๒๕๐.การเผาทำลายป่าเท่ากับการปล้นและฆ่าเจ้าของทรัพย์


สาเหตุทั้งหมดที่กล่าวมา ไม่ว่าจะเกิดจากสาเหตุใดก็ตาม โดยมากล้วนแล้วมาจากคำว่า "ผลประโยชน์" ดังนั้นผลประโยชน์ในที่นี้ ก็ต้องมีมูลค่า และมูลค่านี้เป็นทรัพย์สินได้หรือไม่? นี้คือการ "ทุจริต" (ทุ แปลว่า ชั่ว ยาก ลำบาก)+ (จริต ประพฤติ) จึงรวมความว่า ประพฤติไม่ค่อยเจริญสักเท่าไหร่

    

     จากกรณีเกิดควันไฟปกคลุมจังหวัดทางภาคเหนือตอนบนอยู่ในขณะนี้ จากการรายงานของกรมควบคุมมลพิษ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมระบุว่า จังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย แม่ฮ่องสอน ลำปาง และพะเยา ถือว่าสาหัสมาก (ลำดับขึ้นลงตามเหตุปัจจัย) หากใครขึ้นมาทางเหนือช่วงนี้มักมีอาการน้ำตาไหล แสบตา แสบจมูก เนื่องจากกลุ่มควันที่เกินความพอดีของมาตรฐานนั้นเอง

     ยิ่งใครมีสุขภาพไม่ดี ยิ่งแย่เข้าไปใหญ่ ฝุ่นละอองเล่านี้สามารถทำให้คนในท้องถิ่นป่วยมากกว่า ๑,๐๐๐ รายในแต่ละปี

     จากการศึกษาของมูลนิธิของคุณหมอเสม พริ้งพวงแก้ว ทำให้เห็นถึงสาเหตุและความเสียหายนี้มากมายอยู่ไม่ใช่น้อยๆ

     แม้ทางราชการจะพยายามเฝ้าระวังอยู่... อย่างไรก็ตาม แต่เหตุผลของการเผาทำลายป่าก็มักมีสารพัดประเด็นปัญหา ประการที่หนึ่งมักอ้างเรื่องวัฒนธรรมในการเผา ซึ่งเป็นการกล่าวอ้างที่ไร้เสียซึ่งเหตุผลโดยประการทั้งปวง

     ผู้เขียนเห็นว่า "วัฒนธรรม" มาจากคำว่า "วัฒนะ" ซึ่งแปลว่า ก้าวหน้า/เจริญ +คำว่า "ธรรม" ที่แปลว่า บ่อเกิดแห่งคุณความดี/ธรรมชาติ

     เมื่อรวมกันแล้วจะให้ความหมายโดยตัวของมันเองว่า บ่อเกิดแห่งคุณงามความดีหรือธรรมชาติที่ทำให้เกิดการเจริญเติบโตอย่างก้าวหน้า

     ดังนั้น การอ้างวัฒนธรรมเดิมนั้นผิด โดยมีความผิดพลาดอยู่ ๒ ประการคือผิดข้อเท็จจริงในเรื่องของวิธีที่คนโบราณดำรงอยู่ เนื่องจากกาละ(ช่วงเวลา) และเทศะ(สถานที่) มันเปลี่ยนไปแล้ว หมายถึงคนอ้างกำลังกล่าวโทษปู่ย่าตายายว่าทำผิดพลาดมาก่อน แต่ความจริงบรรพบุรุษของเราท่านฉลาดในการรับรู้คือมีทั้งกาละและเทศะ 

     ผิดข้อที่สอง คือ ผิดในเรื่องของศีลธรรม หากสังเกตุให้ดี ผู้กระทำผิดได้ละเมิดข้อกฏหมายอย่างชัดแจ้งในเรื่องการปล่อยมลพิษ คือการทำร้ายร่างกายผู้อื่นโดยเจตนาหรือไม่ก็ตาม

     แต่ผลของมันถึงกลับทำให้คนล้มป่วยด้วยโรคทางเดินหายใจเป็น ๑,๐๐๐ ชีวิต นี้ไม่ธรรมดา ซึ่งเทียบค่าแล้วก็เท่ากับผิดศีลข้อที่ ๑ คือการยังชีวิตสัตว์มนุษย์ให้ตกล่วงไป แม้ตายหรือไม่ ศีลนั้นครบองค์ประกอบ ๔-๕ องค์ประกอบหรือไม่? ก็มีความผิดในประเด็นนี้

     แต่ที่ผู้เขียนต้องการเขียนในที่นี้คือความผิดในศีลข้อที่ ๒ ด้วย กล่าวคือ ประเด็นการจุดเผาทำลายป่าในแง่ที่ว่า

     ๑.ต้องการพื้นที่ป่า คือทำลายเพื่อผลประโยชน์ในพื้นที่(ของนายทุนใหญ่)

     ๒.ต้องการเผาเศษวัชพืชเพื่อเตรียมพื้นที่ทางการเกษตร (ของเกษตรกร)

     ๓.ต้องการแค่ให้ผักหวานแตกยอด เห็ดเผาะออกได้ดี (ของชาวบ้าน)

     ๔.ประเทศในแถบภูมิภาคอินโดจีน (คงเป็นกรณีเช่นเดียวกับไทย คือเกิดจากนายทุน-เกษตรกร-ชาวบ้าน ผสมกัน)

     ๕.สภาพภูมิประเทศของจังหวัดเหล่านี้ล้อมรอบด้วยภูเขา ทำให้การถ่ายเทของควันไฟ มีน้อย และ

     ๖.อื่น ๆ

     สาเหตุทั้งหมดที่กล่าวมา ไม่ว่าจะเกิดจากสาเหตุใดก็ตาม โดยมากล้วนแล้วมาจากคำว่า "ผลประโยชน์" ดังนั้นผลประโยชน์ในที่นี้ ก็ต้องมีมูลค่า และมูลค่านี้เป็นทรัพย์สินได้หรือไม่?

     นี้คือการ "ทุจริต" (ทุ แปลว่า ชั่ว ยาก ลำบาก)+ (จริต ประพฤติ) จึงรวมความว่า ประพฤติไม่ค่อยเจริญสักเท่าไหร่

     ประเด็นนี้หมายความว่ากลุ่มชนเหล่านี้ ได้ปล้นหรือเบียดบังเอาทรัพยากรธรรมชาติซึ่งเป็นของส่วนรวมไปแล้ว ยังไม่พอยังทำร้ายเจ้าทุกข์ด้วย คือก่อมลพิษไปทำร้ายผู้อื่นทำให้เจ็บป่วย เสียสุขภาพ เสียทรัพย์ และเสียเวลา

     ดังนั้น ผู้ที่จงใจเผาลำลายป่าในช่วงนี้ จึงเป็นผู้ผิดทั้งในแง่กฏหมาย และผิดในแง่ศีลธรรม ทั้งที่รู้และไม่รู้ก็ตาม

     ทางหนึ่งที่ต้องใส่ใจคือ การที่รัฐต้องประสานงานกับท้องถิ่น (อบต.เทศบาล)และท้องที่ (ผู้ใหญ่บ้าน กำนัน) โดยให้แต่ละหน่วยงานไปตกลงทำความเข้าใจทั้งในเชิงกฏหมาย และเชิงศีลธรรม ให้กับชาวบ้านเพื่อหาทางออกร่วมกัน

     อย่าปล่อยให้เหตุการณ์มันเกิดขึ้นเป็นปีต่อปี ซ้ำแล้วซ้ำเล่า วนเวียนอยู่เหมือนเดิม หรือมองประเด็นดังกล่าวเป็นแค่เพียงไม่กี่จังหวัดในภาคเหนือตอนบน ซึ่งถ้าเป็นอย่างนั้นแล้ว ผู้เขียนใคร่ชวนท่านผู้อ่านคิดต่อไปอีกว่า เหตุการณ์เผาป่านี้แหละ เป็นหนึ่งในสาเหตุของน้ำท่วมใหญ่ในปีที่ผ่านมา

     ก็ล้วนแล้วแต่สืบเนื่องมาจากต้นไม้ถูกกำจัด จึงไม่สามารถอุ้มน้ำไว้ได้ บึง-หนอง-คลองต่างก็ตื้นเขิน ก็ล้วนมาจากฝุ่นละอองและการพังทลายของหน้าดิน

     เห็นหรือไม่ว่า สิ่งเล็ก ๆ สิ่งหนึ่งเมื่อเกิดขึ้นแล้วมันโยงใย เกี่ยวเนื่อง พันกันไปหมด ดังนั้นจึงเป็นที่มาของคำว่า "ระบบนิเวศวิทยา" มันเสื่อมไป

     แต่ต้องให้เป็นการแก้ไขในระยะยาวให้ได้ จงร่วมกันคิด ร่วมกันทำ ร่วมกันเข้าใจ แล้วคนไทยจะรักกัน

    

หมายเลขบันทึก: 481144เขียนเมื่อ 6 มีนาคม 2012 12:35 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 พฤษภาคม 2012 10:34 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท