เพิ่มเสน่ห์กทม.ให้กระฉ่อนโลก


ทีไม่อยากเห็นอย่างยิ่งคือสร้างมาแล้ว มีราคาแพงเห็นแต่ฝรั่งนอนอาบแดดริมสระน้ำหรู

ช่วงกลางปี ๒๕๕๒ ผมได้เขียนข้อความถึงนักธุรกิจ นักการเมือง หลายท่าน ให้ทำโครงการสร้างสถานที่พักผ่อนริมน้ำเจ้าพระยา ความตอนหนึ่งว่า....

 

 

  • สร้างสวนสาธารณะและถนนคนเดินริมน้ำเจ้าพระยา   เมืองใหญ่ในยุโรปทุกเมืองที่ติดแม่น้ำเขาจะมีถนนคนเดินริมน้ำมีร้านค้าเก้าอี้ให้นั่งชมแม่น้ำเสมอ ซึ่งเป็นการพักผ่อนหย่อนใจที่ดีมาก ตอนกลางคืนก็มาซื้ออาหารทาน เดินเล่นได้อีกด้วย แต่เมืองไทยเราโรงแรม ร้านค้ารุกที่ติดตลิ่ง และล้ำเข้าไปในน่านน้ำเสียอีก เช่น โอเรียลเต็ล ชังกลีร่า เชอราตัน แม้กระนี้ก็ยังมีพื้นที่ว่างที่พอทำถนนคนเดินได้ โดยอาจทำเป็นหย่อมๆ หลายๆ จุด ก็ได้ เช่น โกดังร้างแถวคลองสานฝั่งธนติดกับโรงแรมฮิลตัน ยาวประมาณ 500 เมตรลึกประมาณ 100 เมตร ถ้าเอามาทำเป็นลานเดินริมน้ำ มีดาดฟ้า ร้านค้าอาหาร (ไนท์บาร์ซ่า)  จะดึงดูดนักท่องเที่ยวทั้งไทยและต่างชาติ รวมทั้งลูกค้าทั่วไปในพื้นที่  รัฐ (เช่น กทม.) อาจลงทุนร่วมกับเจ้าของที่ดิน โดยเจรจาผลประโยชน์กัน รัฐต้องรีบสำรวจทีดินริมน้ำและออกกฎหมายคุ้มครองเสียแต่บัดนี้ก่อนที่จะถูกสิ่งก่อสร้างเข้ายึดครองหมด   แถวปากเกร็ดนนทบุรีน่าเสียดาย ที่สร้างขึ้นมาเล็กน้อยแต่ไม่สมบูรณ์ กลายเป็นสลัมริมแม่น้ำไปแล้ว ว่าไปแล้วจังหวัดทุกจังหวัดที่แม่น้ำไหลผ่านก็ควรวางแผนทำเช่นนี้เสียแต่บัดนี้ เช่น ที่ตาก กำแพงเพชร เชียงใหม่ แพร่ น่าน พิษณุโลก (อันหลังนี้มีแล้ว แต่กลายเป็นสลัมไปหมด และไม่มีที่เดินริมน้ำที่กว้างพอ)

 

บัดนี้เป็นที่น่าสนใจว่า ที่ริมน้ำที่ผมได้เอ่ยถึง (ฝั่นธนระหว่างโรงแรมฮิลตันกับเพนนินซูล่า) กำลังจะได้รับการพัฒนามูลค่าลงทุนถึง 3.5 หมื่นล้านบาท นับเป็นการลงทุนด้านอสังหาร์ที่ใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ไทย นักลงทุนรายใหญ่คือสยามพิวรรธน์ ซึ่งผจก.ใหญ่คือ คุณ ธารินทร์ นิมมานเหมินทร์ ร่วมกับซีพี พอได้ยินชื่อคุณธาริณทร์ทำให้ผมเชื่อมโยงได้ว่า อาจได้ข่าวไปจากผมนี่เอง เพราะผมเอาโครงการนี้ไปเสนอทางพรรคปชป. มากอยู่ สมัยปชป. เป็นรัฐบาล (กทม.)

 

ใจจริงผมอยากให้กทม. เป็นเจ้าของโครงการมากกว่า จะได้ทำอะไรเพื่อประชาชนได้มากกว่าให้เอกชนทำเช่นนี้ แต่ถ้าเอกชนทำดีๆ ก็โอนะ เห็นว่าจะมีการทำประชาพิจารณ์ให้ประชาชนได้ออกความเห็นในการออกแบบด้วย ซึ่งผมได้เสนอไว้ในบทความก่อนๆแลว้ เช่น ...

 

พื้นที่ที่ติดดินริมน้ำ ซึ่งเป็นพื้นที่หลักนั้น ต้องทำเป็นที่สาธารณะประโยชน์ ควรเป็นที่ให้คนมาเดินเล่นมองแม่น้ำได้ มีโต๊ะเก้าอี้ให้นั่งทานอาหารที่ซื้อมาจากสวนอาหารด้านใน  ถ้าพื้นที่ไม่พอก็อาจเพิ่มพื้นที่ด้วยการยกดาดฟ้า สองชั้น สามชั้นก็ได้  ส่วนใหญ่เป็น open air ที่มองดาวเดือนได้ในยามค่ำคืน อาจมีหลังคาเลื่อนปิดได้ถ้าฝนตก บางส่วนทำเป็นห้องแอร์สำหรับคนที่ทนร้อนไม่ไหว

 

ส่วนชั้นบน ผมไม่ว่า สุดแล้วแต่แนวทางธุรกิจ แต่ควรมีศูนย์การค้าหลากหลาย รวมทั้งของฝากจากประเทศไทย  เพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยวต่างประเทศ มีสนง. ประสานงานการท่องเที่ยวบริการแขกต่างชาติครบวงจร เข้าใจว่าคงมีโรงแรม คอนโด สำนักงาน เป็นธรรมดา

 

ท่าเรือเอาไปไว้ริมๆ นะ อย่าเอามาไว้ตรงกลาง มันทำให้เสียบรรยากาศ มีเรือวิ่งรับส่งข้ามฝากกับทางฝั่งกทม. หลายจุด

 

 

อีกอย่างคือ ทำเป็นสะพานคนเดิน เชื่อมกับสีลมเสียเลย จะเป็นสะพานคนเดินข้ามแม่น้ำใหญ่แห่งแรกของโลก คนไทยทุกคนจะอยากมาเดินข้ามสะพานนี้สักครั้งในชีวิต ส่วนฝรั่งไม่ต้องพูดถึงมาเดินแน่ๆ เดินไปหยุดชมแม่น้ำไป โดยเฉพาะยามค่ำคืน จะเป็นสวรรค์บนน้ำนั่นเทียว เชื่อผมสิ

 

แถมว่า สถาปัตยกรรม ควรมีความเป็นไทย ผนวกกับความทันสมัยเป็นสากล ผสมผสานกลมกลืนให้เนียน ให้เป็นที่เลื่องลือระบือไกลถึงภูมิปัญญาของคนไทย 

ทำให้ดี กทม. จะมีเสน่ห์มาก เป็นที่เลื่องลือไปทั่วโลก ไม่ใช่ระเกะระกะน่าอับอายแบบฝั่งสีลม

ทีไม่อยากเห็นอย่างยิ่งคือสร้างมาแล้ว มีราคาแพงเห็นแต่ฝรั่งนอนอาบแดดริมสระน้ำหรู ที่คนไทยทั่วไปไม่มีสิทธิกล้ำกราย กลายเป็นพลเมืองชั้นสองในประเทศของตัวเอง เหมือนที่เห็นตามโรงแรมหรูทั่วไป (เช่น ฮิลตันและเพนนินซูลา ที่กระหนาบสองข้างของที่ผืนนี้)

 

ดังนั้นสระว่ายน้ำอาบแดดของฝรั่ง น่าจะเอาไปไว้ดาดฟ้าชั้นสี่ เอาไปแอบๆ หน่อย อย่าให้มันบาดตาคนไทยขี้อิจฉาแบบผมนัก ขอร้องมาด้วยการใช้สิทธิของคนต้นคิดโครงการนี้นะเนี่ย

 

...คนถางทาง (๓๑ มีนาคม ๒๕๕๕)

 

หมายเลขบันทึก: 483814เขียนเมื่อ 31 มีนาคม 2012 12:07 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มิถุนายน 2012 16:03 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

เบื้องหลังการถ่ายทำคือ ผมไปประชุมและนอนค้างที่รร. ฮิลตัน แล้วมองเห็นพื้นที่ว่างเปล่าผืนนี้ เห็นแล้วน้ำลายไหลแทนคนกทม. เพราะมันเป็นพื้นที่ผืนใหญ่ผืนสุดท้ายที่เหลืออยู่

(ราคาห้องมันประมาณ ห้าพัน แต่เขาลดให้ครึ่งหนึ่งเหลือ 2.5 แถมเจ้าภาพการประชุมจ่ายให้ ก็เลยมีบุญได้ไปนอนรร.ฝรั่งริมน้ำกะเขา วาสนาพลเมืองไทยอย่างเราไม่เลวเลยนิ)

ขณะนี้ศูนย์การค้า Asiatic กำลังเปิดริมน้ำเหมือนกัน ริมถนนเจริญกรุง ทำเป็นแบบจตุจักร แต่ที่ริมน้ำแคบมาก และมีการใช้งานที่ "ไม่เปิด" สถาปัตย์ทำแบบ colonial sytle (เมืองขึ้น) เข้าใจว่าคำว่า asiatic มาจากชื่อ บริษัท east asiatic ซึ่งเป็นบริษัทค้าขายของพวกเดนมาร์กในตอนโน้น

ควรมีสถานที่ให้การศึกษาอะไรในอาคารบ้าง เช่น พิพิธภัณฑ์กรุงเทพ?

สวนสาธาฯริมน้ำ (ถ้ามี) ควรออกแบบแนวคิดอย่างไร 1) ปูนโล่งๆ 2) ส่วนหย่อมแบบตกแต่ง 3) ศาลา 4) ส่วนริมคลองแบบธรรมชาติ

..น่าสน..กับปัญหาเหล่านี้...คนไทย..ชั้นสอง..ในประเทศตนเอง..ออกแบบริมน้ำ"ให้ใครเดิน"..เอาเงินใครทำ..อิอิ..(ในโรงแรมประเภทนี้..คนไทยชั้นสอง..แบบเตี้ยๆ..ยังไม่อนุญาติให้คนไทยด้วยกันที่ถูกมองแบบนอกประเภท..เข้าไปใช้บริการ..อ้ะ

การสร้างสิ่งก่อสร้างริมน้ำเจ้าพระยาปัจจุบันคงต้องใช้เทคโนโลยี่สูงและลงทุนมาก..แต่จะเป็นผลดีต่ออาคารด้านในและการป้องกันน้ำท่วมล้นตลิ่ง..ควรมีการศึกษาถึงปริมาณและกระแสน้ำที่มีการไหลแรง มากกว่า2,000-4,000ลบม./วินาที ตลอดปีมากกว่าแต่ก่อน..ทำให้เกิดแรงกระทำให้แม่น้ำกว้างและลึกกว่าเดิมอย่างไร?..ตลอดทั้งการสไลด์ของผิวดินของ กทม.สู่ปากน้ำจากภาวะน้ำท่วมต่อเนื่อง..ยิ่งมีการตัดคลองลัดต่างๆมากขึ้นรวมทั้งการเร่งระบายน้ำโดยไม่คิดถึงผลกระทบ..ก็คงทำให้ส่งผลเร็วขึ้น..

..หรือบางที ความไม่เป็นระเบียบของ กทม. อาจเป็นผลดีต่อพื้นผิว กทม.และแม่น้ำเจ้าพระยา..

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท