รำพึงรำพัน R2R เสียงเล็กๆ จาก Fa ตัวน้อยๆ


เชื่อเรื่องศักยภาพของมนุษย์ไหมคะ จิตใจที่ได้รับการพัฒนาจะเกิดปัญญาอันเป็นอัตโนมัติ
ซึ่งปัญญาอัตโนมัติที่เกิดนั้นก็คือ ความรู้ (knowledge). ไม่ใข่ information หรือ Data

วิจัยคืองานศิลปะ
การสร้างสรรค์งานศิลปะชิ้นหนึ่งก็เปรียบเหมือนเรากำลังสร้างสรรค์งานศิลปะชิ้นเอก

เพราะฉนั้นงานวิจัยชิ้นหนึ่งจะออกมาได้ดี คนทำวิจัยต้องไม่ถูกกระทำทางจิตใจ
หากแต่มีสภาวะจิตอันตื่นรู้และเบิกบาน และเขาจะสามารถสร้างสรรค์งานวิจัยออกมาได้

ความน่าเชื่อถือของงานวิจัยนั้นอยู่ภายใต้ความเป็นเหตุและผล(อิทัปปจยตา)
ดังนั้นการเน้นเรื่องจิตใจจึงไม่ใช่เรื่องที่อ่อนแอทางวิชาการ
หากแต่หมายถึงการมุ่งพัฒนาศักยภาพของมนุษย์ในระดับปัญญาอันละเอียดลึกซึ้ง
ความละเอียดทางจิตใจจะทำให้มนุษย์ได้ใช้ปัญญาคิด(โยนิโส)ได้ลึกซึ้งยิ่งขึ้น

ศักยภาพของมนุษย์นั้น หากเรียนรู้ผ่านภายใต้สภาพจิตใจที่ดีที่พร้อมจะเรียนรู้ได้ดี ลึกซึ้งและซับซ้อนได้

 
บางครั้งก็เกิดเป็นความไม่แน่ใจว่าทิศทางการเดินทางของ R2R เรากำลังต้องการความเป็นเลิศหรือเปล่า
คนเรียนหนังสือเก่งกับคนเรียนอย่างมีความสุข จะมีมิติที่ลึกซึ้งต่างกัน
เรากำลังต้องการ R2R Fa ที่เก่ง หรือ R2R Fa ที่มีความสุขในการเป็น Fa
คนที่มีความสุขจะสามารถเผชิญหน้ากับความยากลำบากได้ แม้บทเรียนนั้นจะยากเกินไปแต่เขาจะพยายามเรียน
แต่จะต่างจากคนเก่งที่จะมุ่งเพียงผลสัมฤทธิ์เพื่อให้ได้มาซึ่งเป้าหมายที่วางไว้

ดังนั้นสภาพของ workshop แม้อาจกำลังเรียนเรื่องที่ยาก แต่เราสามารถทำให้สนุกและมีความสุขได้
ผู้เรียนที่แตกต่างกันไม่ใช่ประเด็นปัญหาหากเราสามารถจัดสภาพการเรียนรู้ที่เอื้อความเป็นปัจเจคและการเกื้อกูลกันไปพร้อมกัน
คละคนที่มีประสบการณ์กับคนที่ไม่มีประสบการณ์อยู่ด้วยกันจะเกิดการเรียนรู้แบบเพื่อนช่วยเพื่อน ผ่อนแรงวิทยากรไปในตัว
ตรงกันข้างหากเรามุ่งสอนเพื่อหวังผลสัมฤทธิ์เราจะรู้สึกเหนื่อยเมื่อมาเจอกลุ่มผู้เรียนที่แตกต่างกัน 
 
    
 
มีประเด็นว่า

เรากำลังมุ่งพัฒนา R2R เป็น Advisor ?

หากเรามุ่งให้เกิด Fa ที่เป็นเลิศคล้ายโครงการคัดเลือกคนเก่งไปสู่หลักสูตรการเรียนที่เป็นเลิศ
เราก็มุ่งไปที่การเคี่ยวเข็ญ เพื่อให้เขาได้รู้ ในองค์ความรู้ที่เราเป็นผู้มองว่าเป็นเรื่องสำคัญที่ Fa ควรรู้

เป็นเรื่องที่น่าเศร้าที่ Fa ไม่กล้าสะท้อนให้เราได้ทราบว่าเขาได้มาเรียนรู้เรื่องที่ยากเพราะถนอมใจ Fa หลักทุกท่าน

หากเราปรารถนาที่จะมุ่งจัดกระบวนการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมให้ Fa ไปเป็นกระบวนกร

ทำให้นึกถึง...ประเด็นนี้ค่ะ

ปฏิบัติ
ปฏิเวธ
และนำมาตรวจสอบกับ... ปริยัติอีกครั้ง

นั้นคือ...นำผู้เรียนไปสู่การเรียนรู้แบบ "การเรียนรู้ผ่านการปฏิบัติ" ...ด้วยการถูกกระตุ้นให้สงสัย โดยใช้คำถามเป็นตัวนำทาง แล้วก้าวไปสู่การแสวงคำตอบด้วยการลงมือทำ

จากนั้น ... เติมองค์ความรู้เข้าไป เมื่อเราทราบว่า "ผู้เรียนยังขาดหรือยังอ่อนอะไร"...หากทำเช่นนี้จะทำให้การเรียนรู้สนุกขึ้น

แต่จากประสบการณ์ เรามักเริ่มต้นด้วยการ "บอกความรู้" โดยผู้สอนทำหน้าที่บอกความรู้ จากนั้นค่อยให้เราไปฝึก ... กระบวนการเช่นนี้ ทำให้กระบวนการสร้างความรู้เกิดขึ้นหรือดำเนินได้ช้า เพราะปัญญาได้ถูก block ไว้ก่อนแล้วในส่วนหนึ่ง

ตัวอย่างเช่น
เราอยากให้ผู้เรียนได้เรียนรู้เรื่อง review leterature 
เราให้ในกลุ่มลงมือปฏิบัติเลย ผ่านสถานการณ์ที่กำหนดขึ้น เช่นกำลังทำวิจัยเรื่อง...
แล้วเราจะ review ประเด็นไหน ให้กลุ่มช่วยกันทำจากนั้นนำผลลัพธ์มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้
วิทยากรกระบวนการทำหน้าที่สะท้อนและเเติมองค์ความรู้เพิ่มเข้าไป วิธีนี้ก็อาจจะทำให้เรียนอย่างสนุกขึ้น
 
 
หรือ...

ยกตัวอย่างเช่น...

หากเราต้องการที่จะให้คนในห้องประชุม..นั้นรู้ความหมายของ R2R และคุณค่าที่ได้จากการทำ R2R

เราสามารถที่จะจัดกระบวนการ โดยไม่ต้องบรรยายว่า R2R คือ อะไร และไม่ต้องบอกความรู้ว่าคุณค่าที่ได้จากการทำ R2R คือ อะไร

การเรียนรู้ ผ่านกระบวนการ โดยกระบวนกร(Facilitator)อาจจะให้ผู้เรียน...ได้ดูเรื่องราวการทำ R2R ผ่านคนต้นแบบ ซึ่งอาจจะเป็น "คนเป็นมาเล่าเรื่อง" หรือ ผ่าน VTR หรืออาจเป็นวิธีอื่นที่ต่างๆ จากนี้ ที่ไม่ใช่การบรรยายเพียงอย่างเดียว

จากนั้น...เราให้เขาใคร่ครวญ (โยนิโสมนสิการ) ถึงความหมายตามความเข้าใจของเขา

การใคร่ครวญถึงความหมาย สมองส่วน "เหตุและผล" กำลังทำงาน จากนั้น... ให้ใคร่ครวญถึงคุณค่าที่ได้...ช่วงนี้แหละค่ะ สมองส่วน "สุนทรียะ" ทำงาน...

จากนั้น ...นำสิ่งที่เขาสะท้อนออกมา...Reflex กลับไป

แล้ว...เราค่อยเติมองค์ความรู้ในส่วนที่ขาดเข้าไป

...

เป็นการเรียนรู้ ที่ไม่ผูกขาดว่า เป็นการบอกความรู้...

เป็นต้นค่ะ...

Large_zen_pics_007



การให้เขาลงมือปฏิบัติการ อาจช่วยทำให้เราทราบ pier knowledge ของเขาในเรื่องนั้นๆ

กระบวนกรมีหน้าที่ทำให้กระบวนการเกิดการเรียนรู้(ปัญญา) และมีความสุข

ความจริงที่เราต้องตระหนัก 70% up ของคนหน้างานไม่อยากทำงานวิจัยที่ยากหรือมีความเป็นเลิศ
มีเพียง 30% ที่กระหายจะทำวิจัยในระดับ advance

วิจัยเชิงปฏิบัติการน่าจะเป็นทางออกของคนทำงานในระดับพื้นที่มากกว่า หรือไม่?
 
...
๒๖ มีนาคม พ.ศ.๒๕๕๕
 
 
หมายเลขบันทึก: 483302เขียนเมื่อ 26 มีนาคม 2012 19:47 น. ()แก้ไขเมื่อ 29 ตุลาคม 2013 06:52 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

อาจารย์ครับ

ชัดเจน และแจ่มแจ้งจังเลยครับ

ขอบคุณครับ

แม้จะค่อยๆอ่านไปทีละคำ ทีละประโยคแล้ว ก็ยังรู้สึกว่า ต้องกลับมาอ่านอีกหลายๆรอบ ขออนุญาตนำไปแปรสภาพเป็นแบบพกติดตัวได้นะคะ

ขอบพระคุณมากๆค่ะ

ยินดีอย่างยิ่งเลยค่ะ...คุณ Tawandin

Large_zen_pics_007 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท