ฝักไม้ที่กินได้ (ไม่นับถั่วและพี่น้องตระกูลนี้)


ฝักนะครับ ไม่ใช่ผล (เอ..ฝักต่างจากผลอย่างไรหนอ อธิบายยาก เช่น ฝักสะตอ แต่ลูกเนียงเนี่ย ผมว่าน่าจัดเป็น ผล นะ )  หรือว่าฝักจะมีลักษณะที่มีเมล็ดหลายเมล็ด มากกว่าสองขึ้นไป   อาจมีลักษณะยาว หรือ กลม รี ก็ได้ มีเปลือกแข็งพอควรหุ้มเอาไว้ โดยเปลือกนั้นกินไม่ได้

 

เพกา  (เอามาเผาให้หอม รสขมๆ เข้ายาสมุนไพรไทยหลายขนาน)

ขี้หูด  (อันนี้น่าเป็นฝักดอกของผักอะไรสักอย่าง สงสัยว่าดอกผักโสภณ ...ชื่อไทยว่าไรนะ ลืมแล้ว  ชาวเหนือ อีสานชอบเอามาต้มจิ้ม)

กระถิน (ไม่แน่ใจว่าตระกูลถั่วหรือเปล่า)

สะตอ  (สงสัยตระกูลถั่วแน่ๆ Legumenocea)

แค

คูณ (ฝักอ่อนนะ ก่อนมาเป็นฝักแก่ เคยลองกินดู เพราะมันน่ากินมาก ไม่เห็นตายนี่ กรอบอร่อยเสียอีก)

บัว (ฝักบัวอร่อยที่สุดที่ผมไปชิมมาทั่วประเทศแล้วคือ ที่ริมกว๊านพะเยา หอม กรอบ หวาน เสียแต่ลูกเล็กไปหน่อย)

 

นึกต่อไม่ออกแล้วครับ  ช่วยร่วมสนุกด้วยสิครับ เผลอๆ  อาจต่อยอดออกหนังสือสักเล่มในซีรีนี้ 

1)   ดอกที่แดกได้

2)   ใบ

3)   ฝัก

4)   เปลือก

5)   ราก

 

..คนถางทาง (๑๓ เมษายน ๒๕๕๕)

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 485034เขียนเมื่อ 13 เมษายน 2012 07:30 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 13:55 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (11)

กลุ่มนี้พอจะจัดเข้าพวกด้วยได้ไหม

ฝักข้าวสาร
มะรุม
มะขาม(ฝักอ่อน : น้ำพริกมะขาม)
กระเจี้ยบ
ข้าวโพด

 

นมัสการพระคุณเจ้า มะรุม เนี่ยผมลืมไปได้ไง ทั้งที่คิดไว้ก่อนหน้า

ที่เหลือน่าใช้ได้หมดครับ แต่ฝักข้าวสาร ยอมรับว่าไม่รู้จักครับ ส่วนดอกข้าวสารพอรู้เลาๆ เป็นไม้เถาดูคล้ายบอระเพ็ดใช่ไหมครับ แต่ต้นบางกว่า

ไชโย...นึกไปนึกมา นึกออกอีกฝักแล้ว ที่กินได้ด้วย คือ

ฝักฝ่าย งัย

เพราะมีการจ่ายเงินงามๆ ให้ไปซื้อผักหญ้า (และฟางด้วย) กินกันอิ่มหมีพีมัน

...สุขสันต์สงกรานต์ (นะจ๊ะ)

ต้นข้าวสารที่หน้าศาลา วัดศรีโสภณ
 

ฝักข้าวสารจากอินเตอร์เน็ท

โอ้ว!!!!! อาจารย์ คร้าบ ยังอุตส่าห์นึกได้ ....."ฝักฝ่าย"......

Happy (foraging on) Thai New Year :-)

I think botanically, ฝัก=ผล They are both seed-packaging forms.

นมัสการครับ พระมหาแล อาสโย ขำสุข

Thank you for the pictures. This is new to me.

ฝักข้าวสารของพระคุณเจ้ามหาแลนี้ผมเคยเอามาลงใน "ผักอีสานหากินยาก" แล้วครับ ทางบ้านผมเรียก ลูกสลิด แต่ดอกของมันคือดอกขจร ผมได้ยินทางแปดริ้วก็เรียกเป็น "ข้าวสาร" เหมือนกัน เป็นผลที่ผมโปรดปรานมากที่สุด แต่ผมไม่ขอเรียกว่าฝัก ตามนิยามของผมนะครับ เพราะฝักต้องมีเปลือกแข็งที่กินไม่ได้ หรือไม่นิยมกิน แต่สลิดนี้กินทั้งเปลือกครับ (ถึงจะปลอกก็คงไม่ได้)

มาบอกโยมอีกรอบว่าฝักเปลือกข้าวสาร ตอนเป็นฝักอ่อนนั้นเปลือกก็อ่อนด้วย
ต้มจิ้มน้ำพริกอร่อยดี
แต่เมื่อฝักแก่แล้วนี่ เปลือกแข็งยิ่งกว่าฝักเปลือกนุ่น ฝักเปลือกงิ้วอีกนะ จะบอกให้

ดูในภาพนี้ ฝักเขียวเริ่มแก่แล้ว ที่เห็นเขียวๆนั่น แข็งแล้วละ(เคี้ยวไม่ไหวแล้ว)
ยิ่งฝักแก่สีเื้ื้ืทา ๆนั่น แข็งมากเลยแหละ

                       
ที่มา:http://gimyong.com/talung/index.php?topic=16706.0

                      เพิ่มเติมจากบันทึกของดร.ยุวนุช เกี่ยวกับต้นข้าวสาร
                      
                      ภาพจากบันทึกดร.ยุวนุช(Yuwanuch Tinnaluck)
เจ้าของบันทึกกล่าวถึงพืชชนิดนี้ไว้ว่า "ต้นข้าวสารนี้เขามีฝักเหมือนฝักต้นดอกขจรเลยค่ะ นำไปลวกจิ้มน้ำพริก หวาน กรอบ อร่อยมาก ดอกมีกลื่นหอมอ่อนๆด้วยค่ะ"

อ้างใน : ผีเสื้อบ้านนอกที่ไปคล้ายกับผีเสื้อชื่อดังก้องโลก http://www.gotoknow.org/blogs/posts/173177?

อาตมาได้ไปดูผักขจรแล้ว ฝักขรจนี่เหมือนฝักข้าวสารมากเลยเนาะ
สรุปว่า แค่เหมือนกัน หรืออย่างเดียวกันเนี่ย

ผมเชื่อว่า อย่างเดียวกันขอรับพระคุณเจ้า ทั้งใบ ดอก ผล(ฝัก) เหมือนกันหมด แต่คงเรียกต่างกันตามท้องถิ่น ป่าหลังบ้านหน้าบ้านผมก็มีขึ้นครับ เป็น "ฝัก" ที่ผมชอบมากที่สุด อยากให้มีการปลูกเป็นพืชเศรษฐกิจแล้วทำการตลาดให้คนนิยมกินกัน

คิดคล้ายๆกันเลย
อยากให้มีการส่งเสริมสนับสนุน
พืชผักท้องถิ่นที่เริ่มจะหายากขึ้นทุกที
ช้าหมด ไม่ทันการ ไม่รู้จัุก (แต่อาจเคยกินบ้าง)

เมื่ออาทิตย์ที่แล้ว ได้คุยกับพระวัยหนุ่มเรียนมจร. 
บ้านท่านอยู่ในอำิเภอหนึ่งของจ.พิษณุโลกที่มีป่าสมบูรณ์
ถามท่านว่ารู้จักผักหวานป่าไหม ท่านตอบว่าฉันบ่อยไป

มีเยอะไหม เยอะครับ
ถ้างั้นช่วยพาผมไปเก็บเมล็ดหน่อยได้ไหม
เพราะว่าผมจะลองเพาะดูสักหน่อย จะได้ลองปลูก

ท่านตอบว่า ผมไม่รู้จักต้นผักหวานดอกนะครับ
รู้จักแต่ตอนที่ญาติโยมท่านแกงแล้ว
ใส่ถ้วยใส่จานมาถวายที่วัดครับ

เลยไม่รู้จะคุยอะไรกันต่ออีกเลย  

ผักหวานป่า มันชอบอยู่ป่าเต็งรังครับ ที่มีพื้นเป็นดินปนหินครับ ผมเคยขุดเอามาปลูก พร้อมเอาหินท้องถิ่นรองก้น ก็แกร็น แม้ไม่ตาย

แต่วันนี้เห็นว่าสามารถเพาะกันได้แล้วครับ ผักหวานบ้านปลูกง่ายกว่ามาก ชอบขึ้นใต้ร่มเงาไม้อื่น หลังบ้านผมมีอยู่สองกอแน่ะครับ

สิ่งที่คนมักไม่รู้คือ ใบผักหวานป่าแบบใบแก่นั้น กินอร่อยกว่าใบอ่อนเสียอีกครับ ผมเอามาเคี้ยงเล่นบ่อยๆ เคี้ยวไปนานๆ แล้ว หวานกรอบมากครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท