เรียนภาษาอังกฤษ..เปรียบเทียบระหว่างไทยและญี่ปุ่น


ส่วนไทยเรานั้นตรงกันข้ามเลย เพราะเราต้องการเรียนภาษาอังกฤษเพื่อไป “รับใช้ฝรั่ง” ให้ได้ดีนั่นเอง

ผมได้เคยเขียนเล่าไว้แล้วว่า ศ.ดร. ญี่ป่น หลายคนที่ผมได้เคยคุยด้วย พูดอังกฤษไม่ได้ศัพท์  จัดได้ว่าด้อยกว่า นศ. ป. โท ในความดูแลของผมแทบทุกคนก็ว่าได้ ...แต่ทำไมญี่ปุ่นพัฒนาจนเป็นมหาอำนาจโลก ในขณะที่ไทยเป็นได้แค่ลูกหาบที่คอยแบกเสลี่ยงพานายญึ่ปุ่นไปชมวิวโลกาภิวัตน์

 

แม้จนบัดนี้นักวางนโยบายการศึกษาไทยก็ยังตะบันคิดกันได้แบบโง่ๆว่า ภาษาอังกฤษคือ “กุญแจ” ไปสู่ความเจริญ ..ทำให้เกิดการเรียนภาษาอังกฤษกันอย่างบ้าคลั่งในโรงเรียนไทย โดยบังคับเรียนตั้งแต่ ป. ๑  มานาน ตั้งแต่ปีมะโว้กระมัง

 

ในขณะที่ญี่ปุ่นนั้นเขาเพิ่งจะเริ่มบังคับให้เรียนอังกฤษกันในระดับ ป. ๕ เมื่อปีพศ. ๒๕๕๔ นี้เอง (ล้าหลังกว่าไทยไป  ๕๐ กว่าปี เพราะผมจำได้ว่าพวกพี่ๆ และตัวผมเองที่รร. Bannorg interนาฉันแน่น   นั้นถูกบังคับให้เริ่มเรียนอังกฤษเมื่อ ป.๕ โดยใช้ตำราที่เรียกว่า ไดเร็ก (direct methos) )

 

ผมมาคิดว่า เอ..ทำไมญี่ปุ่นถึงได้มา “กระตือรือร้น” เรียนกันเอาในพศ. ที่สายมากบัดนี้แล้ว  ก็มาถึง “บางปู” (เลยบางอ้อมานิด) ว่า อ๋อ..เมื่อก่อนเขาฉลาดมาก ไม่ยอมเสียเวลาเรียนอังกฤษให้โง่แบบเรา จึงใช้วิธีให้คนจำนวนน้อยที่เก่งๆ แปลตำราฝรั่งมาเป็นภาษาญี่ปุ่นให้เด็กๆเรียน จึงสามารถพัฒนาชาติได้อย่างรวดเร็ว

 

พอมาตอนนี้เขาเจริญทัดเทียมฝรั่งแล้ว  ก็มาคิดได้ว่าจะพัฒนาชาติให้รุดหน้ากว่าฝรั่งได้อย่างไร เพราะต้องไปลงทุนในเมืองฝรั่งมาก  ดังนั้นก็ต้องมี “คนใช้” เป็นฝรั่งมาก ..ครั้นจะไปบังคับให้ฝรั่งมาเรียนภาษาญี่ปุ่นก็ไม่ได้ ก็เลยจำต้องเสียเวลามาเรียนภาษาอังกฤษ เพื่อที่จะได้ไป”สั่ง”ให้ลูกน้องฝรั่งทำงานรับใช้ได้ดังใจนั่นเอง  ..รวมทั้งสั่งขี้ข้านานาชาติ เช่นไทย จีน แขก เวียต  ให้เทกระโถนได้ดังใจด้วย

 

ส่วนไทยเรานั้นตรงกันข้ามเลย เพราะเราต้องการเรียนภาษาอังกฤษเพื่อไป “รับใช้ฝรั่ง” ให้ได้ดีนั่นเอง  ก็หว่านแหเรียนกันทั้งประเทศ สุดท้ายพูดกันได้สองสามคำ เช่น โคล่า โตโยต้า กุชชี่ และถึงแม้พูดได้คล่องก็เถอะ แล้วถามว่านายฝรั่งที่ไหนเขาจะมาพูดคุยกับคนระดับล่างอย่างคุณ เพราะเขาสั่งงานผ่านผู้จัดการคนไทยระดับสูงเพียงไม่กี่คนต่างหาก (สั่งงานผ่านนายทาส)

 

ความงั่งของคนไทยเรามันถึงขนาดว่า  รมว. แรงงานท่านหนึ่ง (จบโท วิศว จากสรอ. อีกต่างหาก...ซึ่งผมเคยอ้างถึงเรื่องนี้มาแล้ว) บอกว่าขณะนี้ไทยเรามีปัญหาเพราะถูกแรงงานฟิลิปินส์แย่งงาน “คนใช้” ในฮ่องกง เนื่องจากฟลป. พูดอังกฤษเก่งกว่า ดังนั้นท่านประกาศก้องแสดงวิสัยทัศน์อันกระฉูดว่า..ไทยเราต้องลงทุนเพื่อเน้นการเรียนภาษาอังกฤษให้มากขึ้นกว่าเดิมก่อนที่จะตกงานกันมากไปกว่านี้

 

 (โอว..ตอนแรกผมนึกว่าเรียนเพื่อไปเป็นขี้ข้าฝรั่ง ตอนนี้ต้องลดระดับมาเป็นขี้ข้าเจ๊กฮ่องกงแล้ว  ฮื่อ ฮื่อ)

 

...คนถางทาง (๖ มีนาคม ๒๕๕๕)

หมายเลขบันทึก: 481140เขียนเมื่อ 6 มีนาคม 2012 11:50 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 18:52 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (9)

My position is this:

-- English is a tool (and I will use it when it suits me),

-- I know more about 'information/computer technologies' than about social issues (especially Thailand's issues)

-- modern information technologies have been 'mostly' developed for English speaking markets (eg. programming languages --incidentally, "Ruby" is based on English developed by a Japanese team--, operating systems,...)

I do not the devil in English like you do.

I do agree that forcing everybody to use a hammer is madness. We need cooks, farmers, drivers, ... as well as hammers ;-) So someone will be un/lucky enough to learn to use English. Because the world is going English, some teachers, doctors, nurses, engineere, police, emergency rescue personnel should be able to use English --enough to do the work/save lives as expected of them.

For workers wanting to go overseas, English is one skill that would enhance their employment/slavery prospect.

But be warned that in many workplaces, "robots are coming" and most of them will understand only English or must be programmed in English-based programming languages. To work as robots or to service robots or to use robots, it seems we need to use English.

Thai is of course useful and powerful in Thailand. But ''true Thai" is difficult to find. Sanskrit or Pali is more prevailing. [Just for fun I am writing a blog about 'ภาษา ภาษี และ(สุ)ภาษิต' --comin soon on your nearest G2K--]

Anyway, what I want to see more clearly is your position on Enflish.

ท่าน sr ครับ จุดยืน ของผมเรื่องการเรียนภาษาอังกฤษ ผมได้บอกไว้แล้วคือ อย่าเรียนแบบหว่านแห ตำน้ำพริกละลายแม่น้ำ แต่ทำแบบเข้มข้น เฉพาะจุดที่ต้องการ ซึ่งมันจะได้หลายต่อ คือ ประหยัดเงินได้มาก และเพิ่มประสิทธิผล อีกด้วย

ในขณะนี้ผมว่าเราต้องการเรียนภาษาเขมร พม่า ไทยใหญ่ เวียตนาม ลาว มากกว่าภาษาฝรั่งเสียอีก

ตอนนี้เขตการค้าเสรีอาเซียนกำลังมาในอีกสองปี และจะมีการแลกเปลี่ยนแรงงานในเขตอาเซียนบวกสามเสรีเช่นกัน ดังนั้นการหัดเรียนภาษาเพื่อนบ้านยังเหมาะกว่าภาษาอังกฤษครับ เพราะจะได้คุยกับแรงงานพม่า หัวหน้างานชาวเวียดนาม ได้

เมื่อต้นเดือนพฤศจิกายนปี 2554 เราไปประเทศฮ่องกงกับแฟนต่างชาติที่เป็นอาจารย์สอนภาษาอังกฤษ และไปพักบ้านลูกสาวแฟนที่เป็นชาวอังกฤษ เราได้พบสาวใช้ที่มาจากประเทศฟิลิปปินส์สองคน คนเป็นแม่ อายุ 53 ลูกสาวอายุ 24 เขาฟัง อ่าน เขียน พูดภาษาอังกฤษได้คล่องแต่เป็นคนรับใช้ เขาสามารถทำกับข้าวโดยอ่านตำราภาษาอังกฤษได้ด้วย ซึ่งเราเองก็ทึ่งกับสิ่งที่ได้เห็น จนมีความรู้สึกละอายใจ ว่าเราเองเป็นคนไทย อยู่กับฝรั่งมาตั้งแต่เล็กแต่น้อย แต่ยังต้องให้สาวใช้ฟิลิปปินส์สอนด้วยซ้ำไป วันอาทิตย์เขามารวมตัวกันมากมายที่ทางเดินห้างสรรพสินค้า นอนกลิ้ง วิ่งเล่น เย็นใจนั่งเล่นไพ่กันเหมือนการพบปะสังสรรค์สมาคมสาวใช้ เราเองก็สงสัยอยู่บ่อยๆ ว่า คนไทยเรียนภาษาอังกฤษกันไปเพื่ออะไร ครูสอนภาษาอังกฤษมีประสิทธิภาพมั้ย และที่สำคัญเด็กไทยกลัวไวยกรณ์ฝรั่งมากเลย แล้วเราเรียนภาษาอังกฤษทำไม เวลาเจอฝรั่งเรากลัวอะไร เราจะไปใช้เขา หรือจะไปเป็นทาสเขาจริงหรือ...แต่คำตอบของเราคือ...เอาไว้สนทนากะสามีฝรั่งค่ะ

ภาษาอังกฤษ... เป็นเครื่องมือสื่อสาร-ทำความเข้าใจกับคนต่างชาติ และความรู้ต่างๆที่ใช้ภาษาอังกฤษ...

คนไทยไม่ได้เรียนภาษาอังกฤษไปเพื่อไปเป็นทาสใคร... และภาษาอังกฤษก็เป็นภาษากลางของหลายๆประเทศ ที่ได้รับการยอมรับ... ถ้าไม่เรียน ก็ไม่มีใครว่าอะไร เพราะแค่ภาษาไทย คนไทยเองก็ไม่ได้มีโอกาสได้ร่ำเรียนกันทุกคน...

อย่ามองภาษาในแง่เสียหาย... เพราะมีประโยชน์มากมาย อย่ารู้สึกน้อยใจหากชาติใดๆเขาพูดได้เก่งกว่า(เพราะเขาเคยเป็นเมืองขึ้นของประเทศมหาอำนาจ จึงจำเป็นต้องสื่อสารให้รู้เรื่องหละมากกว่า เรียกว่าถูกบังคับโดยสถานการณ์) จงภูมิใจเถิดที่ไม่ได้เป็นเมืองขึ้นของใครเขา เพราะภาษาฝึกฝนได้หากต้องการใช้จริงๆ และมองเห็นประโยชน์ และหากมองการณ์ไกลก็ควรเรียนรู้ไว้... ใช่ว่าใส่บ่าแบกหาม...

บางคนสามารถใช้ภาษาอื่นๆได้เป็น 10 ภาษา เพราะความชอบและความรักในการใช้ภาษาในการสื่อสารในแต่ะละท้องถิ่น...

มุมมองของใคร ก็มาจากภูมิหลังและประสบการณ์ของคนๆนั้น... ต่างจิตต่างใจ เลือกได้ก็เลือกเองนะค่ะ... แต่ที่แน่ๆ การพูดได้หลากหลายภาษา ก็ไม่เคยทำร้ายใครแน่ๆหละค่ะ... มีแต่ประโยชน์ต่อผุ้ที่ใช้ภาษานั้นๆเองหลากหลายประการ...

ท่าน siwa ครับ เรื่องรสนิยมส่วนตนนั้นผมเคารพ ครับ แต่บทความผมพูดในภาพรวมของประเทศนะครับ ว่ามันคุ้มหรือไม่คุ้ม แน่นอนว่าการเรียนรู้ภาษาอื่นมันดีทั้งนั้นแหละครับ แต่ถามผมถามว่า at what price? คุ้มไหม ทำไมไม่เหวี่ยงแหให้ตรงจุด

การเรียน การสอนในประเทศไทย ไม่ได้เป็นการเรียน การสอนที่มีหลักเพื่อพัฒนา หรือนำไปใช้ แต่เป็นการเรียนเพื่อให้รู้ แต่อาจจะนำไปใช้ไม่เป็น หรือนำไปคิดต่อไม่ได้ การเรียนภาษาอังกฤษก็เช่นกัน ถ้าเน้นการเรียนเพื่อพัฒนาความเข้าใจ เพื่อนำไปใช้ ต้องให้เรียนเหมือนเรียนภาษาไทย คือ เรียนที่จะพูดก่อน ที่จะอ่าน หรือเขียน จากนั้นก็เป็นการเรียนเพื่อให้อ่านออก learn to read แล้วก็สนับสนุนให้มีการอ่านเพื่อทำความเข้าใจ read to learn ตราบใดที่การเรียนภาษาอังกฤษ ยังเริ่มต้นด้วยการหัดเขียน การหัดอ่าน แต่ไม่ใช่การหัดพูดก่อน ก็ไม่สามารถสร้างความเข้าใจและพัฒนาให้ดีขึ้นได้ง่ายนัก เพราะฉะนั้นถ้าจะเริ่มกันใหม่ ต้องเริ่มจากการหัดพูดค่ะ ความเห็นส่วนตัวนะคะ

ท่านมณฑิชา ครับ ผมขอเห็นต่าง คือผมเห็นว่า ถ้าจำเป็นต้องเรียน สิ่งแรกคือ การฟัง ต่อไปคืออ่าน เขียน ส่วนพูดมาหลังสุด แล้วผมจะมาเขียนให้เหตุผลนะครับ

๑. เป็นความคิดที่ดีมากครับ น่าสนใจ

๒. ผมเห็นด้วยอย่างยิ่ง "เรียนเพื่อไปวิ่งตามรับใช้เขา" "ถ้าเราเก่งจริงในวิชาภาษาไม่ใช่อุปสรรคในการทำงาน"

๓. ภาษาเพื่อนบ้านน่าสนใจมากกว่าครับ จริงๆๆครับ ขอสนับสนุน

๔. อยากให้ผู้บริหารการศึกษาได้อ่าน คิด วิเคราะห์ข้อเขียนชุดนี้ที่สุด

ขอบคุณในความคิดที่เหมาะแก่การเป็นนักการศึกษา สนันสนุนครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท