แก้ปัญหาเด็กติดเหล้า


แก้ปัญหาเด็กติดเหล้า

แนวทางการแก้ไขปัญหานักเรียนดื่มแอลกอฮอล์และการสูบบุหรี่

             สาเหตุ

1.บิดามารดาหรือผู้ปกครองขาดการดูแลเอาใจใส่ในการป้องกัน แก้ไขปัญหาบุตรหลานเมื่อพบว่ามีพฤติกรรมเกี่ยวกับการดื่มแอลกอฮอล์หรือสูบบุหรี่

2. บิดามารดาหรือผู้ปกครองขาดความรับผิดชอบ ไม่ประพฤติตนให้เป็นแบบอย่างที่ดีแก่บุตรหลานในเรื่องของการดื่มแอลกอฮอล์หรือสูบบุหรี่

3. บิดามารดาหรือผู้ปกครองขาดความรู้ทางด้านจิตวิทยาในการอบรมเลี้ยงดูและปกครองไม่ให้บุตรหลานประพฤติผิดเกี่ยวกับการดื่มแอลกอฮอล์หรือสูบบุหรี่

4.  บิดามารดาหรือผู้ปกครองทะเลาะเบาะแว้งกันเป็นประจำ หย่าร้างหรือแยกกันอยู่ทำให้บุตรหลานมีจิตใจว้าวุ่น สับสน จึงหาทางออกด้วยการดื่มแอลกอฮอล์หรือสูบบุหรี่

5.  บิดามารดาหรือผู้ปกครองขาดความร่วมมือกับทางโรงเรียนในการอบรมสั่งสอน กวดขันบุตรหลาน

6.  นักเรียนมีค่านิยมที่ไม่ถูกต้องและมีพฤติกรรมทำตามกลุ่มเพื่อนด้วยคิดว่าการดื่มแอลกอฮอล์และสูบบุหรี่ทำให้เป็นสุภาพบุรุษหรือแสดงลักษณะความเป็นชายให้สังคมรู้จัก

7.  นักเรียนเอาแบบอย่างตามกลุ่มเพื่อน โดยเฉพาะวัยรุ่นซึ่งมักใช้กลุ่มอ้างอิงในแง่ความคิด ความรู้สึก การกระทำ ทั้งนี้เพราะนักเรียนต้องการเป็นส่วนหนึ่งในกลุ่มและต้องการการยอมรับจากกลุ่ม

8.   นักเรียนอยู่ในช่วงวัยรุ่นกำลังมีความกระตือรือร้นอยากรู้ อยากลองอยากมีประสบการณ์ หากได้รับการสนับสนุนจากเพื่อนร่วมรุ่นมีผลต่อการดื่มแอลกอฮอล์หรือสูบบุหรี่ครั้งต่อไป หรือรสของแอลกอฮอล์และบุหรี่ถูกรสนิยมของเขายิ่งทำให้มีแนวโน้มในการดื่มแอลกอฮอล์หรือสูบบุหรี่เพิ่มมากขึ้น

9.    นักเรียนประสบปัญหาไม่มีทางออก มีความกลัดกลุ้ม ตึงเครียดทางอารมณ์ เกิดความคิดวุ่นวายใจ หวังจะระงับอารมณ์เหล่านั้นด้วยการดื่มแอลกอฮอล์หรือสูบบุหรี่

10. นักเรียนอยู่ในชุมชนแออัดมาก ๆ มีแนวโน้มที่จะดื่มแอลกอฮอล์หรือสูบบุหรี่

11. นักเรียนเป็นปฏิปักษ์ต่อสังคม มองภาพสังคมในแง่ลบ ไม่เป็นมิตร ไม่ได้รับความ

เป็นธรรมต่อตัวเขาและครอบครัว   จึงแสดงพฤติกรรมในทางตรงกันข้ามกับความต้องการของสังคมเพื่อตอบโต้และประชดสังคมด้วยการดื่มแอลกอฮอล์ สูบบุหรี่หรือใช้สารเสพติด

 แนวทางการช่วยเหลือแก้ไขของผู้ปกครอง

           1. ให้ความรัก ความอบอุ่น ดูแลเอาใจใส่บุตรหลาน และสร้างความสามัคคีภายในครอบครัว ตลอดจนเป็นที่ปรึกษาเมื่อบุตรหลานมีปัญหา

           2. ศึกษาให้เข้าใจถึงพัฒนาการและปัญหาของบุตรหลาน มีจิตวิทยาในการดูแลช่วยเหลือบุตรหลาน รวมทั้งอบรมเลี้ยงดูบุตรหลาน

           3. ให้ความร่วมมือกับทางโรงเรียนในการพัฒนาส่งเสริมบุตรหลานทั้งในด้านการเรียน การอาชีพ และชีวิตสังคม

           4.  ควรประพฤติปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดีแก่บุตรหลาน

           5.  อบรมเลี้ยงดูให้บุตรหลานสามารถที่จะเผชิญความจริงในชีวิตได้

           6.  สังเกตและติดตามพฤติกรรมของบุตรหลานอยู่เสมอ เกี่ยวกับการคบเพื่อนที่ดื่มแอลกอฮอล์และสูบบุหรี่ และรีบให้การดูแลช่วยเหลือ

           7. สร้างขวัญและกำลังใจให้แก่บุตรหลานที่ประพฤติปฏิบัติตนเป็นคนดีมีระเบียบวินัยมีความรับผิดชอบต่อตนเอง ครอบครัว และสังคม

           8. เปิดโอกาสให้บุตรหลานได้เลือกทำกิจกรรมที่เขาสนใจด้วยตนเอง

           9. ส่งเสริมสนับสนุนให้บุตรหลานได้เรียนตามที่สนใจ ตามความถนัดไม่บังคับเคี่ยวเข็ญในเรื่องเรียนจนมากเกินไป

          10. ยอมรับในสิ่งที่บุตรหลานได้ทำผิดพลาดและให้โอกาสได้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม

หมายเลขบันทึก: 483809เขียนเมื่อ 31 มีนาคม 2012 11:18 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 19:44 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท