Shunrei
นักศึกษากิจกรรมบำบัด จุฑามาศ เก๋ ยิ่งยง

น้ำท่วม(Flood) หรือ อุกทภัย ในประเทศไทย ปี2554


อุทกภัย กับ นักกิจกรรมบำบัด

อุทกภัย หรือ ที่เราเรียกติดปากว่า “น้ำท่วม” คือ มหันตภัยร้ายที่เกิดขึ้นโดยเงื้อมมือของธรรมชาติ และเป็นสิ่งที่ไม่สามารถควบคุมได้  เป็นภัยธรรมชาติที่เกิดขึ้นเร็วมาก จนเราหลบหนีไม่ทัน แต่บางครั้งภัยพิบัตินี้ก็เกิดขึ้นได้จากการกระทำของมนุษย์

เกิดอุทกภัยในประเทศไทย พ.ศ.2554 เป็นอุทกภัยรุนแรงที่เกิดขึ้นระหว่างฤดูมรสุมในประเทศไทย พ.ศ. 2554 เกิดผลกระทบต่อบริเวณลุ่ม แม่น้ำเจ้าพระยา และ ลุ่มน้ำโขง เริ่มตั้งแต่ปลายเดือนกรกฎาคมและสิ้นสุดเมื่อวันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2555 (แต่การฟื้นฟูยังมีต่อเนื่องมาถึงปัจจุบัน)

จากเหตุการณ์นี้ทำให้เกิดความสูญเสียและเสียหายทางจิตใจเป็นจำนวนมากแก่ประชากรในประเทศไทย ผู้ได้รับความเดือดร้อน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นพื้นที่การเกษตรจำนวนมาก และบ้านหลังคาเรือนหลายหลัง  การเกิดภัยพิบัติอุทกภัยนี้จึงส่งผลอย่างมากต่อการดำเนินชีวิตของมนุษย์

 

สาเหตุ

อุทกภัยครั้งนี้เริ่มขึ้นในระหว่างฤดูมรสุม เมื่อพายุหมุนนกเตนขึ้นฝั่งทางตอนเหนือของเวียดนาม ส่งผลให้เกิดฝนตกหนักทางภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย และทำให้เกิดอุทกภัยในหลายจังหวัดเริ่มตั้งแต่วันที่ 31 กรกฎาคม

อุทกภัยดำเนินต่อไปในสิบหกจังหวัดขณะที่ฝนยังคงตกลงมาอย่างหนัก และภายในเวลาไม่นานอุทกภัยก็ลุกลามไปทางใต้เมื่อแม่น้ำเจ้าพระยาได้รับน้ำปริมาณมากจากแม่น้ำสาขา และส่งผลกระทบต่อหลายจังหวัดในภาคกลาง จนถึงวันที่ 4 ตุลาคม ยี่สิบห้าจังหวัดยังได้รับผลกระทบ และเสี่ยงต่ออุทกภัยเพิ่มเติม เนื่องด้วยเขื่อนส่วนใหญ่มีระดับน้ำใกล้หรือเกินความจุ

 

บทบาทของนักกิจกรรมบำบัด (หลังภัยน้ำท่วม)

คือ การเข้าไปมีส่วนร่วมในการช่วยเหลือผู้ประสบภัยจากภัยน้ำท่วม

1.การช่วยบรรเทาทุกข์ จากการสูญเสีย

- การพูดคุย กับนักกิจกรรมบำบัดหรือคนใกล้ชิด เพื่อให้เกิดความสบายใจหรือเกิดความรู้สึกโลงใจมากยิ่งขึ้น

- ให้คำปรึกษา หาแนวทางการแก้ไขปัญหาหรือจัดกิจกรรมที่ทำให้ผู้ประสบภัยรู้สึกดีขึ้นจากความเศร้าโศก

- ให้กำลังใจ โดยการให้ผู้ประสบภัยปรับความรู้สึกของตัวเองไปในทางที่ดี จากการมองสิ่งต่างๆรอบตัวในแง่บวกมากยิ่งขึ้น

- การให้ผู้ประสบภัยมีส่วนร่วมในการช่วยเหลือผู้อื่น เพื่อที่จะทำให้ผู้ประสบภัยได้บรรเทาอาการทุกข์ใจเมื่อได้ช่วยเหลือผู้อื่นที่เป็นเหมือนตนเองเช่นกัน (เกิดความรู้สึกแง่บวกขึ้นจากการได้ช่วยเหลือผู้อื่น)

- การจัดกิจกรรม เพื่อหันเหหรือเปลี่ยนอารมณ์ของผู้ประสบภัย โดยการบรรเทาทุกข์ จากความเครียดและความเหนื่อยล้า ต่างๆ โดยการจัดกิจกรรมที่มีคุณค่า มีความหมาย มีเป้าหมาย และความสุข แก่ผู้ประสบภัย และจัดกิจกรรมให้เหมาะสม กับผู้ประสบภัยด้วย เช่น ครอบครัว  กลุ่มเด็กเล็ก กลุ่มเด็กวัยรุ่น หรือ กลุ่มผู้สูงอายุ เป็นต้น

2.การเข้าไปบำบัดหรือให้การช่วยเหลือผู้ประสบภัย

- การช่วยผู้ประสบภัย ในเรื่องการทำกิจวัตรประจำวัน เช่น กิจกรรมยามว่าง จากเหตุการณ์น้ำท่วมทำให้ผู้ประสบภัย ไม่สามารถทำกิจกรรมเดิมได้ นักกิจกรรมบำบัดจึงมีส่วนช่วยในการจัดหาอุปกรณ์หรือจัดกิจกรรมให้แก่ผู้ประสบภัย เพื่อที่ผู้รับประสบภัยจะได้สามารถทำกิจกรรมนั้นได้ต่อไป

- การปรับสภาพแวดล้อม และอุปกรณ์ เช่น การทำห้องส้อมลอยน้ำ การจัดตำแหน่งสิ่งของให้เข้ากับกิจกรรมการดำเนินชีวิต

 

วิเคราะห์กิจกรรม โดยใช้ Model of Human Occpational (MOHO) (ช่วงภัยน้ำท่วม)

โดยจะแยกเป็น 2 ประเด็นคือ ผู้ที่เป็นอาสาสมัครและผู้ประสบภัย

อาสาสมัคร

  • Volition มีเจตจำนงที่จะช่วยเหลือผู้ประสบภัย โดยมีความสนใจในผู้ที่มีความยากลำบากในการใช้ชีวิตกับน้ำท่วม
  • Habituation มีลักษณะนิสัยชอบช่วยเหลือผู้อื่น

  •  Performance มีการปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นเพื่อรวมกลุ่มช่วยผู้ประสบภัย

เมื่อมีการบริจาคสิ่งของหรือให้ความช่วยเหลือต่างๆ ทำให้อาสาสมัครรู้สึกมีความสุขต่อตนเองและผู้อื่น ทำให้มี well-being เพิ่มขึ้นจากการได้ช่วยเหลือผู้อื่น และมีความสุขทางใจ

ผู้ประสบภัย

  • Volition มีเจตจำนงที่จะอยู่รอด สิ่งที่จะสนใจคือครอบครัวและคนที่จะมาให้ความช่วยเหลือ
  • Habituation มีความเครียด พยายามที่จะหาทางอยู่รอด

  •  Performance ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน แบบบ้านใกล้เรือนเคียง พึ่งพาอาศัยกัน

เมื่อน้ำท่วมก็จะเกิดความวิตกกังวล ความเครียดต่างๆ เป็นห่วงทรัพย์สินทำให้ขาดความมั่นใจในตนเองส่งผลให้คุณภาพชีวิตแย่ลง นักกิจกรรมบำบัดอาจมีบทบาทไปช่วยให้คำแนะนำในการปรับสิ่งแวดล้อมต่างๆให้เหมาะสมในการดำเนินชีวิตในวิกฤตน้ำท่วม เช่น ย้ายขึ้นไปชั้นสอง นำกะละมังใช้แทนเรือในการเดินทางชั่วคราว เป็นต้น

 

 

 

หากสนใจ เนื้อหาหรือข้อมูลเกี่ยวกับอุทกภัยน้ำท่วมประเทศไทย เพิ่มเติม สามารถอ่านได้ที่ http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%AD%E0%B8%B8%E0%B8%97%E0%B8%81%E0%B8%A0%E0%B8%B1%E0%B8%A2%E0%B9%83%E0%B8%99%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%A8%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A2_%E0%B8%9E.%E0%B8%A8._2554

หากสนใจ เนื้อหาเรื่องการเตรียมการก่อภัยน้ำท่วม สามารถอ่านได้ที่  http://cendru.eng.cmu.ac.th/web/12-2.htm

 

นำเสนอโดยนางสาวจิตติมา  ขาวเธียร นักศึกษากิจกรรมบำบัด ชั้นปีที่2 

หมายเลขบันทึก: 483335เขียนเมื่อ 26 มีนาคม 2012 23:55 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 14:59 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท