54 เส้นทางเดินของลวดเสียบกระดาษ


เรื่องเล็กๆแต่ยิ่งใหญ่ในความคิดสร้างสรรค์ที่น่าชื่นชมและบอกต่อ

เรื่องใกล้ตัวที่น่าสนใจอีกเรื่อง  ซึ่งเล่าโดย "พี่ผ่องคนสวย"  พี่ผ่อง  เล่าว่าในบทบาทที่ตัวเองรับผิดชอบเป็นกรรมการตรวจสอบวัสดุ ครุภัณฑ์ของศูนย์อนามัยที่ 10   ได้พบว่า วัสดุบางอย่างที่ไม่เสื่อมสลายและสามารถหมุนเวียนนำกลับมาใช้ได้อย่างเช่น  ลวดเสียบกระดาษ  มีการเบิกมาใช้กันมาก    จึงสนใจและอยากจะรู้ว่า  แล้วลวดเสียบกระดาษที่เบิกมาเหล่านั้นเมื่อใช้แล้วมันหายไปไหน

 

 

 

ด้วยความที่อยากประหยัดให้องค์กร  จึงแกะรอยตาม  จึงเป็นที่มาของเรื่องเล่า “เส้นทางของลวดเสียบกระดาษ”  โดยเริ่มแกะรอยย้อนหลังเฉพาะหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับแผนกผู้ป่วยในหลังคลอด    ก่อนที่ผู้รับบริการจะมาถึงแผนกผู้ป่วยหลังคลอดที่พี่ผ่องรับผิดชอบอยู่   โดยแบ่งออกเป็น 2 เส้นทาง  คือ

เส้นทางที่ 1  เมื่อผู้รับบริการมาคลอด ดังรูป 

 

  

และเส้นทางที่ 2 คือ เมื่อเด็กแรกเกิดที่ Observe  อาการที่แผนกเด็ก     และเมื่ออาการดีขึ้นก็ต้องย้ายมาอยู่กับแม่ที่แผนกหลังคลอด

 

 

 

 

ควบคุมโดยการนับจำนวนลวดเสียบกระดาษที่ส่งมาจากจุดเริ่มต้นของผู้รับบริการ  และจะส่งคืนให้ทั้งห้องบัตรและแผนนกเด็กเท่ากับจำนวนที่รับมา 

 

ปรากฏว่าได้ผลดีเกินคาด   นั่นคือ แผนกผู้ป่วยในหลังคลอดไม่มีการเบิกลวดเสียบกระดาษอีกเลยตลอดระยะเวลา 2 ปีที่ผ่านมา    ส่วนแผนกอื่นๆที่เกี่ยวข้องก็เบิกใช้บ้างแต่เพียงน้อยมาก

 

พี่ผ่องยังบอกว่า  ถ้าเราทำแบบนี้ได้ทุกงานในศูนย์อนามัยที่ 10  ก็จะไม่มีการเบิกลวดเสียบกระดาษอีกเลย   ซึ่งนอกจากจะช่วยลดค่าใช้จ่ายให้องค์กรแล้ว   ยังเป็นการสร้างนิสัยให้มีความรอบครอบ  รู้จักประหยัด  

 

 

ผู้เขียนคิดว่าถ้าใครได้นำแนวคิดนี้ไปปรับใช้กับวัสดุ ครุภัณฑ์อื่นๆ น่าจะเกิดประโยชน์ให้กับองค์กรอย่างมาก  ขอบคุณพี่ผ่อง และน้องๆทีมงานแผนกผู้ป่วยในหลังคลอด   ที่ทำเรื่องเล็กๆแต่ยิ่งใหญ่ในความคิดสร้างสรรค์ที่น่าชื่นชมและบอกต่อ

                                        

หมายเลขบันทึก: 482366เขียนเมื่อ 18 มีนาคม 2012 13:41 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 19:25 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)

ยอดไปเลย LEAN R2R ได้เลยนะคะนี่  


สวัสดีคะ คุณมนัญญา คิดถึงคิดถึงนะ ไม่ได้เยี่ยมกันเลย ไม่ว่างคะ วันนี้ แวบเข้ามาเห็นคุณมนัญญา เข้ามาเยี่ยม ดีใจจังเลย  ส่วนเม้นท์น่ากลัว ที่บางคนรักษาเองไม่ไปหาหมอ  บางคนเปลี่ยนหมอไปเรื่อยๆๆ ได้ยาหลายยี่ห้อ ด้วยคิดว่าหมอคนเดิมรักษาไม่ดีไม่หาย ตามจริงก็น่ากลัวคะ แต่เผอิญว่าพี่สุ คิดว่าถ้าเป็นน้อยๆๆพอรักษาตนเองได้ แก้ปัญหาได้ เพราะเราหาจุดอ่อน ค้นพบตัวเราเอง เป็นเพราะอะไร เราเลยแก้ถูกจุดคะ  ก็อาศัยกลูเกิ้ล หาความรู้เอาเองนี่แหละคะ แต่ถ้าหากเป็นพี่น้องเราผู้คิดเออเอาเอง ก็น่ากลัวจริงๆๆนะคะ ด้วยรู้ไม่เท่าทันคะ มีแต่คิดเอาเอง เดี๋ยวหมอก็ตกงานพอดีคะ

  มาอ่านติดตามลวดเย็บกระดาษ แม้มันจะเป็นสิ่งเล็กน้อย แต่จำเป็นจะต้องใช้ในกิจกรรมประจำวัน ที่ขาดไม่ได้ แต่ทำไมมันถึงหาย หาย หายไปไหน ก็ดีคะ  ลดค่าใช้จ่ายในองค์กรลงได้ แล้วก็ไปสังเกตการณ์ อุปกรณ์อื่นๆ แล้วก็ลงลง พี่สุยังนำซองจดหมายเก่า มาแปะที่อยู่ใหม่ ทำแบบสวยๆนะคะ ก็ยังส่งจดหมายได้ คะ กระดาษก็ใช้ 2 หน้า อะไรอีกหลายอย่างนำกลับมาใช้อีก ประหยัดลงได้มากทีเดียวคะ

เป็นวิธีหมุนเปลี่ยนเวียนใช้ที่ดีมากค่ะ

สวัสดีค่ะพี่เขี้ยว มาทักทายวันนี้คึกคักบ้านเรามีงานรถเต็ม อิอิ พบพี่แว๊บๆ ออกกำลังกาย และขี่รถดูถมดินหน้าบ้านนะคะ ... น่าสนใจในกรบวนการเดินทางของลวดเสียบนะคะ ขอย้อนไปอ่านเรื่องที่ผ่านมาด้วย อิอิ ขอบคุณค่ะ

         ทานข้าวกลางวันหรือยังค่ะ

  • ดูว่าเป็นเรื่องเล็ก ๆ 
  • แต่ทุกอย่างก็เริ่มจากเล็กก่อนแล้วค่อยไปเรื่องที่ใหญ่ขึ้นเรื่อย ๆ
  • เป็นตัวอย่างที่ดีมากค่ะ
  • ว่าแต่ว่า...ไปรู้...ไปขุด...ไปคุ้ย...มาได้ยังไงนะเนี่ย

สวัสดีปีใหม่ค่ะพี่มนัญญา

เข้ามาเยี่ยมค่ะ ชอบเรื่องนี้ค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท