จากการค้นหาความรู้มาช่วยเหลือเด็กๆที่นี่
ทำให้ชาวจันทร์ยิ้มได้พบสื่อสำเร็จรูป
ชุดเติมเต็มความเข้มแข็งทางใจ
ที่พัฒนาโดยอาจารย์ ประเวช ตันติพิวัฒนสกุล
(สืบค้นต่อที่นี่สื่อชุดเติมเต็มความเข้มแข็งทางใจ)
ลองใช้กับวันรุ่นที่เราดูแลอยู่บางคน แล้วพบว่า
สามารถสร้างความเข้มแข็งทางใจได้ไม่ยากนัก
จึงคิดว่านักเรียนมัธยมทุกๆคนน่าจะได้สัมผัสสื่อนี้ด้วย
แล้วนักเรียนมัธยมบ้านเราจะได้สัมผัสสื่ออย่างไรนะ?
เป็นคำถามเล่นๆที่ทำให้ชาวจันทร์ยิ้มหัวหมุนติ้วจนทุกวันนี้ อิ อิ
(ต่อ)
ขั้นเตรียมการ
ปรึกษาไปที่แผนงานสร้างเสริมสุขภาพจิต สสส.
ขอสื่อมาใช้ พี่ๆใจดีมาก ให้เกินที่ขออีก
ได้สื่อแล้วก็จดๆจ้องๆจะเอาไปลงโรงเรียนอย่างไรดี
จนปัญญา.......เก็บบนหิ้งไว้หลายเดือน
จนกระทั้งพบกับ.....
ผอ.สุพจน์ เบญจามฤต
ผู้อำนวยการโรงเรียนแกลง"วิทยสถาวร"
ท่านกรุณาทั้งให้คำแนะนำ สอนงานรวมทั้งทำงานบางอย่างให้ด้วย
เรื่องยากทุกเรื่องทำได้ง่ายๆในเวลารวดเร็ว
จันทร์ยิ้มต้องขอขอบพระคุณมา ณ โอกาสนี้
ผู้อำนวยการบอกว่าทำทั้ง๓อำเภอเลยก็ได้
"ขอให้มาช่วยอบรมวิธีการใช้ให้ก็แล้วกัน" (ต่อ)
งานเข้าแล้ว จะเอาความรู้อะไรไปสอนครูเนี้ยะ
พี่ๆที่แผนงานสร้างเสริมสุขภาพจิต สสส.อีกนั่นแหละ
ประสานจนได้ความกรุณาจาก
อ.ประเวช นายแพทย์ผู้ทรงคุณวุฒิ กรมสุขภาพจิตมาเป็นวิทยากรให้
พร้อมคำแนะนำว่าต้องสร้างเครือข่ายเพื่อดูแลช่วยเหลือวัยรุ่นด้วย
ขั้นดำเนินการ ๑
เตรียมกระบวนกรและผู้ช่วยเหลือวัยรุ่น
17กพ.54
อาจารย์ประเวช กรุณามาดูเครือข่ายในพื้นที่ก่อนล่วงหน้า
ได้พบกับเจ้าหน้าที่สาธารณสุขอ.แกลง
ตัวแทนครูและผู้บริหารของโรงเรียนมัธยมทั้ง๘ โรงเรียน
สรุปว่าวัยรุ่นอำเภอแกลงมีปัญหาความประพฤติมากขึ้น
ไม่มีสัมมาคารวะ
พฤติกรรมรุนแรง ชกต่อย (ตบ)
พฤติกรรมเสี่ยง หนีเรียน รถซิ่ง ไม่สวมหมวกนิรภัย
ยาเสพติด
ติดเกม
ขโมย
เบี่ยงเบนทางเพศ
เพศสัมพันธ์ในวัยเรียน ตั้งครรภ์วัยรุ่น
เด็กแต่ละคนเสี่ยงไม่เท่ากัน
ครอบครัวและสื่อสาธารณะมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมวันรุ่น
การแก้ปัญหาโดยจนท.สาธารณสุข หรือครูโดยลำพังทำได้ไม่ยั่งยืน ต้องบูรณาการทุกภาคส่วนในท้องถิ่นมาช่วย แต่ในเบื้องต้น จนท.สาธารณสุข กับ ครูจะร่วมมือกันก่อนแล้วค่อยให้ผู้ปกครองและท้องถิ่นเข้ามามีส่วนร่วม
มีสื่อสำเร็จรูป๒ชิ้นเป็นเครื่องมือช่วยเจ้าหน้าที่และครูให้ทำงานกับเด็กง่ายขึ้นคือสื่อสร้างความเข้มแข็งทางใจและการสื่อสารกับลูกวัยรุ่น
หลังจากนั้น ๑เดือนเต็ม
พวกเราก็หัวปั่นจาการประสานงานเพื่อจัดประชุมครู
สำหรับการเป็นกระบวนกรในการใช้สื่อ
ความจริงสื่อใช้ไม่ยากและเป็นกระบวนกรได้โดยเตรียมการสอนน้อยมาก
แต่การจัดประชุมให้โดยมีผู้พัฒนาสื่อมาเป็นวิทยากร ทำให้เกิดความมั่นใจมากขึ้น
งานนี้เกิดขึ้นไม่ง่ายเลยถ้าไม่มีคนนี้อีกคน
สจ.กนกวรรณ เบญจาธิกุล
สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดระยอง เขต 1 อ.แกลง
ท่านประสานงานหางบประมาณมาจัดการประชุมจนได้
๒๑มีนาคม๕๕
ประชุมเชิงปฏิบัติการ กระบวนกรในการใช้สื่อสร้างความเข้มแข็งทางใจ
พิธีเปิดโดยตัวแทนนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดระยองมาเป็นประธาน
บรรยากาศในการประชุมเป็นไปด้วยความคึกตัก
มีผู้เข้าอบรม 208 คนจาก๙โรงเรียนในเขตระยอง๒
และผู้ร่วมสังเกตการณ์๕โรงเรียนจากเขตระยอง ๑
ข้อเสนอ/ข้อสรุปจากการประชุม
ปีการศึกษาหน้าโรงเรียนจะนำสื่อให้นักเรียนดูจนครบ ๑๖ตอน โดยใช้เวลา ๒ เทอม ส่วนใหญ่จะใช้ชั่วโมงแนะแนวเป็นชั่วโมงดำเนินการ โดยบางโรงเรียน ใช้ครูประจำชั้นเป็นผู้ดำเนินการ บางโรงเรียนใช้ครูแนะแนวดำเนินการ
สสส.ร่วมกับมหิดลจะมีการประเมินผลการใช้สื่อ
การประเมินผลจะเป็นการประเมินที่นักเรียน ครู ผู้ปกครอง ก่อนดูสื่อ ระหว่างดูสื่อ หลังดูสื่อจบ โดยไม่มีกลุ่มเปรียบเทียบ
ขั้นดำเนินการ ๒ นักเรียนสัมผัสสื่อสร้างความเข้มแข็งทางใจ
จะเริ่มเปิดเทอมหน้า
โดยครูจะเริ่มให้นักเรียนได้สัมผัสสื่อเป็นตอนๆจนครบ
ระหว่างนี้จนท.สาธารณสุข กับ ครูจะร่วมมือกันช่วยเหลือนักเรียนและหาโอกาสแลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน
ส่วนนี้คืบหน้าไปอย่างไรจะรายงานภายหลังจ้า
สวัสดีครับ ขอบคุณที่นำเรียนรู้
กำลังทำกิกรรมกับรร,มัธยม เรื่องการท้องก่อนวัยอันควรอยู่ ได้แนวทางขั้นตอนมาเสริม ปรับเปลี่ยนการทำงานแล้ว
ติดตาม ให้กำลังใจค่ะ
ลังเลอยู่พักหนึ่งในที่สุดก็ตัดสินใจบันทึกต่อเนื่องในเรื่องเดิม
...................
ดังที่เรียนให้ทราบแล้วว่าเราจะประเมินผล การใช้สื่อชุดนี้
เราได้รับความกรุณาจาก
ผศ.ดร. อุมาภรณ์ ภัทรวาณิชย์ และทีมจาก
สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล
กรูณามาช่วยทำการประเมินผลให้
มี โรงเรียน๓โรงที่จะร่วมวิจัย ว่า
สื่อสำเร็จรูปสามารถสร้างความเข้มแข็งทางใจให้นักเรียนได้มากน้อยเพียงใด
โดยการสุ่มนักเรียนบางห้องทำแบบทดสอบก่อนสัมผัสสื่อ
นักเรียนจะประเมินตนเองและถูกประเมินโดย ผู้ปกครองและ ครูประจำชั้น
ระหว่างสัมผัสสื่อไปสัปดาห์ละตอนนั้น
จะมีการจัดประชุมปฏิบัติการร่วมกัน ด้วยเทคนิค
Future Search Conference (FSC)
กับครูผู้รับผิดชอบเรื่องการนำสื่อไปใช้ และ นักเรียน
เพื่อติดตามการใช้สื่อ และนำไปปรับปรุงวิธีการใช้สื่อในช่วงเวลาที่เหลือ
และเมื่อใช้สื่อเสร็จสิ้น
นักเรียน ผู้ปกครองและ ครูประจำชั้นจะทำแบบทดสอบหลังสัมผัสสื่ออีกครั้ง
นี้เป็นแผนประเมินผล
๓กค.๕๕ เก็บpre test ไปแล้ว รอรายงานผลต่อไปจ้า
หลังเปิดเทอมภารกิจรับ และจัดนักเรียนเข้าห้องเรียน
หนักหน่วงสำหรับครูอาจารย์หลายๆท่าน
จนดูเหมือนจะลืมเรื่องการสร้างความเข้มแข็งทางใจไปแล้ว 555
เมื่อทีมวิจัยเข้าไปประสานเรื่องPretestที่โรงเรียน
ทำให้เรารู้สึกถึงความสำคัญของการไปเยี่ยมเยียนโรงเรียนอื่นๆด้วย
โรงเรียนอีก๕โรงได้รับการเยี่ยมเยียนอย่างรวดเร็ว
และทำให้ได้รับทราบปัญหาอุปสรรคในการดำเนินงาน
มีสองโรงเรียนขอให้เราไปทำความเข้าใจเพิ่มเติมกับครูประจำชั้น
ที่ไม่ได้เข้าร่วมประชุมกระบวนกรด้วย
ไม่เป็นไรเราส่ง อ.สมบูรณ์ไป 555
ตอนที่เราไปเยี่ยมโรงเรียนต่างๆเราได้นัดพบกัน
เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้เกี่ยวกับประสบการณ์การใช้งานสื่อสำเร็จรูป
ครั้งแรกเรานัดกัน ๓กรกฎาคมโดยโรงเรียนแกลงเป็นเจ้าภาพเช่นเคย
ในครั้งนี้เราได้ร่วมกันออกมาตรการกระตุ้นโดยจัดหาของรางวัล
สำหรับครูประจำชั้นที่เปิดสื่อครบ ๑๖ตอน
และสำหรับนักเรียนที่สองใบงานครบทั้ง ๑๖บท
และนัดกันเวทีสัญจรเดือนหน้าที่โรงเรียนชำนาญสามัคคีวิทยา
วันนี้รายงานความก้าวหน้าเท่านี้ก่อนจ้า
เมื่อดำเนินมาได้ ๒ เดือน
อาจารย์ อุมาภรณ์ และทีมงานอีก๓ท่านจาก
สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล
ก็มาสำรวจและประเมินผลระหว่างโครงการ
ด้วยเทคนิคFuture Search Conference (FSC)
กับครูผู้รับผิดชอบเรื่องการนำสื่อไปใช้ และ นักเรียน
กับโรงเรียน๓แห่งที่อาสาเข้าร่วมประเมิน
ในแผน ทีมประเมินจะใช้เวลาครึ่งวันในแต่ละโรงเรียน
โดยวันแรกเดินทางมาแต่เช้า เริ่มงานบ่าย
คณะอาจารย์กับเรายุ่งยากในการประสานกัน
เพราะเครือข่ายมือถือค่ายหนึ่งล่ม
กว่าจะเรียบร้อยต้องรีบทานกลางวันแล้วเข้าโรงเรียนเลย
โรงเรียนแรก ขนาด๖๐ ห้อง นักเรียน ๒๗๐๐ คน
เป้าหมายใช้สื่อเฉพาะ ม.๑-๒,ม๔-๕
เป็นวันแรก คุณครูและนักเรียนรวมทั้งผู้เยี่ยมประเมินผลต่างก็เกร็งๆ
๑ชั่วโมงผ่านไปบรรยากาศจึงเริ่มเป็นกันเองและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ได้มากขึ้น
ผลโดยรวมคือนักเรียน ม.ต้น ม.ปลาย และคุณครูต่างเห็นประโยชน์ของสื่อ
บอกข้อจำกัดในการใช้งานสื่อได้
และเริ่มหาแนวทางแก้ไขข้อจำกัดต่างๆ
เสร็จแล้วนำทางมาส่งคณะเข้าที่พักด้วยความเป็นห่วง
เพราะไม่คุ้นเคยกับที่พักที่อาจารย์จองมาเอง
โดยคำแนะนำของท่านนายกเทศมนตรี
คงต้องรีบถามบรรยากาศกันแต่เช้า อิ อิ
โล่งใจเมื่อตอนเช้าถามบรรยากาศของที่พัก ก็เรียบร้อยดี
แม้ทุกคนจะบ่นว่าที่นอนแข็งไปหน่อย
โรงเรียนที่๒ ขนาด ๔๕ ห้อง นักเรียน ๑๘๐๐ คน เป้าหมายใช้สื่อทุกห้อง
บรรยากาศคึกคักตั้งแต่ต้นชั่วโมง
คุณครูและเด็กเล่าการใช้สื่ออย่างสนุกสนาน
ผลโดยรวมคือนักเรียน ม.ต้น ม.ปลาย และคุณครูต่างเห็นประโยชน์ของสื่อ
เด็กๆชอบดูสื่อ เห็นว่านำไปใช้ประโยชน์ได้ แต่ไม่อยากทำใบงาน
คุณครูเห็นว่าสื่อยาวพอดีคาบแต่เมื่อโรงเรียนใช้ระบบเดินเรียน
จะเหลือเวลาไม่พอสำหรับการแลกเปลี่ยนกับเพื่อนในห้อง
เราเห็นความพร้อมในการใช้สื่อทั้งในส่วนของผู้ใช้และผู้รับสื่อ
ดีใจจ้า
โรงเรียน๓ เปิดสอน ๓๕ ห้องนักเรียน ๑๒๐๐ คน เป้าหมายใช้สื่อทุกห้อง
บรรยากาศบ่ายๆง่วงเหงาตั้งแต่ต้นชั่วโมง
คุณครูและเด็กเล่าการใช้สื่อไม่เต็มที่นัก
ทุกคนต่างเห็นประโยชน์ของสื่อ
แต่มีข้อจำกัดในการใช้งานสื่อค่อนข้างมาก
และแนวทางแก้ไขข้อจำกัดต่างๆไม่ชัดเจน
ประเมินผลระหว่างโครงการจบแล้วจ้า
จะรายงานใหม่ตอนหน้าเรื่อง เวทีสัญจรครั้งที่ ๓
ติดตามด้วยนะ จะบอกให้
"สวัสดี ปีใหม่ จันทร์ยิ้ม
เอมอิ่ม เล่าด้วภาพ ซาบซึ่งหลาย
กิจกรรมสู่ชุมชน มีมากมาย
ช่วยกันช่วยกันจ่าย แชร์แผ่ความดี"
สวัสดีปีใหม่ครับ
เวทีสัญจร “เติมเต็มความเข้มแข็งทางใจ” นักเรียนมัธยมครั้งที่4
วันที่ 29 พฤศจิกายน 2555
วันนี้เรามาโรงเรียนน้องเล็กของอ.แกลงบ้าง
เปิดการประชุมโดย ผู้อำนวยการโรงเรียน
ด้วยบรรยากาศเป็นกันเองและมุ่งมั่น
ข้อคิดเห็นของคณะผู้เข้าร่วมประชุม
- โรงเรียนเจ้าภาพใช้สื่อได้ 8 ตอน พบ นักเรียนมีวิธีคิดเชิงบวกมากขึ้น
- เด็กนักเรียนให้ความสนใจสื่อ บางส่วนที่ไม่สนใจเรียนครูผู้ใช้สื่อจะหาวิธีดึงความสนใจนักเรียน- ก่อนใช้สื่อ ครูควรศึกษาสื่อก่อน เพื่อที่จะสามารถให้คำแนะนำนักเรียนได้ดีขึ้น
อุปสรรคต่างๆ
-
หลายโรงเรียนมีอุปกรณ์โสตทัศนูปกรณ์ไม่พร้อม
มีการแก้ไขรูปแบบต่างๆตามบริบทของโรงเรียน
-
สื่อใช้เวลาประมาณ
50 นาที นักเรียนต้องเดินเรียนจะเสียเวลาประมาณ 10-15
นาที
ทำให้การดูสื่อแต่ละตอนไม่เสร็จสมบูรณ์
- โรงเรียนมีหลายหน่วยงานเข้ามาประเมินโรงเรียน ทำให้มีเวลาในการใช้สื่อน้อยลง
แต่บางโรงเรียนสามารถนำผลการใช้สื่อฯ มาช่วยในตอบการประเมินได้
- มีหน่วยงานอื่นๆมาทำกิจกรรมกับโรงเรียนเพิ่มระหว่างปี
เช่นตำรวจให้โรงเรียนเป็นศูนย์ความรู้เรื่องยาเสพติดกับเด็ก
ม.1 และเด็ก ม.6
มีการแนะแนวเพื่อเรียนต่อในระดับมหาวิทยาลัย
ทำให้ต้องใช้เวลาและห้องโสตฯแบ่งเวลาไปทำให้มีเวลาใช้สื่อน้อยลง
สัญจรครั้งต่อไป พบกันที่โรงเรียนนัองคนสุดท้อง(มีนักเรียนน้อยที่สุด)
อันตั้งอยู่บนเนินเขา
เบื้องหาเป็นน้ำตกเขาชะเมา
ที่สำคัญเชิญชิมอิ่มละ 20อร่อยไม่แพ้ใคร และพบกันจ้า
หลังโครงการในปีแรกสิ้นสุดลง
มีการประเมินผลการใช้สื่อ
ในระดับผู้สอน ผู้เรียน
ทั้งเชิงปริมาณและคุณภาพ โดย
อาจารย์อุมาภรณ์ ภัทรวาณิชย์,เรวดี สุวรรณนพเก้า
download มาอ่านได้จากที่นี่
ในชื่อ การประเมินสื่อเพื่อความเข้มแข็งทางใจของวัยรุ่น:กรณีศึกษาโรงเรียนในจังหวัดระยอง
หรือ 20140225101950.pdf