กิจกรรมบำบัดกับคุณค่าของคนสองวัย


โครงการ "กิจกรรมบำับัดกับคุณค่าของคนสองวัย" มีความเป็นมาจากความต้องการทำกิจกรรมกลุ่มร่วมกันของผู้สูงอายุ

ในปี ค.ศ. 2002 สมาคมกิจกรรมบำบัดแห่งประเทศสหรัฐอเมริกา (The American Occupational Therapy Association (AOTA)) ได้เสนอกรอบปฏิบัติงานทางคลินิกกิจกรรมบำับัด โดยอธิบายถึงประเภทของกิจกรรมการดำเนินชีวิต (areas of occupation) ซึ่งเป็นกิจกรรมต่างๆ ในชีวิตที่คนเราแต่ละคนกระทำ ซึ่งแบ่งเป็น 7 ด้าน คือ

1. กิจวัตรประจำวันพื้นฐาน เช่น การอาบน้ำ รับประทานอาหาร

2. กิจวัตรประจำวันชั้นสูง เช่น การดูแลผู้อื่น เลี้ยงสัตว์ การใช้โทรศัพท์

3. การศึกษาเล่าเรียน

4. การงาน

5. การเล่น

6. การทำกิจกรรมยามว่างหรืองานอดิเรก

7. การมีส่วนร่วมในสังคม (Social participation)

ดังนั้น การทำงานกิจกรรมบำบัดจึงให้ความสำคัญในการส่งเสริมให้ผู้รับบริการสามารถกลับไปทำกิจกรรมการดำเนินชีวิตต่างๆ ของแต่ละคนได้ตามความสามารถและศักยภาพที่มีอยู่

โครงการ "กิจกรรมบำับัดกับคุณค่าของคนสองวัย" มีความเป็นมาจากความต้องการทำกิจกรรมกลุ่มร่วมกันของผู้สูงอายุที่เข้ามารับบริการภายในคลินิกกิจกรรมบำบัด และความต่อเนื่องจากภาวะน้ำท่วมในปลายปี 2554 ซึ่งทำให้โรงเรียนหลายโรงเรียนเสียหาย ของเล่น และหนังสือนิทานของเด็กๆ จำนวนมากหายไปกับน้ำที่เข้ามา แม้วันนี้น้ำจะแห้งไป แต่ทุกอย่างก็ยังไม่ได้กลับมาเป็นเหมือนเดิม ยิ่งหากที่ใดมีต้นทุนหรือพื้นฐานเดิมที่ไม่ได้ดีมากนัก การกลับมาฟื้นฟูใหม่ก็นับว่าเป็นเรื่องที่ยากกว่าที่ที่ซึ่งมีเงินและการสนับสนุนมากมาย ดัวยเหตุผล 2 ประการนี้ โครงการนี้จึงเกิดขึ้น เพื่อส่งเสริมให้ผู้สูงอายุที่มีข้อจำกัดทางร่างกาย เช่น อัมพาตครึ่งซีก หรือผู้ที่มีภาวะหลงลืม สามารถทำกิจกรรมในบทบาทของการเป็นอาสาสมัคร(เป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมการทำงาน) เพื่อช่วยเหลือเด็กภายหลังประสบภัยน้ำท่วม และส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมร่วมกันระหว่างเด็กปฐมวัยและผู้สูงอายุ

ในอนาคตคนสองวัยนี้นับว่ามีความสำคัญ เนื่องจากในอนาคตข้างหน้าผู้สูงอายุจะเพิ่มจำนวนมากขึ้น และจะพบว่าในบ้านของแต่ละครอบครัวนั้นจะมีคนสองวัยนี้อยู่ที่บ้านตามลำพัง การสนับสนุนให้ผู้สูงอายุและเด็กปฐมวัยมีโอกาสทำกิจกรรมร่วมกัน ทำให้เกิดการปรับตัวและเรียนรู้ เปิดโอกาสให้ผู้สูงอายุสามารถถ่ายทอดประสบการณ์ที่ตนเองมี การเล่านิทาน การใช้ชีวิตร่วมกับเด็ก และการส่งเสริมให้เด็กเรียนรู้การฟัง การเล่น ร่วมกับผู้สูงอายุในครอบครัวของตนเองต่อไป

การจัดกิจกรรมกลุ่มครั้งแรก จำนวนผู้สูงอายุที่เข้าร่วมโครงการจำนวน 5 คนกับนักกิจกรรมบำบัดจำนวน 2 คน

"กิจกรรมสร้างความสัมพันธ์ ใช่หรือไม่" เป็นกิจกรรมกลุ่มที่ให้ผู้สูงอายุตอบข้อมูลจากคำถามว่าใช่หรือไม่ และให้ข้อมูลเพิ่มในกรณีที่ผู้สูงอายุอยากบอก หลังจากทำกิจกรรมจบมีการทบทวนความจำเกี่ยวกับข้อมูลของผู้สูงอายุทุกท่านที่เข้าร่วมกิจกรรม พบว่า ผู้สูงอายุสามารถจำข้อมูลของผู้สูงอายุท่านอื่นในกลุ่มได้อย่างน้อย 1 คำถามต่อคน และสามารถจำการตอบคำถามของตนเองได้ บรรยากาศของกลุ่มมีความสนุกสนาน ไม่ตึงเครียด และมีการแลกเปลี่ยนกันอย่างเปิดกว้าง หลังจากนั้น ผู้สูงอายุทุกท่านได้ทำกิจกรรมเก้าอี้น้อย เพื่อนำไปมอบให้เด็กๆ ในการนั่งอ่านหนังสือนิทาน ซึ่งผู้สูงอายุให้คุณค่าและทำกิจกรรมร่วมกัน แม้ว่าในการทำกิจกรรมครั้งนี้จะยังทำไม่สำเร็จ แต่ผู้สูงอายุยังต้องการกลับมาวาดลวดลายและทำชิ้นงานของตนเองใ้สำเร็จในครั้งต่อไป

สรุปสื่อการรักษาทางกิจกรรมบำบัดครั้งนี้

1. Therapeutic use of self:

Definition: A practitioners planned use of his or her personality, insights, perceptions, and judgments as part of the therapeutic process

2. Purposeful activity:

Purpose: Allows the client to engage in goal-directed behaviors or activities within a therapeutically designed context that lead to an occupation or occupations

Reference
American Occupational Therapy Association. (2002). Occupational
therapy practice framework: Domain and process.American Journal of Occupational Therapy, 56, 609639.
หมายเลขบันทึก: 482523เขียนเมื่อ 19 มีนาคม 2012 21:47 น. ()แก้ไขเมื่อ 25 กรกฎาคม 2014 01:14 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ขอบคุณคุณครูอ้อย แซ่เฮ. ด้วยค่ะ:)

ขอบคุณ คุณ นงรัตน์, และ น้อย น้ำพอง.สำหรับกำลังใจค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท