REFLECTION (1) ลิขิตชีวิตประภัสสร และอักษรแห่งการเยียวยา


REFLECTION

งาน HA Forum ครั้งที่ 13 เสร็จสิ้นไปแล้ว มีผู้มาเข้าร่วมล้นหลาม ตามรายชื่อลงทะเบียนกว่าเจ็ดพันคน สำหรับงานนี้ผม พี่วิธาน และคุณดาจาก รพ.หนองหญ้าไทร ได้ไปมีส่วนร่วมคือจัด workshop Life-illumination writing and Healing Journal หรือ "ลิขิตชีวิตประภัสสร กับ อักษรแห่งการเยียวยา" เป็น workshop full-day ตั้งแต่เช้าจรดเย็น รอบหนึ่งกำหนดไว้ว่ามีผู้มาเข้าร่วมประมาณ 50 คน และทำสองวัน คือวันพุธที่ 14 และวันพฤหัสที่ 15 ขอจดบันทึกนี้ไว้เป็น reflection ของงานนี้

สถานที่:

ห้อง Jupeter 14 อาคาร Challenger 3 ซึ่งอยู่แยกต่างหากออกมาจาก main halls พอสมควร แต่ปรากฏว่าการแยกตัวออกมาได้ผลดีที่คาดไม่ถึง เพราะที่ main halls มีเหตุการณ์ไฟฟ้าเสียถึงสองวันติดกัน วิทยากรหลายๆคนต้องใช้ภูมิปัญญาเฉพาะหน้า เอาโทรโข่งมาใช้แทนบ้าง เชิญคนฟังมานั่งล้อมวงกันใกล้ๆกันบ้าง ว่ากันไป แต่อาคาร challenger รอดพ้นจาก techno gliche อันนี้ไปได้อย่างปลอดโปร่งโล่งใจ จะเห็นจากภาพว่าห้องสวยงามมาก ผนังห้องสีครีม แกะสลักผนังนิดหน่อย หลังคาก็มีลวดลายระยิบระยับงามตาดี

ห้องจะเล็กไปสักนิดนึงสำหรับ 50 คน ทำกายภาวนาแขนขาจะตีกันนิดหน่อย เวลาทำ bodyscan แทบจะไม่มีทางเดินเหลือ (เป็น workshop เดียวที่ผู้มาเข้าร่วมได้รับแจกหมอน ผ้าห่ม และได้ "นอน" จริงๆ) กำลังคิดอยู่เหมือนกันว่าถ้าไฟดับจริงๆ เราก็คงจะบอก participants ให้ล้มตัวลงนอนไปเลย เพราะพร้อมอยู่แล้ว

ระบบไฟพอใช้ได้ แม้ว่าระดับขั้นความสว่างจะปรับได้ไม่เยอะ แต่ในขอบเขตที่พอทำงานได้ ระบบเสียงปรากฏว่าลำโพงแตกเสียง base ไป ทำให้ขาดพลังของเพลงอิฐก้อนหนึ่งไปหลายส่วน แสดงข้อที่ยืดหยุ่นของเราขาดไปคือ บาง media นั้น หากอุปกรณ์เครื่องเสียงและภาพไม่ถึง คุณภาพจะถูกกระทบไปค่อนข้างเยอะทีเดียว (ให้ติดลบ 30% เทียบจากถ้าเรามีลำโพงชั้นดี) เราไม่ได้ลองใช้ไมคโครโฟนจ่อเครื้่องดู แต่คาดว่ายังไงๆก็ต้องใช้ออกลำโพงอยู่ดี ก็พอกล้อมแกล้มไปได้

แต่ที่ดีมากก็คือ การที่ห้องแยกออกมาจาก main events นั้น ทำให้ไม่พลุกพล่าน ไม่มีเสียงรบกวน คนที่เดินมาถึงนี่จะพามาด้วยคือความตั้งใจ และการ "ทราบ" ว่าทีนี่มีอะไร (มีหลงมาเหมือนกัน แต่น้อยกว่าตอนปีที่แล้ว ซึ่งมีการเปิดประตู ปิดๆเปิดๆ บ่อยกว่านี้) พอเริ่มกิจกรรมแล้ว ถือว่าเป็นห้องที่ดีมาก สงบ และนิ่ง แอร์วันแรกจะเย็นไปนิดนึง แต่วันที่สองพี่วิธานแอบไปบอกให้ปรับ ก็เหลือสบายๆกำลังดี ไมค์ลอยก็ใช้ได้ มีถ่านหมดแต่ก็เปลี่ยนได้ทันท่วงที

ผู้มาเข้าร่วม:

เนื่องจากเป็น ws ที่มีการลงทะเบียนล่วงหน้าทาง internet ผมทราบจากทีมประสานงานว่าวันแรก (วันพุธ) นั้นเต็มนานแล้ว 50 คน ตอนปิดรับสมัครทาง internet นั้นวันที่สอง (วันพฤหัส) ยังไม่เต็ม มีคนประมาณ 25-26 คน ก็ไม่เป็นไร เพราะรอสมัครหน้างานได้ไม่มีปัญหา ก็อย่างที่คิด วันที่สองมากัน 60 คน มากกว่าวันแรก เรียกว่าแน่นห้องไปเลย

ประมาณ 60% สามารถอยู่ได้ตลอดทั้ง workshop (ที่จริงเราขอให้คนที่อยู่ได้ตลอดมาสมัคร แต่ก็เข้าใจ เพราะบางทีต้นสังกัดจะมอบหมายงานให้คนมาเข้า HA ต้องไปเก็บความรู้หลายที่ เราจัด full-day นี่ก็ 33% ของเวลาทั้งงานซึ่งถือว่าเยอะมาก) ประมาณเดียวกันทั้งสองวัน เราพบว่าตอนเย็น พอจะเลิกตามเวลานั้น จะมีบางส่วนที่ต้องกลับก่อน เพราะว่าหลายคนมารถคันเดียวกันทั้งโรงพยาบาล และต้องกลับตามเวลานัด ก็เป็นประสบการณ์สำหรับครั้งต่อไป ครั้งนี้น่าเสียดายพอสมควร เพราะการ reflection สุดท้าย เป็น highlight ของ workshop และทั้งสองวันทำได้ดีมากๆเกินความคาดหมาย แต่เราก็ไม่ได้ว่าอะไรคนที่จำเป็นต้องกลับไปก่อน

มีประเภท "เสียบแทน" เหมือนกัน คือแฟนพันธุ์แท้ นั่งรอหน้าห้องจนคนที่ลงทะเบียนล่วงหน้าไม่มาแล้วเข้าแทน (อันนี้ต้องขอบคุณเจ้าหน้าที่ สรพ.ที่ strict to the code จริงๆ ช่วยให้คนไม่แน่นเกินไป ขอบคุณครับ) แต่ที่น่าสนใจคือ ตอน check-in มีบางคนที่องค์กรกำหนดมา "ให้เข้า" ws นี้ พอดีเราไม่ได้มีเวลาพอจะ explore คือเราอยากทราบเหมือนกันว่าพวกที่ถูกกำหนด spec มานี่ เขามองที่คุณสมบัติด้านไหนจึงคิดว่าเหมาะสมมาเข้า ws นี้ ซึ่งผมว่าอาจจะสัมพันธ์กับสัมฤทธิผลสุดท้ายรึเปล่า ก็น่าคิดใคร่ครวญครับ

กิจกรรม:

ทั้งสองวันเป็นกิจกรรมเขียนเป็นหลัก แต่ก็สอดแทรกด้วยการปรับฐานกาย และที่น่าสนใจที่เราทดลองดูก็คือ เราทำกิจกรรมทั้งสองวันไม่เหมือนกันประมาณ 80% จะเหมือนกันก็ตอนปิดสุดท้ายเท่านั้น

หลักการ

  1. การเขียน เป็นรูปแบบ meditation อย่างหนึ่ง เพราะมีขั้นตอนของการ "ชะลอความคิด" ลง แม้ว่าเราจะเขียนเร็วแค่ไหนก็ตาม ก็ไม่มีทางเร็วไปกว่าการคิดไปได้ ทีนี้จะเหมือนมาก/เหมือนน้อยกับการนั่งสมาธิ ก็ขึ้นกับสติ หรือ awareness ว่าอยู่กับกิจกรรมมากน้อยแค่ไหน
  2. แม้ว่าจะไม่ได้ทำ meditation-like writing แต่การเขียนโดยตัวมันเองก็เป็นอุบายในการ "ผ่อนคลาย" ได้ดี จะเขียนแบบไปเรื่อยๆ ขยุกขยิก มีรูปประกอบบ้าง อะไรๆมีสาระ/ไม่มีสาระบ้างก็ได้ (แต่มีเหมือนกันที่ "ความกลัวไม่สวย" หรือ "ฉันต้องสวยตลอด mentality" ที่เข้ามาครอบงำ จะเห็นจากการที่เราลองบอกให้วาดรูปตัวเองขณะหลับตา เปลือกตาบางท่านก็สั่นระริก ด้วยเกรงว่ารูปตนเองจะออกมาไม่สวย เส้นไม่ต่อ อ้วนไป ผอมไป ฯลฯ)
  3. การเขียนที่เป็นการ "มองเห็นความคิด มองเห็นความรู้สึก" (visualize thoughts and feeling) ทำของนามธรรมให้จับต้องได้
  4. การเขียนแบบ "กายภาวนา" ที่เชื่อมโยงฐานกาย ฐานใจ ฐานความคิด เข้าหากัน ได้แก่กิจกรรม "ลิขิตากาศ และ ไวทยากร" การลองใช้ภาษากายสำแดงอารมณ์ความรู้สึก สำแดงความหมายระดับลึกซึ้ง ระดับตัวตนที่แท้ (authentic self)
  5. "จดหมายถึงเพื่อน" เปลี่ยนฐานกาย ฐานใจ และฐานความคิดมาเป็น commitment เป็น resolution หรือเป็นการปลดล็อคในใจ ทะลายกำแพง และยกต้นทุนของตนเองออกมาพิจารณาอย่างถ่องแท้
  6. AAR (after-action reflection) ที่ "ตกผลึก" กลั่นน้ำอมฤตมาแบ่งปันกัน

ขอวางหัวข้อไว้แค่นี้ก่อน บทสะท้อนโดยพิศดารจะตามมาทีหลัง เพราะจะยาวเกิน

หมายเลขบันทึก: 482593เขียนเมื่อ 20 มีนาคม 2012 13:15 น. ()แก้ไขเมื่อ 1 เมษายน 2012 22:20 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

ชอบครับ ที่อาจารย์บอกว่า การเขียนเป็นการ meditation แบบหนึ่ง - ใช่เลยครับ การเขียนฉุดให้เราอยู่กับตัวเอง ครุ่นคิด ใคร่ครวญ ช้าลง

ผมอยากมีโอกาสเข้า Workshop กับอาจารย์บ้างครับ

ยินดีครับ เอก whenever you can.

ถึงแม้ไม่ได้ไปร่วมเข้ากิจกรรม แต่โชคดีที่สามารถติดตามอ่านได้

ขอบคุณเรื่องดีดี ที่อาจารย์นำมามอบให้ค่ะ

น้องที่ไปร่วมเข้ากิจกรรมอาจารย์มาเล่าต่อ

 http://www.gotoknow.org/blogs/posts/482292

ทำให้มองภาพได้ดี สักวัน จะขอเข้าร่วมเรียนรู้ด้วยค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท