การประเมินการปฏิบัติ (Performance Assessment): ตอนที่ 2 จะใช้ rubric แบบใด ขั้นตอนการทำ rubric


การประเมินการปฏิบัติ (Performance Assessment): ตอนที่ 2 จะใช้ rubric แบบใด ขั้นตอนการทำ rubric

ท่านผู้อ่านที่รัก

ทุกวันนี้ครูทุกท่านคงเคยได้ยินและคุ้นเคยกับคำว่า Rubric กันไม่มากก็น้อย เหตุผลที่รู้จักคำนี้อาจมาจากการต้องเขียนเป็นแบบย้อนกลับบ้าง (backward design) แต่จะมีใครสักกี่คนที่สามารถสร้าง rubric ไว้ใช้ในชั้นเรียนของตน โดยส่วนตัวผมไม่การประเมินแบบ rubric นี้เลย เพราะมันมีความเป็นปรนัยเพียงพอที่จะแยกเด็กเก่งออกจากเด็กอ่อนได้ อย่างไรก็ดีวันนี้ผมจำเป็นต้องเขียนแบบ backward design ก็เลยเปิดหาข้อมูลที่เกี่ยวกับ rubric ได้เจอบทความที่ดีๆเยอะมาก ผมก็เลยตัดสินใจมานำเสนอเรื่อง rubric เพื่อให้ครูทั้งหลายได้ฝึกฝนการทำและสร้าง rubric ส่วนตัวของตนเอง วันนี้จะนำเสนอเรื่องจะใช้ rubric แบบใดและขั้นตอนการทำ rubric

4. จะเลือกใช้ rubric แบบใด Holistic หรือ Analytic

ครูทั้งหลายอาจจะงง เหมือนที่ผมเคยสงสัยว่าจะใช้ rubric แบบใด จากบทความที่ผมได้อ่าน ดูเหมือนหลายคนจะไม่ได้บอกไว้ แต่ก็มีเอกสารที่ผมอ่าน 2 บทความที่ให้แนวทางในการเลือกว่าจะให้ rubric แบบใดในการประเมินการปฏิบัติงานของนักเรียน ฉบับที่ 1 เป็นของ ส.วาสนา ประวาลพฤกษ์ (http://www.watpon. com/ journal/meaandeva.pdf ) และอีกฉบับเป็นของ Craig A. Mertler(www.learner.org/ workshops/ fl/ resources /s7_rubrics.pdfใกล้เคียง ) ได้เสนอแนะการเลือก rubric ไว้ดังนี้

                4.1 Holistic rubric เป็นการประเมินที่ทำได้รวดเร็วกว่า Analytic rubric เพราะครูและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งหมดอาจดูแค่งานหรือการปฏิบัติงานที่จบในระยะเวลาอันสั้น โดยที่การจะดูผลงานหรือการปฏิบัติงานนั้น ข้อผิดพลาดเพียงเล็กน้อยจะไม่มีผลต่อคุณภาพของผลงานหรือการปฏิบัติงาน อย่างไรก็ตาม ส.วาสนา ประวาลพฤกษ์ กล่าวว่าการประเมินแบบ Holistic น่าจะเป็นการประเมินผลงาน มากกว่าการปฏิบัติงาน และเป็นการประเมินผลแบบปลายเทอมหรือ Summative Assessment มากว่า การประเมินระหว่างปี หรือ Formative Assessment

                4.2 Analytic rubric เป็นการประเมินที่ทำได้ช้ากว่า Holistic rubric เพราะครูและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องต้องดูผลงานหรือการปฏิบัติงานเป็นส่วนๆมากกว่าที่จะดูผลงานหรือการปฏิบัติงานที่เป็นส่วนรวม ส.วาสนา ประวาลพฤกษ์ กล่าวว่าการประเมินแบบ Analytic น่าจะเป็นการประเมินการปฏิบัติงาน มากกว่าผลงาน เพราะผู้ประเมินสามารถให้การชี้แนะแนวทางในการปฏิบัติงานต่อไป เพื่อผลงานจะได้เป็นที่ยอมรับได้ และrubric แบบนี้เป็นการประเมินผลแบบระหว่างปีหรือ Formative Assessment มากว่า การประเมินปลายปี หรือ Summative Assessment

                5. การสร้าง rubric

                ในการสร้าง rubric บางท่านก็ไม่ได้บอกวิธีการสร้างไว้ แตจากเอกสารที่ผมอ่านพบว่ามีอยู่เพียงเอกสารเพียง 2 ฉบับเท่านั้นที่การสร้าง rubric เอาไว้อย่างชัดเจน นั้นคือ ส.วาสนา ประวาลพฤกษ์ และ Craig A. Mertler เท่านั้น เอกสารที่ผมจะนำเสนอต่อไป เป็นการเอาขั้นตอนการสร้าง rubric ของทั้ง 2 ท่านสังเคราะห์รวมกัน ส่วนตัวอย่างส่วนหนึ่ง ผมคิดขึ้นเองครับ

                5.1 ศึกษามาตรฐาน ตัวชี้วัดการเรียนรู้ จุดประสงค์การเรียนรู้

                5.2 กำหนดว่าจะวัดอะไร ระหว่างผลงานหรือการปฏิบัติงาน การพิจารณาว่าจะวัดอะไร ให้ดูที่มารตรฐาน ตัวชี้วัดและจุดประสงค์การเรียนรู้เป็นหลัก

                5.3 กำหนดคุณลักษณะที่จำเป็นต่อการปฏิบัติงานหรือการทำผลงาน เช่น ถ้าครูเป็นสอนวิชาภาษาอังกฤษ มีความมุ่งหมายที่จะวัด มาตรฐาน 1.2 ข้อที่ 1 ซึ่งเป็นเกี่ยวกับการพูดในชีวิตประจำวัน คุณลักษณะที่จำเป็นต่อการพูดก็มี 1. ความคล่องแคล่ว 2. สำเนียง 3. น้ำหนักสูงต่ำ 4. อวัจนภาษา 5. ความที่สามารถสื่อสารได้เข้าใจ เป็นต้น

                5.3 กำหนดจำนวนระดับ ส.วาสนา ประวาลพฤกษ์ เสนอให้มีเกรดเป็น 4 ระดับ คือ 1-4 และระดับ 0 ซึ่งหมายถึงไม่มีความพยายามหรือไม่ได้ทำงานหรือไม่มีผลงาน

                5.4 พยายามนึกถึงงานที่หรือการปฏิบัติงานที่เยี่ยมที่สุด และ แย่ที่สุด และเขียนเขียนบรรยายงานที่ดีที่สุดหรือการปฏิบัติงานที่ดีสุด และส่วนที่แย่ที่สุดก็ทำอย่างเดียวกัน อย่างไรก็ตาม ส.วาสนา ประวาลพฤกษ์ เสนอว่า ให้พิจารณาระดับ 3 ให้เป็นเกณฑ์ที่รับได้ตามมาตรฐานของหลักสูตรก่อน หมายความว่าสามารถทำได้ตามระดับที่ยอมรับ หรือสามารถปฏิบัติตามได้โดยไม่ต้องช่วยเหลือ

                5.5 กำหนดระดับ 2 เกณฑ์ที่เกือบผ่าน คือจะต้องมีการปรับปรุงแก้ไขอีกเล็กน้อยจึงจะใช้ได้ และดับ 1 ถือว่าเป็นระดับที่อ่อนที่สุด หรือแย่ที่สุด จำเป็นต้องได้รับความช่วยเหลือจากครูในการชี้แนะแนวทาง และพิจารณาระดับ 4 ว่าเป็นระดับที่สูงจนน่าพอใจ โดยนัยนี้ระดับ 1 คือระดับเริ่มต้น ระดับ 2 ระดับกำลังพัฒนา ระดับ 3 คือระดับประสบความสำเร็จ และระดับ 4 ระดับเป็นแบบอย่างได้

                5.6 กำหนดน้ำหนักของคุณลักษณะแต่ละส่วน คำสำคัญของน้ำหนักว่าจะให้คุณลักษณะใดมากหรือน้อย ให้ขึ้นอยู่กับลักษณะของงาน การปฏิบัติ และหลักสูตร เช่น การฝึกการพูดภาษาอังกฤษนอกจากจะให้พูดให้เข้าใจได้แล้ว ไวยากรณ์ก็เป็นเรื่องสำคัญ แต่ระหว่างไวยากรณ์และการพูดให้เข้าใจนั้น ไวยากรณ์มีความสำคัญน้อยกว่า ด้งนั้นน้ำหนักจึงน้อยกว่าการพูดให้เข้าใจ

                5.7 ให้รวบรวมผลงานหรือการปฏิบัติงานของนักเรียนว่าตรงตามที่กำหนดไว้หรือไม่ แต่ไม่ตรงให้พยายามปรับปรุงแก้ไขการอธิบายผลงานของนักเรียน

                5.8 ปรับปรุงแก้ไขผล rubric ของตนเองอยู่เสมอ

หมายเลขบันทึก: 484045เขียนเมื่อ 2 เมษายน 2012 18:20 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 มกราคม 2014 20:38 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

น้องครับ...เพิ่งรู้นะครับว่าอยู่ในG2K ด้วยเหมือนกัน เจ๋งมากครับ พี่กำลังต้องใช้มันในการเรียนของพี่พอดี Thanks ครับ

ยินดีครับพี่ lioness ann ถ้าพี่จะใช้ประโยชน์ได้ ก็ยินดีอย่างยิ่งเลยครับ แต่ว่าขอโทษนะครับ จากคำพูดของพี่ "เพิ่งรู้นะครับว่าอยู่ในG2K ด้วยเหมือนกัน" พี่เคยรู้จักผมที่ไหนหรือครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท