การบริหารความเสี่ยง : การป้องกันการพลัดตกหกล้ม (1)


การหกล้มป้องกันได้
  • ในบรรดาความเสี่ยงทั้งหมด  ความเสี่ยงหนึ่งที่ต้องเฝ้าระวังคือเรื่องการพลัดตกหกล้มเพราะถ้าเกิดหกล้มแล้วอาจเกิดภาวะแทรกซ้อนและผลกระทบ ตามมามากมายทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ สังคม เกิดการบาดเจ็บ กังวลใจ กลัว อาจต้องอยู่โรงพยาบาลนานขึ้น ภาระการดูแลมากขึ้น เสียความมั่นใจกับทีมผู้ดูแล

 

       มีปัจจัยหลายอย่างที่ทำให้ผู้ป่วยจิตเวชเสี่ยงต่อการหกล้ม เช่น

       1. ปัจจัยภายใน เช่น อายุ , ยาทางทางจิตเวชที่ได้รับและสภาวะความเจ็บป่วย

  •  วัยสูงอายุ   เนื่องจาก สายตาไม่ดี  หูตึง การทรงตัวไม่ดี กล้ามเนื้อไม่แข็งแรง อ่อนเพลีย                
  • การได้รับยาทางจิตเวช  ที่มีผลข้างเคียงคือ กล้ามเนื้อแข็งเกร็ง  นั่งไม่ติดที่ กระวนกระวาย ตาพร่า ง่วงซึม แขนขาอ่อนแรง เดินเซ ความดันโลหิตต่ำเมื่อเปลี่ยนอิริยาบท               
  •  ผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาด้วยไฟฟ้า หลังทำรู้สึกมึนงง สับสน
  •  ผู้ป่วยเพ้อ(Delirium)เช่นผู้ป่วยที่หยุดสุราแล้วเพ้อ หูแว่ว ประสาทหลอน เดินเซ ควบคุมตัวเองไม่ได้
  •  ผู้ป่วยสมองเสื่อม งง  เดินไม่มีจุดหมาย จำอะไรไม่ได้
  •  อื่นๆ เช่นผู้ป่วยสมาธิสั้น ไม่อยู่นิ่ง มีอาการทางจิตเช่นมีเสียงสั่งให้หกล้ม ฯลฯ

 2.  ปัจจัยภายนอก

  • สิ่งแวดล้อม เช่นที่ต่างระดับ , แสงสว่าง ,พื้นลื่น, มีสิ่งของวางกีดขวางทางเดินฯลฯ
  • คุณภาพการเฝ้าระวัง 

         ทางหอผู้ป่วยจิตเวช  โรงพยาบาลศรีนครินทร์ ได้เริ่มทำโครงการพัฒนางานเรื่องการป้องกันการหกล้มในหอผู้ป่วยจิตเวชขึ้นตั้งแต่ปี 2543  โดยปัจจุบันยังคงทำCQIต่อ เป้าหมายเพื่อลดอุบัติการณ์หกล้ม

        ทุกครั้งที่มีประชุมตึกในแต่ละเดือนมีการนำเสนอเรื่องนี้และKMทุกครั้ง ในแต่ละครั้งหาแนวทางการดูแลเพิ่มเติม ครอบคลุม  ในรายที่เกิดอุบัติการณ์ ได้นำมา ทำRoot cause analysis หารากเหง้าของปัญหา หาแนวทางป้องกัน นำไปคุยกันในที่ประชุมทีมนำ  (clinical lead team) ของจิตเวช

         สิ่งที่ได้จากการพัฒนางานคือ มีคู่มือป้องกันการพลัดตกหกล้ม  มีขั้นตอนการปฏิบัติในการดูแลผู้ป่วยที่เสี่ยงต่อการหกล้ม   เจ้าหน้าที่มีแนวทางในการปฏิบัติในการดูแลผู้ป่วยไม่ให้หกล้มเป็นแนวทางเดียวกัน ที่สำคัญอุบัติการณ์หกล้มลดลง

        ในปี 2543 ได้ทำ Check List ผู้ป่วยเสี่ยงต่อการหกล้มขึ้น 

       Check List ผู้ป่วยเสี่ยงต่อการหกล้ม (ทำขึ้นเมื่อปี2543) Check list นี้มาจากการระดมสมองของบุคลากรในตึก มีข้อใดข้อหนึ่งถือว่าเสี่ยง

        1. ผู้ที่มีอาการทางจิต  ควบคุมตัวเองไม่ได้                                 

        2.ผู้สูงอายุ  (อายุมากกว่า 60 ปี)                                           

        3. ขาอ่อนแรง  เดินลำบาก                                                   

        4. วุ่นวาย  ไม่อยู่นิ่ง เดินเกือบตลอดเวลา                                   

        5.สับสน  เพ้อ (Delirium)                                                   

        6. มีอาการหลงลืม (Dementia)                                              

       7.ได้รับการรักษาด้วยไฟฟ้า                                                 

       8. ได้รับยาฉีดเพื่อสงบระงับ                                                    

       9. ได้รับยาทางจิตเวชที่เสี่ยงต่อการหกล้ม  คือ Antianxiety เช่น Valium , Ativan  Mood stabilize เช่น Carbamazepine   Antidepressant เช่น Amitriptyline  Antipsychotic drug เช่น chlopromazine , Hadol                            

      10. มีปัญหาสายตา  เช่น ตาพร่า  ตามัว  ตาบอด

      11. มีปัญหาเรื่องการทรงตัว                                                     

      12. ได้รับยาทางจิตเวชครั้งแรก                                                 

 

    การดูแล   เมื่อผู้ป่วยเข้ามาพยาบาลประเมินภาวะเสี่ยงต่อการหกล้ม  ดูแลสิ่งแวดล้อมยกไม้กั้นเตียงขึ้นเช็ดพื้นให้สะอาด และแห้งไม่มีสิ่งกีดขวางทางเดิน ปรับระดับเตียงให้เหมาะสมจัดให้มีแสงสว่างจัดให้อยู่เตียงใกล้เคาน์เตอร์พยาบาล มองเห็นง่าย  Orientation สถานที่บ่อยๆ ช่วยเหลือ  ดูแลกิจวัตร เช่น พาเข้าห้องน้ำ ยึดตรึง (Restrain)  ถ้าจำเป็นลดการเดิน  ถ้าผู้ป่วยอ่อนแรง อาจให้นั่งรถเข็นแทนถ้าได้รับยาทางจิตเวชที่มีผลข้างเคียงที่เสี่ยงต่อการหกล้ม  และทำให้ผู้ป่วยทราบผลข้างเคียง และให้ผู้ป่วยทราบ 

       ในปี 2553 เริ่มมีการนำแบบประเมินความเสี่ยงต่อการหกล้ม Morse fall scaleมาประยุกต์ใช้ ประเมินเมื่อแรกรับ อาการเปลี่ยน ย้ายหอ และก่อนกลับบ้าน

        1. มีการหกล้มกะทันหันหรือหกล้มช่วง 3 เดือนก่อนมารพ. 

                                 (  ) ไม่ใช่ 0    (  ) ใช่ 25คะแนน

       2. มีโรคร่วมที่เสี่ยงหกล้มเช่นโรคเบาหวาน ลมชัก

                                 (  ) ไม่ใช่ 0    (  ) ใช่ 15

       3. ความต้องการการดูแล

                               (  ) เดินได้ดี/นั่งรถเข็น/ทำกิจกรรมบนเตียง 0

                               (  ) ใช้ Crutches, cane, walker15

                               (  ) มี Furniture  เช่น  external fixation 30                                    

        4. การเดิน/การเคลื่อนย้าย

                            (  )ปกติ/ทำกิจกรรมบนเตียง 0    

                            (  ) อ่อนแรง10   

                             (  ) เดินเองไม่ได้ 20                                        

         5. On IV fluid 

                          (  ) ไม่ใช่ 0     (  ) ใช่  20

         6. สภาพจิต 

                        (  ) ตัดสินใจดี รู้ข้อจำกัดของตัวเอง  0  

                        (  ) ตัดสินใจไม่ดี ไม่รู้ข้อจำกัดของตัวเอง 15              

        สรุปผล   (   ) ได้คะแนน  0-24  =   ไม่เสี่ยง (none)

                    (   ) ได้คะแนน  25-50 =   เสียงน้อย (low risk) ให้การพยาบาลตาม  Standard  Fall Prevention Interventions

                    (   ) ได้คะแนน  ≥ 51 =   เสียงสูง   (high risk)  ให้การพยาบาลตาม High  Risk  Fall  Prevention Interventions

 

     การพยาบาล   Standard Fall  Prevention  Interventions และ

                   High Risk Fall Prevention  Interventions  (**กิจกรรมที่เพิ่มจาก low Risk)

  1. จัดให้อยู่เตียงที่สามารถมองเห็นได้ง่ายเพื่อสังเกตอาการ 
  2. ทำสัญลักษณ์การระวังไว้ที่เตียง Kardex
  3. มีการสื่อสาร orientation  ให้ข้อมูลเกี่ยวกับสถานที่ ถ้าสับสนจัดออดให้ให้เรียกเมื่อจะลงเตียงและ chart  ผู้ป่วย)
  4. Patient/Family Education เรื่องโอกาสเกิดพลัดตก ลื่นล้มและการระมัดระวัง (ตามคู่มือ)
  5. มีการสื่อสารระดับความเสี่ยงให้เวรต่อไปทราบ
  6. เดิน round  ทุก2ชั่วโมง ดูแลให้สุขสบายทั้งร่างกาย อาหาร การขับถ่าย การเปลี่ยนท่า)
  7. ประเมินอาการข้างเคียงจากการใช้ยา
  8. จัดเตียงให้ต่ำสุด ใส่เบรกล้อเตียงตลอดเวลาใช้เหล็กกั้นเตียงทุกครั้ง ถ้านั่งรถเข็น เมื่อหยุดต้องล็อกล้อ
  9. ดูแลไม่ให้ มีสิ่งกีดขวางทางเดิน
  10. ดูแลให้มีแสงสว่างตลอดทางเดินไปห้องน้ำ
  11. ให้ผู้ป่วยสวมรองเท้ามีดอกยาง พื้นไม่ลื่น
  12. ดูแลให้พื้นแห้ง ติดป้ายเตือนเมื่อพื้นเปียก
  13. มีผ้าเช็ดเท้าวางหน้าห้องน้ำ/ในห้องน้ำต้องวางแผ่นยางกันลื่น
  14. ไม่ทิ้งผู้ป่วยไว้ตามลำพังในห้องน้ำ หรือห้องที่ลับตาคน
  15. มีความสม่ำเสมอในการประเมินเพื่อคัดกรองผู้ป่วยนำไปสู่การป้องกันทุกเวร**
  16. มีการทบทวนระบบการดูแลเพื่อป้องกันการเกิดซ้ำ** 

      ในผู้ป่วยเหล่านี้ต้องให้การพยาบาลแบบ  Standard  Fall  Prevention คือ ผู้ที่ Agitation/Delirium, Orthostatic hypotension ได้ยา anticholinergic  Tricyclic SSRI  phenytoin; gabapentin ได้ยา  benzodiazepines  antipsychotic ผู้ที่มีปัญหาการมองเห็น  ผู้ป่วยที่ได้ยาจิตเวชในขนาดสูง  ผู้สูงอายุ

        ต่อมาในปี 2554 ได้เริ่มใช้แบบประเมิน   Edmonson Psychiatric Fall Risk Assessment  แทน Morse fall scale ซึ่งเฉพาะเจาะจงในผู้ป่วยจิตเวชมากกว่าโดยค้นคว้า แปลและปรับมาใช้ (ภาวะเสี่ยงต่อการหกล้มคือคะแนน 90  คะแนนขึ้นไป)

1.อายุ     

  •        น้อยกว่า 50   = 8 คะแนน 
  •        51-79 10  =10 คะแนน
  •        ≥ 80 26    = 26 คะแนน

2 .สภาพจิต    

  •         รู้ตัวดี / ทราบเวลา=  -4 คะแนน
  •         กระวนกระวาย/วิตกกังวล   = 12  คะแนน
  •         สับสนบางครั้ง = 13 คะแนน
  •         สับสน/ไม่ทราบวันเวลาสถานที่= 14  คะแนน

3. การขับถ่าย

  •        ควบคุมการขับถ่ายได้ = 8  คะแนน
  •        ใส่สายปัสสาวะ อุจจาระ = 12  คะแนน
  •        ต้องการความช่วยเหลือ = 10  คะแนน
  •        แบบแผนการขับถ่ายผิดปกติ (กลั้นปัสสาวะไม่อยู่ปัสสาวะกลางคืน ปัสสาวะบ่อย) = 12 คะแนน

4. การได้รับยา

  •        ไม่ได้รับยา = 10 คะแนน
  •        ได้รับยาโรคหัวใจ = 10 คะแนน
  •        ได้รับยาต้านอาการทางจิต (รวมทั้งยากลุ่มคลายเครียดและต้านเศร้า)  = 8   คะแนน    
  •       ได้รัยยาPRN (ยาต้านอาการทางจิต ยาแก้ปวดในช่วง24ชั่วโมง) = 12 ให้คะแนน 

5. การวินิจฉัย

  •        Bipolar /Schizoaffective Disorder=10 คะแนน
  •        Substance abuse /Alcohol abuse = 8 คะแนน
  •       Major Depressive Disorder =10 คะแนน
  •       Dementia/Delirium=12 คะแนน

6. การเคลื่อนไหวและการทรงตัว

  •        เคลื่อนไหวได้ดี ไม่ได้ถูกจำกัดการเคลื่อนไหว=7 คะแนน 
  •        ใช้อุปกรณ์ช่วยเช่นไม้เท้าWalkerรถเข็นนั่ง=8คะแนน
  •        เป็นVertigo /orthostatic hypotension/อ่อนแรง  =10 คะแนน 
  •        ต้องการความช่วยเหลือรู้ข้อจำกัดของตัวเอง  =8คะแนน
  •        ต้องการความช่วยเหลือแต่ไม่รู้ข้อจำกัดของตัวเอง=15 คะแนน

7. โภชนาการ

  •       ได้รับอาหารและน้ำน้อยใน24ชั่วโมงที่ผ่านมา = 12 คะแนน
  •       ไม่มีความผิดปกติในการรับประทานอาหาร = 0 คะแนน

8. แบบแผนการนอนใน24ชั่วโมงที่ผ่านมา

  •      ไม่มีปัญหาการนอน=8 คะแนน
  •      มีประวัติแบบแผนการนอนแปรปรวน  =12 คะแนน

9. ประวัติการหกล้ม

  •      ไม่มีประวัติการหกล้ม=8 คะแนน
  •      มีประวัติการหกล้มในช่วง3เดือนที่ผ่านมา =14 คะแนน

      คะแนนน้อยกว่าหรือเท่ากับ 90 ประเมินทุก 3 วัน คะแนนมากกว่า90 ประเมินทุกเวร

         ในปัจจุบันได้ปรับปรุงแนวทางการดูแลโดยอ้างอิงมาจากBest practice เรื่องการป้องกันการพลัดตกหกล้ม(Fall  prevention)จากสมาคมพยาบาลแห่งประเทศไทยซึ่งประกาศใช้วันที่25 ธันวาคม2552 นำมาประยุกต์ใช้ให้เหมาะกับบริบท 

แนวปฏิบัติ

        เมื่อมีผู้ป่วยรับใหม่ทุกราย    พยาบาลประเมินภาวะเสี่ยงต่อการหกล้มตามแบบประเมินที่เฉพาะเจาะจงกับผู้ป่วยจิตเวชคือ Edmonson Psychiatric Fall Risk Assessment   ภาวะเสี่ยงต่อการหกล้มคือคะแนน90คะแนนขึ้นไป   แจ้งบุคลากรในทีม   แขวนป้ายระวังหกล้มไว้ที่ปลายเตียง  แจ้งให้ผู้ป่วยทราบ  ติดป้ายระวังหกล้มไว้ที่สมุดรับส่งเวรที่สังเกตง่าย และในแฟ้มประวัติของผู้ป่วย

      ด้านผู้ป่วย 

  •  ดูแลใกล้ชิด     หากมีปัญหาในการทรงตัว ให้มีเจ้าหน้าที่ช่วยประคองเวลานั่ง ยืน หรือเดิน
  •  แต่งกายรัดกุม เสื้อผ้าไม่หลวมเกินไป หรือมีสายยาวรุ่มร่าม กางเกง ไม่ยาวจนเกินไป
  •  หลีกเลี่ยงการแหงนหน้า เพราะจะเกิดอาการหน้ามืดได้ง่าย การเหลียวซ้ายแลขวาต้องทำช้า
  • ไม่ควรเดินหรือทำอะไรด้วยความรีบร้อน ขณะเดิน ตาควรมองพื้น และไม่ควรถือของสองมือ
  •  ผู้มีปัญหาเรื่องสายตา ให้ญาตินำแว่นตามาให้  มีปัญหาการได้ยิน ให้ญาตินำเครื่องช่วยฟังมาให้
  • ไม่ควรใส่ถุงเท้าเดินบนพื้น เพราะจะทำให้ลื่นได้
  •  ติดสัญญาณเรียกไว้ที่เตียง เมื่อต้องการความช่วยเหลือ ให้กดเรียกเจ้าหน้าที่
  •  ในผู้ป่วยที่ได้รับยาทางจิตเวช      โดยเฉพาะได้ครั้งแรกอธิบายผลข้างเคียงให้ผู้ป่วยทราบและให้ระมัดระวังอุบัติเหตุ
  •  แนะนำผู้ป่วยให้ค่อยๆ เปลี่ยนท่าเวลาจะลุก จะนั่ง หรือจะยืน เพราะอาจจะทำให้หน้ามืดได้
  •  รายงานแพทย์ ถ้ามีฤทธิ์ข้างเคียงจากยามาก จนอาจทำให้ผู้ป่วยเสี่ยงต่อการหกล้ม เพื่อให้แพทย์พิจารณาปรับยาให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม
  •  การได้ยาฉีด ควรแนะนำให้ผู้ป่วยพัก ประมาณ 30-60 นาที เพื่อป้องกันความดันโลหิตต่ำ
  •  ในกรณีที่มีอาการตัวแข็ง ขาเกร็ง ช่วยดูแลกิจวัตรประจำวัน
  •  ผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาด้วยไฟฟ้า    ดูแลใกล้ชิด   เมื่อผู้ป่วยรู้สึกตัว  ช่วยพยุงลุกจากที่นอนเพื่อระวังการเซล้ม            
  •  ถ้ามีอาการสับสนมาก ควบคุมตัวเองไม่ได้ อาจจำเป็นต้องพิจารณาให้การผูกมัด
  •  ให้ญาติเฝ้าถ้าจำเป็น
  •  อธิบายผู้ป่วยให้ระวังอุบัติเหตุหกล้ม   และตะหนักถึงอันตรายจากอุบัติเหตุหกล้ม
  •  ให้คำแนะนำญาติดูแลระวังอุบัติเหตุระหว่างญาติดูแล หรือขณะพาออกนอกหอผู้ป่วย
  •  แจ้งผู้ป่วยอื่นให้คอยระวัผู้ป่วยที่เสี่ยงต่อการหกล้ม แจ้งพยาบาลเมื่อพบอาการกระวนกระวายจะลงเตียง
  •  แจ้งแพทย์ทราบ เมื่อมีอุบัติเหตุหกล้ม

    ด้านสิ่งแวดล้อม

  •  จัดเตียงผู้ป่วยให้อยู่ในที่มองเห็นได้ชัด จากเคาน์เตอร์พยาบาล
  •  จัดแสงสว่างให้เพียงพอ โดยเฉพาะในห้องน้ำควรเปิดไฟไว้ตลอด
  •  ไม่วางของเกะกะบนพื้นหรือบริเวณทางเดิน
  •  ถ้าพื้นเปียกต้องรีบเช็ดให้แห้งในทันที และต้องเช็ดสะอาด
  •  พรมเช็ดเท้าต้องยึดกับพื้น ไม่ขาดรุ่งริ่ง และไม่มีขอบสูงเกินไป จะทำให้สะดุด
  •   รองเท้าที่สวมใส่ต้องเหมาะสม พื้นรองเท้าไม่เรียบมัน และต้องมีขนาดที่พอดี ใส่ได้กระชับเท้า
  •   ห้องน้ำจะต้องมีราวจับยึด พื้นห้องน้ำไม่ลื่นและดูแลให้แห้งตลอดเวลา
  •  ถ้านั่งยองๆ  ลำบาก ควรจัดให้มีเก้าอี้นั่งถ่ายโดยเฉพาะวางบนโถส้วม
  •  ควรวางของเครื่องใช้ต่างๆ ให้เป็นที่
  •  แนะนำไม่ให้ล๊อกประตูห้องน้ำ
  • ปรับเตียงนอนให้ต่ำสุด  ยกไม้กั้นเตียงขึ้นทุกครั้ง

          ในผู้ป่วยเพ้อ ดูแลใกล้ชิดหนึ่งต่อหนึ่ง  จัดแสงสว่างให้เพียงพอ

           -เมื่อเจ้าหน้าที่ทำความสะอาดพื้น  ให้ติดป้ายเตือนทุกครั้ง

 

 

 

          มีการประเมินภาวะเสี่ยงต่อการหกล้มทุกเวร  ถ้ามีคอยระวังจนผู้ป่วยไม่มีภาวะเสี่ยงต่อการหกล้มแล้ว  เมื่อผู้ป่วยไม่มีภาวะเสี่ยงต่อการหกล้มแล้ว ให้ยกเลิกป้ายเฝ้าระวังหกล้ม เก็บ Check List ที่ประเมินภาวะเสี่ยงต่อการหกล้มไว้ในแฟ้มโดยเฉพาะ  นำมาวิเคราะห์ทุกเดือน

 

คำแนะนำที่ให้แก่ผู้ป่วยเพื่อป้องกันหกล้ม 

  •  หากมีปัญหาในการทรงตัว เรียกให้เจ้าหน้าที่ช่วยประคองเวลานั่ง ยืน หรือเดิน
  • แต่งกายรัดกุม สวมกางเกงพอดี ไม่ยาวจนเกินไป
  • หลีกเลี่ยงการแหงนหน้า เพราะจะเกิดอาการหน้ามืดได้ง่าย การเหลียวซ้ายแลขวาต้องทำช้า
  • ไม่ควรเดินหรือทำอะไรด้วยความรีบร้อน ขณะเดิน ตาควรมองพื้น และไม่ควรถือของสองมือ
  • ผู้มีปัญหาเรื่องสายตา ให้ญาตินำแว่นตามาให้  มีปัญหาการได้ยิน ให้ญาตินำเครื่องช่วยฟังมาให้
  • ไม่ควรใส่ถุงเท้าเดินบนพื้น เพราะจะทำให้ลื่นได้
  • ถ้าวิงเวียน ทรงตัวไม่ดี งดการอาบน้ำตามลำพัง
  • ผู้ป่วยที่ได้รับยาทางจิตเวช    โดยเฉพาะได้ครั้งแรกอาจมีอาการวิงเวียน หน้ามืด ให้ระวังหกล้ม
  • ค่อยๆ เปลี่ยนท่าเวลาจะลุก จะนั่ง หรือจะยืน ป้องกันอาการหน้ามืด
  • หลังได้ยาฉีดเพื่อให้อาการสงบ  ให้ผู้ป่วยนอนพัก  เพื่อป้องกันความดันโลหิตต่ำ วิงเวียน หกล้ม
  • สวมรองเท้าขนาดพอดี ใส่กระชับเท้า มีดอกยาง  พื้นรองเท้าไม่เรียบมัน
  • ควรวางของเครื่องใช้ต่างๆ  ให้เป็นที่
  • ไม่ให้ล๊อกประตูห้องน้ำ
  • เตียงนอนควรปรับให้ต่ำสุด  ยกไม้กั้นเตียงขึ้นทุกครั้ง
  • เมื่อเจ้าหน้าที่ทำความสะอาดพื้น  จะมีป้ายเตือนทุกครั้ง ให้งดเดินไปบริเวณนั้น

 

 มีการทำ Check  List  สำหรับผู้ป่วยที่เสี่ยงสูง (มีคะแนนมากกว่า90) 

  (  ) จัดให้อยู่เตียงที่สามารถมองเห็นได้ง่ายเพื่อสังเกตอาการ                

  (  ) ทำสัญลักษณ์การระวังไว้ที่เตียงและ Kardex ผู้ป่วย                          

  (  ) มีการสื่อสารระดับความเสี่ยงให้เวรต่อไปทราบ                           

  (  ) ดูแลให้ผู้ป่วยอยู่ในสายตาตลอด ไม่ทิ้งผู้ป่วยไว้ตามลำพัง                 

  (  ) ใช้เหล็กกั้นเตียงทุกครั้ง               

  (  ) ถ้าให้นั่งรถเข็นต้องใช้ผ้าคาดอกและล็อกล้อทุกครั้ง                      

  (  ) Patient/FamilyEducation                                   

 

        มีการแบ่งระดับความรุนแรงของการหกล้มใหม่เป็น5ระดับแทนการแบ่งแบบเดิมคือหกล้มรุนแรงและไม่รุนแรงและวิเคราะห์ไปตามความรุนแรงแบบใหม่ 

       ระดับความรุนแรงและผลกระทบจากตก/หกล้ม 

      A=มีสถานการณ์/สิ่งแวดล้อมที่อาจทำให้ผู้ป่วยพลัดตกหกล้ม

      B=มีสถานการณ์ที่ผู้ป่วยเกือบมีการพลัดตก/ลื่นล้มแต่สามารถช่วยเหลือไว้ได้ทัน

      C=ผู้ป่วยเกิดการพลัดตก/ลื่นล้ม แต่ไม่ได้รับการบาดเจ็บ

      D=ผู้ป่วยเกิดการพลัดตก/ลื่นล้ม และได้รับการบาดเจ็บเล็กน้อย ได้แก่มีแผลถลอก ช้ำ

      E=ผู้ป่วยเกิดการพลัดตก/ลื่นล้ม และได้รับการบาดเจ็บปานกลางได้แก่มีแผลเปิด กล้ามเนื้อฉีกขาด มีการเคลื่อนไหวบกพร่องหรืออันตรายอื่นๆที่แพทย์มีแผนการรักษา

      F=ผู้ป่วยเกิดการพลัดตก/ลื่นล้ม และได้รับการบาดเจ็บรุนแรงได้แก่กระดูกหัก มีเลือดออกในเยื่อหุ้มสมอง ศีรษะได้รับอันตรายต้องมีแผนการรักษาและทำให้เกิดการพิการชั่วคราว ต้องรักษาตัวในโรงพยาบาลนานขึ้น

     G=ผู้ป่วยเกิดการพลัดตก/ลื่นล้ม และได้รับการบาดเจ็บรุนแรงมากส่งผลให้เกิดการพิการถาวร

     H=ผู้ป่วยเกิดการพลัดตก/ลื่นล้ม และได้รับการบาดเจ็บรุนแรงมากและต้องได้รับการรักษาเพื่อช่วยชีวิต

     I= ผู้ป่วยเกิดการพลัดตก/ลื่นล้ม และเสียชีวิต

 

 ตลอดปี 2554 ไม่พบอุบัติการณ์หกล้ม

 

    จากการทำงานการพัฒนางานมาเป็นเวลา 12  ปี สามารถสรุปประเด็นที่สำคัญถึงข้อดีและสิ่งที่ต้องปรับปรุง ดังนี้

ข้อดี

  • การทำโครงการนี้มีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมบริการไปในทางที่ดีเพื่อลดความเสี่ยง บุคลากรมีความตระหนักในเรื่องนี้มากขึ้น ผู้ดำเนินโครงการมีการนำปัญหามาพูดคุยกันในที่ประชุมอย่างสม่ำเสมอ บุคลากรได้ระดมสมองหาแนวทางแก้ปัญหาอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง
  • เป็นโครงการที่ลดความเสี่ยงซึ่งสอดคล้องกับนโยบายของงานบริการพยาบาล
  • เป็นโครงการที่ทำมาอย่างต่อเนื่องนาน 10 ปี ระยะเวลาที่ยาวนานนี้แสดงให้เห็นถึงความพยายามของบุคลากรและผู้ดำเนินโครงการที่จะแก้ปัญหาเรื่องการหกล้มอย่างจริงจัง             
  •  การมีคู่มือการดูแลผู้ป่วยที่เสี่ยงต่อการหกล้ม สามารถนำมาใช้ประโยชน์ ในการให้ความรู้บุคลากรใหม่ๆ ให้ความรู้ผู้ป่วยและญาติเพื่อเฝ้าระวังเรื่องพลัดตกหกล้ม มีการแจกคู่มือและแผ่นพับให้ความรู้แก่ผู้รับบริการเพื่อให้มีความต่อเนื่องในการดูแล               

ข้อที่ควรปรับปรุงและพัฒนาต่อ 

  •  ควรมีการจัดอบรมเรื่องการดูผู้ป่วยที่เสี่ยงต่อการหกล้มทุกปีเพื่อให้บุคลากรเข้าใจมากขึ้นและมีการนำความรู้ใหม่ๆมาเผยแพร่
  • ควรคิดค้นนวัตกรรมเฉพาะเพื่อนำมาใช้ในการลดการหกล้ม
  • มีการศึกษาเกี่ยวกับลักษณะและปรากฏการณ์การหกล้มเพื่อนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อนำไปสู่การหาแนวทางในการลดความเสี่ยงต่อการหกล้ม
  • ประเมินผลการใช้แบบประเมินความเสี่ยงต่อการหกล้มและปรับตามความเหมาะสม
  • มีการสอนสุขศึกษาเป็นรายกลุ่มในญาติผู้ป่วย จัดทำสื่อวิดิทัศน์ขึ้นมาประกอบการสอน
  • หาเครือข่ายการดูแลผู้ป่วยที่เสี่ยงต่อการหกล้ม 

 

หมายเลขบันทึก: 485039เขียนเมื่อ 13 เมษายน 2012 08:27 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มิถุนายน 2012 03:25 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

ของผู้สูงอายุ ก็กำลังหาแบบประเมินที่เหมาะสม (ส่วนกลาง)

ตอนนี้ก็ใช้ของเดิมไปก่อน

หน่วยงานที่มีผู้ป่วยหลายๆ กลุ่ม ก็คงต้องปรับวิธีกันไปเพื่อหาสิ่งที่ดีที่สุด เหมาะสมกับหน่วยงานตนเอง

ขอบคุณคะพี่อุ้มที่นำมาแบ่งปัน

ขอบคุณค่ะน้องกระติก(น้ำ) แบบประเมินในผู้สูงอายุก็น่าสนใจนะคะน้องติกน้ำ งานบริการพยาบาลของเราเองก็กำลังระดมสมองสร้างแบบประเมินส่วนกลางและแนวการดูแลขึ้นมาด้วย เป็นอีกก้าวของการพัฒนา ชื่นชมค่ะ

ขอบคุณคุณหมอSukajanสำหรับดอกไม้กำลังใจค่ะ ยินดีที่รู้จักค่ะ

นางสาวสมพิศ แสงพิทักษ์

สวัสดีค่ะ  ตอนนี้หนูกำลังจะทำ R2R เกี่ยวกับการพลัดตกหกล้ม..อยากจะขอคำแนะนำจากพี่ด้วยค่ะ

สวัสดีค่ะน้องสมพิศ

ขออภัยที่ตอบช้าค่ะ

ที่ทำอยู่ในเรื่องนี้ ได้ศึกษาอุบัติการณ์หกล้มย้อนหลัง10ปีค่ะ ศึกษาลักษณะการหกล้มในหอผู้ป่วยจิตเวชที่ทำงานอยู่

ดูเรื่องเวลาที่หกล้ม สถานที่ สาเหตุที่หกล้ม ความรุนแรงของการหกล้ม อายุที่หกล้ม จำนวนวันที่หกล้มหลังเข้านอนรพ.วิเคราะห์ออกมาเพื่อหาแนวทางป้องกันค่ะ ค้นวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องมาเปรียบเทียบซึ่งทำเสร็จเรียบร้อยแล้ว

อีกเรื่องกำลังวิเคราะห์การใช้แบบประเมินEdmonsonค่ะ เก็บทุกรายที่ใช้แบบประเมินนำมาวิเคราะห์ 

หวังว่าคงเป็นแนวทางค้นคว้าได้นะคะ


ขอบคุณค่ะอาจารย์อ.นุ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท