ปัญหาเล็กหรือใหญ่ แก้ไขได้เพียงใส่ใจ


มีผู้ป่วยหลายประเภท ที่มารักษาที่โรงพยาบาล  ปัญหาของผู้ป่วยล้วนแตกต่างกันไป หากเราจะเพียงรักษาโรคก็คงจะไม่จบ เราคงต้องรักษาคนด้วย  จากการปฏิบัติงานที่แผนกผู้ป่วยนอกนั้น  มีผู้ป่วยอีกกลุ่มหนึ่งที่มีจำนวนไม่น้อย เลยที่ ต้องพบแทบทุกวัน นั่นคือผู้ป่วยติดเตียง  ได้แก่ ผู้ป่วยโรค CVD ( Cerebrovacular disease ) ผู้ป่วยประเภทนี้ถือว่าเป็นผู้ป่วยเรื้อรังที่น่าสงสารทีเดียว  มีภาวะเครียดทั้งผู้ป่วยและผู้ดูแล  เมื่อน้ำท่วมใหญ่ ที่ พิมาย ปี 2553 นั้น ในระหว่างที่รถทหาร วิ่งรับส่งคน ชาวบ้านและเจ้าหน้าที่มาปฏิบัติงานที่ รพ.พิมาย มีญาติผู้ป่วยวิ่ง มาตามรถบอกมีผู้ป่วยหนักให้เข้าไปรับหน่อย ขณะนั้นมีพี่พยาบาลแผนกผู้ป่วยนอก  และน้องผู้ช่วยกลับมาจาก การแจกยาผู้ป่วยเบาหวานที่ไม่สามารถมารับยาที่ รพ.ได้  ทหารรีบไปรับผู้ป่วย  ทันทีที่ขึ้นมาบนรถ  พี่พยาบาลสังเกตเห็นผู้ป่วย หายใจเหมือน หยุดหายใจ ปากเขียว  พี่พยาบาลสวมวิญญาณ พยาบาล EMS ขึ้น กดนวดหัวใจ มาจนถึงโรงพยาบาล  แต่ไม่ทัน ผู้ป่วยเสียชีวิตแล้ว  สาเหตุการเสียชีวิตยังเป็นข้อกังขา แพทย์เชิญญาติคุย ญาติไม่ติดใจ  แต่พยาบาลติดใจ ทำอะไรไม่ได้  คือพบตังค์เหรียญ ในปากผู้ป่วย  มันเข้าไปอยู่ได้อย่างไร ในเมื่อผู้ป่วยเคลื่อนไหวไม่ได้ เป็นผู้ป่วยติดเตียง  มีแผลกดทับ บริเวณก้นขนาดใหญ่  ขยับร่างกายไม่ได้ได้เพียงลืมตา หลับตา เท่านั้น 

       ทุกครั้งที่ฉันเห็นคนไข้ติดเตียงมาโรงพยาบาลฉันจะพยายามเข้าไปดู และถามญาติทุกครั้งในเรื่องความลำบากในการดูแลผู้ป่วยติดเตียง  ฉันกลัวประวัติศาสตร์จะซ้ำรอย  ที่พบปัญหามากคือ การเกิดแผลกดทับในผู้ป่วยประเภทนี้ มันเลี่ยงลำบากจริงๆ  เพราะญาติเองต้องทำมาหากิน  จะให้มารอนั่งพลิกตะแคงตัวผู้ป่วย ทุก 2 ชม. คงอดตายกันทั้งบ้าน  ประกอบกับได้ทำวิจัยร่วมกับคุณหมอพีรวัฒน์   ลิ้มมหาคุณ  ศัลยแพทย์ โรงพยาบาลพิมาย  พบว่า ปัญหาการเกิดแผลกดทับจริงๆแล้ว ไม่ได้เป็นปัญหาที่โรงพยาบาลแต่ เป็นที่บ้านผู้ป่วย เอง คุณหมอก็เลยให้ไปคิดนวัตกรรมในการดูแลผู้ป่วยที่บ้าน  ตอนนี้ยังคิดไม่ออก  ... จะรอให้คิดออก คงเกิดแผลกดทับทั้งอำเภอแน่  จึงลองทำแก้ขัดไปก่อน ก็เห็นใน gotoknow นี่แหล่ะที่หลายๆที่ทำโดยใช้ลูกโป่งใส่น้ำ รอง แต่ชลัญธร  ไม่มีงบมากมายขนาดนั้น  ก็เลยลองทำเล็กๆ ให้ผู้ป่วยสามารถทำไว้ใช้เองได้ เปลี่ยนง่ายใช้สะดวก 

   เบาะรองป้องกันแผลกดทับ by Chalunthorn

   อุปกรณ์

  1.  ผ้า หน้ากว้าง 60 จำนวน 1.5 เมตร  ราคา ประมาณ 75 บาท

  2. ลูกโป่ง แบบยาว  ( ไม่ทราบเหมือนกันว่าเรียกอะไร )

  3. น้ำ

เมื่อได้อุปกรณ์ครบ ก็จัดการใช้ความสามารถในการเย็บผู้  อีกอย่างใช้จักร ให้เป็นประโยชน์ อุตสาห์ขอตังค์สามี ซื้อ ตั้ง 2 หมื่นกว่าบาท  ต้องมาทำประโยชน์ ให้คุ้ม  เย็บผ้าให้เป็นช่องพอใส่ลูกโป่งได้  ความยาวตามผ้า อาจไม่ถึงกับเต็มเตียง  เพราะผู้ป่วยประเภทนี้ ส่วนใหญ่  ข้อติด  นอนหดเหลือตัวนิดเดียว และปัญหาของผู้ป่วยส่วนใหญ่อยู่ที่ก้นมากกว่าจุดอื่น  จากนั้นลำลูกโป่งไปใส่น้ำวิธีใส่ง่ายมาก เปิดน้ำจากก๊อกน้ำเลย  รวดเร็วสะดวกมาก  เมื่อได้ที่ต้องการก็นำมาใส่ ในช่องผ้าที่เย็บไว้  ก็ให้ผู้ป่วยไปรองเป็นเบาให้ผู้ป่วย  เรื่องนี้ไม่ได้วิจัยหรอก แต่เห็นคนอื่นเขาทำกัน ในรูปแบบนี้  อาจไม่เหมือนเขา ซะที่เดียว เพราะเราไม่ได้ของบ  มีแต่งบส่วนตัว และ ความสามารถในการตัดเย็บเองเท่านั้น แต่ก็ได้ผลนะ ญาติผู้ป่วยชอบมาก  บอกน้ำอยู่ประมาณ 3-5 วันก็จะซึม แต่ ก็เปลี่ยนได้  เพราะวิธีการไม่ยุ่งยาก 

     ตอนนี้ชลัญธร ก็เลยกลายเป็นเจ้าแม่  รับ Consult เรื่องแผลกดทับไป ก็สนุกดี  แต่ไม่สนุกตรง เสียกะตังค์ซื้ออุปกรณ์ เองนี่แหล่ะ โดนสามีพูดประชดเล่นๆว่า ชาติที่แล้วคงเป็นลูกหลานพระเวชสันดร แน่  แต่ก็ไม่ได้ว่าอะไร  ได้ช่วยเหลือคนไข้  เขาก็ OK แล้ว

           แต่ตอนนี้ อาจารย์ พีรวัฒน์ คิด วิธีการดูแลและป้องกันแผลกดทับที่บริเวณก้น ได้แล้ว  คงต้องไปช่วยอาจารย์ วิจัยต่อ 

         เรื่องที่ “อาจารย์ คนถางทาง” แนะนำให้วิจัย เรื่อง  “การแก้ไขพาร์กินสันแบบ "ชลัญธร " คงต้องพับไปก่อน  ขอทำประโยชน์ ให้สังคมก่อนก็แล้วกันนะค่ะ

นี่แหล่ะเบาะฝีมือชลัญธร

แผลกดทับผู้ป่วย เกรด 1 ก่อนใช้เบาะ

หลังใช้เบาะ  1  สัปดาห์ แผลหายเลย  ดีใจจริง ๆ เย้ ๆๆๆๆๆๆๆ

คำสำคัญ (Tags): #แผลกดทับ
หมายเลขบันทึก: 485215เขียนเมื่อ 15 เมษายน 2012 20:39 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 14:13 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)

ขอวิจารณ์วิธีนี้ครับ 1) มันแพง 2) ยาก 3) ปสภ. ต่ำ

ใช้เปลตาข่ายหนุ่ม มีหยุ่นริมขอบแบบผม รับรองว่าง่ายกว่า ถูกกว่า มีปสภ.มากกว่า แถมการขับถ่ายก็ได้ ไม่ต้องพลิกตัว

นี่แค่เริ่มต้น อยู่ได้เป็นสามวันแน่ๆ แต่ถ้าจะให้ดี เราวิจัยชั้นสูงต่อยอด สร้างผ้าตาข่ายนาโนวิเศษขึ้นมาก็ได้ ที่มีความาหยุ่น ระบายอากาศ และถ่ายเทน้ำหนักให้กระจาย ไม่กดเป็นจุด เชื่อผมสิครับ ไม่เหลือวิสัย ทำได้แน่ๆ ที่ม.ผมมีวิศวกรรมพอลิเมอร์ ที่ทำวิจัยเรื่องเส้นใยนาโนอยู่แล้ว เรามาร่วมมือกัน ทำได้แน่ๆ ครับ

ขอบคุณท่านอาจารย์มากค่ะที่เสนอแนะ ถ้าได้อาจารย์เป็นที่ ปรึกษา คิดว่าคงสำเร็จ จะลองเขียนโครงร่างก่อนนะค่ะ ถ้าสำเร็จคงช่วยคนไข้ได้มาก

ยินดีครับ เอาโลด ยื่งคุณชธ. มีทักษะด้านการตัดเย็บอยู่แล้ว ไม่ยากเลยครับ ทำเองได้หมด

เมื่อคืนผมนอนคิดต่อ ว่าครั้งแรกๆ ควรเอาผ้าฝ้ายนุ่มๆที่มีรูห่างๆ (เพื่อระบายอากาศ) ห้อยกับขอบเตียง โดยต้องห้อยด้วยยางยืด เพื่อให้เกิดการหย่นตัวให้เข้ากับสรีระได้ (กระจายน้ำหนัก) ทำเป็นแบบเตียงพับทำด้วยโครงไม้ ดังนั้นคุณชลัญธร เตรียมหาช่างไม้ฝีมือดีไว้ได้เลยครับ หาเอาจากพวกคนไข้ก็ได้ จากนั้นเราต้องมาออกแบบมุมเอียงของช่วงต่างๆ เพื่อให้เข้ากับสรีระ เพื่อการกระจายน้ำหนัก จากนั้นต้องออกแบบรูเจาะสำหรับการขับถ่ายให้ดี ไม่ให้เกิดการกดทับตรงริมขอบอีกด้วย

เตียงนี้ถ้าทำสำเร็จ ถ้าจดสิทธิบัตรทำขายได้ทั่วโลก รวยไม่รู้เรื่องครับ ถ้าแจกฟรีก็จะได้บุญมหาศาล อิอิ แล้วแต่จะเลือก

การเกิดแผลกดทับนั้นผมเดาว่า นอกจากการกดแล้วยังมีความชื้นและการระบายอากาศเป็นปัจจัยด้วยแน่ๆ ดังนี้วัสดุที่ใช้ต้องมีรูพรุน เพื่อระบายอากาศด้วย

วิธีง่ายๆ อีกวิธีหนึ่งคือ ตรงบริเวณจุดกดทับนั้น เราเอาของหยุ่นๆ ที่ระบายอากาสได้ดีไปรองไว้ ก็น่าช่วยได้นะครับ คือไม่ต้องไปสร้างเตียงใหม่ให้ยุงยาก โดยไอ้ของหยุ่นๆ ที่ว่านี้ถ้าออกแบบให้เข้ากับสรีระตำแหน่งนั้นๆ เป็นการเฉพาะก็ยิ่งดี (ซึ่งไม่ยากเลย)

เจ้าลูกโป่งที่ว่ามานั้นมันก็หย่นดีหรอกครับ แต่ระบายอากาศไม่ได้ อาจเกิดแผลจากเชื้อราได้ เนื่องจากเหงื่อหยด ทำให้ชื้น ยิ่งเมืองเราอากาศร้อนชื้นอีกด้วย

มาชื่นชม อาจารย์ กับศิษย์ ร่วมด้วยช่วยกันคิดค้นพัฒนาต่อยอด เำพื่อคุณภาพการดูแลคะ

ว้าวันนี้สนทนากับอาจารย์ไม่สะดวกอยู่ เวรค่ะ เคยทบทวนการดูแผล pressure sore นี่ เขาบอกว่าเตียงน้ำ หรือเตียงลมนี่มีประสิทธิภาพ ในการป้องกัน pressure sore ได้ดี แต่ปัญหาคืราคาแพง ระดับรากหญ้าๆม่มีปัญญาแน่ๆ ขนาดที่ รพ.ยังมีไม่กี่เตียง ก็เลยมีหลายๆคนพยายามคิดหาวิธีที่จะพอใช้แทน 2 อย่างนี้ได้ในราคาบ้านๆ แต่ถ้าถาม ว่า ทำแล้ว OK มั๊ย อย่างของโจ้ทำก็ว่ามันไม่ค่อย O.K แต่ก็เอาละว้าดีกว่าไม่มี แต่อาจารย์มาให้ไอเดีย โจ้ว่าเข้าท่าค่ะ "เตียงอากาศ" design by คนถางทาง เข้าท่านะอาจารย์ อ้าวไม่ได้พูดเล่นนะนี่ เพลอๆจะเป็นนวัตกรรมที่ทำง่ายก็ได้ใครจะไปรู้ ต้องเดินหน้าศึกษาแล้ว

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท