ศักยภาพการผลิตไฟฟ้าด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ ระบบความร้อนแบบรวมแสง กรณีศึกษาสำหรับจังหวัดร้อยเอ็ด


ศักยภาพการผลิตไฟฟ้าด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ ระบบความร้อนแบบรวมแสง

               ไฟฟ้าเป็นพลังงานพื้นฐานที่มีความสำคัญต่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ ปัจจุบันประเทศไทยใช้พลังงานไฟฟ้าปีละกว่า 100,000 ล้านกิโลวัตต์ โดยส่วนใหญ่ผลิตจากเชื่อเพลิงฟอสซิล ซึ่งต้องนำเข้ามาจากต่างประเทศ นอกจากต้องเสียเงินตราต่างประเทศปีละกว่า 5 แสนล้านบาทแล้ว ยังก่อให้เกิดมลภาวะต่อประเทศ นอกจากนี้ราคาของเชื้อเพลิงฟอสซิลยังมีแนวโน้มสูงขึ้นเรื่อย ๆ เนื่องจากปัญหาทางด้านการเมืองระหว่างประเทศ และปริมาณที่จำกัด

                ในอดีตที่ผ่านมานักวิจัยต่าง ๆ ทั่วโลก หันมามองความสำคัญในเรื่องพลังงานทดแทน และพลังงานหมุนเวียน เพื่อนำมาพัฒนาทดแทนพลังงานจากเชื้อเพลิงฟอสซิล นั่นคือพลังงานแสงอาทิตย์ที่เป็นพลังงานที่มีศักยภาพสูง แม้ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาได้มีการพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตไฟฟ้าด้วยพลังงานแสงอาทิตย์  ไม่ว่าจะเป็นการผลิตไฟฟ้าด้วยโซลาร์เซลล์ หรือ ระบบความร้อนแบบรวมแสงแล้วก็ตาม แต่ต้นทุนการผลิตยังสูงกว่าการผลิตไฟฟ้าด้วยเชื้อเพลิง อยู่ดี

                สำหรับกรณีของการการผลิตไฟฟ้าด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ระบบความร้อนแบบรวมแสงนี้ ปัจจุบันได้มีการพัฒนาด้านเทคโนโลยีอย่างกว้างขวางจนถึงขั้นจัดตั้งโรงงานไฟฟ้าเพื่อป้อนกระแสไฟฟ้าเข้าสู่ระบบสายส่งในเชิงพานิชย์ โดยสามารถผลิตไฟฟ้าเพื่อตอบสนองความต้องการ ได้ถึง 350,000 ครัวเรือน ณ รัฐแคลิฟอร์เนีย ประเทศสหรัฐอเมริกา โดยใช้ต้นทุนการผลิตต่ำกว่าการใช้โซลาร์เซลล์ การผลิตไฟฟ้าด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ระบบความร้อนแบบรวมแสงมีแนวโน้มที่จะสามารถแข่งขันกับพลังงานในรูปแบบต่าง ๆ ได้ในอนาคต

                อย่างไรก็ตาม สมรรถะของการผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ระบบความร้อนแบบรวมแสง ทั้งนี้จะต้องขึ้นอยู่กับความเข้มรังสีตรงของดวงอาทิตย์ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของรังสีรวมดวงอาทิตย์ โรงงานพลังงานแสงอาทิตย์ระบบความร้อนแบบรวมแสงจะมีสมถรรนะสูง ในกรณีที่ตั้งรวมแสงตั้งอยู่ในบริเวณที่มีค่าความเข้มรังสีตรงสูง แต่ในประเทศไทยข้อมูลสถานที่ความเข้มรังสีตรงของดวงอาทิตย์นั้นยังไม่ชัดเจนเท่าที่ควร จึงไม่สามารถชี้ชัดถึงศักยภาพการผลิตไฟฟ้าด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ระบบความร้อนแบบรวมแสง ในประเทศไทยได้ชัดเจนมากนัก

                ดังนั้นผู้วิจัยจึงได้ดำเนินการวิเคราะห์ศักยภาพการผลิตไฟฟ้าด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ระบบความร้อนแบบรวมแสงในประเทศไทย เพื่อนำผลที่ได้ไปใช้ประโยชน์เพื่อการพัฒนาต่อไปให้ดียิ่งขึ้น

คำสำคัญ (Tags): #พลังงานทดแทน
หมายเลขบันทึก: 481803เขียนเมื่อ 12 มีนาคม 2012 22:19 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 07:36 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

อยากเห็นงานวิจัยที่ชัดเจนกว่านี้...

อยากได้คำตอบว่า เมืองไทย ใช้แสงอาทิตย์ดีไหม??? ง่าย ๆ

ถ้าใช้แสงอาทิตย์..ต้องผลิตแค่ไหน..ถึงคุ้ม???

ในขณะที่เทคโนโลยีเติบโตเท่ากับความเร็ว ๖เดือน/๑ วงจรชีวิต

ใช้แบบจำลองคณิตศาสตร์คำนวนเพิ่มอีกชั้นได้ไหม?? ทำที่ไหน ดีมาก..น้อย..ไม่ดี

ให้กำลังใจนะ...

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท