กิจกรรมบำบัด กับโรคไมเกรน(Migraine)


ไมเกรน คืออาการปวดศีรษะซ้ำๆกัน ซึ่งการปวดศีรษะนั้นมีความแปรปรวนได้มาก ทั้งความรุนแรงของอาการ ความถี่ และระยะเวลาของการปวดศีรษะ อาการศีรษะมักปวดข้างเดียว และมักมีอาการอื่นๆร่วมด้วยเสมอ ทำให้ความสามารถในการดำเนินชีวิตลดน้อยลง การพักผ่อนคือส่วนที่ช่วยในการแก้ไขให้อาการไมเกรนดีขึ้น

Migraine:

เป็นคำภาษาฝรั่งเศสที่มีรากศัพท์มาจากภาษากรีกว่า  hemicrania , ซึ่ง Galen (A.D.131 -2011) ได้เป็นคนแรกที่ใช้คำนี้เมื่อราว 2,000 ปีมาแล้ว โดยหมายความถึงอาการปวดศีรษะครึ่งซีกที่เกิดขึ้นทันทีทันใด , และเกิดขึ้นเป็นพักๆ นอกจากนี้ยังมีอาการอาเจียน , กลัวแสง และมักเกิดขึ้นซ้ำบ่อยๆในช่วงเวลาที่แน่นอนสม่ำเสมอ อาการปวดศีรษะเหล่านี้มักจะทะเลา , ถ้าอยู่ในห้องมืดหรือนอนหลับ

The Research Group on Migraine and Headache

                ให้คำจำกัดความว่า คือ โรคความผิดปกติทางครอบครัวชนิดหนึ่ง ที่มีลักษณะจำเพาะของการเกิดอาการปวดศีรษะซ้ำๆกัน ซึ่งการปวดศีรษะนั้นมีความแปรปรวนได้มาก ทั้งความรุนแรงของอาการ ความถี่ และระยะเวลาของการปวดศีรษะ อาการศีรษะมักปวดข้างเดียว และมักมีอาการอื่นๆร่วมด้วยเสมอ

สาเหตุ

1.Neuronal hypothesis : เกิดจากความผิดปกติของการทำงานของเซลล์สมองตั้งแต่เริ่มต้น  และมีผลต่อมาทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในหลอดเลือดในที่สุด

2.Vascular hypothesis : เกิดจากการขยายตัวของหลอดเลือดนอกกะโหลกศีรษะ และภายในกะโหลกศีรษะ การคั่งของสารเคมีหลอดเลือดแดง หรือรอบๆหลอดเลือด

3.Humoral hypothesis : โดยอาจจะเป็น Hormone หรือ neurotransmitters จะพบว่ามีการเปลี่ยนที่แน่ชัด คือ ระดับของ serotonin ในเลือดและเกร็ดเลือดจะลดต่ำลงในขณะที่อาการของโรคไมเกรนกำเริบ ในขณะเดียวกัน ระดับของ biological mine อื่นๆ จะมีค่าสูงขึ้น

4.Platelet hypothesis :

1.  ผนังเกร็ดเลือดมีความไวต่อการเปลี่ยนแปลงในการลดลงของอุณหภูมิของคนปกติ 3 เท่า

2.  มีการเกาะรวมตัวกันของเกร็ดเลือดได้รวดเร็วกว่า และมากกว่าคนปกติ

3.  เกร็ดเลือดมีส่วนประกอบ ADP และ ATP มากกว่าในคนปกติ

4.  การหลั่งของ serotonin ออกมาจากเกร็ดเลือดผิดปกติ

 

ความผิดปกติของส่วนต่างๆ - อาการปวดหัวอาจจะเกิดจากความผิดปกติของส่วนต่าง ๆ ภายในกะโหลกศีรษะ เช่น สมอง เยื่อหุ้มสมอง โพรงน้ำในสมอง หลอดเลือดสมอง หรืออาจจะเกิดจากความผิดปกติของกะโหลกศีรษะเอง รวมทั้งอวัยวะต่าง ๆ รอบกะโหลก ได้แก่ ตา หู จมูก โพรงอากาศหรือไซนัส คอ และกระดูกคอ

อาการของโรค

  1. Prodrome phase (ระยะอาการนำ): พบราวๆ 50-80 เปอร์เซ็นต์ ของผู้ป่วยทั้งหมด เกิดก่อนอาการปวดราว 3 ชั่วโมง อาการนำนี้มักเกิดขึ้นทีละน้อยๆ อย่างช้าๆ หรือความผิดปกติของหลอดเลือดที่เกิดขึ้นอย่างทันทีทันใด และอาการนำส่วนใหญ่บ่งถึงสภาวะเปลี่ยนแปลงของอารมณ์, บุคลิกภาพ, และการทำงานของระบบประสาทอัตโนมัติ เช่น เบื่ออาหาร, รู้สึกหนาว, มีอาการคิดช้า เป็นต้น
  2. Aura phase (ระยะอาการเตือน) : โดยปกติอาการเตือนนี้จะคงอยู่นาน 10 – 30 นาที อาการมีดังนี้

-          อาการผิดปกติของการเห็น

-          อาการผิดปกติของความรู้สึกสัมผัส ( sensory symptom )

-          อาการ dysphasia

-          อาการทางระบบกล้ามเนื้อ

   3.Headache phase (ระยะอาการปวดศีรษะ)

  • อาจพบอาการอื่นๆแสดงร่วมด้วย ดังนี้

-          อาการคลื่นไส้อาเจียน

-          ผิวหนังและอุณหภูมิ : หน้าซีดขาว มือเท้าเย็น อาจมีไข้สูง

-          ตาพร่ามัว กลัวแสง รับแสงไวกว่าปกติ

-          อาการทางประสาทสัมผัสต่างๆ

-          หงุดหงิดง่าย

-          ขาดสมาธิ สมองตื้อ

-          อาการปวดต้นคอ

-          นอนอ่อนเพลีย อยู่ในระยะ REM sleep

-          อาการคัดจมูกตาแดง

-          กระหายน้ำและปัสสาวะบ่อย

-          วิงเวียนหรือมึนงง

-          หมดสติ

4.Headache termination phase (ระยะหายปวดศีรษะ)

ปัจจัยที่ส่งเสริมทำให้อาการปวดศีรษะหายไปนั้นมีหลายประการ ได้แก่ การนอนหลับ , การกินยาแก้ปวด , การกินยาแก้อาเจียน และการอาเจียน ในบรรดาปัจจัยต่างๆนี้ การนอนหลับ สำคัญที่สุด โดยปกติการนอนหลับสนิทเพียง 45 ถึง 3 ชั่วโมง ในช่วงเวลาที่ปวด มักจะเพียงพอที่จะทำให้การปวดศีรษะนั้นหายไปได้5

5.Postdromes phase (ระยะอาการตาม)

ได้มีผู้ตั้งสมมุติฐานเกี่ยวกับอาการในระยะ postdrome ว่า อาจมีกลวิธานในการเกิดได้จาก 2 สาเหตุ คือ

-          เกิดจาการปรับคืนสู่สภาพปกติของระบบประสาทกลาง

-          เป็นผลตามมาเนื่องจากยา ที่ผู้ป่วยได้รับในการรักษาอาการปวดศีรษะ

 อาการในระยะ postdrome นี้ , จะมีอาการที่แสดงตรงข้ามกับในระยะ prodrome อย่างชัดเจน ในผู้ป่วยบางราย

บทบาทของนักกิจกรรมบำบัด

  •   ตรวจประเมินถึงความสามารถในการทำงานเกี่ยวกับการรับความรู้สึก และตอบสนองของผู้ที่เสี่ยงต่อการเป็นโรคไมเกรน
  •  ถ้าพบว่าผู้รับบริการมีอาการล้า หรือเครียด ต้องหาสาเหตุ สอบถามข้อมูล หรือคำวินิจฉัยแพทย์ว่ามาจากสาเหตุใด
  •  เกิดจากความเครียด ก็ให้เข้ารับการบำบัดทางจิตใจ เช่น ให้พักผ่อนในห้องผ่อนคลายความเครียด หรือบำบัดความล้า เป็นต้น
  •  เกิดจากความผิดปกติที่เส้นเลือดในสมอง ขั้นรุนแรงควรให้แนวทางป้องกัน เช่น แนะนำการออกกำลังกาย การพักผ่อน    หากิจกรรมที่ชอบให้ทำ เป็นต้น

 

 

 

 

 

 

 

 



 

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 481810เขียนเมื่อ 13 มีนาคม 2012 01:19 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 มิถุนายน 2012 20:07 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท