็ไม่ทราบแน่ชัดค่ะ

เมื่อตอนเย็นผมเดินไปดูต้นจ้นทน์ที่ขุดออกมาใส่กระถางไว้ (เพราะหมดหวังว่าจะโตและปลูกต้นอื่นแทนที่ไปแล้ว) คิดว่าพรุ่งนี้จะลองเอาลงดินอีกรอบครับ คราวนี้จะลองบำรุงให้เต็มที่ครับ

ที่บ้านมีต้นประค่ะ (นครศรีธรรมราช) แต่ต้นจันน์ไม่รูจักค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท