การพยาบาลผู้ป่วยก่อนเเละหลังผ่าตัด


ผู้ป่วยผ่าตัด
การพยาบาลผู้ป่วยก่อนรับการผ่าตัด
การเตรียมและดูแลผู้ป่วยโดยทั่วไปก่อนรับการผ่าตัด
  1. ซักถามหรือสอบถามข้อมูลต่างๆ ตลอดจนการสังเกตอาการต่างๆ ของผู้ป่วย
    
  2. ประเมินค่าสัญญาณชีพ(vital signs)
    
  3. เก็บ Specimens ส่งตรวจทางห้องทดลองตามแผนการรักษา
    
  4. ให้ผู้ป่วยเซ็นชื่อยินยอมรับการรักษาโดยการผ่าตัดตามแบบฟอร์มที่กำหนดไว้
    
  5. อธิบายถึงการการเตรียมตัวผู้ป่วยให้ถูกต้อง
    
5.1      การเตรียมผิวหนังก่อนการผ่าตัด
5.2      การเตรียมลำไส้ก่อนการผ่าตัด
5.3      การให้ยากล่อมประสาท
5.4      การงดน้ำและอาหารก่อนการผ่าตัดอย่างน้อย 6-8 ชั่วโมง
5.5      การให้ยาก่อนระงับความรู้สึกก่อนการผ่าตัด
  1. สอนและแนะนำการออกกำลังกายบนเตียง
    
6.1      การหายใจเข้าเต็มที่ช้าๆ และการหายใจออกยาวๆ
6.2      การออกกำลังขาทั้งสองข้างขณะพักอยู่บนเตียง
6.3      การพลิกตัวตะแคงซ้ายหรือขวา
  1. การแนะนำให้ผู้ป่วยเกี่ยวกับการลุกเดินโดยเร็ว (Early ambulation)
    
 
การเตรียมและการดูแลผู้ป่วยในเช้าวันผ่าตัด
  1. การตรวจเยี่ยมผู้ป่วยที่เตรียมการผ่าตัด ซักถามการพักผ่อนนอนหลับ การงดอาหารและน้ำหลังเที่ยงคืน ผลการสวนอุจจาระ(ถ้ามี) และสังเกตอาการทั่วไป ตลอดจนกิจกรรมการรักษาพยาบาลพิเศษที่ให้กับผู้ป่วย เช่น การคาสายยางสำหรับการสวนปัสสาวะ การให้อาหารแลน้ำทางหลอดเลือดดำ ฯลฯ
    
  2. ตรวจดูความเรียบร้อยของผิวหนังบริเวณที่จะทำผ่าตัดว่าได้รับการทาผิวหนังด้วย Aseptic solutionในตอนเช้ามืดแล้ว
    
  3. เก็บของมีค่า กิ๊บติดผม ฟันปลอม contact lens ฯลฯ จากตัวผู้ป่วยฝากไว้กับหัวหน้าตึกหรือพยาบาลประจำการ
    
  4. บันทึกสัญญาณชีพ เพื่อประเมินสภาพการเปลี่ยนแปลงของตัวผู้ป่วย บันทึกไว้ในรายงานทางการพยาบาลสำหรับเปรียบเทียบในขณะที่ทำการผ่าตัด และบันทึกอาการและการรักษาพยาบาลที่ผู้ป่วยได้รับในรายงานทางการพยาบาลด้วย
    
  5. ตรวจดูความเรียบร้อยของรายงานผู้ป่วย ตลอดจนผลการตรวจต่างๆ ตามแผนการรักษา
    
  6. ดูแลให้ผู้ป่วยได้รับยาก่อนระงับความรู้สึก(pre-medication)
    
  7. แนะนำให้ผู้ป่วยถ่ายปัสสาวะก่อนย้ายไปห้องผ่าตัด เพื่อให้กระเพาะปัสสาวะว่างในรายที่ไม่ได้สวนปัสสาวะสำหรับผู้ป่วยที่คาสายสวนปัสสาวะไว้ให้ตวงปัสสาวะและเททิ้งพร้อมกับบันทึกในรายงานการพยาบาล
    
  8. ช่วยเคลื่อนย้ายผู้ป่วยขึ้นเปลเข็นของห้องผ่าตัดเมื่อพนักงานเปลมารับผู้ป่วย และเตรียมของใช้ต่างๆให้ครบ พร้อมลงบันทึกลงในสมุดสิ่งส่งมอบทุกครั้ง
    
  9. เตรียมเตียงของผู้ป่วยให้อยู่ในสภาพที่พร้อมจะรับผู้ป่วยกลับจากห้องผ่าตัด โดยทำเตียงแบบ Anesthetic bed และควรมีการปูผ้ายางขวางเตียงตรงกับบริเวณแผลผ่าตัดผู้ป่วยด้วย รวมทั้งเตรียมผ่าห่ม เพื่อให้ความอบอุ่นแก่ผู้ป่วยหลังทำการผ่าตัด ซึ่งจะมักรู้สึกหนาว
    
 
การพยาบาลผู้ป่วยหลังการผ่าตัด
การพยาบาลหลังผ่าตัด แบ่งออกเป็น 2 ระยะ ดังนี้
  1. การพยาบาลผู้ป่วยหลังผ่าตัดทันทีหรือในระยะที่ฟื้นจากการได้รับยาระงับความรู้สึก (Immediate postoperative stage)
    
  2. การพยาบาลผู้ป่วยหลังผ่าตัดในระยะต่อมา (Extended postoperative stage or later postoperative stage)
    
 
การประเมินทางการพยาบาล
                การประเมินสภาพผู้ป่วยมีความสำคัญมากที่จะทำให้ปลอดภัย สุขสบาย และช่วยไม่ให้เกิดภาวะแทรกซ้อนต่างๆ โดยที่พยาบาลที่ให้การดูแลผู้ป่วยหลังการผ่าตัดต้องมีความรู้ ความเข้าใจ และมีทักษะในการประเมินสภาพผู้ป่วยหลังการผ่าตัดเช่นเดียวกับในระยะก่อนการผ่าตัด ดังนี้
ก.      ความรู้สึกของผู้ป่วยต่อสภาวะความเจ็บป่วยหลังการผ่าตัด
ข.      การประเมินทางด้านร่างกาย
1.    การตรวจร่างกาย พยาบาลควรมีการประเมินผู้ป่วยโดยเรียงลำดับความสำคัญ ดังนี้
1.1      ทรวงอกและปอด
-         สังเกตลักษณะการหายใจ ฟังเสียงของการหายใจ
-         ตรวจนับอัตราการหายใจ
-         คลำหลอดคอดู tracheal shift หลังผ่าตัด
1.2      หัวใจและหลอดเลือด
-         วัดสัญญาณชีพ
-         ตรวจดูภาวะซีด
-         วัด CVP. (ถ้ามี)
-         EKG.
1.3      อุณหภูมิ
                        ผู้ป่วยหลังการผ่าตัดในระยะแรก โดยปกติอุณหภูมิของร่างกายปกติ อาจพบได้ว่ามีอุณหภูมิลดลงต่ำกว่าปกติได้ใน 2 – 3 ชั่วโมงแรกหลังการผ่าตัดและ บางรายอาจมีอาการหนาวสั่นร่วมด้วย หลังจากนั้นภายใน 24 – 48  ชั่วโมง ผู้ป่วยจะมีอุณหภูมิสูงกว่าปกติได้ถึง 38° C  หากมีไข้หลังวันที่ 3 ควรพิจารณาถึงการติดเชื้อ
1.4      บริเวณแผลผ่าตัด
-         ตรวจดูแผลผ่าตัดทุก 15 นาทีแรกหลังการผ่าตัด เพื่อสังเกตการมีเลือดออก หรือ discharge ซึมจากแผลผ่าตัด ให้บันทึกจำนวน ลักษณะด้วย
-         สังเกตลักษณะสี จำนวนของสารเหลวที่ออกจากท่อระบายต่างๆ
-         สังเกตความผิดปกติของแผลผ่าตัด เช่น ลักษณะบวม แดง ร้อน ปวด เนื่องจากมีการติดเชื้อ แผลผ่าตัดแยก ฯลฯ
1.5      ระบบประสาท
                        ตรวจดู consciousness , orientation  ของผู้ป่วยหลังได้รับการผ่าตัด โดยปกติผู้ป่วยมักจะรู้สึกตัวดีภายใน 24 – 72 ชั่วโมง  นอกจากนั้นตรวจดูการเคลื่อนไหวของแขนขา รีแฟลกซ์ต่างๆ กำลังความตึงตัวของกล้ามเนื้อ ฯลฯ
1.6      ท้อง
                        ประเมินการเคลื่อนไหวของลำไส้แบบบีบรูดอย่างต่อเนื่องในระยะหลังผ่าตัด อาจประเมินทุก 4 – 8 ชั่วโมง เนื่องจากผลผลการได้รับยาระงับความรู้สึกทั่วร่างกาย การขับถ่ายปัสสาวะ
                        สังเกตสี จำนวนของปัสสาวะที่ไหลออกมาจากสายยางสวนปัสสาวะที่ต่อกับถุงปัสสาวะ คลำดูการโป่งพองของกระเพาะปัสสาวะ กรณีที่ผู้ป่วยไม่ได้คาสายสวนปัสสาวะ ปกติควรถ่ายปัสสาวะได้เองภายใน 6 – 8 ชั่วโมง หลังจากได้รับยาระงับความรู้สึก
        1.7ความสมดุลของสารน้ำและอิเล็คโตรไลท์
                        ผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดมักมีการสูญเสียเลือด สารเหลวในขณะทำการผ่าตัดและภายหลังการการผ่าตัดทางท่อระบายต่างๆ หรืออาจเกิดจากปฏิกิริยาตอบสนองต่อความเครียดจากการทำการผ่าตัด รวมทั้งการให้สารเหลวและอิเล็คโตรไลท์ทดแทนไม่เพียงพอ พยาบาลควรประเมินปริมาณ intake – output fluid
                                   
 
การพยาบาลหลังผ่าตัด
  1. จัดท่านอน
    
  2. การประเมินระดับความรู้สึกตัวในระยะแรกหลังการผ่าตัด
    
  3. หาวิธีการสื่อสารอื่นๆกับผู้ป่วย เมื่อผู้ป่วยไม่สามารถสื่อสารด้วยภาษาพูดได้
    
  4. สังเกตอาการเปลี่ยนแปลงและการเกิดภาวะแทรกซ้อนต่างๆ ภายหลังการผ่าตัดที่สำคัญ ได้แก่
    
4.1      ภาวะอุดตันของทางเดินหายใจ
4.2      ภาวะตกเลือดและช็อก
4.3      ภาวะถุงลมปิดแฟบและปอดบวมเฉพาะที่
4.4      ภาวะเกิดลิ่มเลือดในหลอดเลือดดำส่วนลึกของขาและความดันโลหิตต่ำ
4.5      ภาวะสะอึก ท้องอืด และลำไส้เป็นอัมพาต การปวดท้องจากแก๊ส
4.6      แผลผ่าตัดแยกจากกันบางชั้นและแผลผ่าตัดแยกจากกันทุกชั้น
4.7      การคั่งของน้ำปัสสาวะในกระเพาะปัสสาวะ และการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ
4.8      แผลผ่าตัดมีการอักเสบติดเชื้อ
  1. การบรรเทาความเจ็บปวดในระยะ 48 ชั่วโมงแรกหลังการผ่าตัด
    
  2. การดูแลเกี่ยวกับการให้อาหารน้ำและอิเล็คโตรไลท์ให้อยู่ในภาวะสมดุล
    
  3. ดูแลให้มีการระบายของสารเหลวออกทางท่อระบายต่างๆ
    
  4. การดูแลด้านจิตใจ
    
  5. การสอนและแนะนำเกี่ยวกับการปฏิบัติตัวขณะที่อยู่โรงพยาบาลและขณะอยู่ที่บ้าน
    
คำสำคัญ (Tags): #ผู้ป่วยผ่าตัด
หมายเลขบันทึก: 482589เขียนเมื่อ 20 มีนาคม 2012 12:37 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 09:53 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท