มืด
นาย คมสรรค์ มืด ชื่นรัมย์

แก้อย่างอื่นไม่ได้...แก้ที่ตัวเราแก้ได้


ความสามารถของตนเองมาจากการรับรู้ตนเอง

          วันนี้มีโอกาสกลับมานั่งอ่านเรื่องราวเก่าๆของตัวเองอีกครั้ง และยังได้อ่านบทความที่มีประโยชน์ของอีกหลายๆท่าน ทำให้นึกอยากจะประทับความรู้และความทรงจำให้เป็นตัวอักษรลงในหนังสือ หรือสื่ออิเล็กทรอนิคนี้อีก เผอิญว่าผู้เขียนได้อ่านแนวคิดและทฤษฏีเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมสุขภาพ ก็นึกสงสัยอยู่เหมือนกันว่าการทำงานในการดูแลสุขภาพของประชาชนหากจะทำกิจกรรมใดกิจกรรมหนึ่งแล้ว มักจะถูกตั้งคำถามบ่อยๆว่ามีแนวคิดหรือทฤษฏีใดที่จะนำมาใช้ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้ป่วยได้ ทำให้ผู้เขียนเกิดความสงสัยว่าแนวคิดและทฤษฎีมีความจำเป็นใหมกับการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้ป่วย เมื่อได้ศึกษาเพิ่มเติมจึงทำให้เข้าใจมากขึ้นว่ามีความจำเป็นมาก ในการตั้งกรอบให้ชัดเจนในการแก้ปัญหา

            แบนดูรา ได้แสดงแนวคิดว่า การรับรู้ความสามารถของตนเองในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ(Self-efficacy) เป็นหนึ่งในแนวคิด 3 ประการ ของทฤษฎีการเรียนรู้ทางสังคมปัญญา ซึ่งประกอบไปด้วย

1. แนวคิดของการเรียนรู้โดยการสังเกตุ(Observational Learnig)

2. แนวคิดของการควบคุมตน(Self-control)

3. แนวคิดการรับรู้ความสามารถของตนเอง(Self-efficacy)

และแบนดูรา ยังเสนอแนวคิดของความคาดหวังความสามารถของตนเอง(Efficacy expectation) โดยให้ความหมายว่าเป็นความคาดหวังที่เกี่ยวข้องกับความสามารถของตน ในลักษณะที่เฉพาะเจาะจงและความคาดหวังนี้เป็นตัวกับหนดการแสดงออกของพฤติกรรม ต่อมาแบนดูรา ได้ใช้คำว่าการรับรู้ความสามารถของตนเอง(Perceived self-efficacy) โดยให้คำจำกัดความว่า เป็นการที่บุคคลตัดสินเกี่ยวกับความสามารถของตนเองที่จะจัดการและดำเนินการกระทำพฤติกรรมให้บรรลุเป้าหมายที่กำหนดไว้ (สมโภชน์ เอียมสุภาษิต,2549:47-60) การรับรู้ความสามารถของตนเอง มีความแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายๆด้านการรับรู้ส่งผลให้เกิดการแสดงพฤติกรรมออกมาได้แตกต่างกันเช่นกัน ความสามารถของคนเรามีความยืดหยุ่นไม่ตายตัวหากแต่ยืดหยุ่นตามสภาพการณ์  จากทฤษฎี ผู้เขียนมีความเห็นว่าการที่จะเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมคนให้เป็นพฤติกรรมแห่งสุขภาวะที่ดีนั้น ควรจะเพิ่มให้ผู้ป่วยได้รับรู้ว่าตนเองนั้นมีความสามารถที่จะดูแลตนเองได้โดยไม่ต้องพึ่งพาผู้อื่น บุคลากรควรให้ความสำคัญในการสร้างการรับรู้ต่อผู้ป่วยให้มากโดยชี้ให้เห็นผลกระทบที่มีต่อร่างกายหากไม่สนใจสุขภาพ และผลดีในการดูแลสุขภาพ ซึ่งกระบวนการในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ให้ผู้ป่วยนั้นควรเพิ่มการสร้างพลังใจ(em powerment) เพื่อให้ผู้ป่วยมีพลังในการต่อสู้กับโรคโดยมีพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิมในทิศทางที่ดีขึ้น แต่ความหลากหลายทางความคิดและอุปสรรคต่างๆที่เราจะเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมให้ดีขึ้นก็มีมากแต่ถ้าหากเราแก้ไม่ได้ก็ควรจะเริ่มที่ตนเองก่อนเมื่อประสบผลสำเร็จแล้วก็พัฒนาต่อได้ด้วยการนำความปราถนาดีนี้ให้กับเพื่อนๆที่ทำงานทำต่อ เพื่อเป็นแบบอย่างที่ดี ให้กับผู้ป่วยครับ ผู้เขียนเองก็ไม่แม่นด้านทฤษฎีนักหากนำไปใช้ประโยชน์ได้ก็ตามสบายครับ

หมายเลขบันทึก: 483120เขียนเมื่อ 24 มีนาคม 2012 22:35 น. ()แก้ไขเมื่อ 28 พฤษภาคม 2012 22:51 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท