Module 3 Knowledge Management บทเรียนจาก CUP สิชล ตอนที่ 1


การจัดการความรู้การดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรังและผู้พิการในชุมชน เครือข่ายสุขภาพอำเภอสิชล จ.นครศรีธรรมราช

การจัดการความรู้การดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรังและผู้พิการในชุมชน เครือข่ายสุขภาพอำเภอสิชล อ.สิชล  จ.นครศรีธรรมราช

Knowledge Management in Disabled Patients Care at Sichon District

ความเป็นมา เครือข่ายบริการสุขภาพอำเภอสิชล มีหน่วยบริการปฐมภูมิหลัก 3 แห่ง และสถานีอนามัย จำนวน 10  แห่ง รับผิดชอบประชากรโดยรวมประมาณ 84,500 คน จากการสำรวจข้อมูลผู้พิการในปี พ.ศ.2552 พบ จำนวนผู้พิการที่ขึ้นทะเบียนในชุมชน 1,176 คน ผู้ป่วยและผู้พิการเหล่านี้ส่วนหนึ่งไม่สามารถเข้าถึงบริการสาธารณสุขในโรงพยาบาล ทำให้ขาดการดูแลรักษาอย่างต่อเนื่อง หรือมีผู้ดูแล แต่ผู้ดูแลยังขาดทักษะความรู้ในการดูแลผู้ป่วยและผู้พิการอย่างถูกต้อง ทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนของโรคตามมา นอกจากนี้จำนวนเจ้าหน้าที่สาธารณสุขที่รับผิดชอบดูแล ยังมีอัตรากำลังไม่เพียงพอในการดูแลอย่างทั่วถึง  ในอดีต เครือข่ายบริการสุขภาพอำเภอสิชล ยังไม่มีรูปแบบการดูแลผู้พิการและการลงติดตามเยี่ยมบ้านที่แน่นอน สถานีอนามัยบางแห่งยังไม่ได้ลงเยี่ยมบ้านผู้พิการและขาดการดูแลผู้ป่วยอย่างต่อเนื่อง รวมถึงเจ้าหน้าที่สาธารณสุข และเจ้าหน้าที่พยาบาลที่ปฏิบัติงานในหน่วยบริการปฐมภูมิ ไม่ได้รับการฟื้นฟูความรู้และการทำหัตถการที่จำเป็นสำหรับการดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรังและผู้พิการที่บ้านมาเป็นเวลานาน ทำให้ขาดความมั่นใจในการทำหัตถการทางการพยาบาลกับผู้ป่วยที่บ้าน  

ทีมนำของCUPสิชล (คปสอ.) เครือข่ายสิชล ประกอบด้วยทีมจากโรงพยาบาลสิชล, สำนักงานสาธารณสุขอำเภอ, ศูนย์สุขภาพชุมชนและสถานีอนามัย ซึ่งประกอบด้วย แพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว พยาบาลวิชาชีพ นักกายภาพบำบัด เจ้าหน้าที่สาธารณสุขทุกระดับ มีเป้าหมายในการให้บริการที่เน้นผู้รับบริการเป็นศูนย์กลาง การส่งเสริมสุขภาพและฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วย เสริมพลังอำนาจของผู้ดูแลผู้ป่วย และมีการเชื่อมโยงระบบการติดตามเยี่ยมบ้าน(Home health care) ที่เป็นรูปแบบชัดเจน ได้ดำเนินการพัฒนาศักยภาพของทีมเยี่ยมบ้าน ด้วยกระบวนการจัดการความรู้ของผู้ปฏิบัติงานในหน่วยบริการปฐมภูมิให้มีความรู้ และทักษะทางการพยาบาลเพื่อการดูแลผู้ป่วยที่บ้านได้อย่างมั่นใจ มีกระบวนการจัดการทบทวนทักษะการทำหัตถการทางการพยาบาล โดยวิธีการเรียนรู้ ร่วมกับผู้ที่มีประสบการณ์ และมีความชำนาญจากโรงพยาบาล เป็นการจัดการความรู้ภาคปฏิบัติ (practical knowledge management) ทำให้เกิดองค์ความรู้ใหม่ขึ้นแล้วสามารถนำไปปฏิบัติจริงในพื้นที่ได้อย่างมั่นใจ ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อผู้ป่วยและครอบครัว และทำให้เกิดการมีส่วนร่วมของบุคลากรทางสาธารณสุข ในเครือข่ายบริการสุขภาพระดับอำเภอ 

วัตถุประสงค์การดำเนินงาน เพื่อพัฒนาคุณภาพบริการปฐมภูมิโดยใช้กระบวนการจัดการความรู้ของผู้ปฏิบัติงานในหน่วยบริการปฐมภูมิ เรื่องการดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรังและผู้พิการในชุมชน

 

หมายเลขบันทึก: 483651เขียนเมื่อ 29 มีนาคม 2012 19:06 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 เมษายน 2012 16:18 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท