กิจกรรมบำบัด กับโรคภาวะสมองเสื่อม (Dementia)


ภาวะสมองเสื่อม จะมีการหลงลืมเรื่องราวต่างๆ อาการค่อยๆเริ่มเปลี่ยนแปลงจนทำให้เกิดปัญหาต่อกิจวัตรประจำวัน (ADLs) การทำงาน (Work) การพักผ่อนนอนหลับ (Rest)

Dementia คือ ภาวะสมองเสื่อม เป็นภาวะที่ทำให้ความสามารถทางสติปัญญาลดลง คิดและจำไม่ได้ เกิดจากความเสื่อมของการรับรู้เกี่ยวกับความจำ ความใส่ใจ ภาษา และการแก้ปัญหา พบมากในผู้สูงอายุ ที่มีอายุเฉลี่ย 60 ปีขึ้นไป ทำให้มีอาการหลงลืม ใช้ภาษาผิดปกติ มีพฤติกรรมและอารมณ์เปลี่ยนไปทำให้มีผลอย่างมากต่อคุณภาพชีวิต (Quality of life) โดย Alzheimer’s disease เป็นโรคที่ทำให้เกิดภาวะสมองเสื่อมที่พบบ่อยที่สุด โรคอัลไซเมอร์โดยเฉลี่ยอยู่ประมาณ 7 ปี มีผู้ป่วยน้อยกว่าร้อยละ 3 ที่มีชีวิตอยู่ได้มากกว่า 14 ปี

อาการ

เริ่มแรก : จะเริ่มลืมเรื่องราวที่เพิ่งผ่านมาได้ไม่นาน ทั้งการพูดเรื่องเดิมซ้ำๆ, มีอาการลืมสิ่งของที่จะหยิบ หรือวางไว้, นึกคำพูดไม่ค่อยออกหรือใช้คำพูดผิดความหมาย (paraphasia), การตัดสินใจแย่ลงด้วย

ระยะท้าย : อาการคือไม่รับรู้ วัน เวลา สถานที่ ความทรงจำระยะยาวเริ่มสูญเสีย รวมถึงสูญเสียความสามารถด้านภาษาด้วย

อาการต่างๆจะค่อยๆเริ่มเปลี่ยนแปลงจนทำให้เกิดปัญหาต่อกิจวัตรประจำวัน (ADLs) การทำงาน (Work) การพักผ่อนนอนหลับ (Rest)

การป้องกัน

1.หลีกเลี่ยงยาหรือสารที่จะทำให้เกิดอันตรายแก่สมอง: การดื่มเหล้าจัด การรับประทานยาโดยไม่จำเป็น

2.การฝึกฝนสมอง: ฝึกให้คิดบ่อยๆ ฝึกสมาธิอยู่ตลอดเวลา

3.ออกกาลังกายสม่ำเสมอ ตรวจสุขภาพประจำปี

4.เข้าร่วมสังคม: พบปะพูดคุยกับผู้อื่นสม่ำเสมอ

5.ระมัดระวังเรื่องอุบัติเหตุต่อสมอง

6.หลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงที่ก่อให้เกิดความเครียด

 

บทบาทของนักกิจกรรมบำบัด

ประเมินความสามารถในการทำกิจกรรมดำเนินชีวิตของผู้ป่วย

  • วางแผนการรักษาโดยพิจารณาจากทั้งบุคคล(Intrinsic factors) และบริบทแวดล้อม(Extrinsic factors) ซึ่งจะส่งผลต่อการทำกิจวัตรประจำวัน ทำงาน การเล่น พักผ่อน รวมถึงการมีส่วนร่วมกิจกรรมทางสังคม
  • การกำหนดตั้งเป้าประสงค์ในสิ่งที่ผู้ป่วยอยากทำ และสิ่งที่ผู้ป่วยควรที่จะทำได้
  • ทำการบำบัดฟื้นฟูการดำเนินชีวิตที่เสียไป และร่วมมือกับสหวิชาชีพในการดำเนินการรักษา
  • ติดตามผล และประเมินซ้ำ

 

กรอบอ้างอิง PEOP ในผู้รับบริการสมองเสื่อม

P (Person) – ผู้ที่อยู่ในสภาวะนี้ สูญเสียการทำงานของระบบประสาทเป็นหลัก ซึ่งมีผลต่อกลไกการเคลื่อนไหวของร่างกาย นอกจากนี้ความสามารถเกี่ยวกับการับรู้เข้าใจก็จะลดลงด้วย

E (Environment) – การจัดสิ่งแวดล้อมในที่อยู่อาศัยควรจัดให้เป็นระเบียบ และมีสัญลักษณ์คอยเตือน ให้เหมาะกับผู้ป่วยที่มีปัญหาเรื่องความจำ ก็จะเป็นการเอื้อต่อการฟื้นฟู นอกจากนี้ ครอบครัวยังเป็นส่วนที่สำคัญในการกระตุ้น และให้กำลังใจเพื่อสร้างแรงจูงใจให้กับผู้ป่วยในการดำเนินชีวิต

O (Occupation) – การลืม ส่งผลต่อลำดับความคิด และขั้นตอนในการทำกิจกรรม ดังนั้นเราควรฝึกให้ผู้ป่วยได้ทำกิจวัตรประจำวันหลักๆได้ก่อน โดยฝึกทีละขั้นตอนซ้ำๆ จนเกิดความเคยชิน และอาจมีกิจกรรมที่ชอบเพื่อสร้างแรงจูงใจด้วย

P (Performance) – ความสามารถของผู้ป่วยโรคนี้จะค่อนข้างต่ำ ต้องอาศัยกิจกรรมที่มีความสนใจ และแรงจูงใจเข้าช่วยในการพัฒนาศักยภาพ สิ่งที่สำคัญที่สุดของผู้ป่วยโรคนี้คือความปลอดภัยในการดำเนินชีวิตประจำวัน

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 481302เขียนเมื่อ 8 มีนาคม 2012 01:50 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 มิถุนายน 2012 15:38 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท